ปะตูไซ

ปะตูไซ (ลาว: ປະຕູໄຊ; ในอดีตเรียกว่า อานุสาวะลี) เป็นอนุสรณ์สถานตั้งอยู่ท้ายสุดทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของถนนล้านช้าง ใจกลางนครเวียงจันทน์ ประเทศลาว ก่อสร้างในระหว่างปี พ.ศ.

2500 ถึงปี พ.ศ. 2511 เพื่อเป็นการสดุดีวีรชนผู้ร่วมรบเพื่อประกาศเอกราชจากประเทศฝรั่งเศส ปะตูไซถูกตกแต่งด้วยศิลปะแบบล้านช้าง นำสัตว์ในตำนานตามความเชื่อของศาสนาพุทธ เช่น กินรี และพญานาค เป็นต้น และเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มาตกแต่ง บริเวณโดยรอบมีลานจัดการแสดงน้ำพุประกอบดนตรีและสวนปะตูไซ

ปะตูไซ
ປະຕູໄຊ
ปะตูไซ
ประตูไซกับลานแสดงน้ำพุประกอบดนตรี
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งเวียงจันทน์ ลาว
สถานะเสร็จแต่ไม่สมบูรณ์
เริ่มสร้างพ.ศ. 2500
สร้างเสร็จพ.ศ. 2511
เปิดตัวพ.ศ. 2553 (ครบรอบ 450 ปี
ของเวียงจันทน์ในฐานะเมืองหลวงของลาว)
รายละเอียด
จำนวนชั้น7 ชั้น
มูลค่า63 ล้านกีบ
บริษัท
สถาปนิกทำ ไซยะสิทธเสนา
(Tham Sayasthsena)
เจ้าของรัฐบาลลาว

ประวัติ

ชื่อเรียก

ปะตูไซ เป็นคำประสมมาจากคำว่า "ปะตู" (ປະຕູ) หมายถึง "ประตู" และ "ไซ" (ໄຊ) มาจากภาษาสันสกฤตคำว่า "ชยะ" หมายถึง "ชนะ" ความหมายของคำจึงเหมือนเช่นเดียวกับคำว่า "ประตูชัย" ในภาษาไทย ส่วนการถอดเป็นอักษรโรมันของคำว่า ปะตูไซ นั้นมีหลายรูปแบบ ได้แก่ Patuxai, Patuxay, Patousai และ Patusai

หลังจากประตูไซสร้างเสร็จ เป็นช่วงที่ลาวมีการปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ สถานที่นี้ถูกรู้จักกันในชื่อ "อานุสาวะลี" (ອານຸສາວະລີ) ซึ่งหมายถึง "ความทรงจำ" เนื่องจากเป็นอนุสรณ์สถานสำหรับการสดุดีวีรชนจากการประกาศเอกราช ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 ขบวนการปฏิวัติฝ่ายคอมมิวนิสต์ "ปะเทดลาว" ยึดอำนาจรัฐบาลได้เด็ดขาดและพระมหากษัตริย์สละราชสมบัติ ทำให้เปลี่ยนการปกครองจากแบบเดิมเป็นสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ จึงเปลี่ยนชื่อจากอานุสาวะลีเป็น "ปะตูไซ" (ປະຕູໄຊ) เพื่อเป็นเกียรติแก่ชัยชนะของคณะปฏิวัติ จนใช้เรียกกันถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ปะตูไซยังถูกเรียกว่าเป็น "อาร์กเดอทรียงฟ์" แห่งเวียงจันทน์ เนื่องจากมีลักษณะคล้ายกับอาร์กเดอทรียงฟ์เดอเลตวล ในปารีส ประเทศฝรั่งเศส และมีชื่อเล่นเรียกว่า "รันเวย์แนวตั้ง" เพราะใช้ปูนซิเมนต์สำหรับสร้างสนามบิน

