มามาอะวอดส์

มามาอะวอดส์ (อังกฤษ: MAMA Awards) ชื่อเดิม เอ็มเน็ตเอเชียนมิวสิกอะวอดส์ (อังกฤษ: Mnet Asian Music Awards) เป็นงานประกาศรางวัลดนตรีสำคัญที่จัดขึ้นทุกปีโดยบริษัทบันเทิงซีเจ อีแอนด์เอ็ม จัดขึ้นครั้งแรกในเกาหลีใต้ รางวัลส่วนใหญ่ได้รับโดยศิลปินเคป็อป และมีศิลปินเอเชียรายอื่นที่ชนะรางวัลประเภทต่าง ๆ เช่น รางวัลศิลปินเอเชียยอดเยี่ยมและรางวัลอื่นที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ

มามาอะวอดส์
ปัจจุบัน: มามาอะวอดส์ 2023
รางวัลสำหรับความสำเร็จที่โดดเด่นในอุตสาหกรรมดนตรีเคป็อปและเอเชีย
ประเทศเกาหลีใต้, สิงคโปร์, ญี่ปุ่น, เวียดนาม, ฮ่องกง และมาเก๊า
จัดโดยแผนกบันเทิงซีเจอีแอนด์เอ็ม (เอ็มเน็ต)
รางวัลแรก27 พฤศจิกายน 1999; 24 ปีก่อน (1999-11-27)
เว็บไซต์เว็บไซต์ทางการ
โทรทัศน์/วิทยุ
เครือข่ายเอ็มเน็ต โดยซีเจ อีแอนด์เอ็ม และเครือข่ายระหว่างประเทศอื่น ๆ
← 2022 · มามา · 2023 →

พิธีมอบรางวัลจัดขึ้นครั้งแรกในโซลเมื่อปี ค.ศ. 1999 โดยออกอากาศทางเอ็มเน็ต มามายังจัดขึ้นในประเทศและเมืองต่าง ๆ ในเอเชียนอกเกาหลีใต้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2010 และขณะนี้มีการออกอากาศทางออนไลน์ทั่วโลกนอกเหนือจากเอเชีย

ประวัติ

พิธี

งานจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1999 เป็นพิธีมอบรางวัลมิวสิกวิดีโอ โดยมีต้นแบบมาจากเอ็มทีวีวิดีโอมิวสิกอะวอดส์ ในชื่อ เอ็มเน็ตวิดีโอมิวสิกอะวอดส์ งานรวมเข้ากับเคเอ็มทีวีโคเรียนมิวสิกอะวอดส์ในปี ค.ศ. 2004 และเปลี่ยนชื่อเป็นเอ็มเน็ตเคเอ็มมิวสิกวิดีโอเฟสติวัล ในช่วงกลางทศวรรษ 2000 พิธีมอบรางวัลได้ดึงดูดความสนใจจากนานาชาติ เนื่องจากการแพร่กระจายของกระแสเกาหลีและออกอากาศในประเทศจีนและญี่ปุ่นในปี 2008

ในปี 2009 งานได้เปลี่ยนชื่อเป็นเอ็มเน็ตเอเชียนมิวสิกอะวอดส์ (MAMA) เพื่อสะท้อนถึงการขยายงานออกนอกเกาหลีใต้ ในปี 2010 มามาจัดขึ้นที่มาเก๊า นับเป็นครั้งแรกที่จัดขึ้นนอกเกาหลีใต้ ถัดมาในปี 2011 งานมามาจัดขึ้นที่สิงคโปร์ จากนั้นจัดขึ้นที่ฮ่องกงตั้งแต่ปี 2012 ถึง 2017 ในปี 2017 พิธีมอบรางวัลได้ขยายเป็นสี่คืน และบางส่วนของงานจัดขึ้นในเวียดนามและญี่ปุ่น นอกเหนือจากฮ่องกง ในปี 2018 มามามีสามส่วนและจัดขึ้นในสามประเทศ เกาหลีใต้เป็นเจ้าภาพงานมามาเป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปี ร่วมกับญี่ปุ่นและฮ่องกง ในปี 2020 มามาจัดขึ้นทางออนไลน์ที่เกาหลีใต้เท่านั้นเนื่องจากการระบาดของโควิด-19

