พิธา ลิ้มเจริญรัตน์: นักการเมืองชาวไทย

พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (เกิด 5 กันยายน พ.ศ.

2523) ชื่อเล่น ทิม เป็นนักธุรกิจและนักการเมืองชาวไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล เดิมสังกัดพรรคอนาคตใหม่ จากการเลือกตั้งทั่วไปใน พ.ศ. 2562 เขาเริ่มเป็นที่รู้จักในแวดวงการเมืองจากการอภิปรายนโยบายทางการเกษตร "ปัญหากระดุม 5 เม็ด" ภายใต้รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

พิธา ลิ้มเจริญรัตน์
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์: ปฐมวัยและการศึกษา, งานธุรกิจ, งานการเมือง
พิธา ใน พ.ศ. 2566
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2562
(5 ปี 32 วัน)
ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล
เริ่มดำรงตำแหน่ง
23 กันยายน พ.ศ. 2566
(0 ปี 215 วัน)
ที่ปรึกษาวีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร
เดชรัต สุขกำเนิด
หัวหน้าพรรคก้าวไกล
ดำรงตำแหน่ง
14 มีนาคม พ.ศ. 2563 – 15 กันยายน พ.ศ. 2566
(3 ปี 185 วัน)
ก่อนหน้าโดยนิตินัย: ราเชนธร์ ติยะวัชรพงศ์
โดยพฤตินัย: ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ
(พรรคอนาคตใหม่)
ถัดไปชัยธวัช ตุลาธน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 กันยายน พ.ศ. 2523 (43 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองอนาคตใหม่ (2561–2563)
ก้าวไกล (2563–ปัจจุบัน)
คู่สมรสชุติมา ทีปะนาถ (2555–2561; หย่า)
บุตรพิพิม ลิ้มเจริญรัตน์
บุพการี
  • พงษ์ศักดิ์ ลิ้มเจริญรัตน์ (บิดา)
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์
อาชีพนักธุรกิจ
นักการเมือง
ทรัพย์สินสุทธิ85 ล้านบาท (พ.ศ. 2566)

ภายใต้การนำของพิธา พรรคก้าวไกลกลายเป็นพรรคการเมืองที่ใหญ่ที่สุดในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2566 ด้วย 151 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกลจัดตั้งรัฐบาลโดยผลักดันให้เขาได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบนายกรัฐมนตรีของรัฐสภาครั้งที่หนึ่งเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 พิธาขาด 51 คะแนน ในการเป็นนายกรัฐมนตรีคนถัดไป ต่อมาในวันที่ 19 กรกฎาคม เขาถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชั่วคราวเหตุถือหุ้นสื่อไอทีวี รัฐสภายังมีมติห้ามไม่ให้พิธาได้รับพิจารณาเห็นชอบนายกรัฐมนตรีรอบที่สองในวันเดียวกัน และภายหลังจัดตั้งรัฐบาลเสร็จสิ้น ทำให้พรรคก้าวไกลมีสถานะเป็นพรรคฝ่ายค้าน แต่พิธาไม่สามารถเป็นผู้นำฝ่ายค้านได้เนื่องจากถูกสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่อยู่ เขาจึงลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรคเมื่อวันที่ 15 กันยายน โดยมีชัยธวัช ตุลาธน ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2567 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พิธากลับมาปฏิบัติหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อีกครั้ง

ปฐมวัยและการศึกษา

พิธาเกิดเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2523 ในครอบครัวเชื้อสายไหหลำ เขาเป็นบุตรชายคนโตในบรรดาพี่น้อง 2 คนของพงษ์ศักดิ์ ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับลิลฎา ลิ้มเจริญรัตน์ และยังมีศักดิ์เป็นหลานลุงของผดุง ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และผู้ช่วยคนสนิทของอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร และตามใจ ขำภโต อดีตกรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงไทย ซึ่งเป็นญาติฝ่ายมารดา โดยมีน้องชาย 1 คนคือ ภาษิณ ลิ้มเจริญรัตน์ ยายของพิธาชื่ออนุศรี อนุรัฐนฤผดุง เคยสมรสกับเกษม อภัยวงศ์ บุตรชายของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) กับหม่อมลม้าย อันเป็นตระกูลขุนนางเขมรเก่าแก่จากเมืองพระตะบอง ภายหลังทั้งสองได้หย่าร้าง และต่างสมรสใหม่ทั้งคู่ ซึ่งลิลฎาเป็นบุตรที่เกิดจากการสมรสครั้งหลังของอนุศรี ด้วยเหตุนี้พิธาจึงไม่มีความเกี่ยวดองทางเชื้อสายกับสกุลอภัยวงศ์

