พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์

มหาอำมาตย์ตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์ มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าเสรฐวงษ์วราวัตร จักรพันธุ์ (6 กันยายน พ.ศ.

2421 - 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2475) พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ กับหม่อมราชวงศ์สว่าง จักรพันธุ์ ทรงเป็นจางวางพิเศษพระราชวังบางปะอิน องคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระเจ้าวรวงศ์เธอ
กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์
พระเจ้าวรวงศ์เธอ ชั้น 4
พระองค์เจ้าชั้นโท
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์
ประสูติ6 กันยายน พ.ศ. 2421
สิ้นพระชนม์14 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 (53 ปี)
หม่อมหม่อมราชวงศ์สุข จักรพันธุ์
หม่อมลิ้นจี่ จักรพันธุ์ ณ อยุธยา
หม่อมลำใย จักรพันธุ์ ณ อยุธยา
หม่อมเชื้อ จักรพันธุ์ ณ อยุธยา
หม่อมกิมไหล จักรพันธุ์ ณ อยุธยา
หม่อมโป๊ จักรพันธุ์ ณ อยุธยา
พระบุตร28 องค์
ราชสกุลจักรพันธุ์
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์
พระมารดาหม่อมราชวงศ์สว่าง จักรพันธุ์

พระประวัติ

พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์ ประสูติเมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2421 เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ ประสูติแต่หม่อมราชวงศ์สว่าง จักรพันธุ์ มีพระอิสริยยศเมื่อแรกประสูติเป็นหม่อมเจ้า ทรงเข้าพิธีโสกันต์เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2434 วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2441 ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นพระอุปัชฌาย์ หม่อมเจ้าพร้อม ลดาวัลย์และพระสาสนโสภณ (อ่อน อหึสโก) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลังลาสิกขาได้เข้ารับราชการ ทรงดำรงตำแหน่งผู้รักษาพระราชวังบางปะอิน ต่อมาในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2447 ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้ว่าราชการอำเภอพระราชวัง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า" และเลื่อนขึ้นเป็น "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า" เมื่อ พ.ศ. 2443 ต่อมาวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น พระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามว่า พระเจ้าวรวงษ์เธอ กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์ ทรงศักดินา 11000 ได้รับพระราชทานเครื่องยศ ได้แก่ กากระบอกทองคำพร้อมถาดรองตามมงกุฎ พระมาลาเสร้าสเทิน ฉลองพระองค์จีบแลเจียรบาตพร้อมสำรับ หีบหมากไม้แดงหุ้มทองคำลงยาตรามงกุฎ และพระแสงญี่ปุ่นฝักก้าไหล่ทอง

วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2451 ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นปลัดมณฑลกรุงเก่า

วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานตราตั้งเป็นองคมนตรี ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน

พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์ สิ้นพระชนม์ ณ วังถนนดำรงรักษ์ เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 เวลา 01:35 น. สิริพระชันษา 53 ปี พระราชทานเพลิง ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2476

พระโอรสพระธิดา

พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์ เสกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สุข จักรพันธุ์ (ราชสกุลเดิม ไพฑูรย์) หม่อมลิ้นจี่ หม่อมลำไย หม่อมเชื้อ หม่อมกิมไหล และหม่อมโป๊ มีบุตรธิดา ได้แก่

หม่อมราชวงศ์สุข จักรพันธุ์ (ไม่มีข้อมูล - พ.ศ. 2448) (ราชสกุลเดิม : ไพฑูรย์) ธิดาในหม่อมเจ้าจุ้ย ไพฑูรย์