มามาอะวอดส์ 
โลโก้เอ็มเน็ตเอเชียนมิวสิกอะวอดส์

วันที่ 20 กรกฎาคม 2021 มีรายงานจาก Ilgan Sports ว่างานประกาศรางวัลเอ็มเน็ตเอเชียนมิวสิกอะวอดส์ 2021 กำลังอยู่ระหว่างการหารือเกี่ยวกับงานที่จะจัดขึ้นในฮ่องกง แม้ว่าจะมีการระบาดอย่างต่อเนื่องและข้อจำกัดด้านการเดินทาง วันที่ 23 สิงหาคม 2022 ซีเจ อีแอนด์เอ็มประกาศว่างานจะเปลี่ยนชื่อเป็น "มามาอะวอดส์" นับจากนี้เป็นต้นไป

ชื่องาน

  • เอ็มเน็ตวิดีโอมิวสิกอะวอดส์ (1999)
  • เอ็มเน็ตมิวสิกวิดีโอเฟสติวัล (2000–2003)
  • เอ็มเน็ตเคเอ็มมิวสิกวิดีโอเฟสติวัล (2004–2005)
  • เอ็มเน็ตเคเอ็มมิวสิกเฟสติวัล (2006–2008)
  • เอ็มเน็ตเอเชียนมิวสิกอะวอดส์ (2009–2021)
  • มามาอะวอดส์ (2022–ปัจจุบัน)

สถานที่จัดงาน

ปี วันที่ เมือง สถานที่ พิธีกร
เอ็มเน็ตวิดีโอมิวสิกอะวอดส์ (Mnet Video Music Awards)
1999 27 พฤศจิกายน มามาอะวอดส์  โซล ยูนิเวอร์แซลอาตส์เซ็นเตอร์ ชเว ฮัล-ลี
เอ็มเน็ตมิวสิกวิดีโอเฟสติวัล (Mnet Music Video Festival – MMF)
2000 24 พฤศจิกายน มามาอะวอดส์  โซล ยูนิเวอร์แซลอาตส์เซ็นเตอร์ ชา แทฮยอน และ คิม ฮยอน-จู
2001 23 พฤศจิกายน ชา แทฮยอน และ ซง ฮเย-กโย
2002 29 พฤศจิกายน ชิน ดง-ยอบ และ คิม จอง-อึน
2003 27 พฤศจิกายน มหาวิทยาลัยคยองฮี ชา แทฮยอน และ ซ็อง ยู-รี
เอ็มเน็ตเคเอ็มมิวสิกวิดีโอเฟสติวัล (Mnet Km Music Video Festival – MKMF)
2004 4 ธันวาคม มามาอะวอดส์  โซล มหาวิทยาลัยคยองฮี ชิน ดง-ยอบ และ จอง-อึน
2005 27 พฤศจิกายน โอลิมปิกยิมนาสติกอารีนา ชิน ดง-ยอบ และ คิม อา-จุง
เอ็มเน็ตเคเอ็มมิวสิกเฟสติวัล (Mnet Km Music Festival – MKMF)
2006 25 พฤศจิกายน มามาอะวอดส์  โซล โอลิมปิกยิมนาสติกอารีนา ชิน ดง-ยอบ และ คิม อก-บิน
2007 17 พฤศจิกายน ศูนย์กีฬากรุงโซล ชิน ดง-ยอบ และ อี ดาแฮ
2008 15 พฤศจิกายน เรน
เอ็มเน็ตเอเชียนมิวสิกอะวอดส์ (Mnet Asian Music Awards – MAMA)
2009 21 พฤศจิกายน มามาอะวอดส์  โซล ศูนย์กีฬากรุงโซล ไทเกอร์ เจเค
2010 28 พฤศจิกายน มามาอะวอดส์  มาเก๊า โคไทอารีนา เดอะเวนีเชียนมาเก๊า ไม่มี
2011 29 พฤศจิกายน มามาอะวอดส์  สิงคโปร์ สนามกีฬาในร่มสิงคโปร์ อี บย็อง-ฮ็อน
2012 30 พฤศจิกายน มามาอะวอดส์  ฮ่องกง ศูนย์นิทรรศการและการประชุมฮ่องกง ซง จุง-กี
2013 22 พฤศจิกายน เอเชียเวิลด์–อารีนา อี ซึง-กี
2014 3 ธันวาคม ซง ซึง-ฮ็อน
2015 2 ธันวาคม ไซ
2016 2 ธันวาคม อี บย็อง-ฮ็อน
2017 25 พฤศจิกายน มามาอะวอดส์  นครโฮจิมินห์ โรงละครฮัวบินห์ ธู มินห์
29 พฤศจิกายน มามาอะวอดส์  โยโกฮามะ โยโกฮามะอารีนา พัก โบ-ก็อม
30 พฤศจิกายน มามาอะวอดส์  ฮ่องกง ดับเบิ้ลยูฮ่องกง ไม่มี
1 ธันวาคม เอเชียเวิลด์–อารีนา ซง จุง-กี
2018 10 ธันวาคม มามาอะวอดส์  โซล ทงแดมุนดีไซน์พลาซ่า จอง แฮ-อิน
12 ธันวาคม มามาอะวอดส์  ไซตามะ ไซตามะซูเปอร์อารีนา พัก โบ-ก็อม
14 ธันวาคม มามาอะวอดส์  ฮ่องกง เอเชียเวิลด์–อารีนา ซง จุง-กี
2019 4 ธันวาคม มามาอะวอดส์  นาโงยะ นาโกยะโดม พัก โบ-ก็อม
2020 6 ธันวาคม มามาอะวอดส์  พาจู ซีเจอีแอนด์เอ็มคอนเทนส์เวิลด์ ซง จุง-กี
2021 11 ธันวาคม อี ฮโยรี
มามาอะวอดส์ (MAMA Awards)
2022 29–30 พฤศจิกายน มามาอะวอดส์  โอซากะ เคียวเซระโดม โซมี และ พัก โบ-ก็อม
2023 28–29 พฤศจิกายน มามาอะวอดส์  โตเกียว โตเกียวโดม

