พระสันตะปาปา

พระสันตะปาปา (ละติน: papa มาจากคำว่า กรีก: πάππας, อักษรโรมัน: pappas, บาทหลวง; อังกฤษ: Pope) หมายถึง มุขนายกแห่งคริสตจักรกรุงโรม (Bishop of the Church of Rome) และผู้นำคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั่วโลก คริสตจักรนี้ถือว่าพระสันตะปาปาเป็นผู้สืบตำแหน่งจากนักบุญซีโมนเปโตรอัครทูตของพระเยซู สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสเป็นพระสันตะปาปาพระองค์ปัจจุบันตามการประชุมเลือกตั้งพระสันตะปาปาในวันที่ 13 มีนาคม ค.ศ.

2013

บิชอปแห่งโรม

Pontifex maximus

สมเด็จพระสันตะปาปา
คาทอลิก
พระสันตะปาปา
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสในปี 2023
Coats of arms of the Holy See and Vatican City
สันตะสำนัก
(ตราสัญลักษณ์)
ดำรงตำแหน่ง:
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส
13 มีนาคม ค.ศ. 2013
รูปแบบฮิส โฮลิเนส
ที่ตั้ง
ที่พำนัก
  • พระราชวังพระสันตะปาปา (ที่พำนักอย่างเป็นทางการของสมเด็จพระสันตะปาปา)
  • Domus Sanctae Marthae (ที่ประทับปัจจุบันของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส)
สำนักงานใหญ่พระราชวังพระสันตะปาปา, นครรัฐวาติกัน
ข้อมูล
ประมุของค์แรกนักบุญซีโมนเปโตร
นิกายโรมันคาทอลิก
สถาปนาศตวรรษที่ 1
มุขมณฑลโรม
อาสนวิหารอัครมหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน
กำกับดูแลสันตะสำนัก
เว็บไซต์
Holy Father

ตำแหน่งของพระสันตะปาปา ในภาษาอังกฤษเรียก ปาปาซี (Papacy) และรัฐบาลคริสตจักรในพระสันตะปาปาเรียก "สันตะสำนัก" ตั้งอยู่ที่กรุงโรม โดยถือตามความเชื่อสืบมาว่า นักบุญเปโตรและนักบุญเปาโลอัครทูตได้พลีชีพเป็นมรณสักขีในศาสนาคริสต์ที่นี่ พระสันตะปาปายังทรงดำรงตำแหน่งประมุขนครรัฐวาติกันด้วย ซึ่งเป็นรัฐอธิปไตยที่ตั้งอยู่ภายในกรุงโรม

ตำแหน่งพระสันตะปาปาถือเป็นตำแหน่งที่เก่าแก่ที่สุดในโลกตำแหน่งหนึ่ง และมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์โลก ในสมัยโบราณพระสันตะปาปามีหน้าที่หลักในการเผยแผ่ศาสนาคริสต์และตัดสินข้อขัดแย้งด้านความเชื่อภายในคริสตจักร ในสมัยกลางพระสันตะปาปามีบทบาทสำคัญมากในทางโลกในยุโรปตะวันตกด้วย เช่น เป็นผู้ตัดสินความขัดแย้งระหว่างประมุขของรัฐ รวมถึงสงครามหลายครั้ง ปัจจุบันนี้นอกจากจะทำหน้าที่ด้านเผยแผ่ศาสนาคริสต์แล้ว พระสันตะปาปายังปฏิบัติพระกรณียกิจด้านคริสต์ศาสนสัมพันธ์และศาสนสัมพันธ์ งานการกุศล และการปกป้องสิทธิมนุษยชนด้วย

ตั้งแต่สมัยใหม่เป็นต้นมา พระสันตะปาปาได้สูญเสียอำนาจทางฝ่ายโลก ปัจจุบันจึงเน้นแต่ด้านศาสนา ในปี ค.ศ. 1870 คริสตจักรโรมันคาทอลิกมีประกาศคำสอนต้องเชื่อว่าพระสันตะปาปาไม่เคยผิดพลาดในการกำหนดหลักความเชื่อและศีลธรรม แต่ก็ไม่ค่อยประกาศใช้บ่อยครั้งนัก การประกาศครั้งแรกเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1950 เรื่องยืนยันว่าเรื่องแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์เป็นคำสอนต้องเชื่อ

