ภูมิภาคของประเทศไทย

ภูมิภาค เป็นเขตการปกครองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ซึ่งมีการแบ่งภูมิภาคที่แตกต่างกัน โดยมีการแบ่งอย่างเป็นทางการเป็น 6 ภูมิภาค ตามการแบ่งของคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยสภาวิจัยแห่งชาติ และยังมีการแบ่งเป็น 4 ภูมิภาค ซึ่งสอดคล้องกับการแบ่งแบบมณฑลเทศาภิบาล

เมื่อเปรียบเทียบกับการแบ่งแบบจังหวัดของประเทศไทย การแบ่งภูมิภาคนั้นไม่ได้มีผู้บริหารเหมือนการแบ่งแบบจังหวัด แต่จะใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางภูมิศาสตร์ สถิติ ธรณีวิทยา อุตุนิยมวิทยา และการท่องเที่ยว

ประวัติ

ในสมัยที่ประเทศไทยยังมีการปกครองด้วยระบบมณฑลเทศาภิบาล พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งหน่วยการปกครองระดับ "ภาค" ขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2458 เพื่อกำกับมณฑล โดยมี "อุปราช" เป็นผู้ปกครองภาค ต่อมาได้มีการยกเลิกระบบมณฑลเทศาภิบาลในปี พ.ศ. 2476 ทำให้จังหวัดกลายเป็นหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคระดับสูงสุด

การแบ่งภูมิภาค

การแบ่งแบบ 6 ภูมิภาค
การแบ่งแบบ 4 ภูมิภาค

การแบ่งภูมิภาคในประเทศไทย มีการจำกัดความที่แตกต่างกันตามหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้

การแบ่งอย่างเป็นทางการ

การแบ่งภูมิภาคแบบ 6 ภูมิภาค ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางภูมิศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ซึ่งใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2478 และจัดให้เป็นการแบ่งภูมิภาคอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2520 ตามการแบ่งของคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยสภาวิจัยแห่งชาติ การแบ่งแบบนี้ประกอบไปด้วย 6 ภูมิภาค ได้แก่

การแบ่งแบบสี่ภูมิภาค

การแบ่งภูมิภาคแบบ 4 ภูมิภาค ใช้ในบางบริบทในการบริหารและสถิติ และยังเป็นการแบ่งกลุ่มวัฒนธรรมแบบกว้าง ๆ โดยจัดให้ภาคตะวันตกและภาคตะวันออกรวมอยู่ในภาคกลาง ในขณะที่จังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ และอุทัยธานี อยู่ในภาคเหนือ การแบ่งแบบนี้ใช้กันมากในโทรทัศน์แห่งชาติ เมื่อพูดถึงสภาพอากาศหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับภูมิภาค

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้แบ่งภูมิภาคออกเป็น 5 ภูมิภาค เพื่อวัตถุประสงค์ทางการท่องเที่ยว ได้แก่

การแบ่งตามการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย มีการแบ่งภาคเหนือกับภาคกลางเหมือนกันกับการแบ่งแบบสี่ภูมิภาค และมีการแบ่งภาคตะวันออกกับภาคกลางเหมือนกันกับการแบ่งแบบหกภูมิภาค

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แบ่งประเทศไทยออกเป็น 6 ภาค มีขอบเขตของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้เหมือนกับภูมิภาคทาง ภูมิศาสตร์ แต่ขอบเขตของภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตกแตกต่างไปจากภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ ดังนี้

ภูมิภาคของประเทศไทย 
การแบ่งภูมิภาคประเทศไทยตามคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

กรมอุตุนิยมวิทยา

กรมอุตุนิยมวิทยาได้แบ่งภูมิภาคออกเป็น 7 ภูมิภาค เพื่อวัตถุประสงค์ทางอุตุนิยมวิทยา แตกต่างจากการแบ่งแบบ 4 ภาค คือ มีการแยกภาคตะวันออกออกจากภาคกลาง ภาคใต้จะแบ่งเป็นภาคใต้ฝั่งตะวันตกและภาคใต้ฝั่งตะวันออก จังหวัดนครสวรรค์กับจังหวัดอุทัยธานีจัดให้อยู่ในภาคกลาง และจังหวัดเพชรบุรีกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จัดให้อยู่ในภาคใต้ฝั่งตะวันออก

ภูมิภาคของประเทศไทย 
การแบ่งภูมิภาคประเทศไทยตามกรมอุตุนิยมวิทยา

กรมทางหลวง

กรมทางหลวง แบ่งประเทศไทยออกเป็น 4 ภาค ตามลำดับหมายเลขทางหลวง ได้แก่

ภูมิภาคของประเทศไทย 
การแบ่งภูมิภาคประเทศไทยตามกรมทางหลวง

รหัสโทรศัพท์พื้นฐาน

ภูมิภาคของประเทศไทย 

รหัสไปรษณีย์

กรมไปรษณีย์โทรเลข ได้แบ่งประเทศไทยออกเป็น 9 ภาค ตามระบบรหัสไปรษณีย์

ภูมิภาคของประเทศไทย 

การเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน

แบ่งโดยใช้จำนวนประชากรในกลุ่มแบ่งออกเป็น 8 กลุ่มโดยให้มีจำนวนประชากรใกล้เคียงกันและ ในแต่ละกลุ่มจะต้องมีพื้นที่ต่อเนื่องกันเป็นผืนเดียว