ประเภทรางวัล

รางวัลใหญ่

สี่รางวัลใหญ่ (เรียกว่า แดซัง)

  • ศิลปินแห่งปี
  • อัลบั้มแห่งปี
  • เพลงแห่งปี
  • ไอคอนทั่วโลกแห่งปี (ตั้งแต่ ค.ศ. 2018)

รางวัลการแข่งขัน

รางวัลแต่ละประเภทเปิดตัวในปี ค.ศ. 1999 เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น

  • ศิลปินชายยอดเยี่ยม
  • ศิลปินหญิงยอดเยี่ยม
  • ศิลปินกลุ่มชายยอดเยี่ยม (ตั้งแต่ ค.ศ. 2000 หรือที่เรียกว่ากลุ่มยอดเยี่ยมในปี ค.ศ. 1999)
  • ศิลปินกลุ่มหญิงยอดเยี่ยม (ตั้งแต่ ค.ศ. 2000)
  • ศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม
  • การแสดงเต้นยอดเยี่ยม
  • การแสดงวงดนตรียอดเยี่ยม
  • การแสดงแร็ปยอดเยี่ยม
  • การแสดงร้องยอดเยี่ยม (ตั้งแต่ ค.ศ. 2010)
  • การทำงานร่วมกันยอดเยี่ยม (ค.ศ. 2010, 2012, 2014–2017, 2019–ปัจจุบัน)
  • เพลงประกอบละครยอดเยี่ยม (ค.ศ. 2004)
  • มิวสิกวิดีโอยอดเยี่ยม (ตั้งแต่ ค.ศ. 2006)
  • กลุ่มย่อยยอดเยี่ยม (ค.ศ. 2018)