พิธาเข้าศึกษาในระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน แต่เป็นคนเกเร พงษ์ศักดิ์จึงส่งพิธาไปศึกษาต่อที่ประเทศนิวซีแลนด์เมื่ออายุ 11 ปี ในเมืองฮามิลตัน และอาศัยอยู่กับครอบครัวอุปถัมภ์ฐานะปานกลาง พิธาเริ่มสนใจการเมืองจากการรับชมการอภิปรายรัฐสภาและทำให้เขาเริ่มฟังสุนทรพจน์ของจิม โบลเจอร์ อดีตนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ นอกจากการศึกษาในโรงเรียน พิธาทำงานพิเศษเพื่อหาเงินใช้จากการปั่นจักรยานส่งหนังสือพิมพ์ เก็บสตรอว์เบอร์รี และรับจ้างพาสุนัขเดินเล่น เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษา พิธาเข้าศึกษาต่อที่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาการเงิน (ภาคภาษาอังกฤษ) จบปริญญาตรีด้วยเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง และจบที่มหาวิทยาลัยเท็กซัส ออสติน พร้อมกันถึง 2 ปริญญานับเป็นคนไทยคนแรกที่จบ 2 มหาวิทยาลัยในไทยและเทกซัสพร้อมกัน จากนั้นเข้าศึกษาต่อปริญญาโทที่วิทยาลัยการปกครองเคนเนดี มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในฐานะนักเรียนทุนต่างชาติชาวไทยคนแรก ควบคู่กับการบริหารธุรกิจที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ ใน พ.ศ. 2554

งานธุรกิจ

หลังการเสียชีวิตของบิดาด้วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด พิธาตัดสินใจพักการศึกษาและกลับมาประเทศไทยเพื่อดูแลธุรกิจน้ำมันรำข้าวที่เป็นหนี้ต่อ สองปีหลังจากนั้นธุรกิจฟื้นตัวและทำให้พิธากลับไปยังสหรัฐเพื่อสำเร็จการศึกษาปริญญาโทต่อใน พ.ศ. 2554

พิธายังเป็นกรรมการบริหารบริษัทแกร็บ ประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2560–2561

งานการเมือง

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

พิธา ลิ้มเจริญรัตน์: ปฐมวัยและการศึกษา, งานธุรกิจ, งานการเมือง 
พิธากำลังทำแฮนด์ฮาร์ตในช่วงการหาเสียงเลือกตั้ง พ.ศ. 2566

พิธาก้าวเข้าสู่วงการเมืองด้วยการเป็นที่ปรึกษาสำนักนายกรัฐมนตรี ประจำกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงการคลัง ต่อมาพิธาสมัครเป็นสมาชิกพรรคอนาคตใหม่ด้วยการเชื้อเชิญของธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรค และเมื่อ พ.ศ. 2562 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของพรรคในลำดับที่ 4 และได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในครั้งแรกที่ลงรับเลือกตั้ง โดยพิธาได้รับเลือกให้เป็นประธานคณะกรรมาธิการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 ในสัดส่วนของพรรคอนาคตใหม่

เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 พิธาอภิปรายครั้งแรกในสภาประเด็นนโยบายทางการเกษตรของรัฐบาลประยุทธ์ โดยเฉพาะ "ปัญหากระดุม 5 เม็ด" ได้รับการตอบรับที่ดีจากประชาชน และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พิธาเสนอการแก้ปัญหาให้แก่เกษตรกรด้วยการติดกระดุม 5 เม็ด: ที่ดิน, หนี้สินการเกษตร, สารเคมีและการประกันราคาพืชผล, การแปรรูปและนวัตกรรม และการท่องเที่ยวเชิงเกษตร จากการอภิปรายดังกล่าวของเขา พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวชื่นชมการอภิปรายของพิธาแม้จะอยู่คนละฝ่ายกัน

ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยยุบพรรคอนาคตใหม่เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ในวันที่ 8 มีนาคม พิธาย้ายไปสังกัดพรรคก้าวไกลร่วมกับอดีตสมาชิกพรรคอีก 54 คน โดยพิธาได้ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรค

การเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2566

พิธา ลิ้มเจริญรัตน์: ปฐมวัยและการศึกษา, งานธุรกิจ, งานการเมือง 
พิธากล่าวปราศรัยขอบคุณผู้สนับสนุนหลังการเลือกตั้งทั่วไป วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

หลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 ในวันที่ 15 พฤษภาคม พิธาประกาศว่าเขาพร้อมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีหลังจากที่พรรคก้าวไกลได้รับคะแนนเสียงมากที่สุด และเชิญพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วยพรรคการเมืองฝ่ายค้านในช่วงรัฐบาลประยุทธ์ทั้งหมดที่ได้รับการเลือกตั้ง พร้อมด้วยพรรคขนาดเล็กอีกจำนวนหนึ่งจัดตั้งรัฐบาลผสม

พิธา ลิ้มเจริญรัตน์: ปฐมวัยและการศึกษา, งานธุรกิจ, งานการเมือง 
พิธาและพรรคร่วมรัฐบาลแถลงข่าวจัดตั้งรัฐบาลเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ในวันที่ 18 พฤษภาคม พิธาพร้อมพรรคร่วมรัฐบาลดังกล่าว แถลงข่าวจัดตั้งรัฐบาลภายใต้การนำของเขา โดยทุกพรรคพร้อมสนับสนุนพิธาเป็นนายกรัฐมนตรี และจัดทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกที่นำมาใช้ในการจัดตั้งรัฐบาลในการเมืองไทย พรรคร่วมรัฐบาลของพิธาจัดงานแถลงข่าวอีกครั้งเพื่อเปิดบันทึกความเข้าใจแก่สาธารณชนเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ในบันทึกความเข้าใจมีการบรรจุประเด็นสำคัญต่าง ๆ เช่น การจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ผ่านสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ, สมรสเท่าเทียม, การปฏิรูปกองทัพและตำรวจ, การเกณฑ์ทหารแบบสมัครใจ, การกระจายอำนาจ และการฟื้นฟูเศรษฐกิจ เป็นต้น ต่อมาพิธากล่าวว่าเขาได้ปรับนำกลยุทธ์หาเสียงของบารัก โอบามา ในช่วงการหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2551 มาใช้ในการเลือกตั้งครั้งนี้ นอกจากที่พิธาและพรรคร่วมรัฐบาลของเขาต้องได้เสียงส่วนใหญ่ในสภาผู้แทนราษฎร พิธายังต้องได้เสียงสนับสนุนจากทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสมาชิกในการได้รับพิจารณาให้ความเห็นชอบดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วยเช่นกัน

ความพยายามจัดตั้งรัฐบาล

หลังการเลือกตั้งทั่วไปและการประกาศจัดตั้งรัฐบาลผสมในเวลาต่อมา สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 จัดการประชุมสมัยสามัญประจำปีครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม เพื่อพิจารณาเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยพิธาได้ลุกขึ้นเสนอชื่อวันมูหะมัดนอร์ มะทา หัวหน้าพรรคประชาชาติ เป็นประธานสภาฯ ด้วยตนเอง ช่วงเวลาก่อนวันพิจารณาเลือกนายกรัฐมนตรี พิธาและพรรคก้าวไกลจัดขบวนแห่ขอบคุณคะแนนเสียงสนับสนุนในกรุงเทพมหานคร พิธายังขอเสียงสนับสนุนรัฐบาลของเขาจากสมาชิกรัฐสภา เพื่อให้เป็นไปตามอาณัติที่ประชาชนมอบให้ในการเลือกตั้งทั่วไปที่ผ่านมา

เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ปัดตก 3 คำร้องต่อพิธาเรื่องการครอบครองหุ้นสื่อไอทีวี บริษัทผู้ให้บริการโทรทัศน์ โดยรัฐธรรมนูญห้ามไม่ให้ผู้ใดที่ครอบครองหุ้นสื่อลงสมัครรับเลือกตั้ง อย่างไรก็ดี กกต. หันมาดำเนินคดีอาญาต่อพิธากรณีรู้อยู่แล้วว่าขาดคุณสมบัติในการลงสมัครรับเลือกตั้งตามมาตรา 151 ประกอบกับมาตรา 42(3) ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พิธาโต้แย้งว่าเขาเป็นผู้ถือหุ้นในฐานะผู้จัดการมรดกหลังการเสียชีวิตของบิดา ไอทีวียุติการออกอากาศใน พ.ศ. 2550 และถูกเพิกถอนออกจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยใน พ.ศ. 2557 ไอทีวีไม่มีรายได้จากการผลิตสื่อตลอดหลายปี แต่มีรายได้เล็กน้อยจากบริษัทย่อยที่ขอเช่าอุปกรณ์การออกอากาศ พิธาเป็นหนึ่งในสมาชิกรัฐสภา 500 คน ที่กกต. ประกาศรับรองเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน แม้การสืบสวนยังคงดำเนินต่อไป

พิธา ลิ้มเจริญรัตน์: ปฐมวัยและการศึกษา, งานธุรกิจ, งานการเมือง 
พิธาปราศรัยขอบคุณคะแนนเสียงภายหลังชนะการเลือกตั้ง ที่เซ็นทรัลเวิลด์ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม ศาลรัฐธรรมนูญระบุว่าได้รับคำร้องของกกต. ขอให้พิจารณากรณีพิธาและพรรคก้าวไกล เสนอร่างแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยเป็นความพยายามในการ "ล้มล้างระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" กกต. ระบุว่าพิธาขาดคุณสมบัติในการเป็นสมาชิกรัฐสภา ขณะที่พิธากล่าวว่าขั้นตอนการดำเนินการของกกต. นั้นไม่ยุติธรรมและตัวเขาเองไม่ได้รับโอกาสในการชี้แจงก่อนจะยื่นคำร้องให้กับศาลรัฐธรรมนูญ หนึ่งวันก่อนการพิจารณาในรัฐสภา พิธาเตือนสมาชิกรัฐสภาว่า "มันมีราคาที่ต้องจ่ายสูง" หากเขาไม่ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี

เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาเรียกประชุมเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี โดยการเสนอชื่อของชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย พิธาเป็นคนเดียวของสมาชิกรัฐสภาที่ได้รับการเสนอชื่อ แม้จะได้รับเสียงสนับสนุนเกินกึ่งหนึ่งของสภาล่าง แต่พิธาไม่ได้รับเสียงสนับสนุนจากทั้งสองสภาในการพิจารณาครั้งแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งวุฒิสภาที่ได้รับการแต่งตั้งโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2562 สมาชิกรัฐสภา 324 คน ลงคะแนนเสียงสนับสนุนเห็นชอบให้พิธาเป็นนายกรัฐมนตรี (311 คนเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และ 13 คน เป็นวุฒิสมาชิกที่รัฐบาลทหารแต่งตั้ง) 182 คน ไม่เห็นชอบ และ 199 คน งดออกเสียง จากผู้ลงคะแนนเสียงทั้งหมด 705 คน พิธาขาด 51 คะแนนจะได้กึ่งหนึ่งของทั้งสองสภา คือ 375 คะแนน ในการได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี เกิดการประท้วงในเวลาต่อมาในช่วงเย็นหลังการพิจารณาเห็นชอบ ระบบการลงคะแนนเสียงถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่เป็นประชาธิปไตย และไม่เป็นไปตามอาณัติที่ประชาชนมอบให้ ความผิดพลาดของรัฐสภาในการได้มาซึ่งผู้จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีทำให้หุ้นตก หนังสือพิมพ์ข่าวสดอธิบายว่าการลงคะแนนเสียงว่าเป็นการ 'วางกับดักไว้ล่วงหน้า' อย่างไรก็ดี พิธายังคงตั้งเป้าเป็นนายกรัฐมนตรีต่อ และไม่หันหลังให้สัญญาที่ให้ไว้ว่าจะปฏิรูปกฎหมายเกี่ยวกับความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์

