ฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส

ฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส (โปรตุเกส: Seleção Portuguesa de Futebol) เป็นตัวแทนทีมฟุตบอลระดับทีมชาติจากโปรตุเกส ปัจจุบันอยู่ภายใต้การดูแลของสหพันธ์ฟุตบอลโปรตุเกส ทีมชาติโปรตุเกสมีผลงานสูงสุดคือ ได้ที่สาม ฟุตบอลโลก 1 ครั้งในฟุตบอลโลก 1966 ชนะเลิศฟุตบอลยูโร 1 ครั้งในฟุตบอลยูโร 2016 และชนะเลิศยูฟ่าเนชันส์ลีก 1 ครั้งในยูฟ่าเนชันส์ลีก 2019 รอบสุดท้าย

โปรตุเกส
Shirt badge/Association crest
ฉายาA Seleção (ผู้ถูกเลือก)
Os Navegadores (The Navigators)
ฝอยทอง (ในภาษาไทย)
สมาคมสหพันธ์ฟุตบอลโปรตุเกส
(Federação Portuguesa de Futebol, FPF)
สมาพันธ์ยูฟ่า (ยุโรป)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนโรเบร์โต มาร์ติเนซ
กัปตันคริสเตียโน โรนัลโด
ติดทีมชาติสูงสุดคริสเตียโน โรนัลโด (196)
ทำประตูสูงสุดคริสเตียโน โรนัลโด (118)
สนามเหย้าหลายแห่ง
รหัสฟีฟ่าPOR
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน 6 เพิ่มขึ้น 1 (4 เมษายน 2024)
อันดับสูงสุด3 (พฤษภาคม–มิถุนายน ค.ศ. 2010, ตุลาคม ค.ศ. 2012, เมษายน–มิถุนายน ค.ศ. 2014, กันยายน ค.ศ. 2017–เมษายน ค.ศ. 2018)
อันดับต่ำสุด43 (สิงหาคม ค.ศ. 1998)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
ธงชาติสเปน สเปน 3–1 โปรตุเกส ธงชาติโปรตุเกส
(มาดริด ประเทศสเปน; 18 ธันวาคม ค.ศ. 1921)
ชนะสูงสุด
ธงชาติโปรตุเกส โปรตุเกส 8–0 ลีชเทินชไตน์ ธงชาติลีชเทินชไตน์
(ลิสบอน ประเทศโปรตุเกส; 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1994)
ธงชาติโปรตุเกส โปรตุเกส 8–0 ลีชเทินชไตน์ ธงชาติลีชเทินชไตน์
(กูอิงบรา ประเทศโปรตุเกส; 9 มิถุนายน ค.ศ. 1999)
ธงชาติโปรตุเกส โปรตุเกส 8–0 คูเวต ธงชาติคูเวต
(ไลรีอา ประเทศโปรตุเกส; 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2003)
แพ้สูงสุด
ธงชาติโปรตุเกส โปรตุเกส 0–10 อังกฤษ ธงชาติอังกฤษ
(ลิสบอน ประเทศโปรตุเกส; 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1947)
ฟุตบอลโลก
เข้าร่วม8 (ครั้งแรกใน 1966)
ผลงานดีที่สุดอันดับที่ 3 (1966)
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป
เข้าร่วม8 (ครั้งแรกใน 1984)
ผลงานดีที่สุดชนะเลิศ (2016)
ยูฟ่าเนชันส์ลีก รอบสุดท้าย
เข้าร่วม1 (ครั้งแรกใน 2019)
ผลงานดีที่สุดชนะเลิศ (2019)
คอนเฟเดอเรชันส์คัพ
เข้าร่วม1 (ครั้งแรกใน 2017)
ผลงานดีที่สุดอันดับที่ 3 (2017)
เว็บไซต์fpf.pt

ในฟุตบอลโลก โปรตุเกสยังไม่เคยได้แชมป์โดยเคยได้อันดับ 4 ในฟุตบอลโลก 2006 เข้าแข่งฟุตบอลโลกครั้งแรกในปี ค.ศ. 1966 ที่เข้ารอบ 4 ทีมสุดท้าย (ที่ 3) แพ้ให้กับอังกฤษ 2–1 ต่อมาโปรตุเกสติดเข้ารอบฟุตบอลโลกในปี ค.ศ. 1986 และ 2002 แต่ตกรอบไปตั้งแต่รอบแรก

