ละหมาดวันศุกร์

ในศาสนาอิสลาม ละหมาดวันศุกร์ หรือ การละหมาดรวมหมู่ (อาหรับ: صَلَاة ٱلْجُمُعَة, Ṣalāt al-Jumuʿah) เป็นการละหมาดที่ชาวมุสลิมจัดขึ้นทุกวันศุกร์ในช่วงเวลาหลังเที่ยงแทนละหมาดซุฮรี ตามปกติแล้ว มุสลิมจะละหมาด 5 เวลาทุกวันตามเส้นทางของดวงอาทิตย์ โดยไม่คำนึงถึงเส้นเวลา ญุมุอะฮ์ หมายถึงวันศุกร์ในภาษาอาหรับ

ละหมาดวันศุกร์
ละหมาดวันศุกร์ที่มหาวิทยาลัยในประเทศมาเลเซีย

ความหมาย

เศาะลาตุลญุมุอะฮ์ ("ละหมาดวันศุกร์") เป็นการขอพรทางศาสนาที่เกิดในช่วงละหมาดซุฮรี (อาหรับ: صَلَاة ٱلظُّهْر, Ṣalāt aẓ-Ẓuhr) ของวันศุกร์ โดยเป็นหนึ่งในพิธีศาสนาอิสลามที่น่ายกย่องที่สุดและเป็นหนึ่งในกิจการที่จำเป็นของมุสลิม

ศัพทมูลวิทยา

อัลญุมุอะฮ์ มาจากคำกริยาว่า อิจตะอะมะ ซึ่งหมายถึงรวบรวมผู้คน

ความจำเป็น

มีมติเป็นเอกฉันท์แก่มุสลิมทุกคนว่าละหมาดวันศุกร์เป็น วาญิบ จากรายงานในอายะฮ์อัลกุรอาน เช่นเดียวกันกับสายรายงานทั้งชีอะฮ์กับซุนนี ซึ่งจากสำนักซุนนีส่วนใหญ่และนักกฎหมายชีอะฮ์บางคนกล่าวว่า ละหมาดวันศุกร์เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อศาสนา แต่ข้อแตกต่างอยู่ที่ความจำเป็นที่ขึ้นอยู่กับผู้นำหรือผู้ลงนามแทนท่านหรือ วาญิบ โดยไม่มีเงื่อนไข สำนักฮะนะฟีกับอิมามะฮ์เชื่อว่าการมีอยู่ของผู้นำหรือผู้ลงนามแทนท่านเป็นสิ่งที่จำเป็น ถ้าทั้งสองฝ่ายไม่อนุญาต ก็ละหมาดวันศุกร์ไม่ได้ ตามที่อิมามะฮ์ต้องการให้ผู้นำยอมรับ (อาดิล); ไม่เช่นนั้นการมีอยู่ของท่านจะเท่ากันกับการไม่มีอยู่ ส่วนฮะนะฟี การมีอยู่ของท่านเพียงพอแล้ว ถึงแม้ว่าท่านจะไม่อนุญาตก็ตาม แต่สำนักชาฟิอี, มาลิกี และฮันบะลีกล่าวว่าไม่จำเป็นต้องให้ผู้นำอนุญาต ก็ละหมาดได้

ที่มากไปกว่านั้น มีการกล่าวว่าการละหมาดวันศุกร์ไม่จำเป็นต่อคนชรา, เด็ก, ผู้หญิง, ทาส, นักเดินทาง, คนป่วย, คนตาบอด และคนพิการ เช่นเดียวกันกับคนที่ไปไกลกว่า 2 ฟาร์ซัค

ในอัลกุรอาน

มีการกล่าวในอัลกุรอานว่า:

โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย! เมื่อได้มีเสียงร้องเรียก (อะซาน) เพื่อทำละหมาดในวันศุกร์ก็จงรีบเร่งไปสู่การรำลึกถึงอัลลอฮฺ และจงละทิ้งการค้าขายเสีย นั่นเป็นการดีสำหรับพวกเจ้าหากพวกเจ้ารู้ ต่อเมื่อการละหมาดได้สิ้นสุดลงแล้ว ก็จงแยกย้ายกันไปตามแผ่นดิน และจงแสวงหาความโปรดปรานของอัลลอฮฺและจงรำลึกถึงอัลลอฮฺให้มาก ๆ เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับชัยชนะ

