ยิ่งยง ยอดบัวงาม

ยิ่งยง ยอดบัวงาม เป็นนักร้องลูกทุ่งชาย ที่มีผลงานเพลงออกมามากมายหลายชุด นอกจากนั้นเขาก็ยังได้ร่วมแสดงภาพยนตร์และละครอีกหลายเรื่อง ยิ่งยง โด่งดังอย่างมากจากเพลง สมศรี 1992 และเพลงนี้นี่เอง ที่ช่วยปลุกกระแสเพลงลูกทุ่งที่ซบเซาอย่างหนัก ให้กลับมาคึกคักอยู่ได้จนถึงปัจจุบัน

ยิ่งยง ยอดบัวงาม
ชื่อเกิดประยงค์ บัวงาม
รู้จักในชื่อเสียงสน มนต์ไพร
เกิด25 ธันวาคม พ.ศ. 2505 (61 ปี)
ที่เกิดไทย อำเภอขุขันธ์
จังหวัดศรีสะเกษ
ประเทศไทย
แนวเพลงลูกทุ่ง
อาชีพนักร้อง, นักแสดง, นักเขียน, พิธีกร, ยูทูบเบอร์
ช่วงปีพ.ศ. 2535 - ปัจจุบัน
ค่ายเพลงอโนทัย โปรโมชั่น (ภมร อโนทัย) , บ๊อกซิ่งซาวด์ , พีจีเอ็ม , มีเดียส์ มิวสิก กรุ๊ป , ท็อปไลน์ ไดมอนด์
คู่สมรสยศยา ภูนาแร่ (หย่า)
มณฑาทิพย์ ยอดบัวงาม

ประวัติ

ยิ่งยง ยอดบัวงาม มีชื่อจริงว่า ประยงค์ บัวงาม เป็นบุตรนายพลอย และนางใน บัวงาม เกิดเมื่อวันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2505 ที่บ้านเลขที่ 39 หมู่ 3 บ้านโคกโพน ตำบลกันทรารมย์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ในครอบครัวเกษตรกรที่มีฐานะยากจน เข้ารับการศึกษาในชั้นประถมที่โรงเรียนประชาบาลกันทรารมย์ (โรงเรียนบ้านกันทรารมย์) ต้องหาเช้ากินค่ำ ทำให้ไม่ค่อยมีเวลาเรียนหนังสือ เมื่อต้องออกไปทำงานช่วยครอบครัว จึงต้องเรียนซ้ำชั้น ประยงค์มีพี่น้อง 6 คน สมัยเรียนอยู่ชั้น ป.3 หลังจากที่ได้ดูหนังเรื่อง " นักเลงสามสลึง " ประยงค์เริ่มชอบร้องเพลง และพอถึง ป.6 ก็เริ่มประกวดร้องเพลง หลังจบ ป.6 ประยงค์ได้บวชเป็นสามเณร และระหว่างที่มาเที่ยวที่กรุงเทพ ก็ได้พบกับ "ภมร อโนทัย " นักแต่งเพลง และนักจัดรายการวิทยุชื่อดังเป็นครั้งแรก

ด้วยความช่วยเหลือของพระที่วัดประยงค์บวช สามเณรประยงค์ได้เรียนต่อจนจบชั้น ม.3 ที่โรงเรียนขุขันธ์ราษฎร์บำรุง และลาสิกขาบทในปี 2524 เพราะหลงใหลในเสียงของสายัณห์ สัญญา จนถึงกับแอบร้องเพลงอยู่บ่อย ๆ ช่วงที่เป็นเณร จากนั้นก็เดินทางเข้ากรุงเทพฯ และมาฝากเนื้อฝากตัวกับภมร แต่ยังไม่ได้รับการตอบรับ จึงไปทำงานเป็นจับกัง และรับจ้าง ก่อนจะกลับบ้านเมื่อท้อแท้ หลังจากหายท้อ เขาก็ลงมากรุงเทพฯอีก โดยไปสมัครเป็นนักร้องตามวงดนตรีต่าง ๆ และได้ไปอยู่กับวงของคนที่ประยงค์เรียกว่า " เจ๊หมวย " และเปลี่ยนมาใช้ชื่อว่า " เสียงสน มนต์ไพร " จากการตั้งให้ของบรรจง มนต์ไพร ประมัน ยอดบัวงาม ประยงค์จบปริญญา มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