ประวัติ

คำว่า Papa ในภาษาละติน หรือ Pappas ในภาษากรีก แปลว่า บิดา ศาสนาคริสต์ตะวันออกได้ใช้คำนี้เพื่อหมายถึงมุขนายกและบาทหลวงระดับสูงในคริสตจักร ต่อมาคำนี้ถูกใช้เป็นคำนำหน้านามของอัครบิดรแห่งอะเล็กซานเดรียมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 3 และต่อมาจึงใช้กับบรรดามุขนายกในศาสนาคริสต์ตะวันตกด้วย มาร์เซลลินุสเป็นมุขนายกองค์แรกของคริสตจักรกรุงโรมที่ใช้คำนำหน้านามว่าพระสันตะปาปา แต่ก็เป็นการใช้อย่างไม่เป็นทางการ จนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 6 เป็นต้นมา คริสตจักรโรมันคาทอลิกจึงใช้คำว่าพระสันตะปาปากับมุขนายกแห่งกรุงโรมโดยเฉพาะ และในคริสต์ศตวรรษที่ 11 สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 7 ได้ประกาศให้คำว่า "พระสันตะปาปา" สงวนไว้ใช้กับมุขนายกแห่งกรุงโรมเท่านั้น

พระอิสริยยศทางการ

รายชื่อพระอิสริยยศอย่างเป็นทางการของพระสันตะปาปาตามหนังสือ Annuario Pontificio (รายงานประจำปีของสันตะสำนัก) ได้แก่

มุขนายกแห่งโรม, ผู้แทนพระคริสต์, ผู้สืบตำแหน่งเจ้าชายแห่งอัครทูต, ปอนทิฟสูงสุดแห่งพระศาสนจักรสากล, ไพรเมตแห่งอิตาลี, อัครมุขนายกและมุขนายกมหานครแห่งแขวงโรม, อธิปัตย์แห่งนครรัฐวาติกัน, ผู้รับใช้ของบรรดาผู้รับใช้พระเป็นเจ้า.

ส่วนคำว่า "พระสันตะปาปา" (Papa) ไม่ปรากฏเป็นพระอิสริยยศทางการ แต่มักใช้เป็นชื่อเอกสาร และเขียนย่อเป็น PP. (มาจาก papa pontifex) กำกับลงท้ายในลายพระอภิไธย เช่น สมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 6 ทรงลงพระนามว่า "Paulus PP. VI"

รายพระนามสมเด็จพระสันตะปาปา

ผู้อ้างตนเป็นพระสันตะปาปา

ผู้อ้างตนเป็นพระสันตะปาปา หรือ พระสันตะปาปาซ้อน (antipope) หมายถึง ผู้ที่เป็นพระสันตะปาปาโดยไม่ถูกต้อง ทั้งที่อ้างตัวเอง เกิดจากความสับสน หรือได้รับเลือกให้เป็นพระสันตะปาปาแล้ว แต่ไม่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ หรือได้รับตำแหน่งโดยถูกต้องแล้ว แต่ถือกันว่าเป็นพระสันตะปาปาอย่างไม่ถูกต้อง และเป็นปรปักษ์ต่อพระสันตะปาปาที่ได้รับเลือกมาอย่างถูกต้องตามกฎหมายศาสนจักร

พระสันตะปาปาซ้อนมักเกิดจากความขัดแย้งระหว่างผู้ปกครองฝ่ายอาณาจักรกับฝ่ายคริสตจักรในขณะนั้น โดยเฉพาะกับจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ทั้งนี้ผู้ปกครองในหลายสมัยพยายามจะเข้ามาแทรกแซงศาสนจักร ส่วนศาสนจักรเองนั้น ตามประวัติศาสตร์ก็ปรากฏว่ามีการพยายามแทรกแซงทางโลกเช่นเดียวกัน เช่นการสนับสนุน antiking ในประเทศเยอรมนีสมัยก่อน

นอกจากความขัดแย้งกับทางโลกแล้ว ความสับสนและไม่ลงรอยภายในศาสนจักรเอง ก็ทำให้มีผู้อ้างตนเป็นพระสันตะปาปาขึ้นในระหว่างการเลือกพระสันตะปาปาเช่นเดียวกัน กล่าวได้อีกอย่างก็คือ พระสันตะปาปาที่ถูกต้องนั้นก็มีโอกาสเป็นปรปักษ์พระสันตะปาปาได้เช่นเดียวกัน ถ้าการณ์กลับว่าพระสันตะปาปาเท็จได้รับเลือกเป็นพระสันตะปาปาที่ถูกต้อง

ความไม่ลงรอยกันในการเลือกพระสันตะปาปาในศาสนจักรโรมันคาทอลิกนั้น ภายหลังนำไปสู่การปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ในที่สุด

รายนามพระสันตะปาปาซ้อนมาจากมุมมองของนิกายโรมันคาทอลิก ผู้อ้างตนเป็นพระสันตะปาปาบางพระองค์อาจจะถือเป็นพระสันตะปาปาที่ถูกต้องในมุมมองของนิกายอื่น

พระสันตะปาปาพระองค์สุดท้าย

มีการพยากรณ์กันว่า พระสันตะปาปาองค์สุดท้ายจะใช้พระนามว่า "เปโตร" (สมเด็จพระสันตะปาปาเปโตรที่ 2)