— กุรอาน ซูเราะฮ์อัลญุมุอะฮ์ (62), อายะฮ์ที่ 9-10

ในฮะดีษ

รายงานจากอบูฮุร็อยเราะฮ์ว่า: ท่านศาสดาได้กล่าวว่า "ทุกวันศุกร์มลาอิกะฮ์จะยืนหน้าประตูมัสยิดเพื่อเขียนชื่อคนตามลำดับ (ป.ล. รายงานเวลาที่พวกเขามาละหมาดวันศุกร์) และเมื่ออิหม่ามนั่ง (บนแท่นเทศน์) พวกท่าน (มลาอิกะฮ์) จะเก็บม้วนกระดาษและเตรียมสดับฟังคำเทศนา"

มุสลิม อิบน์ ฮัจญาจ นิชาบูรีเล่าว่า ศาสดามุฮัมมัดได้อ่านซูเราะฮ์ที่ 87 (อัลอะอ์ลา) และซูเราะฮ์ที่ 88, (อัลฆอชิยะฮ์) ในละหมาดอีดและละหมาดวันศุกร์ ถ้าหนึ่งในเทศกาลตกอยู่ในวันศุกร์ ท่านจะอ่านสองซูเราะฮ์นั้นในเวลาละหมาด

ศาสดามุฮัมมัดกล่าวว่า "วันที่ดีที่สุดที่ดวงอาทิศย์ขึ้นคือวันศุกร์; ณ วันนั้นอัลลอฮ์ทรงสร้างอาดัม ณ วันนั้น เขาอาศัยอยู่ในสวรรค์ ณ วันนั้น เขาถูกเนรเทศออกมา และวันสุดท้ายจะไม่เกิดในวันใด นอกจากวันศุกร์" [บันทึกโดยอะฮ์มัดกับอัตติรมิซี]

เอาว์ส อิบน์ เอาว์ส รายงานว่า ศาสดามุฮัมมัดได้กล่าวว่า: “ใครก็ตามที่ทำฆุสล์ในวันศุกร์ และใช้ให้ (ภรรยาของเขา) ทำฆุสล์ แล้วไปมัสยิดก่อน และตั้งใจฟังคุตบะฮ์ตั้งแต่ต้น และอยู่ใกล้อิหม่าม และฟังด้วยความตั้งใจ อัลลอฮ์จะให้รางวัลเขาเท่ากับคนที่ถือศีลอดทั้งปี...”[บันทึกโดยอิบน์ คุซัยมะฮ์, อะฮ์มัด]

ในคำกล่าวของซุนนี

ละหมาดวันศุกร์ 
การละหมาดวันศุกร์ที่พริสทีนา

การละหมาด ญุมุอะฮ์ เป็นครึ่งหนึ่งของละหมาด ซุฮรี ซึ่งตามต่อจาก คุตบะฮ์ (การเทศนาที่แทนที่ 2 เราะกะอัต ของละหมาดซุฮรี) ซึ่งมีอิหม่ามนำละหมาด โดยส่วนใหญ่เคาะฏีบมักทำหน้าที่เป็นอิหม่าม การไปละหมาดเป็นข้อบังคับต่อผู้ชายวัยผู้ใหญ่ชายที่เป็นคนในท้องถิ่น มุอัซซินจะอาซานเป็นเวลา 15–20 นาทีในตอนต้นของญุมุอะฮ์ เมื่อเคาะฏีบยืนบนมินบัร จะมีการอาซานรอบที่สอง แล้วเคาะฏีบจะกล่าวคำเทศนาสองรอบ โดยหยุดและนั่งระหว่างสองอัน หลังจากนั้นมุอัซซินจะอิกอมะฮ์ เพื่อเป็นสัญญาณให้ละหมาดญุมุอะฮ์ได้

ในคำกล่าวของชีอะฮ์

ละหมาดวันศุกร์ 
การละหมาดวันศุกร์ (เตหะราน ค.ศ. 2016) โดยอะยาตุลลอฮ์อะฮ์มัด ญันนะตี ทำหน้าที่เป็นอิหม่ามละหมาดวันศุกร์

ในนิกายชีอะฮ์ การละหมาดวันศุกร์เป็นวาญิบตัคยีรี (ณ เวลาที่ซ่อนเร้น), ซึ่งหมายความว่า พวกเขาอาจจะละหมาดวันศุกร์ ถ้าเป็นไปตามเงื่อนไข หรือจะละหมาดซุฮรี นักวิชาการชีอะฮ์แนะนำว่า การละหมาดวันศุกร์จะวาญิบ (จำเป็น) หลังจากอิหม่ามมะฮ์ดีกับนบีอีซาปรากฏตัว

