วันขึ้นปีใหม่

วันขึ้นปีใหม่ เป็นเวลาที่ปฏิทินปีใหม่เริ่มต้นและนับปีปฏิทินเพิ่มขึ้นหนึ่งปี วันขึ้นปีใหม่ในปฏิทินกริกอเรียนที่ใช้กันทั่วโลกปัจจุบัน ตรงกับวันที่ 1 มกราคม

วันขึ้นปีใหม่
วันขึ้นปีใหม่
พลุในเม็กซิโกซิตีเมื่อเวลาเที่ยงคืนของวันปีใหม่ ค.ศ. 2013
จัดขึ้นโดยประเทศส่วนใหญ่บนโลกที่ใช้ปฏิทินกริกอเรียน
ประเภทวันหยุดสากล
ความสำคัญวันแรกของปีปฏิทินกริกอเรียน
การเฉลิมฉลองเขียนปณิธานในวันขึ้นปีใหม่, เชิร์ชเซอร์วิส, ขบวนแห่, กิจกรรมแข่งขันกีฬา, พลุ
วันที่1 มกราคม
ความถี่ทุกปี
ส่วนเกี่ยวข้องวันสิ้นปี, คริสต์มาส

อนึ่ง เทศกาลปีใหม่ อาจหมายถึงวันที่นับจากวันหยุดวันแรกในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนธันวาคมปีก่อน จนถึงวันหยุดสุดท้ายในสัปดาห์แรกของเดือนมกราคม สำหรับชาวคริสต์จะหยุดตั้งแต่คริสต์มาสไปจนถึงวันขึ้นปีใหม่ รวม 8 วัน

ประวัติ

วันปีใหม่มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนียเริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทิน โดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือน ก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนทุก 4 ปี

ต่อมาชาวอียิปต์ ชาวกรีก และชาวเซมิติก ได้นำปฏิทินของชาวบาบิโลเนียมาดัดแปลงแก้ไขอีกหลายคราวเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้นจนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียส ซีซาร์ ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอะเลกซานเดรียชื่อ เฮมดัล มาปรับปรุง ให้ปีหนึ่งมี 365 วัน ในทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า ปีอธิกสุรทิน

เมื่อเพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันในทุก ๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน

วันที่ 21 มีนาคมตามปีปฏิทินของทุกปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตรงทิศตะวันตกพอดี เรียกว่า วสันตวิษุวัต

แต่ในปี ค.ศ. 1582 (ตรงกับ พ.ศ. 2125) วสันตวิษุวัตกลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้น สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 13 จึงปรับปรุงแก้ไขโดยหักวันออกไป 10 วันจากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1582 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (เฉพาะปีดังกล่าว) ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่า ปฏิทินเกรโกเรียน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมา

การเฉลิมฉลองและประเพณีทั้งดั้งเดิมและสมัยใหม่

วันสิ้นปี

วันแรกของเดือนมกราคมหมายถึงการเริ่มต้นปีใหม่ หลังจากผ่านพ้นช่วงเวลาแห่งการรำลึกถึงปีที่ผ่านมา รวมถึงทางวิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์ ซึ่งจะเริ่มในต้นเดือนธันวาคม ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ มีบทความส่งท้ายปลายปีที่รวบรวมการเปลี่ยนแปลงในช่วงปีที่แล้ว ในบางกรณี สื่อสิ่งพิมพ์อาจกำหนดงานตลอดทั้งปีด้วยความหวังว่าควันที่ปล่อยออกมาจากเปลวไฟจะนำชีวิตใหม่มาสู่บริษัท นอกจากนี้ยังมีบทความเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงตามแผนหรือคาดว่าจะเกิดขึ้นในปีหน้า

วันนี้เป็นวันเฉลิมฉลองทางศาสนา แต่ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1900 เป็นต้นมา ก็ได้กลายเป็นโอกาสเฉลิมฉลองในคืนวันสิ้นปี ในวันที่ 31 ธันวาคม โดยมีงานเฉลิมฉลองในที่สาธารณะ (ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับการแสดงดอกไม้ไฟ) และประเพณีอื่น ๆ ที่มุ่งเน้นไปที่เวลาเที่ยงคืนและปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง บริการยามค่ำคืนยังคงเป็นที่สังเกตในหลายครั้ง

วันขึ้นปีใหม่

การเฉลิมฉลองและกิจกรรมที่จัดขึ้นทั่วโลกในวันที่ 1 มกราคม ซึ่งเป็นวันขึ้นปีใหม่โดยทั่วไป เช่น การเดินขบวนพาเหรดสำคัญในหลายแห่ง การกระโดดแบบหมีขั้วโลก โดยชมรมหมีขั้วโลกในเมืองทางซีกโลกเหนือหลายแห่ง และการแข่งขันกีฬาสำคัญในสหราชอาณาจักรและสหรัฐ