ได้อัดแผ่น

ประยงค์ อยู่กับเจ๊หมวยราว 6 เดือนก็ลาออกเพราะไม่มีงาน เขากลับไปหาภมรอีก ซึ่งภมรก็ได้หางานประเภททำงานบ้านทำสวน แต่เขาก็ทำได้เพียง 2 เดือนก็ลาออก และมาพักช่วยงานภมรอยู่ที่ สถานีวิทยุกรมทหารรักษาดินแดน เขาทำอยู่ที่นี่ได้ 2 ปี ในปี 2528 ภมร ก็ให้เพลงประยงค์มาบันทึกเสียง 2 เพลง คือ " ไอ้หนุ่มเลี้ยงควาย " และ "รัก รัก รัก " ที่ภมร อโนทัย แต่งให้ " ศิริ สินชัย " แต่ศิริร้องไม่ถูกใจ โดยเพลง " ไอ้หนุ่มเลี้ยงควาย " แต่เดิม ภมรตั้งใช้จะให้ใช้ชื่อว่า " สัญญารักมั่น " หลังบันทึกเสียงเสร็จ ภมร ตั้งชื่อให้กับนักร้องใหม่ว่า " ยิ่งยง ยอดบัวงาม "

หลังจากที่เพลงของยิ่งยงถูกเปิดทางวิทยุ คนในวงการหลายคนก็เริ่มถามหาคนที่ร้องเพลงเหล่านี้ และระหว่างที่เพลงเริ่มเป็นที่รู้จัก วันชนะ เกิดดี ก็ได้มาติดต่อให้ยิ่งยงไปร้องเพลงที่คาเฟ่แทนเขา ที่ติดธุระทำผลงานเพลงชุดใหม่ และหลังยิ่งยงได้เข้ามาทำงานที่สถานีวิทยุรักษาดินแดนเต็มตัว เขาก็ถือโอกาสนำผลงานเพลงของตัวเองออกเผยแพร่ทางวิทยุอยู่บ่อย ๆ

ต่อมาวันหนึ่ง คุณสากล อนันตวิชัย นักจัดรายการชื่อดังจากภาคใต้ แห่งสถานีวิทยุ จส.2 อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี ได้มีโอกาสฟังเพลงของยิ่งยง ก็เกิดชอบใจ และตกลงเป็นนายทุนตั้งวงดนตรีให้ โดยให้ค่าร้องเขาคืนละ 3,000 บาท ทำให้ภมรต้องเร่งทำเพลงเพิ่มให้ยิ่งยงอีก 8 เพลง ก่อนจะนำมารวมตัดเป็นแผ่นเต็มใช้ชื่อว่า " ไอ้หนุ่มเลี้ยงควาย " นับเป็นผลงานชุดแรกของ ยิ่งยง ยอดบัวงาม จากนั้นก็ตามมาด้วยชุด " วิมานรัก " , " ขอบคุณแฟนเพลง " , และ " หนุ่มชาวเรือ "

เดินสาย

หลังเพลงเริ่มติดตลาดทางใต้ ยิ่งยงก็ออกเดินสายทางใต้ และได้รับการต้อนรับเป็นอย่าง ยิ่งยงเดินสายอยู่ราว 6 เดือนก็หยุดวง พร้อมกับมีปัญหากับภมร เรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ จากนั้นเขาหันกลับมาร้องเพลงตามคาเฟ่อีกประมาณครึ่งปี พอดี เอกพจน์ วงศ์นาคจะเปิดวง เด๋อ ดอกสะเดา จึงชวนไปอยู่วงเอกพจน์ จากนั้นก็ออกเดินสายกับสายัณห์ สัญญา และพุ่มพวง ดวงจันทร์ หลังจากที่หมดสัญญากับต้นสังกัดเดิม ยิ่งยงก็กลับไปหา ภมรอีกครั้ง