พิธา ลิ้มเจริญรัตน์: ปฐมวัยและการศึกษา, งานธุรกิจ, งานการเมือง 
ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้พิธาหยุดปฏิบัติหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

การประท้วงต่อเนื่องไป โดยหลายคนต้องการให้วุฒิสมาชิกลาออก เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พิธาประกาศว่าพรรคร่วมรัฐบาลของเขาตกลงที่จะเสนอชื่อของเขาในการพิจารณาเลือกรอบถัดไป ขณะเดียวกันยังกล่าวว่าเขายังพร้อมที่จะให้การสนับสนุนบุคคลจากพรรคเพื่อไทยในการได้รับการเสนอชื่อหากการพิจารณาเลือกรอบที่สองไม่สำเร็จ หรือเขาไม่สามารถได้เสียงสนับสนุนเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญด้วยเช่นกัน เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม รัฐสภาเรียกประชุมพิจารณาเห็นชอบนายกรัฐมนตรีครั้งที่สอง ในวันเดียวกัน ศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้องกรณีพิธาถือหุ้นสื่อไอทีวีอย่างเป็นเอกฉันท์ และยังมีมติ 7 ต่อ 2 สั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจนกว่าจะมีคำวินิจฉัยเป็นอื่น แต่การหยุดปฏิบัติหน้าที่ของเขาไม่ได้ทำให้ไม่สามารถถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีได้ ระหว่างการประชุมรัฐสภา พิธากล่าวรับทราบคำวินิจฉัยและออกจากโถงประชุม ในการอภิปรายต่อมา รัฐสภามีมติไม่เห็นชอบให้เสนอชื่อเขาเป็นนายกรัฐมนตรีซ้ำอีกครั้งในรอบถัดไป สมาชิกรัฐสภาจากพรรคเพื่อไทยเสนอชื่อพิธา แต่ถูกโต้แย้งว่าขัดต่อข้อบังคับการประชุมรัฐสภาที่ห้ามไม่ให้เสนอญัตติซ้ำ ในการลงคะแนนให้สามารถเสนอชื่อบุคคลซ้ำได้อีก มีผู้ให้ความเห็นชอบ 312 คน ไม่เห็นชอบ 394 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวุฒิสมาชิก และงดออกเสียง 8 คน โดยที่พิธาไม่ได้ลงคะแนนเสียง

หลังการเลือกตั้งและการลาออก

"เมื่อมีคนถามผมว่า 'ผมรู้สึกอย่างไรที่ผมพลาด' ผมตอบกลับพวกเขาว่า 'ผมชนะ ผมจัดตั้งรัฐบาลได้ และผมถูกห้าม ผมไม่ได้พลาด"

—พิธา ลิ้มเจริญรัตน์

จากผลการลงคะแนนดังกล่าวในรัฐสภา พิธาไม่สามารถได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีได้อีกจนกว่าจะถึงสมัยประชุมใหม่หลังการเลือกตั้งทั่วไปครั้งถัดไป แม้พิธายังคงถูกสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขาส่งสัญญาณเป็นนัยสนับสนุนบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี (แคนดิเดต) จากพรรคเพื่อไทย เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2566 พรรคเพื่อไทยถอนตัวออกจากพรรคร่วมรัฐบาลของพิธา หลังพรรคก้าวไกลปฏิเสธที่จะล้มเลิกความพยายามแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยตามที่ได้ให้คำมั่นไว้ในช่วงหาเสียง

เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พิธาเริ่มหาเสียงให้กับสมาชิกพรรคที่ลงสมัครรับเลือกตั้งซ่อมในเขตเลือกตั้งที่ 3 ของจังหวัดระยอง หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคก้าวไกลที่ชนะการเลือกตั้งในเขตดังกล่าวลาออก ซึ่งมีพรรคอื่นส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งด้วยเช่นกัน โดยคู่แข่งสำคัญในพื้นที่นี้คือพรรคประชาธิปัตย์