ในปี ค.ศ. 2003 สหพันธ์ฟุตบอลโปรตุเกสตัดสินใจจ้างลูอิส ฟีลีปี สโกลารี ชาวบราซิลที่เคยนำบราซิล ได้แชมป์ในฟุตบอลโลก 2002 โดยสโกลารีนำโปรตุเกสเข้าสู่รอบสุดท้ายในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2004 แต่แพ้ต่อกรีซในรอบชิงชนะเลิศ ซึ่งทำให้โปรตุเกสกลายเป็นหนึ่งในสองประเทศเจ้าภาพฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปที่ไม่ชนะในรอบชิงชนะเลิศ(อีกทีมคือฝรั่งเศส) และต่อมายังทำให้ทีมเข้าสู่ฟุตบอลโลก 4 ทีมสุดท้าย เป็นครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ. 2006 แต่หลังจากนั้นสโกลารีออกไปในปี ค.ศ. 2008 เพื่อเป็นผู้จัดการทีมเชลซี โดยได้การ์ลุช ไกรอช มาเป็นผู้จัดการคนใหม่ของทีมชาติโปรตุเกสในปี 2008 และเคยรอซได้นำทีมชาติโปรตุเกสเข้าสู่สุดท้ายในฟุตบอลโลก 2010

ในฟุตบอลโลก 2006 โปรตุเกสได้รับรางวัล "ฟีฟ่าเวิลด์คัพเอนเตอร์เทนเมนต์ทีมอวอร์ด" คือ ทีมที่เล่นได้สนุกเร้าใจที่สุดในการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย โดยเป็นทีมสุดท้ายที่ได้รับรางวัลนี้ก่อนที่จะถูกยกเลิกไป

โปรตุเกสเป็นแชมป์ในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 ที่ฝรั่งเศส โดยในรอบชิงชนะเลิศสามารถเอาชนะฝรั่งเศสซึ่งเป็นเจ้าภาพไปได้ 1–0 ในช่วงทดเวลาพิเศษหลังเวลาการแข่งขันปกติ ในนาทีที่ 109 จากแอแดร์ ถือเป็นรายการใหญ่รายการแรกที่โปรตุเกสคว้าชัยชนะมาได้

ประวัติ

ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016

บทความหลัก ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016

ในรอบคัดเลือก โปรตุเกสผ่านเข้ารอบมาได้อย่างกระท่อนกระแท่น โดยนัดแรกก็เป็นฝ่ายแพ้ต่อสวีเดน แต่ท้ายสุดก็สามารถผ่านเข้าร่วมการแข่งขันได้ โดยอยู่ในกลุ่มเอฟ ซึ่งเป็นกลุ่มสุดท้ายร่วมกับฮังการี, ออสเตรีย และไอซ์แลนด์ ในรอบแรกโปรตุเกสไม่สามารถเอาชนะทีมใดได้เลย โดยได้ผลเสมอทั้ง 3 นัด แต่ได้ผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้ายมาได้ ด้วยการเป็นทีมที่ได้อันดับ 3 หนึ่งในจำนวน 4 ทีม ที่มีคะแนนดีที่สุดในบรรดา 6 กลุ่ม

อันดับ ทีม เล่น ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย ต่าง คะแนน การผ่านเข้ารอบ
1 ฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส  ฮังการี 3 1 2 0 6 4 +2 5 เข้าสู่รอบแพ้คัดออก
2 ฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส  ไอซ์แลนด์ 3 1 2 0 4 3 +1 5
3 ฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส  โปรตุเกส 3 0 3 0 4 4 0 3
4 ฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส  ออสเตรีย 3 0 1 2 1 4 −3 1

ในรอบ 16 ทีมสุดท้าย โปรตุเกสสามารถเอาชนะโครเอเชีย ซึ่งเป็นที่หนึ่งของกลุ่มดี มาได้ 0–1 ในช่วงทดเวลาพิเศษหลังเวลาแข่งขันปกติ ทั้งที่ถูกมองว่าเป็นรองกว่า ในรอบ 8 ทีมสุดท้ายก็เอาชนะโปแลนด์มาได้ 5–3 จากการดวลจุดโทษตัดสิน หลังจบการแข่งขันในเวลาปกติ เสมอกันที่ 1–1 ในรอบ 4 ทีมสุดท้ายก็เอาชนะเวลส์มาได้ 2–0 จนกระทั่งในรอบชิงชนะเลิศก็เอาชนะฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเจ้าภาพได้ 1–0 ช่วงทดเวลาพิเศษหลังเวลาแข่งขันปกติ จากการยิงของแอดืร์ ในนาทีที่ 109 ได้แชมป์ไปในที่สุด โดยถือว่าเป็นแชมป์ได้อย่างน่าเหลือเชื่อ เพราะไม่มีการคาดคิดมาก่อนว่าโปรตุเกสจะสามารถทำได้ เนื่องจากการเล่นแต่ละครั้งเป็นไปอย่างกระท่อนกระแท่น โดยการแข่งขันทั้งหมด 7 นัด รวมถึงรอบชิงชนะเลิศ โปรตุเกสเป็นฝ่ายเอาชนะไปได้ในเวลาแข่งขันปกติเพียงนัดเดียวเท่านั้น คือการเอาชนะเวลส์ นอกนั้นต้องตัดสินกันที่การต่อเวลาพิเศษออกไปอีก 30 นาที และการดวลจุดโทษตัดสิน