การก่อสร้าง

ประตูไซสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์สถาน สำหรับสดุดีแก่ทหารลาวที่เสียชีวิตในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองและในการกอบกู้เอกราชจากประเทศฝรั่งเศส ได้รับการออกแบบโดยนายทำ ไซยะสิทธเสนา สถาปนิกชาวลาว ในปี พ.ศ. 2500 แบบของเขาได้รับเลือกจากกรมโยธาธิการ กรมวิศวกรการทหาร และสถาปนิกเอกชนอีกจำนวนมาก โดยทำได้รับเงินค่าตอบแทนเป็นจำนวน 30,000 กีบสำหรับงานออกแบบของเขา วัสดุที่ใช้ก่อสร้างเป็นปูนซิเมนต์จากสหรัฐที่ใช้สำหรับสร้างสนามบินใหม่ในเวียงจันทน์ แต่รัฐบาลลาวในสมัยนั้นนำมาใช้ในการสร้างปะตูไซแทน ปะตูไซหยุดการสร้างในปี พ.ศ. 2511 แต่ไม่ได้สร้างเสร็จสมบูรณ์ตามแบบที่ออกแบบไว้ในตอนแรก เพราะสถานการณ์บ้านเมืองที่ผ่านมาปั่นป่วน รวมมูลค่าทั้งหมดประมาณ 63 ล้านกีบ

ระเบียงภาพ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

17°58′14″N 102°37′07″E / 17.970556°N 102.618611°E / 17.970556; 102.618611

Tags:

ปะตูไซ ประวัติปะตูไซ ระเบียงภาพปะตูไซ อ้างอิงปะตูไซ แหล่งข้อมูลอื่นปะตูไซกินรีนครเวียงจันทน์ประเทศลาวพญานาคภาษาลาว

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

มุฮัมมัดรณิดา เตชสิทธิ์จูด เบลลิงงัมวัชรพล ประสารราชกิจบรรหาร ศิลปอาชาพ่อขุนรามคำแหงมหาราชรายการรหัสไปรษณีย์ไทยกรมการปกครองจังหวัดกำแพงเพชรประเทศแคนาดาชียากู ซิลวามูฮัมหมัด อุสมานมูซาช่อง 3 เอชดี18สุภาพบุรุษจุฑาเทพสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารีสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีรายชื่อตอนในเป็นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของไทยราชินีแห่งน้ำตาสำราญ นวลมาฟุตซอลโลกสงครามเย็นหน้าหลักสัปเหร่อ (ภาพยนตร์)กระทรวงมหาดไทย (ประเทศไทย)ภูธฤทธิ์ พรหมบันดาลภัทร เอกแสงกุลณัฏฐณิชา ดังวัธนาวณิชย์สครับบ์ธนาคารกสิกรไทยแมวจังหวัดของประเทศเกาหลีใต้จ้าว ลี่อิ่งGกรุงเทพมหานครและปริมณฑลภูมิธรรม เวชยชัยเจาะมิติพิชิตบัลลังก์นกกะรางหัวขวานชลน่าน ศรีแก้วศาสนาเชนพระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวศรีรัศมิ์ สุวะดีอมีนา พินิจยูทูบพัก มิน-ย็องสโมสรฟุตบอลฌีรงแด็งเดอบอร์โดพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดชทศศีลวิทยุเสียงอเมริกาประเทศซาอุดีอาระเบียเบิ้ล ปทุมราช อาร์สยามสหรัถ สังคปรีชารายชื่อสถานีรถไฟ สายใต้ดราก้อนบอลตะเคียนหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโตธนาคารไทยพาณิชย์อริศรา วงษ์ชาลีวชิรวิชญ์ วัฒนภักดีไพศาลสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)สงครามโลกครั้งที่สองวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระทวีปยุโรปครูพิเศษจอมป่วน รีบอร์น!สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติไอลิทอาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)มหาวิทยาลัยสวนดุสิตอิงฟ้า วราหะภาคใต้ (ประเทศไทย)ธนาคารออมสินบุญบั้งไฟสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานศาสนาอิสลาม🡆 More