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม แคนดิเดตจากพรรคเพื่อไทย เศรษฐา ทวีสิน ชนะการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีครั้งที่สามโดยความเห็นชอบของรัฐสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคก้าวไกลที่อยู่ในที่ประชุมทุกคน (149 คน) ไม่ให้ความเห็นชอบเศรษฐาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 106 ระบุว่า ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร จะต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นหัวหน้าพรรคที่มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากที่สุดในกลุ่มพรรคการเมืองที่ไม่มีสมาชิกเป็นรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร และรองประธานสภาผู้แทนราษฎร แต่ปดิพัทธ์ สันติภาดา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลกของพรรคก้าวไกล ยังคงดำรงตำแหน่งรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 ทำให้หัวหน้าพรรคก้าวไกลไม่สามารถดำรงตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านได้ และแม้ปดิพัทธ์จะลาออกหรือพ้นจากสมาชิกพรรคก้าวไกล พิธาซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคก้าวไกลก็ยังไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ผู้นำฝ่ายค้านได้ เนื่องจากอยู่ระหว่างที่ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ดังนั้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน พิธาจึงประกาศลาออกจากหัวหน้าพรรคก้าวไกล เพื่อให้พรรคก้าวไกลดำเนินการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคที่ยังปฏิบัติหน้าที่อยู่มาเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่ เพื่อทำหน้าที่ผู้นำฝ่ายค้านตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งจากการลาออกจากหัวหน้าพรรคของพิธาส่งผลให้คณะกรรมการบริหารชุดเดิมพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ โดยมีการเลือกหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่เมื่อวันที่ 23 กันยายน เขาเน้นย้ำถึงความสำคัญของตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้าน และกล่าวว่าจะต้องมีการ "ตรวจสอบและถ่วงดุล" รัฐบาล ทั้งนี้ พิธายังกล่าวอีกว่าเขาจะยังมีบทบาทในการเมืองไทยและพรรคของเขา ชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคขึ้นดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคแทน และกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ได้แต่งตั้งคณะที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล เพื่อขับเคลื่อนภารกิจของพรรคนอกสภาเป็นหลัก โดยมีพิธาเป็นประธานที่ปรึกษา และมีที่ปรึกษาอีก 2 คน คือ วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร ทีมเศรษฐกิจของพรรค และ เดชรัต สุขกำเนิด ผู้อำนวยการศูนย์นโยบายเพื่ออนาคต ซึ่งชัยธวัชกล่าวว่าการดำรงตำแหน่งของเขาเป็นส่วนหนึ่งของ "การปรับทัพชั่วคราว" และ "ยินดีที่จะลงจากตำแหน่งเมื่อสมาชิกภาพสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพิธากลับมาอีกครั้ง"

ต่อมาเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2567 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า สมาชิกภาพ สส. ของพิธาไม่สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3) เนื่องจากแม้พิธาจะถือหุ้นไอทีวีจริง โดยถือว่าแม้การถือหุ้นเพียงหุ้นเดียวก็ถือว่าเป็นการถือหุ้นตามความหมายในรัฐธรรมนูญแล้ว และเป็นการถือหุ้นในฐานะทายาทผู้รับมรดกนอกเหนือจากการเป็นผู้จัดการมรดกด้วย แต่ไม่พบการประกอบกิจการสื่อมวลชนของไอทีวี ในวันที่พิธาลงสมัครรับเลือกตั้ง สส. และแม้ไอทีวีจะชนะคดีที่ฟ้องร้องสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีในศาลปกครอง ก็ไม่สามารถทำให้บริษัทกลับมาประกอบธุรกิจสื่อได้อีก ส่งผลให้พิธาสามารถกลับมาปฏิบัติหน้าที่ สส. ได้ตามปกติในทันที โดยหลังการตัดสิน พิธาได้กล่าวว่า การกลับมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคอีกครั้งหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการประชุมพรรคในเดือนเมษายนปีเดียวกัน

ประวัติการลงสมัครรับเลือกตั้ง สส.

