พระพรหม: เทพเจ้าในศาสนาฮินดู

พระพรหม (สันสกฤต: ब्रह्मा พฺรหฺมา; อังกฤษ: Brahma; เตลูกู: బ్రహ్మ; )ในพระพุทธศาสนาคือท้าวมหาธาดาปชาบดีพรหม เป็นเทพเจ้าสูงสุด (ตรีมูรติ) ในคติของศาสนาฮินดู เป็นเทพเจ้าแห่งการสร้างสรรค์ ความเมตตา เป็นพระผู้สร้างโลกและให้กำเนิดสิ่งต่าง ๆ ในจักรวาล และให้กำเนิดคัมภีร์พระเวท

พระพรหม
การสร้างสรรค์, สติปัญญา และ พระเวท
ส่วนหนึ่งของ ตรีมูรติ
พระพรหม: เทพเจ้าในศาสนาฮินดู
เทวรูปพระพรหมที่แพร่หลายในประเทศไทย ซึ่งถอดแบบมาจากเทวรูปของศาลท้าวมหาพรหม โรงแรมเอราวัณ
ชื่ออื่นเวทนาถ, คยเนศวร, จตุรมุข, สวายัมพู
ชื่อในอักษรเทวนาครีब्रह्म
ชื่อในการทับศัพท์ภาษาสันสกฤตBrahma
ส่วนเกี่ยวข้องปรพรหมัน, ตรีมูรติ, เทวะ,พระประชาบดี
ที่ประทับพรหมโลก
มนตร์।। ॐ वेदात्मनाय विद्महे हिरण्यगर्भाय धीमही तन्नो ब्रह्मा प्रचोदयात् ।। (โอม เวทาตมนายะ วิทมะหิ หิรัญญะครรภายะ ธีมาหิ ตันโน พรหมา ปรโกทยาตะ), โอม พรหมยะ นะมะ
อาวุธBrahmastra, Brahmashirsha astra, Brahmanda astra
สัญลักษณ์พระเวท
พาหนะหงส์ นามว่า หงสกุมาร/หงสราช
เทศกาลKartik Purnima, Srivari Brahmotsavam
ข้อมูลส่วนบุคคล
คู่ครองพระสุรัสวดี (พระอัครมเหสี) และ คยาตรี (ตาม สกันทปุราณะ)
บุตร - ธิดาพระมนู, จตุรกุมาร, ฤาษีนารัท, Daksha, Marichi ฯลฯ
พี่น้องพระลักษมี (ตาม สกันทปุราณะ)


พระพรหมมีสี่พักตร์ พระศอสวมลูกประคำ พระหัตถ์แต่ละข้างถือดอกบัว, คัมภีร์ และหม้อน้ำ มีพาหนะเป็นหงส์หรือห่าน พระชายาคือพระสุรัสวดี เทพีแห่งศิลปะวิทยาการและความรอบรู้

ในคัมภีร์มัตสยาปุราณะเล่าว่า พระพรหมเดิมทีมีถึงห้าพักตร์ การที่มีห้าพักตร์เกิดจาก การที่พระพรหมให้ได้กำเนิดผู้หญิงนางหนึ่งชื่อ ศตรูป ขึ้นมา ความงามของศตรูปทำให้พระองค์หลงใหล เมื่อศตรูปนี้เคลื่อนไปทางใด พระพรหมก็จะหันพระพักตร์เพื่อมองตามไปด้วย แต่ว่ามีครั้งหนึ่งที่พระพรหมไปดูแคลนพระศิวะเข้า ทำให้พระศิวะพิโรธ และใช้ไฟบรรลัยกัลป์จากพระเนตรที่สามที่กลางพระนลาฏเผาพระพักตร์ที่อยู่ด้านบนเศียรของพระพรหม จนเหลือเพียงสี่พักตร์ แต่อีกความเชื่อหนึ่งเล่าว่า เพราะพักตร์ด้านบนของพระพรหมนั้นเจิดจรัสมาก ทำให้พวกสุระและอสุระทนไม่ได้ จึงขอร้องให้พระศิวะเป็นผู้ตัดให้

และยังเชื่อด้วยว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างบุคคลในวรรณะต่าง ๆ จากอวัยวะแต่ละส่วน ได้แก่ พราหมณ์เกิดจากพระโอษฐ์, กษัตริย์เกิดจากอก, แพศย์เกิดจากท้อง และศูทรเกิดจากเท้า