ตำนานสมศรี

จากนั้นทั้งสองก็ตั้งหน้าตั้งตาผลิตผลงานเพลงชุดใหม่ โดยในชุดนี้ ยิ่งยงได้แสดงฝีมือการแต่งเพลงด้วยเพลงหนึ่งชื่อว่าเพลง " ยิ่งยงมาแล้ว " ระหว่างนั้นได้พบกับ ปัญญา กตัญญู ที่เคยร้องเพลงตามคาเฟ่ด้วยกัน และปัญญา ได้มอบเพลง " สมศรีขายตัว "ผลงานประพันธ์ของ วุฒิ วรกานต์ ให้ยิ่งยงเอาไปบันทึกเสียง หลังบันทึกเสียงเสร็จช่วงนั้นเป็นปี 2535 ภมรจึงเปลี่ยนชื่อเพลงนี้เป็น " สมศรี 1992 " และเป็นเพลงแรกของหน้า 2 เพราะไม่มีใครคิดว่ามันจะดังเป็นพลุแตกหลังจากนำออกเผยแพร่ตามสถานีวิทยุ

และนับตั้งแต่นั้นมา ชื่อของ ยิ่งยง ยอดบัวงาม ก็เป็นชื่อของหนึ่งในนักร้องลูกทุ่งที่คนไทยรู้จักกันดี กระแสความโด่งดังของเขา ทำให้มีการผลิตนักร้องลอกเลียนแบบ ชื่อ ยิ่งยง ยอดบัวบาน พร้อมกับผลงานเพลงชุด สมศรีไปญี่ปุ่น

ผลงานอัลบั้ม

  • ไอ้หนุ่มเลี้ยงควาย (2528) (เนชั่นมิวสิก)
  • ขอบคุณแฟนเพลง (2529) (เนชั่นมิวสิก)
  • วิมานรัก (2530) (เนชั่นมิวสิก)
  • หนุ่มชาวเรือ (2531) (มิวสิกไลน์)
  • ยิ่งยงมาตามนัด (2531) (โรต้า)
  • ซุปเปอร์ลูกทุ่ง ชุดที่ 1 - 2 (2534) (ท็อปไลน์)
  • ยิ่งยงมาแล้ว ชุดที่ 1 - 10 (2535 - 2539) (บ๊อกซิ่งซาวด์,อโนทัยโปรโมชั่น,พีจีเอ็ม,เอ็มจีเอ)
  • สมศรี 1992 (2535) (ท็อปไลน์)
  • รักใครหรือยัง (2535) (ท็อปไลน์)
  • รักสาวสะเราะแอง (2535) (ท็อปไลน์)
  • แท็กซี่กับนางโลม (2535) (ท็อปไลน์)
  • ทีเด็ดยิ่งยง 3 ชุดทีเด็ดสมศรี (2536) (ท็อปไลน์)
  • อดีตไม่สำคัญ (2539) (ไรท์มิวสิก)
  • ยิ่งยงฟอร์มสด (2539) (ไรท์มิวสิก)
  • เอกลักษณ์ยิ่งยง (2539) (มูฟวี่แอนด์มิวสิก)
  • ยิ่งยงมาใหม่ ชุดที่ 1 - 2 (2539) (พีจีเอ็ม)
  • ยิ่งยงแหลงใต้ 1 (2540) (พีจีเอ็ม)
  • ยิ่งยงแหลงใต้ 2 (2540) (พีจีเอ็ม)
  • ยิ่งยง ตลับมันส์ (2540) (พีจีเอ็ม)
  • ยิ่งจำยิ่งเจ็บ (2542) (ดีเคเอส)
  • ร้องคู่ ชุดที่ 1 (ร่วมกับ อาภาพร นครสวรรค์) (บ๊อกซิ่งซาวด์)
  • ร้องคู่ ชุดที่ 1 (ร่วมกับ สุดา ศรีลำดวน) (บ๊อกซิ่งซาวด์)
  • ร้องคู่ ชุดที่ 2 (ร่วมกับ สุดา ศรีลำดวน) (บ๊อกซิ่งซาวด์)
  • หันหน้าหากัน ชุดที่ 1 เสียงแคนแทนใจ (ร่วมกับ ยอดรัก สลักใจ) (2540) (เอ็มสตาร์)
  • อกหักเพราะรักเมีย (2541) (เอ็มสตาร์)
  • รวมมิตรฮิตยิ่งยง (2541) (เอ็มสตาร์)
  • ยิ่งยงทรงเครื่อง (2541) (เอ็มสตาร์)
  • สวรรค์บ้านทุ่ง (2541) (เอ็มสตาร์)
  • รักใครใจก็ช้ำ (2543) (เอ็มสตาร์)
  • สามหนุ่มอีสาน (ร่วมกับ จ่าหลอย เฮนรี่ และ สิทธิพร สุนทรพจน์) (2543) (เอ็มสตาร์)
  • รอน้องหน้าเธค (2544) (ท็อปไลน์)
  • กระโน้บติงตอง (ร่วมกับ ทรงพล ยอดบัวงาม) (2544) (ท็อปไลน์)
  • จากใจ..ยิ่งยง (2545) (กาเด้นท์)
  • กินยาผิดซอง (2546) (ท็อปไลน์)
  • ผมถูกปรักปรำ (2548) (ท็อปไลน์)
  • รวมฮิต 17 เพลงดังตลับเพชร (2548) (ท็อปไลน์)
  • แม่ไม้เพลงดัง ยิ่งยง ยอดบัวงาม (2549) (มูฟวี สตรีต)
  • ไม่เจตนามีเมียน้อย (2549) (ท็อปไลน์)
  • พระอาจารย์อ๊อด (2549) (ท็อปไลน์)
  • แม่ฮ้างสาวเฒ่าหัวงู (ร่วมกับ อาภาพร นครสวรรค์) (2551) (ท็อปไลน์)
  • ขอแค่คำหวาน (2552) (ท็อปไลน์)
  • กันตรึมสภา (2553) (ท็อปไลน์)
  • โนกันตรึม (2555) (ท็อปไลน์)