ในประวัติศาสตร์อิสลาม

รายงานจากประวัติศาสตร์อิสลามกับรายงานจากอับดุลลอฮ์ อิบน์ อับบาส ว่า จากท่านศาสดาได้กล่าวว่า: การอนุญาตละหมาดวันศุกร์ถูกประทานโดยอัลลอฮ์ในช่วนก่อนฮิจเราะห์ แต่ผู้คนยังไม่สามารถรวมตัวและปฏิบัติไต้ ท่านศาสดาจึงส่งจดหมายแก่มุสอับ อิบน์ อุมัยร์ ให้ละหมาดสองเราะกะอัตในการรวมตัวของวันศุกร์ (นั่นคือ ญุมุอะฮ์) จากนั้น หลังจากท่านศาสดาอพยพไปมะดีนะฮ์ ก็ได้มีการละหมาดญุมุอะฮ์ขึ้น

ส่วนตามรายงานฝั่งชีอะฮ์ การรวมตัวละหมาดวันศุกร์ที่มีการเทศนาเป็นสิ่งที่ผิด และถูกเลื่อน (พร้อมกับการทำพิธีทางศาสนาอื่น ๆ) จนกว่ามุฮัมมัด อัลมะฮ์ดี อิหม่ามคนที่ 12 จะกลับมา อย่างไรก็ตาม มุฮัมมัด อิบน์ มุฮัมมัด มะฮ์ดี อัลเคาะลีซี (ค.ศ. 1890–1963) นักชีอะฮ์สมัยใหม่ อธิบายว่าชีอะฮ์ควรละหมาดวันศุกร์อย่างระมัดระวังในจุดเชื่อมกับซุนนี หลังจากนั้น ได้มีการฝึกละหมาดวันศุกร์ จนกลายเป็นมาตรฐานโดยรูฮุลลอฮ์ โคมัยนีในอิหร่าน และจากนั้นโดยโมฮัมมัด โมฮัมมัด ซาเด็ก อัลซัดร์ในประเทศอิรัก

เงื่อนไข

การละหมาดวันศุกร์ที่สมบูรณ์ ต้องเป็นไปตามข้อต่าง ๆ ดังนี้:

  • ละหมาดวันศุกร์ต้องละหมาดเป็นกลุ่ม
  • จะต้องมีการรวมกลุ่ม รายงานจากมัซฮับอัชชาฟิอีและฮันบาลี จำนวนผู้มาละหมาดอย่างน้อยที่สุดคือ 40 คน ส่วนมัซฮับอื่น จำนวนขั้นต่ำคือ 3 หรือ 5 (ดีกว่าคือ 7) คน โดยรวมไปถึงอิหม่ามนำละหมาด
  • รายงานจากกฎหมายของชีอะฮ์ การละหมาดวันศุกร์ต้องเกิดในบริเวณรัศมี 3 ไมล์ 720 ยาร์ด (4 กิโลเมตร 660 เมตร) ถ้ามีการละหมาดสองที่ บริเวณที่ละหมาดทีหลังจะเป็นโมฆะ
  • ต้องมีการเทศนา (คุตบะฮ์) ก่อนละหมาด และต้องมีผู้ฟังด้วยความตั้งใจอย่างน้อย 4 (หรือ 6) คน"

รูปแบบ

คุตบะฮ์ ญุมุอะฮ์ (คุตบะฮ์วันศุกร์)