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคอนาคตใหม่พรรคก้าวไกล
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคก้าวไกล

จุดยืนทางการเมือง

พิธา ลิ้มเจริญรัตน์: ปฐมวัยและการศึกษา, งานธุรกิจ, งานการเมือง 
พิธากล่าวปราศรัยที่ลานหน้าสามย่านมิตรทาวน์

พิธาในบริบทการเมืองไทยได้รับการจัดว่าเป็นคนที่มีอุดมการณ์แบบก้าวหน้า (progressive) พรรคก้าวไกลภายใต้การนำของเขาตั้งแต่ พ.ศ. 2563 ถูกจัดว่าเป็นการทำการเมืองแบบฝ่ายซ้ายกลางและก้าวหน้า

พิธามักกล่าวถึงช่วงเวลาระหว่าง พ.ศ. 2557 และ พ.ศ. 2566 ว่าเป็น "ทศวรรษที่สาบสูญ" ของประเทศไทยในแง่ของทั้งเศรษฐกิจและความเสื่อมถอยของประชาธิปไตย พิธาเชื่อว่ากองทัพไทยมีอิทธิพลในการเมืองพลเรือนมากเกินไป และได้ให้คำมั่นว่าจะลดอิทธิพลนั้นลง พิธายังกล่าวว่าประเทศไทยจะต้อง "ลดขนาดกองทัพ" พิธายังสัญญาว่าพรรคของเขาจะแก้ไขกฎหมายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ที่เป็นที่ครหา ซึ่งให้ความคุ้มครองประมุขจากคำวิจารณ์ ด้านนโยบายทางเศรษฐกิจ พิธาเชื่อในการยกเลิกการผูกขาด และการกระจายอำนาจในเศรษฐกิจ เขายังกล่าวว่าเขาจะทำให้อุตสาหกรรมสุราเป็นเสรี

พิธาสนับสนุนการผ่านร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมและสิทธิในการให้ที่ลี้ภัย เขาได้เข้าร่วมไพรด์พาเรดในกรุงเทพมหานคร พิธายังเชื่อในการเกณฑ์ทหารแบบสมัครใจ

พิธามีจุดยืนในนโยบายต่างประเทศด้วยหลัก "3อาร์": รีไวฟ์ (revive, "ฟื้นฟู"), รีบาแลนซ์ (rebalance, "ปรับสมดุล") และ รีคอลิเบรต (recalibrate, "เปลี่ยนวิธีทำ") เขายังระบุว่าประเทศไทยควรจะยืนหยัดในเวทีโลกและเปิดประเด็นพูดคุยกับประเทศมหาอำนาจ และคุณค่าทางประชาธิปไตยควรเป็นแกนหลักของนโยบายต่างประเทศ พิธาประณามการรุกรานยูเครนของรัสเซียโดยเรียกท่าทีของรัฐบาลไทยว่า "สองหน้า"

ในการสัมภาษณ์กับซีเอ็นเอ พิธากล่าวว่าเขาได้รับแรงบันดาลใจจากนายกรัฐมนตรี ลี กวนยู ของสิงคโปร์ และเปรียบเทียบการเมืองว่าเป็นเหมือนการแข่งมาราธอน ไม่ใช่การวิ่งระยะสั้น โดยระบุว่า "ผมมีพลังกายสำหรับการวิ่งระยะเวลานาน" อีกหนึ่งบุคคลตัวอย่างทางการเมืองที่พิธากล่าวถึงคือเบอร์นี แซนเดอร์ส สมาชิกวุฒิสภาสหรัฐ และมีหนังสือที่เขาเขียนชื่อ "It's OK To Be Angry About Capitalism" อีกด้วย

ชีวิตส่วนตัว

พิธาสมรสกับ ชุติมา ทีปะนาถ นักแสดง เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ทั้งสองหย่าร้างในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 ชุติมากล่าวอ้างกับสาธารณะว่าพิธาคอยควบคุมและละเมิดเธอตลอด นักกิจกรรมสิทธิสตรีและผู้สนับสนุนประชาธิปไตยเรียกร้องให้พิธาออกมาพูดเกี่ยวกับคำกล่าวหานี้ ชุติมาส่งคำร้องฟ้องพิธาในข้อหาทำร้ายร่างกาย แต่ศาลครอบครัวยกฟ้องและพิสูจน์ว่าไม่เป็นความจริง ภายหลัง เธอกล่าวว่า "มีการทำร้ายร่างกายจริงแต่ไม่ถึงกับเป็นความรุนแรงในครอบครัว แต่ว่ามันก็กระทบจิตใจของเรา" ตั้งแต่นั้น ชุติมาไม่ได้กล่าวถึงข้อกล่าวหาในอดีตและให้ความสนับสนุนงานการเมืองของพิธา ทั้งสองมีบุตรด้วยกันหนึ่งคน