ผลงานเพลงดัง

  • สมศรี 1992
  • ช่างทองร้องไห้
  • พลอยมาแล้ว
  • ไอ้หนุ่มเลี้ยงควาย
  • รักบทผิดหวัง
  • แท็กซี่กับนางโลม
  • เฝ้ารักเฝ้าคอย
  • ไปดีเถิดน้อง
  • ยิ่งยงมาแล้ว
  • อกหักเพราะรักเมีย
  • พูดให้รู้เรื่องบ้าง
  • กรรมกรก่อสร้าง
  • รักสาวเย็บผ้า
  • สาวลำยอง
  • รักเราเขาแย่ง
  • อยากขายหัวใจ
  • รักสาวสะเราะแอง
  • หนุ่มสุรินทร์รักสาวสุราษฎร์
  • เพราะความคิดถึง
  • เก็บเส้นผมไว้ดู
  • ไอ้หนุ่มท้ายรถ
  • ผมถูกปรักปรำ
  • อ.ส. รอรัก
  • กินยาผิดซอง
  • ไม่เจตนามีเมียน้อย
  • ขอเงินเมียไปเสียค่าห้อง ​
  • จดหมายพ่ายรัก ​
  • กันตรึมสกา ​
  • แปรจ๋า ​
  • โนกันตรึม ​
  • ห่วงเธอเจอโควิด 19 ​
  • เจ็บแค้นแทนเธอ ​
  • ยอดมะพร้าว ​

อัลบั้มพิเศษ

  • คาราวะคาราวาน (2537)
  • เพื่อชีวิตพันล้าน (2541)
  • ประสานใจ ไทยหาร 2 (2541)
  • เพลงเฉลิมพระเกียรติองค์ราชา (2548) - จัดทำขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
  • ร่วมพลิกชะตากรรมชาติ อ่าน คิด ลงประชามติ รธน. (2550) - จัดทำขึ้นโดย คณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ ในคณะกรรมการอำนวยการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำรัฐธรรมนูญฯ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

อัลบั้มร่วมกับศิลปินคนอื่น

  • สายด่วนลูกทุ่ง
  • ต้นตำรับลูกทุ่งไทย
  • ลูกทุ่งไทย ใจเกินร้อย
  • ลูกทุ่ง สามทศวรรษ
  • 16 เพลงรักโดนใจ
  • 16 เพลงซึ้งโดนใจ
  • รำวงย้อนยุด คณะ รวมดาวลูกทุ่ง
  • สุดยอดลูกทุ่ง ผู้ชายพันล้าน
  • ลูกทุ่งสุดยอดเพลงฮิต
  • ลูกทุ่งปัดฝุ่น
  • ลูกทุ่งเอฟเอ็ม
  • ลูกทุ่งสามช่า
  • ฮิตทั่วไทย ใจลูกทุ่ง
  • รวมเพลงฮิต 120 เพลงดัง ดีที่สุด
  • ลูกทุ่งฮิตโดนใจ
  • ขวัญใจรั้วของชาติ
  • ลูกทุ่งรวมดาวเพลงดัง
  • ลูกทุ่งย้อนยุคฮิตตลอดกาล
  • ลูกทุ่งยอดฮิต