  • คุตบะฮ์ (ญุมุอะฮ์) เป็นการพูดหรือเทศนาในมัสยิดก่อนละหมาดวันศุกร์ โดยจะแบ่งเป็นสองช่วง ในระหว่างสองช่วงเคาะฏีบ (ผู้พูด) ต้องนั่งเป็นระยะเวลาสั้น ๆ
  • ในกฎของคุตบะฮ์ที่หนึ่งคือ ไม่ควรทำสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องในระหว่างการเทศนาและการละหมาด " การเริ่มคุตบะฮ์ควรกล่าวเป็นภาษาอาหรับ โดยเฉพาะประโยคจากอัลกุรอาน ไม่เช่นนั้น จะต้องพูดด้วยภาษาที่คนส่วนมากเข้าใจ แต่ในสถานการณ์นี้ ผู้คุตบะฮ์ต้องกล่าวโองการอัลกุรอานและคำสรรเสริญต่ออัลลอฮ์และมุฮัมมัดเป็นภาษาอาหรับ
  • รายงานจากหลักคำสอนส่วนใหญ่จากฝ่ายซุนนีและชีอะฮ์ รายละเอียดของคุตบะฮ์วันศูกร์ต้องมีตามรายการนี้: "
  1. การสรรเสริญอัลลอฮ์
  2. การภาวนาด้วยการอวยพรต่อศาสดามุฮัมมัดกับลูกหลานของท่าน
  3. กำชับให้ตักวา, ตักเตือน และแนะนำต่อผู้ร่วมฟัง
  4. อ่านซูเราะฮ์สั้น ๆ จากอัลกุรอาน
  • บางครั้ง อาจมีการเพิ่มในการเทศนาครั้งที่สอง:
  1. อะไรคือสิ่งที่จำเป็นต่อมุสลิมในโลกนี้และโลกหน้า
  2. เหตุการณ์สำคัญทั่วโลกทั้งสิ่งที่มุสลิมชอบ หรือไม่ชอบ
  3. ให้ความสนใจต่อโลกมุสลิมเป็นพิเศษ
  4. ให้แง่มุมทางการเมืองและเศรษฐกิจต่อสังคมและทั่วโลก
  • ในมารยาทเหล่านั้นผู้ฟังจะต้องฟังอย่างตั้งใจ และไม่ทำในสิ่งที่รบกวนผู้อื่น

ละหมาดญุมุอะฮ์

  • การละหมาดญุมุอะฮ์มีความเหมือนกับละหมาดฟัจร์ (ย่ำรุ่ง) ซึ่งทำหลังจากคุตบะฮ์ (เทศนา) และเป็นการแทนที่การละหมาดซุฮรี
  • รายงานจากหลักคำสอนชีอะฮ์ เป็นเรื่องที่แนะนำ (ซุนนะฮ์) ที่หลังอ่านซูเราะฮ์อัลฟาติฮะฮ์แล้ว จะมีการอ่านซูเราะฮ์ อัลญุมุอะฮ์ในเราะกะอัตแรก และซูเราะฮ์ อัลมุนาฟิกูนในเราะกะอัตที่สอง

กุนูต

  • รายงานจากหลักคำสอนชีอะฮ์ จะมีสองกุนูต (ยื่นสองมือดุอาในระหว่างละหมาด) เป็นที่แนะนำในละหมาดนี้ โดยกุนูดแรกจะทำก่อนรุกูอ์ในเราะกะอัตแรก และอันที่สองหลังจากรุกูอ์ในเราะกะอัตที่สอง

ความสำคัญ

มีหลายรายงานจากฮะดีษที่กล่าวถึงความสำคัญของญุมุอะฮ์ ตามรายงานดังนี้:

  • ท่านศาสดากล่าวว่า: "ญุมุอะฮ์ (ละหมาดวันศุกร์) เป็นการแสวงบุญ (ฮัจญ์) ของคนยากจน" "
  • ท่านศาสดากล่าวว่า: "ใครก็ตามที่พลาดละหมาดวันศุกร์สามครั้ง โดยไม่มีเหตุอันควร อัลลอฮ์จะปิดผนึกหัวใจของเขา"
  • มีฮะดีษที่บันทึกโดยอะฮ์มัดว่า ท่านศาสดากล่าวว่า: “ผู้ศรัทธาที่อาบน้ำทั้งตัวในวันศุกร์ จากนั้นมาละหมาดวันศุกร์ก่อน แล้วฟังคำเทศนาของอิหม่าม และไม่ทำอะไรผิด อัลลอฮ์จะให้ผลบุญแก่เขาเท่ากับคนที่ถือศีลอดและละหมาดหนึ่งปี
  • ที่มากไปกว่านั้น ศาสดามุฮัมมัดได้กล่าวว่า : “มุสลิมคนใดที่เสียชีวิตในวันหรือคืนวันศุกร์ อัลลอฮ์จะปกป้องเขาจากการสอบสวนในสุสาน” [อัตติรมิซีและอะฮ์มัด]
  • มีฮะดีษที่บันทึกโดยอัลบุคอรีว่า ท่านศาสดากล่าวว่า: "ในช่วงกลางวันของวันศุกร์ จะมีชั่วโมงหนึ่งที่ถ้าผู้ศรัทธาของอะไรจากอัลลอฮ์ ทุกสิ่งที่เขาอยากได้ในชั่วโมงนั้น พระองค์จะประทานให้และไม่ปฏิเสธ ตราบที่เขาหรือเธอไม่ได้ขอสิ่งที่ไม่ดี".
  • มีรายงานที่ล้ายกันว่า ท่านศาสดากล่าวว่า: "วันศุกร์มี 12 ชั่วโมง โดยหนึ่งในชั่วโมงนั้นที่ดุอาจะถูกตอบรับแก่มุสลิม ซึ่งชั่วโมงนั้นกล่าวว่าอยู่ในช่วงตอนบ่าย หลังละหมาดอัสรี"