หมายเหตุ

ฝ่ายคาทอลิกเรียก "พระสังฆราชแห่งพระศาสนจักรกรุงโรม"

อ้างอิง

บรรณานุกรม

อ่านเพิ่ม

  • Brusher, Joseph H. Popes Through The Ages. Princeton: D. Van Nostland Company, Inc., 1959.
  • Chamberlin, E.R. The Bad Popes. 1969. Reprint: Barnes and Noble, 1993. ISBN 978-0-88029-116-3.
  • Dollison, John Pope-pourri. New York: Simon & Schuster, 1994. ISBN 978-0-671-88615-8.
  • Kelly, J.N.D. The Oxford Dictionary of Popes. Oxford: University Press, 1986. ISBN 0-19-213964-9.
  • Maxwell-Stuart, P.G. Chronicle of the Popes: The Reign-by-Reign Record of the Papacy from St. Peter to the Present; with 308 Illustrations, 105 in Color. London: Thames and Hudson, 1997. ISBN 0-500-01798-0.
  • Norwich, John Julius. The Popes: a History. Chatto, 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

พระสันตะปาปา ประวัติพระสันตะปาปา พระอิสริยยศทางการพระสันตะปาปา รายพระนามสมเด็จพระสันตะปาปา ผู้อ้างตนเป็นพระสันตะปาปา พระองค์สุดท้ายพระสันตะปาปา หมายเหตุพระสันตะปาปา อ้างอิงพระสันตะปาปา บรรณานุกรมพระสันตะปาปา อ่านเพิ่มพระสันตะปาปา แหล่งข้อมูลอื่นพระสันตะปาปาการประชุมเลือกตั้งพระสันตะปาปาคริสตจักรคริสตจักรกรุงโรมซีโมนเปโตรพระเยซูภาษากรีกภาษาละตินภาษาอังกฤษมุขนายกสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสอัครทูตโรมันคาทอลิก

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ลั่นทมรายชื่อประเทศในทวีปเอเชียเรียงตามประชากรเอาด์-เฮเฟอร์เลเลอเฟินโรงเรียนนายร้อยตำรวจFผู้หญิง 5 บาปวิทยุเสียงอเมริกานิชคุณ ขจรบริรักษ์พีรดนย์ ฉ่ำรัศมีฟุตบอลทีมชาติโอมานฟุตบอลทีมชาติฮังการีกระทรวงสาธารณสุข (ประเทศไทย)ธนาคารแห่งประเทศไทยมหาวิทยาลัยมหิดลสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญารายชื่อสถานีรถไฟ สายใต้วีระเทพ ป้อมพันธุ์จังหวัดขอนแก่นวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยปัญญา นิรันดร์กุลโรงเรียนเตรียมทหารดวงใจเทวพรหมพรรคภูมิใจไทยพระโคตมพุทธเจ้าสโมสรฟุตบอลโปลิศ เทโรอาณาจักรอยุธยาสถานีกลางบางซื่อฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย – รอบที่ 1โอริโอล โรเมอูรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการโอดะ โนบูนางะธงไชย แมคอินไตย์2วอลเลย์บอลรายชื่อประเทศเรียงตามจำนวนประชากรอักษรไทยประชาธิปไตยขุนณรงค์ ประเทศรัตน์รายชื่อละครโทรทัศน์จักร ๆ วงศ์ ๆฟุตบอลโลก 2006เข็มอัปสร สิริสุขะโชกุน (ละครโทรทัศน์ปี 2024)รายชื่อตัวละครในกังฟูแพนด้าจุฑาวัชร วิวัชรวงศ์มัธยมศึกษาธนวรรธน์ วรรธนะภูติรายชื่อสกุลญี่ปุ่นที่ใช้มากที่สุดทวีปแอฟริกาอุณหภูมิวีระ สุสังกรกาญจน์พรหมลิขิตธีรศิลป์ แดงดาบอดี้สแลมประเทศกรีซวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรจังหวัดระยองรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดปทุมธานีศิริลักษณ์ คองเจริญศักดิ์ วงษ์กรณ์อี คัง-อินฮันเตอร์ x ฮันเตอร์เมืองพัทยาอุรัสยา เสปอร์บันด์รายชื่อตอนในเป็นต่อ (ช่องวัน)คริสเตียโน โรนัลโดฟุตบอลโลก 2002สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักรการรถไฟแห่งประเทศไทยอินเทอร์เน็ตกูเกิลข้าราชการส่วนท้องถิ่นขอบตาแพะสกีบีดีทอยเล็ตพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถกองบัญชาการตำรวจนครบาลสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)จังหวัดหนองคายช่องวัน 31🡆 More