ประพันธ์เพลง

  • มีอ้ายน้องบ่แคร์ - ศิริพร อําไพพงษ์

คอนเสิร์ต

  • คอนเสิร์ต 30 ปี สุรพล สมบัติเจริญ (21 สิงหาคม 2541)
  • คอนเสิร์ต สนามหลวง 3 (12 สิงหาคม 2545)
  • คอนเสิร์ต Highlight มหกรรมคอนเสิร์ตทรัพย์สินทางปัญญา (31 สิงหาคม 2546)
  • คอนเสิร์ตแม่ จากท้องสนามหลวง (12 สิงหาคม 2549)
  • คอนเสิร์ต รักแผ่นดิน (7 กรกฎาคม 2550)
  • คอนเสิร์ต รวมพลัง แสดงสดจากท้องสนามหลวง (5 ธันวาคม 2552)
  • คอนเสิร์ต อยู่อย่างสิงห์ (20 เมษายน 2553)
  • คอนเสิร์ต เอกชัย ท้ากัด (18 กันยายน 2553)
  • คอนเสิร์ต สานสัมพันธ์ไทยกัมพูชา (28 พฤศจิกายน 2553)
  • คอนเสิร์ต Pattaya Countdown 2011 (27 ธันวาคม 2553)
  • คอนเสิร์ต ดอกไม้ เพลงหนัง ความรัก (30 กันยายน 2554)
  • คอนเสิร์ต ลูกทุ่งจ๋ามหาสนุก (21 – 22 เมษายน 2555)
  • คอนเสิร์ต ศิริราช สุขสันต์ ปันสุข (20 กรกฎาคม 2556)
  • คอนเสิร์ต Industrial Fair 2013 (29 พฤศจิกายน - 1 ธันวาคม 2556)
  • คอนเสิร์ต ด้วยรักและภักดี (1 ธันวาคม 2556)
  • คอนเสิร์ต รวมพลคนรักแม่ มหกรรมนันทนาการและการออกกําลังกาย เทิดไท้ องค์ราชินี (9 สิงหาคม 2557)
  • คอนเสิร์ต เทศกาลความสนุก ทุ่งแสนสุข (19 กันยายน 2557)
  • คอนเสิร์ต เทศกาล ทุ่งแสนสุข จ.ระยอง (8 พฤศจิกายน 2557)
  • คอนเสิร์ต ลูกทุ่งเพื่อแผ่นดิน (6 กันยายน 2558)
  • มหกรรมคอนเสิร์ต แรงงานไทย เทิดไท้องค์ราชัน (1 พฤษภาคม 2560)
  • คอนเสิร์ต Leo Presents ฮัก คอนเสิร์ต หมายเลข 2 มหกรรมเพลงไทยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบปี (3 ธันวาคม 2560)
  • คอนเสิร์ต รำลึก 26 ปี ราชินีลูกทุ่ง พุ่มพวง ดวงจันทร์ (25 มิถุนายน 2561)
  • คอนเสิร์ต ลูกทุ่งการกุศล (8 พฤศจิกายน 2561)
  • คอนเสิร์ต รำลึก พ่อดม ชวนชื่น (30 ธันวาคม 2561)
  • คอนเสิร์ต หนึ่งใจ...ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม (16 กันยายน 2562)
  • มหกรรมคอนเสิร์ต การกุศล ลูกทุ่งหมอลำ (7 พฤศจิกายน 2562)
  • คอนเสิร์ต อาลัยพ่อเพลงแห่งแผ่นดิน พ่อไวพจน์ เพชรสุพรรณ (5-7 พฤษภาคม 2565)
  • คอนเสิร์ต หนึ่งใจ…ช่วยเหลือผู้ประสบภัย (25 ตุลาคม 2565)
  • คอนเสิร์ต หนึ่งใจช่วยผู้ประสบภัย (26 ตุลาคม 2565)
  • คอนเสิร์ต เซิ้ง 4 สุดสวิงริงโก้ (19 ธันวาคม 2565)
  • คอนเสิร์ต ครบรอบ 1 ปี ศรเพชร ศรสุพรรณ (8 มกราคม 2566)
  • คอนเสิร์ต ครบรอบ 1 ปี ไวพจน์ เพชรสุพรรณ (12 มกราคม 2566)
  • คอนเสิร์ต จิ๋วแต่แจ๋ว (ครูสง่า อารัมภีร ศิลปินแห่งชาติ & ครูดิเรก เกศรีระคุปต์) (29 ตุลาคม 2566)
  • คอนเสิร์ต ครบรอบ 2 ปี ศรเพชร ศรสุพรรณ (8-10 มกราคม 2567)
  • คอนเสิร์ต 84 ปี ลูกทุ่งไทย (14 มกราคม 2567)
  • คอนเสิร์ต Songkran Festival 2024 (14 เมษายน 2567)