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Jumma Mubarak Information & Jumma Mubarak Wallpapers เก็บถาวร 2017-10-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

Tags:

ละหมาดวันศุกร์ ความหมายละหมาดวันศุกร์ ศัพทมูลวิทยาละหมาดวันศุกร์ ความจำเป็นละหมาดวันศุกร์ ในอัลกุรอานละหมาดวันศุกร์ ในฮะดีษละหมาดวันศุกร์ ในคำกล่าวของซุนนีละหมาดวันศุกร์ ในคำกล่าวของชีอะฮ์ละหมาดวันศุกร์ ในประวัติศาสตร์อิสลามละหมาดวันศุกร์ เงื่อนไขละหมาดวันศุกร์ รูปแบบละหมาดวันศุกร์ ความสำคัญละหมาดวันศุกร์ ดูเพิ่มละหมาดวันศุกร์ อ้างอิงละหมาดวันศุกร์ แหล่งข้อมูลอื่นละหมาดวันศุกร์การละหมาดชาวมุสลิมภาษาอาหรับศาสนาอิสลาม

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ฟุตบอลโลกภาคกลาง (ประเทศไทย)ธนภัทร กาวิละโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าดอลลาร์สหรัฐจ้าว ลี่อิ่งทวีปยุโรปมรรคมีองค์แปดพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดาลูกัส บัซเกซมหาศึกชิงบัลลังก์ (ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์)นิชคุณ ขจรบริรักษ์โลโซศาสนาฮินดูมหาวิทยาลัยมหาสารคามมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาคสงครามโลกครั้งที่หนึ่งงูเขียวพระอินทร์เป็นต่อสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติจังหวัดสุรินทร์เผ่าภูมิ โรจนสกุลสฤษดิ์ ธนะรัชต์รายชื่อประเทศในทวีปยุโรปตามขนาดพื้นที่สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดรายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่อง 3 เอชดี (พ.ศ. 2560–2567)รัฐฉานนักเรียนพิชิตรัก พิทักษ์โลกสมเด็จพระมหินทราธิราชพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวท่าอากาศยานดอนเมืองจังหวัดพิษณุโลกไทใหญ่วันโกนเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์จังหวัดพะเยาปราบ ยุทธพิชัยเกาะกูดรายชื่อตอนในนารูโตะ ตำนานวายุสลาตันฟุตซอลโลกวรกมล ชาเตอร์วันวิสาขบูชาพระมหากษัตริย์ไทยสุรเชษฐ์ หักพาลศีล 227การลอบสังหารจอห์น เอฟ. เคนเนดีการบินไทยอินนาลิลลาฮิวะอินนาอิลัยฮิรอญิอูนอมีนา พินิจเรื่องหัวใจ ไม่ไหวอย่าฝืนอีเอฟแอลแชมเปียนชิปเจสัน สเตธัมรายชื่อวันสำคัญอชิรญา นิติพนสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศพีรวิชญ์ อรรถชิตสถาพรรายชื่อโรงเรียนในกรุงเทพมหานครองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยนายกรัฐมนตรีไทยสุรยุทธ์ จุลานนท์ประเทศแคนาดาณัฐวรรธน์ จิโรชน์ธิกุลพรีเมียร์ลีกสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาจังหวัดตราดกรมที่ดินสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โชติกา วงศ์วิลาศมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ลำไย ไหทองคำเปรม ติณสูลานนท์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จังหวัดบุรีรัมย์อุณหภูมิการโฆษณาอี เจ-โนเข็มอัปสร สิริสุขะ🡆 More