  1. หม่อมเจ้าหญิงดวงแก้ว จักรพันธุ์ (1 กรกฎาคม พ.ศ. 2439 - 5 กันยายน พ.ศ. 2517) แรกประสูติเป็นหม่อมราชวงศ์ เลื่อนฐานันดรศักดิ์เป็นหม่อมเจ้าหลังจากที่พระบิดาได้รับสถาปนาเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า
  2. หม่อมราชวงศ์หญิงแจ่มแจ้ง จักรพันธุ์ (ถึงแก่กรรมก่อนที่บิดาจะได้รับการสถาปนาเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า)
  3. หม่อมเจ้าแววจักร์ จักรพันธุ์ (30 มิถุนายน พ.ศ. 2441 - 23 เมษายน พ.ศ. 2517) แรกประสูติเป็นหม่อมราชวงศ์ เลื่อนฐานันดรศักดิ์เป็นหม่อมเจ้าหลังจากที่พระบิดาได้รับสถาปนาเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า เสกสมรสกับหม่อมหลวงแถม (ราชสกุลเดิม : กุญชร) ไม่ทรงมีโอรสหรือธิดา
  4. หม่อมเจ้าเสรฐพันธุ์ จักรพันธุ์ (13 มิถุนายน พ.ศ. 2443 - 5 ตุลาคม พ.ศ. 2518) เสกสมรสกับหม่อมเยาว์ (สกุลเดิม กรรณสูต; 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2444 - 20 ธันวาคม พ.ศ. 2525) และหม่อมนวลน้อย (6 ตุลาคม พ.ศ. 2461 - 26 สิงหาคม พ.ศ. 2546) มีโอรสและธิดา 6 คน
  5. หม่อมเจ้าหญิงวัลย์วิเชียร จักรพันธุ์ (3 ธันวาคม พ.ศ. 2444 - 2524)
  6. หม่อมเจ้าหญิงจารุภักตร์ จักรพันธุ์
  7. หม่อมเจ้าศักดิ์สิทธิ์ จักรพันธุ์

หม่อมลิ้นจี่ จักรพันธุ์ ณ อยุธยา (17 กันยายน พ.ศ. 2425 - 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515) พี่สาวของหม่อมลำไย

  1. หม่อมเจ้าหญิงลำนักเนตรดวงแก้ว จักรพันธุ์ (18 ตุลาคม พ.ศ. 2442 - 2527) ลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งราชวงศ์เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2479 เพื่อทำการสมรสกับสม ชัยชิตาธร
  2. หม่อมเจ้าเวียนขวา จักรพันธุ์ (14 กรกฎาคม พ.ศ. 2446 - 25 กันยายน พ.ศ. 2539) เสกสมรสกับหม่อมเพราะ ธิดาของหลวงหิรัญเลขาประดิษฐ์ มีโอรสและธิดา 13 คน
  3. หม่อมเจ้าอิทธิเดช จักรพันธุ์ (29 มิถุนายน พ.ศ. 2449 - พ.ศ. 2520) เสกสมรสกับหม่อมสมบุญ (สกุลเดิม : ประดับทอง) มีโอรสและธิดา 2 คน
  4. หม่อมเจ้าอาชวะ จักรพันธุ์ (29 มีนาคม พ.ศ. 2456 - 9 ตุลาคม พ.ศ. 2530) เสกสมรสกับหม่อมประพฤติ (สกุลเดิม : สามสูตร) มีธิดา 5 คน
  5. หม่อมเจ้าจิตรการ จักรพันธุ์ (28 กันยายน พ.ศ. 2460 - 14 มิถุนายน พ.ศ. 2534) เสกสมรสกับหม่อมปรุง (สกุลเดิม : เนียมพลับ) เมื่อ พ.ศ. 2490 มีโอรสและธิดา 6 คน
  6. หม่อมเจ้าวรรณาฑิต จักรพันธุ์ (7 ธันวาคม พ.ศ. 2464 - 2531 )