รางวัลพิเศษ

รางวัลเหล่านี้ได้รับเพียงครั้งเดียวหรือเป็นครั้งคราว

  • ศิลปินต่างประเทศยอดเยี่ยม (ค.ศ. 1999–2006, 2009–2010, 2012–2014, 2019, 2021)
  • ศิลปินเอเชียยอดเยี่ยม (ตั้งแต่ ค.ศ. 2004)
  • รางวัลพิเศษอื่น ๆ

รางวัลที่ยกเลิกไปแล้ว

  • มิวสิกวิดีโอแห่งปี (ค.ศ. 1999–2005)
    (อดีตรางวัล แดซัง และ ปัจจุบันคือมิวสิกวิดีโอยอดเยี่ยม ตั้งแต่ ค.ศ. 2006)
  • มิวสิกวิดีโอยอดนิยม ค.ศ. (1999–2005)
    (อดีตรางวัล แดซัง)
  • การแสดงมิวสิควิดีโอยอดเยี่ยม (ค.ศ. 2005–2007)
  • ผู้กำกับมิวสิกวิดีโอยอดเยี่ยม (ค.ศ. 1999–2006)
  • กลุ่มผสมยอดเยี่ยม (ค.ศ. 2000–2009)
  • การแสดงบัลลาดยอดเยี่ยม (ค.ศ. 1999–2009)
  • การแสดงอาร์แอนด์บียอดเยี่ยม (ค.ศ. 2000–2007)
  • การแสดงอินดี้ยอดเยี่ยม (ค.ศ. 1999–2002)
  • การแสดงเฮาส์และอิเล็กทรอนิกส์ยอดเยี่ยม (ค.ศ. 2007–2009)
  • การแสดงทรอตยอดเยี่ยม (ค.ศ. 2009)
  • ซิงเกิลดิจิทัลยอดเยี่ยม (ค.ศ. 2010)

ชนะมากที่สุด

รางวัลแดซัง

    รายชื่อศิลปินที่ได้รับรางวัล แดซัง 2 รางวัลขึ้นไป
    (ประกอบด้วย ศิลปินแห่งปี, อัลบั้มแห่งปี, เพลงแห่งปี และไอคอนทั่วโลกแห่งปี)
สถิติ ศิลปิน ปีแรกที่
ได้รับรางวัล
ปีล่าสุดที่
ได้รับรางวัล
21 บีทีเอส 2016 2023
6 เอ็กโซ 2013 2017
5 บิกแบง 2008 2015
4 ทูเอนีวัน 2009 2011
3 ทไวซ์ 2016 2018
ซูเปอร์จูเนียร์ 2007 2012
2 จี-ดรากอน 2009 2013
ทงบังชินกี 2005 2008
เอสจี วอนนาบี 2006 2006
โบอา 2002 2004
เอชโอที 1999 2000

ได้รับรางวัลมากที่สุดโดยรวม

สถิติ ศิลปิน
52 บีทีเอส
19 เซเวนทีน
18 ทไวซ์
16 เอ็กโซ
13 บิกแบง
ซูเปอร์จูเนียร์
12 ไอยู
11 แบล็กพิงก์
ทงบังชินกี
10 ทูเอนีวัน
ไซ
ชินฮวา
8 โบอา

การออกอากาศ

รายการออกอากาศสดในสิบสามประเทศทั่วเอเชีย ในเกาหลีใต้ออกอากาศทางเอ็มเน็ตและซีเจ อีแอนด์เอ็ม ช่องทีวีอื่น ๆ ที่ออกอากาศรายการ ได้แก่ ทีวีเอ็นเอเชีย (มัลดีฟส์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไต้หวัน) และ จูกซ์ (ฮ่องกง อินโดนีเซีย มาเลเซีย เมียนมาร์ และไทย) เอ็มเน็ตเจแปน เอ็มเน็ตสมาร์ท และเอยูสมาร์ทพาส (ญี่ปุ่น) วิว ทีวีซิกซ์ วิวทีวี viu.tv (ฮ่องกง) ฟรายเดย์วิดีโอแอนด์ฟรายเดย์มิวสิก (ไต้หวัน) มีวอตช์ (สิงคโปร์) อินโดซียาร์แอนด์วิดีโอ (อินโดนีเซีย) gigafest.smart (ฟิลิปปินส์) เอฟพีทีทีวีแอนด์ฟ็อกซ์ซี (เวียดนาม)