รายชื่อผู้เล่น

รายชื่อผู้เล่น 26 คนที่ถูกเรียกตัวในการแข่งขัน ฟุตบอลโลก 2022

ข้อมูลการลงเล่นและการทำประตูนับถึงวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2565 หลังจากการพบกับ ฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส  สเปน

0#0 ตำแหน่ง ผู้เล่น วันเกิด (อายุ) ลงเล่น ประตู สโมสร
1 1GK รุย ปาตรีซียู (1988-02-15) 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1988 (36 ปี) 104 0 ฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส  โรมา
22 1GK จีโอกู กอชตา (1999-09-19) 19 กันยายน ค.ศ. 1999 (24 ปี) 7 0 ฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส  โปร์ตู
12 1GK ฌูแซ ซา (1993-01-17) 17 มกราคม ค.ศ. 1993 (31 ปี) 0 0 ฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส  วุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์

3 2DF เปปี (รองกัปตัน) (1983-02-26) 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1983 (41 ปี) 128 7 ฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส  โปร์ตู
13 2DF ดานีลู ปึไรรา (1991-09-09) 9 กันยายน ค.ศ. 1991 (32 ปี) 63 2 ฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส  ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง
5 2DF ราฟาแอล กึไรรู (1993-12-22) 22 ธันวาคม ค.ศ. 1993 (30 ปี) 56 3 ฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส  โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์
4 2DF รูแบน ดียัช (1997-05-14) 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1997 (26 ปี) 39 2 ฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส  แมนเชสเตอร์ซิตี
20 2DF ฌูเวา กังเซลู (1994-05-27) 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1994 (29 ปี) 37 7 ฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส  แมนเชสเตอร์ซิตี
19 2DF นูนู เม็งดึช (2002-06-19) 19 มิถุนายน ค.ศ. 2002 (21 ปี) 16 0 ฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส  ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง
2 2DF ดีโยกู ดาโล (1999-03-18) 18 มีนาคม ค.ศ. 1999 (25 ปี) 6 2 ฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส  แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
24 2DF อังตอนียู ซิลวา (2003-10-30) 30 ตุลาคม ค.ศ. 2003 (20 ปี) 0 0 ฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส  ไบฟีกา

14 3MF วีลียัม การ์วัลยู (1992-04-07) 7 เมษายน ค.ศ. 1992 (32 ปี) 75 5 ฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส  เบติส
10 3MF บือร์นาร์ดู ซิลวา (1994-08-10) 10 สิงหาคม ค.ศ. 1994 (29 ปี) 72 8 ฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส  แมนเชสเตอร์ซิตี
17 3MF ฌูเวา มารียู (1993-01-19) 19 มกราคม ค.ศ. 1993 (31 ปี) 52 2 ฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส  ไบฟีกา
8 3MF บรูนู ฟือร์นังดึช (1994-09-08) 8 กันยายน ค.ศ. 1994 (29 ปี) 48 9 ฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส  แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
18 3MF รูแบน แนวึช (1997-03-13) 13 มีนาคม ค.ศ. 1997 (27 ปี) 32 0 ฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส  วุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์
6 3MF ฌูเวา ปัลยีญา (1995-07-09) 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1995 (28 ปี) 15 2 ฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส  ฟูลัม
23 3MF มาเตวช์ นูนึช (1998-08-27) 27 สิงหาคม ค.ศ. 1998 (25 ปี) 9 1 ฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส  วุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์
25 3MF โอตาวียู (1995-02-09) 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1995 (29 ปี) 7 2 ฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส  โปร์ตู
16 3MF วีตีญา (2000-02-13) 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2000 (24 ปี) 4 0 ฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส  ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง

7 4FW คริสเตียโน โรนัลโด (กัปตัน) (1985-02-05) 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1985 (39 ปี) 191 117 ฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส  อันนัศร์
9 4FW อังแดร ซิลวา (1995-11-06) 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1995 (28 ปี) 51 19 ฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส  แอร์เบ ไลพ์ซิช
11 4FW ฌูเวา แฟลิกส์ (1999-11-10) 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1999 (24 ปี) 23 3 ฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส  อัตเลติโกเดมาดริด
15 4FW ราฟาเอล เลเอา (1999-06-10) 10 มิถุนายน ค.ศ. 1999 (24 ปี) 11 0 ฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส  เอซี มิลาน
21 4FW ริคาร์โด้ ฮอร์ต้า (1994-09-15) 15 กันยายน ค.ศ. 1994 (29 ปี) 5 1 ฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส  บรากา
26 4FW กงซาลู รามุช (2001-06-20) 20 มิถุนายน ค.ศ. 2001 (22 ปี) 0 0 ฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส  ไบฟีกา

เกียรติประวัติ

    • อันดับ 3 (1): 1966
    • อันดับ 4 (1): 2006
    • ชนะเลิศ (1): 2016
    • รองชนะเลิศ (1): 2004
    • อันดับ 3 (1): 2017
    • อันดับ 4 (1): 1996

อดีตผู้เล่นที่มีชื่อเสียง

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

ฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส ประวัติฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส รายชื่อผู้เล่นฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส เกียรติประวัติฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส อดีตผู้เล่นที่มีชื่อเสียงฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส ดูเพิ่มฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส อ้างอิงฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส แหล่งข้อมูลอื่นฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกสฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016ฟุตบอลยูโรฟุตบอลโลกฟุตบอลโลก 1966ภาษาโปรตุเกสยูฟ่าเนชันส์ลีกยูฟ่าเนชันส์ลีก 2019 รอบสุดท้ายสหพันธ์ฟุตบอลโปรตุเกส

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

สำนักนายกรัฐมนตรี (ประเทศไทย)ภูวินทร์ ตั้งศักดิ์ยืนอมีนา พินิจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของไทยฟุตซอลไทยลีกพระเจ้าบุเรงนองประเทศตุรกีบิลลี ไอลิชนรวิชญ์ ฐิติเจริญรักษ์คณะองคมนตรีไทยปตท.จังหวัดสงขลาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ลูซิเฟอร์พัฒน์ชัย ภักดีสู่สุขชนิกานต์ ตังกบดีสมเด็จพระนารายณ์มหาราชกิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ภาษาญี่ปุ่นสโมสรกีฬาลัตซีโยยงวรี อนิลบลรายชื่อคาถาในแฮร์รี่ พอตเตอร์ดาวิกา โฮร์เน่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เอเรอดีวีซีลานีญาพรรคก้าวไกลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโหราศาสตร์ไทยธนภพ ลีรัตนขจรพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)สาธุ (ละครโทรทัศน์)ฟุตซอลโลกกรงกรรมสมชาย แสวงการอาเอฟเซ อายักซ์ทวีปเอเชียกรุงเทพมหานครและปริมณฑลกองบัญชาการตำรวจนครบาลจังหวัดอำนาจเจริญดวงจันทร์ปรีดี พนมยงค์เกิดชาตินี้พี่ต้องเทพหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีประเทศซาอุดีอาระเบียลีกเอิงสำราญ นวลมาสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดฮ่องกงประเทศฟิลิปปินส์ต้นตะวัน ตันติเวชกุลประเทศพม่าประวัติศาสตร์การ์โล อันเชลอตตีจังหวัดสมุทรปราการพรหมโลกบาปเจ็ดประการพจน์ บุณยะจินดาสหประชาชาติบรรดาศักดิ์ไทยการแข่งขันระหว่างสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลกับสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดดูไบพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาตอุรัสยา เสปอร์บันด์สโมสรฟุตบอลแอสตันวิลลาภาคตะวันออก (ประเทศไทย)พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดชชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ภาพอาถรรพณ์จังหวัดบุรีรัมย์วรันธร เปานิลประเทศอินโดนีเซียเครือเจริญโภคภัณฑ์สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาสุภาพบุรุษจุฑาเทพรายชื่อภาพยนตร์ในจักรวาลภาพยนตร์มาร์เวลวชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์🡆 More