หม่อมลำไย จักรพันธุ์ ณ อยุธยา (พ.ศ. 2429 - พ.ศ. 2523) น้องสาวของหม่อมลิ้นจี่

  1. หม่อมเจ้าหญิงกร่อง จักรพันธุ์
  2. หม่อมเจ้าเจตนาธร จักรพันธุ์ (24 พฤษภาคม พ.ศ. 2450 - 6 ตุลาคม พ.ศ. 2525) เสกสมรสกับหม่อมศิริ (สกุลเดิม : เนตรนาค) มีโอรสและธิดา 6 คน
  3. หม่อมเจ้าหญิงอรอุษา จักรพันธุ์ (10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2452 - ธันวาคม พ.ศ. 2540) ลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งราชวงศ์เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2495 เพื่อทำการสมรสกับประสิทธิ์ นันทชนก มีโอรส 1 คน
  4. หม่อมเจ้าหญิงศิริอัจฉรา จักรพันธุ์ (19 กรกฎาคม พ.ศ. 2455 - พ.ศ. 2536) ลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งราชวงศ์เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 เพื่อทำการสมรสกับเจรียง สุขบท ไม่มีโอรสและธิดา
  5. หม่อมเจ้าอัชฌา จักรพันธุ์ (17 กันยายน พ.ศ. 2459 - 26 ตุลาคม พ.ศ. 2541) เสกสมรสกับหม่อมราชวงศ์หญิงภัทรสุข (ราชสกุลเดิม : ศุขสวัสดิ์) ต่อมาทรงหย่าและเสกสมรสใหม่กับหม่อมดวงแข (สกุลเดิม : เกียรตินันทน์) มีโอรสและธิดา 4 คน
  6. หม่อมเจ้าสมานมิตร จักรพันธุ์ (2 เมษายน พ.ศ. 2463 - 11 มีนาคม พ.ศ. 2536) เสกสมรสกับหม่อมทองม้วน (สกุลเดิม : ไกรทอง) ต่อมาทรงหย่า มีโอรสและธิดา 5 คน
  7. หม่อมเจ้าหญิงจิตต์จง จักรพันธุ์ (14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465 - 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548) ลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งราชวงศ์เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2482 เพื่อทำการสมรสกับเจ้าพงศ์ธาดา ณ ลำพูน มีโอรสธิดา 5 คน
  8. หม่อมเจ้าหญิงส่งรัศมี จักรพันธุ์ (22 ตุลาคม พ.ศ. 2469 - 28 เมษายน พ.ศ. 2545) ลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งราชวงศ์เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2494 เพื่อทำการสมรสกับพงษ์ศักดิ์ สวัสดิ์-ชูโต มีโอรสและธิดา 4 คน

หม่อมโป๊ จักรพันธุ์ ณ อยุธยา (8 กรกฎาคม พ.ศ. 2432 - 15 เมษายน พ.ศ. 2512)

  1. หม่อมเจ้าวราทิวัต จักรพันธุ์ (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 - 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2527) เสกสมรสกับหม่อมสุมาลา (สกุลเดิม : วิชิตนันทน์) ต่อมาทรงหย่าและเสกสมรสใหม่กับหม่อมนาคพันธุ์ (สกุลเดิม : จันทปุณณานนท์) มีโอรสและธิดา 6 คน
  2. หม่อมเจ้าหญิงไม่มีพระนาม
  3. หม่อมเจ้าหญิงอภิลาช จักรพันธุ์ (2 พฤษภาคม พ.ศ. 2458 - พ.ศ. 2541) ลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งราชวงศ์เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 เพื่อทำการสมรสกับพศก นันทมานพ ต่อมาสมรสใหม่กับนายบุญธรรม คงแช่มดี มีโอรสและธิดา 7 คน
  4. หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ (9 เมษายน พ.ศ. 2460 - 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2545) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงผ่องผัสมณี (ราชสกุลเดิม : สวัสดิวัตน์) ต่อมาเสกสมรสใหม่กับหม่อมหลวงประอร (ราชสกุลเดิม : มาลากุล) ไม่มีโอรสและธิดา
  5. หม่อมเจ้าประดิษฐา จักรพันธุ์ (10 กันยายน พ.ศ. 2464 - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2545) เสกสมรสกับหม่อมปัทมา (สกุลเดิม : แก่นมงคล) และหม่อมบุญเกิด (สกุลเดิม : จุ้ยสำราญ) มีโอรสธิดา 5 คน

หม่อมเชื้อ จักรพันธุ์ ณ อยุธยา

  1. หม่อมเจ้าหญิงจิ๋ว จักรพันธุ์

หม่อมไหล จักรพันธุ์ ณ อยุธยา

  1. หม่อมเจ้าเจ๊ก จักรพันธุ์

พระยศ

  • 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 ว่าที่นายหมวดตรี
  • – นายหมวดโท
  • – นายหมวดเอก
  • 20 กุมภาพันธ์ 2462 – นายกองตรี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