ภูมิภาคของประเทศไทย 

กิจการลูกเสือ

ภูมิภาคของประเทศไทย 

การเปรียบเทียบ

จังหวัด 6 ภูมิภาค (ภูมิศาสตร์) 4 ภูมิภาค (การเมือง) 6 ภูมิภาค (อุตุนิยมวิทยา) 5 ภูมิภาค (การท่องเที่ยว)
อำนาจเจริญ, บึงกาฬ, บุรีรัมย์, ชัยภูมิ, กาฬสินธุ์, ขอนแก่น, เลย, มหาสารคาม, มุกดาหาร, นครพนม, นครราชสีมา, หนองบัวลำภู, หนองคาย, ร้อยเอ็ด, สกลนคร, ศรีสะเกษ, สุรินทร์, อุบลราชธานี, อุดรธานี, ยโสธร ตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ
เชียงใหม่, เชียงราย, ลำปาง, ลำพูน, แม่ฮ่องสอน, น่าน, พะเยา, แพร่, อุตรดิตถ์ เหนือ เหนือ เหนือ เหนือ
ตาก ตะวันตก
สุโขทัย, พิษณุโลก, พิจิตร, กำแพงเพชร, เพชรบูรณ์ กลาง
นครสวรรค์, อุทัยธานี กลาง
อ่างทอง, ชัยนาท, พระนครศรีอยุธยา, กรุงเทพมหานคร, ลพบุรี, นครปฐม, นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร, สมุทรสงคราม, สระบุรี, สิงห์บุรี, สุพรรณบุรี กลาง กลาง
นครนายก ตะวันออก
ฉะเชิงเทรา, จันทบุรี, ชลบุรี, ปราจีนบุรี, ระยอง, สระแก้ว, ตราด ตะวันออก ตะวันออก
กาญจนบุรี, ราชบุรี ตะวันตก กลาง กลาง
เพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์ ใต้ฝั่งตะวันออก/ใต้ฝั่งอ่าวไทย
ชุมพร, นครศรีธรรมราช, นราธิวาส, ปัตตานี, พัทลุง, สงขลา, สุราษฎร์ธานี, ยะลา ใต้ ใต้ ใต้
กระบี่, พังงา, ภูเก็ต, ระนอง, สตูล, ตรัง ใต้ฝั่งตะวันตก/ใต้ฝั่งอันดามัน

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

Tags:

ภูมิภาคของประเทศไทย ประวัติภูมิภาคของประเทศไทย การแบ่งภูมิภาคภูมิภาคของประเทศไทย ดูเพิ่มภูมิภาคของประเทศไทย อ้างอิงภูมิภาคของประเทศไทยประเทศไทยภูมิภาคมณฑลเทศาภิบาล

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ธีรดนย์ ศุภพันธุ์ภิญโญราชวงศ์ในประวัติศาสตร์จีนกฤษฏ์ อำนวยเดชกรเขมนิจ จามิกรณ์ท่าอากาศยานดอนเมืองกองอาสารักษาดินแดนพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาคมหาวิทยาลัยมหาสารคามเฟซบุ๊กเปป กวาร์ดิโอลาประเทศตุรกีแจ๊ส ชวนชื่นแทททูคัลเลอร์สูตรลับตำรับดันเจียนสโมสรฟุตบอลลีดส์ยูไนเต็ดประเทศอินโดนีเซียนักเรียนสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีเอกซ์เอกซ์เอกซ์เทนเทสซิยอนแพน เรืองนนท์ทวีปยุโรปรายชื่อประเทศและเขตการปกครองเรียงตามขนาดพื้นที่ทั้งหมดอินสตาแกรมซีเนดีน ซีดานแมวภัทร เอกแสงกุลหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินการบินไทยมหาวิทยาลัยมหิดลภาวะโลกร้อนราโยบาเยกาโนเบ็นเท็น (ซีรีส์โทรทัศน์ พ.ศ. 2548)จังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดจันทบุรีรายพระนามและชื่อผู้บัญชาการทหารบกไทยเอสเธอร์ สุปรีย์ลีลาจังหวัดนครนายกจังหวัดอุตรดิตถ์ทศศีลสโมสรฟุตบอลฌิโรนาหีสงกรานต์ในประเทศไทยนาโช (นักฟุตบอลเกิด พ.ศ. 2533)อาทิตยา ตรีบุดารักษ์อำเภอพระประแดงกองทัพ พีคสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)ปราโมทย์ ปาทานฟ่าน ปิงปิงกองบัญชาการตำรวจนครบาลจ้าว ลี่อิ่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาไพรวัลย์ วรรณบุตรพุฒิพงศ์ อัสสรัตนกุลรายชื่อนามสกุลที่ใช้กันมากจังหวัดตราดมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีคณะองคมนตรีไทยโทกูงาวะ อิเอยาซุองศาเซลเซียสจังหวัดกาฬสินธุ์รักวุ่น วัยรุ่นแสบธนินท์ เจียรวนนท์สุภโชค สารชาตินาคปรก (ภาพยนตร์)เป็นต่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติรายชื่อเครื่องบินของการบินไทยประเทศอินเดียพ.ศ. 2565รายชื่อตอนในวันพีซ (อนิเมะ)ตารางธาตุเจมส์ มาร์จังหวัดตากกระทรวงในประเทศไทยสุรยุทธ์ จุลานนท์🡆 More