เพลงพิเศษ

  • มนต์เพลงลูกทุ่งเอฟเอ็ม ในเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง มนต์เพลงลูกทุ่งเอฟเอ็ม (2545)
  • สดุดีมหาราชา (2556) - เพื่อเทิดพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 86 พรรษา

ผลงานการแสดงละครโทรทัศน์

ละครโทรทัศน์

ปี พ.ศ. เรื่อง ออกอากาศ บทบาท
2541 สวรรค์บ้านทุ่ง ช่อง 9 เจ้ายิ่ง (รับเชิญ)
2542 ระเบิดเถิดเทิง ช่อง 5 (รับเชิญ ตอน ฆ่าตัวตาย)
2544 กองร้อย 501 แผ่นดินข้าใครอย่าแตะ ช่อง 7
2545 นางมาร
2546 โฉมตรูครูเถื่อน ช่อง ไอทีวี
ระเบิดเถิดเทิง ช่อง 5 (รับเชิญ ตอน ตัวจริง ตัวปลอม)
เพลงรักเพลงปืน ช่อง 3
สิบตำรวจโทบุญถึง ช่อง 7 กำจร
2547 คุณชายจอมยุ่ง ช่อง 3
2548 เทพธิดาโรงงาน ช่อง 9 โอม
รักละมุนลุ้นละไม ช่อง 3
2549 โก๊ะจ๋า ป่านะโก๊ะ ช่อง 7 ดอกรัก
สายรัก สาละวิน
ผู้พิทักษ์รักเธอ ช่อง 5 เสี่ยอ่าง
2551 ผ่าโลกบันเทิง ช่อง 7 ฉลาด
เจาะเวลาหาโก๊ะ ดอกรัก
เพลงดินกลิ่นดาว สุวรรณ
ระเบิดเถิดเทิง ช่อง 5 (รับเชิญ ตอน มือมืด)
ดาวจรัสฟ้า ช่อง 3 จ่อย
2552 พยัคฆ์ยี่เก ช่อง 7 เด็ดดวง
โก๊ะซ่า ท้ามิติ ดอกรัก
ลูกสาวกำนัน ช่อง 3 ปาน ผู้เท่ห์
2553 สืบสวนป่วนรัก เฮียหลง
ระเบิดเถิดเทิง รุ่น 3 ช่อง 5 (รับเชิญ ตอน ทำให้รักทำไม, เนื้อคู่...ไม่รู้ใครเป็นใคร, ชะตาฟ้า)
บ้านนาคาเฟ่ ช่อง 7 ยิ่งยง ยอดบัวงาม (รับเชิญ)
2554 ชื่นชีวานาวี ช่อง 3 พลเวก
มนต์รักแม่น้ำมูล ช่อง 7 (รับเชิญ)
อุบัติรักเกาะสวรรค์ โชค
สืบสวนป่วนกำลังสาม ช่อง 3 เฮียหลง
2555 เถ้าแก่แซ่จอห์น ช่อง 7 พ่อบ้านเฉิน
กู้ภัยหัวใจแหวว พี่โชค
ปัญญาชนก้นครัว ช่อง 3 อเนก
ราชินีลูกทุ่ง ช่อง 8
สายฟ้ากับสมหวัง ช่อง 5 เจ๊เนาว์
2556 โทน ช่อง 7 ผู้ใหญ่ณรงค์
ซินเดอเรลล่ารองเท้าแตะ สุรเดช (พี่สุ)
นางมาร ช่อง 8
2557 หางเครื่อง ช่อง 7 เทพ
2558 หมอผีไซเบอร์ ช่อง 3 ลุงช้าง
ทางผ่านกามเทพ สมชาย (รับเชิญ)
จับกัง ช่อง 7 พี่เฉย
เพลงรักข้ามคลอง ทรูโฟร์ยู
2559 นางฟ้าเปื้อนฝุ่น ช่อง 7 (รับเชิญ)
เตียงนางไม้ ช่อง 3 หมอฉุย
สัญญาเมื่อสายยัณห์ ช่อง พีพีทีวี สมชาย
ยายกะลา ตากะลี ช่อง 7 ไม้
2562 เฮฮาเมียนาวี ช่อง 3 จ่าจิ้ม จรอ้าว
2563 ฟ้าฝากรัก โจ้
คิดฮอดไทบ้าน อีสานซีรีส์ ช่องจีเอ็มเอ็ม 25 บุญมา อรุณทรัพย์มงคล (ผู้ใหญ่บุญ)
สะใภ้ไร้ศักดินา ช่อง 8 พ่อทิ้งทวน
2564 มนต์รักหนองผักกะแยง ช่อง 3 ผู้ใหญ่พิลา นามดี
คุณกระบือสื่อรัก
2565 ซ่อนกลิ่น (รับเชิญ)
2566 ที่สุดของหัวใจ ลุงไร้บ้าน homeless (รับเชิญ)
มวยสะดิ้ง หมัดซิ่งสายฟ้า ช่อง 8 ตายอด
มาเฟียลำซิ่ง ช่อง 7 ครูแสงทอง
2567 มนต์รักกันตรึม ช่องวัน 31
เทียนซ่อนแสง