ราชตระกูล

พระราชตระกูลในสามรุ่นของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์
พระชนก:
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์
พระอัยกาฝ่ายพระชนก:
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
หม่อมน้อย ศิริวงศ์ ณ อยุธยา
พระชนนี:
หม่อมราชวงศ์สว่าง จักรพันธุ์
พระอัยกาฝ่ายพระชนนี:
พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามงคลเลิศ
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
หม่อมน้อย ศิริวงศ์ ณ อยุธยา
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
หม่อมพลบ ศิริวงศ์ ณ อยุธยา
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
ไมมีข้อมูล
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
ไม่มีข้อมูล

อ้างอิง

    เชิงอรรถ
    บรรณานุกรม
  • กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร. ๑๐๐ ปีภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในงานพระพุทธชินราชประจำปี วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม รัตนโกสินทรศก ๑๒๓. กรุงเทพฯ : ดำรงวิทยา, 2548. ISBN 974-93740-5-3
  • พีระเดช อนุพงษ์ จักรพันธุ์, ม.ร.ว.. ๑๕๐ ปี สมเด็จเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมีฯ กรมพระจักรพรรดิพงษ์. กรุงเทพฯ : กระทรวงการคลัง, 2548. 278 หน้า.
  • Jeffy Finestone. 2542. สมุดพระรูป พระราชโอรส พระราชธิดา พระราชนัดาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ปรียนันทนา รังสิต,ม.ร.ว. โลมาโฮลดิ้ง


Tags:

พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์ พระประวัติพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์ พระโอรสพระธิดาพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์ พระยศพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์ เครื่องราชอิสริยาภรณ์พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์ ราชตระกูลพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์ อ้างอิงพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์หม่อมราชวงศ์สว่าง จักรพันธุ์องคมนตรี

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

จังหวัดเพชรบุรี2เหยา หมิงสโมสรฟุตบอลเบิร์นลีย์อิทธิบาท 4ประเทศมัลดีฟส์อสมทเภตรานฤมิตแทททูคัลเลอร์มาช่า วัฒนพานิชพิมประภา ตั้งประภาพรการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557สโมสรฟุตบอลนอตทิงแฮมฟอเรสต์ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540สมณศักดิ์บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2566วอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยปางเสน่หาภาคกลาง (ประเทศไทย)มิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2021รายชื่อประธานาธิบดีสหรัฐฉัตรฑริกา สิทธิพรมสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าตี๋ลี่เร่อปาเข็มอัปสร สิริสุขะสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ขุนพันธรักษ์ราชเดช (บุตร พันธรักษ์)พรรณิการ์ วานิชกระทรวงในประเทศไทยสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรแทยังเร็ว..แรงทะลุนรก 9เฟซบุ๊กนิวคาสเซิลอะพอนไทน์กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์สงครามโลกครั้งที่หนึ่งสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็งอาตาลันตาแบร์กามัสกากัลโชสโมสรฟุตบอลทอตนัมฮอตสเปอร์ภาคอีสาน (ประเทศไทย)ใต้เงาตะวันสนธิ บุญยรัตกลินเศรษฐศาสตร์สโมสรฟุตบอลนอริชซิตีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาประเทศญี่ปุ่นชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์เกาะเสม็ดเจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณีห้างทอง ธรรมวัฒนะวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12ภัณฑิรา พิพิธยากรจังหวัดกระบี่ณัฏฐณิชา ดังวัธนาวณิชย์ปณิตา ธรรมวัฒนะประเทศสิงคโปร์พิชชา อาภากาศสมเด็จพระนารายณ์มหาราชวอลเลย์บอลชิงแชมป์สโมสรเอเชียรายชื่อผู้บัญชาการทหารสูงสุดของไทยหลวงปู่ทวดรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557ชลธี ธารทองนีล อาร์มสตรองภูวินทร์ ตั้งศักดิ์ยืนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมาสหรัฐสิทธา สภานุชาติอัสโตรเจนนี คิมเสกสกล อัตถาวงศ์ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกจังหวัดสุราษฎร์ธานีวอลเลย์บอลพิมพ์จิรา เจริญลักษณ์ธนินท์ เจียรวนนท์อัสนี-วสันต์🡆 More