ตามมติของพราหมณาจารย์แต่โบราณกล่าวถึงตำราพรหมชาติ ว่าเป็นตำราที่มาจากพรหม ตำราพุทธลักษณะที่ฤษีแต่งไว้ก็มาจากพรหม เหตุที่รู้เห็นถึงพุทธลักษณะได้เพราะพรหมเป็นผู้มีอายุยืนและได้รู้เห็นเรื่องราวต่าง ๆ อยู่ตลอดกาลนาน เมื่อเวลาพราหมณ์หนุ่มเที่ยวสืบหาที่เรียนและทำความเคารพนบนอบในผู้เฒ่าผู้แก่อยู่นั้น พระพรหมเห็นแก่ความกรุณา พอทราบเรื่อง จึงได้แปลงเพศมาเป็นพราหมณ์ฤษีแล้วบอกวิชา ทั้งเรื่องมนต์ ไสยเวท ตำราพยากรณ์ ตำราดูลักษณะของหมอดู ต่าง ๆนั้นเองพราหมณ์จึงถือว่ามาจากพรหม และจึงได้นับถือกันว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์มีความงดงาม แม้คัมภีร์ปิงคละดาบส ตำราโตลกจือโหราศาสตร์จีน ถึงตลอดคัมภีร์โหราศาสตร์ในรุ่นหลัง ๆ ก็ได้กล่าวว่าได้มาแต่ฤษีและเทวะบันดาล อาจารย์ผู้ที่เรียนรู้ไว้ต่างกล่าวถึงสิ่งมงคลนี้ในทำนองเดียวกัน

ในคติของชาวไทยที่รับคติความเชื่อจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เชื่อว่าพระพรหมเป็นผู้ลิขิต ชะตาชีวิตของบุคคลต่าง ๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย เรียกว่า "พรหมลิขิต" และผู้ใดที่บูชาพระพรหมอยู่เป็นนิจ พระองค์จะประทานพรให้สมหวัง เรียกว่า "พรพรหม" หรือ "พรหมพร" และยังเป็นเทพประจำทิศเบื้องบนอีกด้วย

ด้วยเหตุดังนี้ พระพรหมจึงมีพระนามต่าง ๆ อาทิ "พรหมธาดา" หรือ "ประชาบดี" (ผู้สร้าง), "หงสรถ" หรือ "หงสวาหน" (ผู้มีหงส์เป็นพาหนะ), "จตุรพักตร์" (ผู้มีสี่หน้า), "ปรเมษฐ์" (ผู้ประเสริฐ) เป็นต้น ส่วนในลิลิตโองการแช่งน้ำเรียกว่า "ขุนหงส์ทองเกล้าสี่"

โดยความหมายของคำว่า "พรหม" หมายถึง "ความเจริญ, ความกว้างขวาง, ความขยายตัว หรือความเบิกบาน" ดังนั้นตามคติและวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ทั้งในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพุทธศาสนาจึงมีคำว่า พรหม ประกอบคำศัพท์ เช่น "พรหมจรรย์", "พรหมบุตร" หรือ "พรหมวิหาร 4" เป็นต้น

ในพระพุทธศาสนา

พระพรหม: เทพเจ้าในศาสนาฮินดู 
พรหมในคติพุทธศาสนา: พรหมชั้น "รูปพรหม" ในไตรภูมิพระร่วง ฉบับกรุงธนบุรี

พระพรหม เป็นเทวดาชั้นสูงกว่าเทวดาทั่วไปในฉกามาพจร แต่มีการเวียนว่ายตายเกิดด้วยอำนาจกิเลส (โลภะ โทสะ โมหะ แต่ในภพชาติก่อนจุติและปฏิสนธิเป็นพรหมมีกุศลมาก มีฌาณสมาบัติเป็นอารมณ์ เมื่อตายจึงไปเกิดที่สวรรค์ชั้นนี้) อยู่ในสวรรค์ที่เรียกว่าชั้นพรหม (พรหมภูมิ) ในพระพุทธศาสนาพระพรหมนั้นมีหลายองค์ซึ่งต่างจากฮินดูที่มีพระพรหมเพียงพระองค์เดียว

พระพรหมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ พรหมที่มีรูป เรียกว่า "รูปพรหม" มีทั้งหมด 16 ชั้น มีอธิบดีพรหมปกครองในเเต่ละชั้นโดยมีท้าวมหาธาดาปชาบดีพรหม เป็นพรหมาธิบดีสูงสุด และพรหมที่ไม่มีรูป เรียกว่า "อรูปพรหม" มีทั้งหมด 4 ชั้น โดยอรูปพรหมจะสูงกว่ารูปพรหม ไม่มีอธิบดีพรหมเพราะไม่มีรูปมีเเต่วิญญาณ อยู่ในสภาวะจิต

พระพรหมไม่มีเพศ เเต่จะเเสดงรูปลักษณ์เป็นบุรุษเพศ จึงไม่มีสตรีเพศในชั้นพรหม ไม่ต้องกินไม่ต้องบริโภคอาหาร เหมือนสัตวโลกในภูมิอื่น ด้วยว่าแช่มชื่นอิ่มเอิบโดยมีฌานสมาบัติเป็นอาหาร จึงไม่ต้องขับถ่าย

อ้างอิง

  • นิตย์ จารุศร (รวบรวม และ เรียบเรียง). สารธรรม. กรุงเทพฯ : เหรียญบุญ การพิมพ์, 2547.
  • พระพานิช ญาณชีโว. ไตรภูมิพระร่วง (ฉบับย่อความ). กรุงเทพฯ : ตรงหัว,, 2539.
  • เสฐียรโกเศศ. ไตรภูมิกถา หรือ ไตรภูมิพระร่วง พระราชนิพนธ์ในพญาลิไทย. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2545.
  • เสฐียรโกเศศ. เล่าเรื่องในไตรภูมิ. ธนบุรี : โรงพิมพ์อักษรเพชรเกษม, 2512.

Tags:

ตรีมูรติพระผู้สร้างพระพรหม (ศาสนาพุทธ)พระเวทภาษาสันสกฤตภาษาอังกฤษภาษาเตลูกูศาสนาฮินดู

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาตมูฮัมหมัด อุสมานมูซาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมณี สิริวรสารบุนเดิสลีกาชา อึน-อูสินจัย เปล่งพานิชจีเอ็มเอ็มทีวีรายพระนามพระมหากษัตริย์ไทยชญานิษฐ์ ชาญสง่าเวชเจมส์ มาร์ตารางธาตุสหรัฐวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540FBอสมทฟุตซอลโลกนพเก้า เดชาพัฒนคุณฟุตซอลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรายชื่อตอนในวันพีซ (อนิเมะ)คริสเตียโน โรนัลโดประเทศนิวซีแลนด์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรายชื่อบริษัทมหาชนในประเทศไทยไฮคิว!! คู่ตบฟ้าประทานสโมสรฟุตบอลยูเวนตุสศาสนาอิสลามอำเภอแม่สอดวงศกร ปรมัตถากรเสรีพิศุทธ์ เตมียเวสจรินทร์พร จุนเกียรติจุดทิศหลักกิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ประเทศสิงคโปร์การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475กรรชัย กำเนิดพลอยทักษอร ภักดิ์สุขเจริญกูเกิล แผนที่ประวัติศาสนาพุทธGสโมสรกีฬาลัตซีโยการ์โล อันเชลอตตีความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยเอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เจนี่ อัลภาชน์วันชนะ สวัสดีโลมาพรรษา วอสเบียนเธอ ฟอร์ แคช สินเชื่อ..รักแลกเงินบยอน อู-ซ็อกวรรณี เจียรวนนท์ รอสส์พระโคตมพุทธเจ้าศาสนาพุทธจ๊ะ นงผณีบาป 7 ประการและสิ่งสุดท้ายสี่อย่างจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ธี่หยด 2สฤษดิ์ ธนะรัชต์กระทรวงมหาดไทย (ประเทศไทย)นรวิชญ์ ฐิติเจริญรักษ์กรมสรรพากรพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกมหาศึกชิงบัลลังก์ (ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์)ปารีณา ไกรคุปต์ชาลิดา วิจิตรวงศ์ทองพอได้เกิดใหม่เป็นองค์ชายลําดับที่เจ็ด ก็เพื่อเรียนเวทให้สนุกตระกูลเจียรวนนท์จิรายุ ตั้งศรีสุขมหาเวทย์ผนึกมารเฟซออฟบิวตีอินเตอร์เนชันแนลพระศิวะศาสนาฮินดูฐสิษฐ์ สินคณาวิวัฒน์เชิญยิ้มโปเตโต้🡆 More