ซีรีส์

ซิตคอม

ผลงานภาพยนตร์

  • เพลงรักสวรรค์บ้านนา (2537)
  • หนุ่มนาข้าว สาวลำน้ำมูล (2538) รับบท ก้อย
  • มนต์เพลงลูกทุ่ง เอฟ.เอ็ม. (2545) รับบท หมวดยิ่งยง
  • คนปีมะ (2546) รับบท นักร้องประจำวงบางกอก (รับเชิญ)​
  • หลบผี ผีไม่หลบ (2546) รับบท ช่างบุญรอด (รับเชิญ)​
  • บอดี้การ์ดหน้าเหลี่ยม (2547) รับบท นายอาทิตย์
  • มนต์เพลง เอฟ ฟา เอ็ม (2547)
  • มนต์รักลูกทุ่ง (2548) รับบท ไอ้แว่น
  • ยอดชายนายคำเม้า (2548) รับบท ปวกเพชร
  • หนูกันภัย ศึกมหายันต์ ยิงกันสนั่นจอ (2553) รับบท เสือยิ่ง
  • รวมพลคนลูกทุ่งเงินล้าน (2556) รับบท หมวดยิ่งยง
  • บอดี้การ์ดหน้าหัก (2562) รับบท ชุน เขมพิณ
  • รักแรก โคตรลืมยาก (2566)

กรรมการตัดสิน

รายการ

  • ยิ่งยงเข้าแข่นขันในรายการ เพชรตัดเพชร ซีซั่นที่ 1 ในโจทย์ลูกทุ่งยุคแผ่นเสียง (2563)
  • ยิ่งยงเข้าแข่นขันในรายการ เพชร 300 (2563)
  • ยิ่งยงเข้าเล่นเกมส์ในรายการ หัวท้ายตายก่อน (2564-2565)
  • ยิ่งยงเข้าร่วมในรายการ โจ๊กตัดโจ๊ก ตันฉบับมาเอง (2565)
  • ยิ่งยงเข้าร่วมในรายการ โจ๊กตัดโจ๊ก ตันฉบับสลับเพลง ในเพลง ห้องนอนไม่หลับ (ตันฉบับจาก อาภาพร นครสวรรค์) (2565)

มิวสิกวีดีโอ

โฆษณา

  • ถั่งเช่า ผสมมัลติวิตามินบี (ภาพนิ่ง) พ.ศ. 2562

ชีวิตส่วนตัว

ยิ่งยง ยอดบัวงาม มีบุตรสองคนที่เกิดกับยศยา ภูนาแร่ คือ พรศิริ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น พิมพ์นารา; ชื่อเล่น: น้ำฝน) และวุฒิไกร บัวงาม (มีชื่อในวงการนักร้องว่า อ้น นิธิพัฒน์) ต่อมายิ่งยงได้สมรสกับมณฑาทิพย์ บัวงาม ทั้งคู่มีลูกสาวด้วยกันหนึ่งคน ชื่อศิมลมาศ บัวงาม ชื่อเล่น โยโย่