ใน พ.ศ. 2551 พิธาได้รับการเสนอชื่อเป็นหนึ่งใน "50 หนุ่มโสดในฝัน" (Most Eligible Bachelors) ของคลีโอ

เชิงอรรถ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ถัดไป
ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ
(ในนามพรรคอนาคตใหม่)
ราเชนธร์ ติยะวัชรพงศ์
(หัวหน้าพรรคเดิม)
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์: ปฐมวัยและการศึกษา, งานธุรกิจ, งานการเมือง  พิธา ลิ้มเจริญรัตน์: ปฐมวัยและการศึกษา, งานธุรกิจ, งานการเมือง 
หัวหน้าพรรคก้าวไกล
(14 มีนาคม พ.ศ. 2563 – 15 กันยายน พ.ศ. 2566)
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์: ปฐมวัยและการศึกษา, งานธุรกิจ, งานการเมือง  ชัยธวัช ตุลาธน

Tags:

พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ปฐมวัยและการศึกษาพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ งานธุรกิจพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ งานการเมืองพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ จุดยืนทางการเมืองพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ชีวิตส่วนตัวพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เชิงอรรถพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อ้างอิงพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แหล่งข้อมูลอื่นพิธา ลิ้มเจริญรัตน์

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

จังหวัดสระบุรีปัสคาทวีปยุโรปดาบพิฆาตอสูรแผนที่ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตสุภาพบุรุษจุฑาเทพโรงเรียนนายร้อยตำรวจมาตาลดาสรพงศ์ ชาตรีฟุตซอลชิงแชมป์เอเชียเกิดชาตินี้พี่ต้องเทพอาทิตยา ตรีบุดารักษ์นกกะรางหัวขวานอำเภอลิโอเนล เมสซิสำราญ นวลมารายชื่อโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานครรายชื่อยุทโธปกรณ์ในกองทัพบกไทยจังหวัดตรังพีระกฤตย์ พชรบุณยเกียรติณวัสน์ ภู่พันธัชสีห์ประเทศอินเดียส้มฉุนอุซามะฮ์ บิน ลาดินสัปเหร่อ (ภาพยนตร์)ธี่หยด 2ลำไย ไหทองคำเป็นต่อฉัตรชัย เปล่งพานิชองศาเซลเซียสรายชื่อผู้เล่นของสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเข็มอัปสร สิริสุขะความเสียวสุดยอดทางเพศFจังหวัดเพชรบุรีอาลิง โฮลันบิลลี ไอลิชศรุต วิจิตรานนท์ภาสวิชญ์ บูรณนัติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเซี่ยงไฮ้จังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดสกลนครจังหวัดราชบุรีพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567ฟุตบอลทีมชาติไทยรุ่นอายุไม่เกิน 23 ปีตำแหน่งผู้เล่นฟุตบอลชวน หลีกภัยพัฒน์ชัย ภักดีสู่สุขการ์ลัส ปุดจ์ดาโมนสมณศักดิ์ประเทศฟิลิปปินส์สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พระพุทธโสธรเบ็นเท็น (ซีรีส์โทรทัศน์ พ.ศ. 2548)จ้าว ลู่ซือสินจัย เปล่งพานิชรณิดา เตชสิทธิ์รายชื่อสัตว์คณะรัฐมนตรีไทยสมเด็จพระเพทราชาจังหวัดสุโขทัย69 (ท่วงท่าเพศสัมพันธ์)ชวลิต ยงใจยุทธสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวรเพลิงพรางเทียนพระเทพวิทยาคม (คูณ ปริสุทฺโธ)อัมรินทร์ นิติพนพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา23.5 องศาที่โลกเอียงธงไชย แมคอินไตย์วรันธร เปานิลพระเจ้าบุเรงนองรายชื่อนามสกุลที่ใช้กันมากแบล็กพิงก์หลวงปู่ดู่ พฺรหฺมปญฺโญ🡆 More