รายการยังออกอากาศออนไลน์ทั่วโลกผ่านช่องยูทูบ Mnet K-POP, KCON official เช่นเดียวกับ KCON

หมายเหตุ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

This article uses material from the Wikipedia ไทย article มามาอะวอดส์, which is released under the Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 license ("CC BY-SA 3.0"); additional terms may apply (view authors). เนื้อหาอนุญาตให้เผยแพร่ภายใต้ CC BY-SA 4.0 เว้นแต่ระบุไว้เป็นอื่น Images, videos and audio are available under their respective licenses.
®Wikipedia is a registered trademark of the Wiki Foundation, Inc. Wiki ไทย (DUHOCTRUNGQUOC.VN) is an independent company and has no affiliation with Wiki Foundation.

Tags:

มามาอะวอดส์ ประวัติมามาอะวอดส์ สถานที่จัดงานมามาอะวอดส์ ประเภทรางวัลมามาอะวอดส์ ชนะมากที่สุดมามาอะวอดส์ การออกอากาศมามาอะวอดส์ หมายเหตุมามาอะวอดส์ อ้างอิงมามาอะวอดส์ แหล่งข้อมูลอื่นมามาอะวอดส์ซีเจ อีแอนด์เอ็มภาษาอังกฤษเคป็อป

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

จังหวัดเชียงรายหลวงปู่ดู่ พฺรหฺมปญฺโญวรันธร เปานิลผู้หญิง 5 บาปมิเกล อาร์เตตามหาวิทยาลัยมหิดลจนกว่าจะได้รักกันโดราเอมอนยูเอสเอส ทีโอดอร์ โรเซอเวลต์ (CVN-71)มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเสกสรรค์ ศุขพิมายฟุตซอลโลก 2024นาฬิกาหกชั่วโมงฮ่องกงการ์ลัส ปุดจ์ดาโมนประเทศสิงคโปร์โครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาทจักรพงษ์ แสงมณีสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดชเจนนิเฟอร์ คิ้มจังหวัดหนองคายกูเกิล แปลภาษาก็อตซิลลาสำนักนายกรัฐมนตรี (ประเทศไทย)สุรเชษฐ์ หักพาลประเทศอุซเบกิสถานพ.ศ. 2565รายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่อง 7HDดวงใจเทวพรหมซอร์ซมิวสิกประเทศเนเธอร์แลนด์หลวงปู่ทวดโรงเรียนเตรียมทหารกัญญาวีร์ สองเมืองธนินท์ เจียรวนนท์มหาวิทยาลัยรังสิตบัตเตอร์ฟลาย (วงดนตรี)เข็มอัปสร สิริสุขะเจ้าพระยาอัครมหาเสนาธิบดี (พระราชมนู)ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยพอได้เกิดใหม่เป็นองค์ชายลําดับที่เจ็ด ก็เพื่อเรียนเวทให้สนุกกบฏเจ้าอนุวงศ์รายพระนามและชื่ออธิบดีกรมตำรวจและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติของไทยอาณาจักรอยุธยาเมษายนไทใหญ่จังหวัดบึงกาฬธี่หยด 2ประวัติศาสตร์กฤษฏ์ อำนวยเดชกรกรณิศ เล้าสุบินประเสริฐกาจบัณฑิต ใจดีลิซ่า (แร็ปเปอร์)วัชรเรศร วิวัชรวงศ์บีบีซี เวิลด์นิวส์ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชรายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานครกรมราชเลขานุการในพระองค์วันวิสาขบูชาจังหวัดนครปฐมสราลี ประสิทธิ์ดำรงกองทัพภาคที่ 1วัลลภ เจียรวนนท์Fจังหวัดอุตรดิตถ์ช่อง 3 เอชดีนิวจีนส์โบรูโตะ1ทิโมธี ชาลาเมต์ใหม่ เจริญปุระจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณอิษยา ฮอสุวรรณปริญ สุภารัตน์ไทยจังหวัดตาก🡆 More