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

ยิ่งยง ยอดบัวงาม ประวัติยิ่งยง ยอดบัวงาม ได้อัดแผ่นยิ่งยง ยอดบัวงาม เดินสายยิ่งยง ยอดบัวงาม ตำนานสมศรียิ่งยง ยอดบัวงาม ผลงานอัลบั้มยิ่งยง ยอดบัวงาม ผลงานเพลงดังยิ่งยง ยอดบัวงาม อัลบั้มพิเศษยิ่งยง ยอดบัวงาม อัลบั้มร่วมกับศิลปินคนอื่นยิ่งยง ยอดบัวงาม ประพันธ์เพลงยิ่งยง ยอดบัวงาม คอนเสิร์ตยิ่งยง ยอดบัวงาม เพลงพิเศษยิ่งยง ยอดบัวงาม ผลงานการแสดงละครโทรทัศน์ยิ่งยง ยอดบัวงาม กรรมการตัดสินยิ่งยง ยอดบัวงาม รายการยิ่งยง ยอดบัวงาม มิวสิกวีดีโอยิ่งยง ยอดบัวงาม โฆษณายิ่งยง ยอดบัวงาม ชีวิตส่วนตัวยิ่งยง ยอดบัวงาม อ้างอิงยิ่งยง ยอดบัวงาม แหล่งข้อมูลอื่นยิ่งยง ยอดบัวงามชายนักร้องลูกทุ่ง

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ติ๊กต็อกมาสค์ไรเดอร์ซีรีส์ยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2016–17 รอบแบ่งกลุ่มยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2016–17 รอบคัดเลือกและรอบเพลย์ออฟICD-10พัชราภา ไชยเชื้อจักรภพ ภูริเดชวิทยุเสียงอเมริกาจังหวัดจันทบุรีศิรพันธ์ วัฒนจินดาปีนักษัตรพระเยซูความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญารายชื่อประเทศและเขตการปกครองเรียงตามขนาดพื้นที่ทั้งหมดโรงเรียนบรรจงรัตน์สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดรายชื่อนักฟุตบอลทีมชาติไทยปภาวดี ชาญสมอนนฤมล พงษ์สุภาพดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)รายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่อง 3 เอชดีสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติธงชาติไทยพิมพ์ชนก ลือวิเศษไพบูลย์สังคหวัตถุ 4หมาล่าพลพล พลกองเส็งพาทิศ พิสิฐกุลการ์ตูนเพลงชาติไทยจังหวัดน่านมีนาคมเนย์มาร์ประเทศอังกฤษอสมทรายพระนามและชื่อผู้บัญชาการทหารบกไทยสงครามเย็นแอริน ยุกตะทัตภาวะโลกร้อนพิศณุ นิลกลัดสัปเหร่อ (ภาพยนตร์)สำนักนายกรัฐมนตรี (ประเทศไทย)ชวน หลีกภัยสโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตีสาปซ่อนรักช่อง 3 เอชดีดราก้อนบอล ซูเปอร์จังหวัดปทุมธานีประเทศบราซิลสาว สาว สาวโชกุนรายชื่อเขตของกรุงเทพมหานครก็อดซิลล่า ปะทะ คองทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีพรรคภูมิใจไทยประเทศเกาหลีเกรซ มหาดำรงค์กุลร่มเกล้า ธุวธรรมจังหวัดฉะเชิงเทรารายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (แอนิเมชัน)ทวีปยุโรปธนนท์ จำเริญแฮร์รี่ พอตเตอร์สมณศักดิ์อธิป ทองจินดาประเทศอิสราเอลคิม ซู-ฮย็อนสินจัย เปล่งพานิชคงกะพัน แสงสุริยะณัฐฐชาช์ บุญประชมลุค อิชิกาวะ พลาวเดนเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยจังหวัดตรังทวีปอเมริกาเหนือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ทัศน์พล วิวิธวรรธน์จัน ดารา (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2544)🡆 More