วันขึ้นปีใหม่ในปฏิทินอื่น ๆ

  • สงกรานต์ เดิมกำหนดโดยการคำนวณทางดาราศาสตร์ คือวันที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ตกประมาณวันที่ 13 หรือ 14 เมษายน แต่ปัจจุบันระบุแน่นอนว่า 13 ถึง 15 เมษายน
  • ตรุษไทย เป็นวันที่เริ่มต้นเดือน 5 ตามปฏิทินจันทรคติไทย แต่ยกเลิกลงในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และกำหนดให้ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่แทน
  • ตรุษจีน เป็นวันที่เริ่มต้นเดือน 1 ตามปฏิทินจันทรคติจีน ตกประมาณวันที่ 20 มกราคมถึง 20 กุมภาพันธ์
  • ตรุษญี่ปุ่น เดิมใช้วันเดียวกับตรุษจีน แต่เมื่อ ค.ศ. 1873 ได้รับเอาปฏิทินเกรโกเรียนมาใช้ จึงเปลี่ยนเป็นวันที่ 1 มกราคมแทน
  • ตรุษญวน เป็นวันที่เริ่มต้นเดือน 1 ตามปฏิทินจันทรคติเวียดนาม ตกประมาณวันที่ 20 มกราคมถึง 20 กุมภาพันธ์
  • เราะอส์ อัสซะนะฮ์ อัลฮิจญ์ริยะฮ์ (อาหรับ: رأس السنة الهجرية) เป็นวันที่เริ่มต้นเดือนมุฮัรรอม (เดือน 1) ตามปฏิทินฮิจญ์เราะฮ์ของอิสลาม วันที่ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับว่ามีคนมองเห็นดวงจันทร์หรือไม่ ตามสถิติเมื่อเทียบกับปฏิทินเกรโกเรียนพบว่าวันนั้นร่นเข้าไปประมาณ 10 วันทุกปี

อ้างอิง

Tags:

วันขึ้นปีใหม่ ประวัติวันขึ้นปีใหม่ การเฉลิมฉลองและประเพณีทั้งดั้งเดิมและสมัยใหม่วันขึ้นปีใหม่ ในปฏิทินอื่น ๆวันขึ้นปีใหม่ อ้างอิงวันขึ้นปีใหม่

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ชนิกานต์ ตังกบดีการลอบสังหารจอห์น เอฟ. เคนเนดีสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาสล็อตแมชชีนอำเภออริยสัจ 4ยุทธนา ลอพันธุ์ไพบูลย์ประเทศอิสราเอลโชติกา วงศ์วิลาศนิชคุณ ขจรบริรักษ์เซเว่น อีเลฟเว่นคิม จี-ว็อน (นักแสดง)พระมหากษัตริย์ไทยนิษฐา คูหาเปรมกิจช่องวัน 31หม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลดาบพิฆาตอสูรอาณาจักรอยุธยาภาคเหนือ (ประเทศไทย)กระทรวงมหาดไทย (ประเทศไทย)ปวีณ พงศ์สิรินทร์รายชื่อยุทโธปกรณ์ในกองทัพบกไทยเมืองพัทยาชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ดราก้อนบอลพวงเพ็ชร ชุนละเอียดสฤษดิ์ ธนะรัชต์รายพระนามพระมหากษัตริย์ไทยทวีปเอเชียเนย์มาร์สมเด็จพระนารายณ์มหาราชธนาคารออมสินวันแอนแซกสโมสรฟุตบอลเอฟเวอร์ตันศาลยุติธรรม (ประเทศไทย)ประเทศเกาหลีใต้อสมทหม่ำ จ๊กมกประเทศญี่ปุ่นอาแอ็ส มอนาโกแบตเตอรี่วชิรวิชญ์ วัฒนภักดีไพศาลโฟร์อีฟจังหวัดนครราชสีมาคริสเตียโน โรนัลโดภาษาอังกฤษไททานิค (ภาพยนตร์)เอสเธอร์ สุปรีย์ลีลารายชื่อเขตของกรุงเทพมหานครพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)ข้อมูลข้าราชการพลเรือนสามัญสโมสรฟุตบอลลีดส์ยูไนเต็ดประเทศฟิลิปปินส์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์พระเจ้าบุเรงนองตะวัน วิหครัตน์สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร)พระเยซูวัชรเรศร วิวัชรวงศ์อาณาจักรธนบุรีสโมสรฟุตบอลการท่าเรือพิมพ์ชนก ลือวิเศษไพบูลย์ชาลี ไตรรัตน์ชลน่าน ศรีแก้วประเทศอุซเบกิสถานสุทิน คลังแสงชาเคอลีน มึ้นช์จังหวัดตราดรายชื่อตอนในโปเกมอนจังหวัดสระแก้วปรีชญา พงษ์ธนานิกรพัชราภา ไชยเชื้อAสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีรายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/กสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีการโฆษณา🡆 More