ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของสงครามรัสเซีย-ยูเครน

ปัจจัยต่าง ๆ ทั้งทางสังคม วัฒนธรรม ชาติพันธุ์ และภาษาล้วนมีผลให้เกิดการก่อการกำเริบในภาคใต้และภาคตะวันออกของยูเครนซึ่งต่อมาปะทุเป็นสงครามรัสเซีย-ยูเครน ในฐานะผลสืบเนื่องจากการปฏิวัติแห่งศักดิ์ศรี (Revolution of Dignity) ที่เกิดขึ้นก่อนหน้า นับตั้งแต่ยูเครนได้รับเอกราชจากสหภาพโซเวียตในปี 1991 ความแตกแยกทั้งทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ประกอบกับโครงสร้างของรัฐที่อ่อนแอ ล้วนเป็นผลให้การสร้างอัตลักษณ์ร่วมของชาติยูเครนไม่เกิดขึ้น ในภาคตะวันออกและภาคใต้ของยูเครนใช้ภาษารัสเซียเป็นภาษาหลักแม้กระทั่งในหมู่ชาวยูเครนเองอันเป็นผลมาจากทั้งการทำให้กลายเป็นรัสเซียและการตั้งรกรากของกลุ่มชาติพันธุ์รัสเซียนับตั้งแต่ในสมัยจักรวรรดิรัสเซีย ประชากรในพื้นที่เป็นชาวไครเมียซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์รัสเซียที่ตั้งรกรากในพื้นที่นับตั้งแต่การขับไล่ชาวตาตาร์ไครเมียโดยโจเซฟ สตาลิน ผู้นำโซเวียต หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้แตกต่างสุดขั้วกับภาคตะวันตกและภาคกลางซึ่งในประวัติศาสตร์เคยอยู่ภายใต้ปกครองของจักรวรรดิต่าง ๆ ทั้งเครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนียและจักรวรรดิออสเตรีย ในพื้นที่นี้ อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ ภาษา และความเป็นชาติอย่างยูเครนล้วนคงอยู่อย่างเหนียวแน่น

ความขัดแย้งระหว่างสองกลุ่มที่แตกต่างกันทั้งในทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมได้ปะทุเป็นความขัดแย้งในทางการเมืองและสังคมภายหลังเหตุการณ์ยูโรไมดานซึ่งเริ่มขึ้นจากการที่วิกตอร์ ยานูกอวึช ประธานาธิบดียูเครน ปฏิเสธการลงนามในความตกลงสมาคมกับสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2013 มีแรงสนับสนุนให้ยูเครนสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับสหภาพยุโรปอย่างมากในภาคกลางและภาคตะวันตก ในขณะที่ภาคใต้และภาคตะวันออกสนับสนุนให้กระชับความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับรัสเซีย ท้ายที่สุด ยานูกอวึชถูกบังคับให้ลาออกจากตำแหน่งในเดือนกุมภาพันธ์ 2014 ตามมาด้วยการประท้วงสนับสนุนรัสเซียในภาคใต้และภาคตะวันออกซึ่งให้ความสำคัญกับความผูกพันกับรัสเซียในทางประวัติศาสตร์ ภาษา และต่อต้านขบวนการยูโรไมดาน

อ้างอิง

Tags:

2014 pro-Russian unrest in Ukraineจักรวรรดิรัสเซียจักรวรรดิออสเตรียภาษารัสเซียสงครามรัสเซีย-ยูเครนสงครามโลกครั้งที่สองสหภาพโซเวียตเครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนียเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตโจเซฟ สตาลินไครเมีย

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

สุทธิรักษ์ ทรัพย์วิจิตรบรรดาศักดิ์ไทยกรณิศ เล้าสุบินประเสริฐเครือเจริญโภคภัณฑ์สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ไทย)ไทโอยูเรียลวรณ แสงสนิทประเทศตุรกีรามาวดี นาคฉัตรีย์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567พรหมวิหาร 4สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีอัญรินทร์ ธีราธนันพัฒน์ไฮบ์คอร์ปอเรชันณฐพร เตมีรักษ์พระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วิกิพีเดียอัสซะลามุอะลัยกุมเซเรียอาจังหวัดบึงกาฬสหรัฐหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคลช่องวัน 31ฟุตซอลไทยลีก ฤดูกาล 2566จักรพงษ์ แสงมณีเจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณีสุภาพบุรุษชาวดินจังหวัดพิษณุโลกไพ่แคงนพเก้า เดชาพัฒนคุณไอยูรายชื่อภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทยมหาวิทยาลัยกรุงเทพตัวเลขโรมันอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์บุพเพสันนิวาสต่อศักดิ์ สุขวิมลอนิเมะคำอุปสรรคเอสไอคู่เวรภาคตะวันออก (ประเทศไทย)พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมลดา สุศรีรายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานครวิธวัฒน์ สิงห์ลำพองสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติสมณะโพธิรักษ์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าผ่องประไพรายพระนามและชื่อผู้บัญชาการทหารบกไทยจังหวัดชลบุรีฟุตซอลโลก 2021อริยบุคคลจังหวัดของประเทศเกาหลีใต้ข่าวช่อง 7HDพระเจ้านันทบุเรงจังหวัดขอนแก่นภาคกลาง (ประเทศไทย)ทวิตเตอร์ข้าราชการไทยวทานิกา ปัทมสิงห์ ณ อยุธยาจิรายุ ตั้งศรีสุข25 เมษายนความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย4 KINGS อาชีวะ ยุค 90ประเทศปากีสถานประเทศเยอรมนีรัตนวดี วงศ์ทองเอกซ์เจแปนเพลิงพรางเทียนผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยนามสกุลพระราชทานสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร)พิมพ์ชนก ลือวิเศษไพบูลย์บรรดาศักดิ์อังกฤษต่าย อรทัย🡆 More