ประเทศคีร์กีซสถาน: ประเทศในเอเชียกลาง

41°N 75°E / 41°N 75°E / 41; 75

สาธารณรัฐคีร์กีซ

Кыргыз Республикасы (คีร์กีซ)
ที่ตั้งของ ประเทศคีร์กีซสถาน  (เขียว)
ที่ตั้งของ ประเทศคีร์กีซสถาน  (เขียว)
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
บิชเคก
42°52′N 74°36′E / 42.867°N 74.600°E / 42.867; 74.600
ภาษาราชการคีร์กีซ (ภาษาประจำรัฐ) รัสเซีย (ภาษาราชการ)
ภาษาอื่น ๆ
กลุ่มชาติพันธุ์
(ค.ศ. 2019)
ศาสนา
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบประธานาธิบดี
ซาดือร์ จาปารัฟ
• หัวหน้าคณะรัฐมนตรี
อากึลเบก จาปารัฟ
• ประธานสภาสูงสุด
นูร์ลันเบก ชากียิฟ
สภานิติบัญญัติสภาสูงสุด
ก่อตั้ง
• รัฐข่านคีร์กีซ
ค.ศ. 840
• แยกจากรัสเซีย
27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1917
5 ธันวาคม ค.ศ. 1936
• เป็นเอกราชจากสหภาพโซเวียต
31 สิงหาคม ค.ศ. 1991
• เข้าเป็นสมาชิกเครือรัฐเอกราช
21 ธันวาคม ค.ศ. 1991
26 ธันวาคม ค.ศ. 1991
• เป็นสมาชิกสหประชาชาติ
2 มีนาคม ค.ศ. 1992
พื้นที่
• รวม
199,951 ตารางกิโลเมตร (77,202 ตารางไมล์) (อันดับที่ 85)
3.6
ประชากร
• ค.ศ. 2020 ประมาณ
เพิ่มขึ้น 6,586,600 (อันดับที่ 110)
• สำมะโนประชากร ค.ศ. 2009
5,362,800
27.4 ต่อตารางกิโลเมตร (71.0 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 176)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2019 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 35.324 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 127)
เพิ่มขึ้น 5,470 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 134)
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2019 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 8.455 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 141)
เพิ่มขึ้น 1,309 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 158)
จีนี (ค.ศ. 2018)Negative increase 27.7
ต่ำ
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019)เพิ่มขึ้น 0.697
ปานกลาง · อันดับที่ 120
สกุลเงินโซมคีร์กีซสถาน (c) (KGS)
เขตเวลาUTC+6 (เวลาคีร์กีซสถาน)
ขับรถด้านขวามือ
รหัสโทรศัพท์+996
รหัส ISO 3166KG
โดเมนบนสุด.kg

คีร์กีซสถาน (อังกฤษ: Kyrgyzstan; คีร์กีซ: Кыргызстан, ออกเสียง: [qɯrʁɯsˈstɑn]; รัสเซีย: Киргизия) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐคีร์กีซ (อังกฤษ: Kyrgyz Republic; คีร์กีซ: Кыргыз Республикасы; รัสเซีย: Кыргызская Республика) เป็นประเทศในเอเชียกลาง มีพรมแดนติดกับประเทศจีน คาซัคสถาน ทาจิกิสถาน และอุซเบกิสถาน เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล เมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดมีชื่อว่าบิชเคก (Бишкек – เดิมเรียกว่า ฟรุนเซ Фрунзе) คีร์กีซสถานเดิมเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต

ภูมิศาสตร์

ที่ตั้ง คีร์กีซสถานมีที่ตั้งตามพิกัดภูมิศาสตร์อยู่ระหว่างละติจูด 37–43 องศาเหนือ และระหว่างลองจิจูด 71–80 องศาตะวันออก มีขนาดพื้นที่ 198,500 ตารางกิโลเมตร

ลักษณะภูมิประเทศ

คีร์กีซสถานมีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาเทียนชานที่แยกตัวออกมาจากปามีร์นอต ปรากฏทะเลสาบอิสซิค-คุลอยู่ระหว่างสันเขาสูงบริเวณตอนกลางของประเทศ เทือกเขาเทียนชานในเขตคีร์กีซสถานเป็นต้นน้ำของแม่น้ำซีร์ดาเรียที่ไหลลงทะเลอารัลในตอนกลางของภูมิภาค

ลักษณะภูมิอากาศ

ลักษณะภูมิอากาศที่ปรากฏในพื้นที่ของคีร์กีซสถาน พิจารณาเป็นเขตของภูมิอากาศได้ดังนี้

  1. เขตภาคพื้นทวีป ฝนตกมาก อบอุ่นในฤดูร้อน หนาวเย็นในฤดูหนาว ปรากฏอยู่ตามพื้นที่หน้าเขาของเทือกเขาเทียนชาน
  2. เขตขั้วโลก อากาศหนาวจัด ปรากฏอยู่ตามสันเขาสูงซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ ลักษณะอากาศหนาวคล้ายขั้วโลก

การแบ่งเขตการปกครอง

ประเทศคีร์กีซสถาน: ภูมิศาสตร์, การแบ่งเขตการปกครอง, เศรษฐกิจ 
เขตการปกครองของคีร์กีซสถาน

ประเทศคีร์กีซสถานแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 จังหวัด (oblast) และ 2 นคร* (shaar) ได้แก่

หมายเหตุ: ชื่อศูนย์กลางการปกครองอยู่ในวงเล็บ

แต่ละจังหวัดแบ่งเป็นอำเภอ (raion) ปกครองโดยเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลกลาง ชุมชนในชนบทเรียกว่า อายึลโอกโมตู (aiyl okmotu) และประกอบด้วยหมู่บ้านเล็ก ๆ 20 หมู่บ้านเป็นอย่างมาก ปกครองตนเอง มีนายกเทศมนตรีและสภาที่ได้รับการเลือกตั้ง

เศรษฐกิจ

ประชากร

ศาสนา

ศาสนาในประเทศคีร์กีซสถาน
ศาสนา ร้อยละ
อิสลาม
  
80%
คริสต์
  
17%
อื่น ๆ
  
3%

ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศนับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนีย์ ร้อยละ 80 รองลงมาคือศาสนาคริสต์นิกายออร์ทอดอกซ์รัสเซีย ร้อยละ 17 และศาสนาอื่น ๆ อีกร้อยละ 3 ขณะที่ศูนย์วิจัยพิว (Pew Research Center) ได้ประมาณการตัวเลขชาวคีร์กีซที่เป็นมุสลิมในปี พ.ศ. 2552 ว่ามีมากถึงร้อยละ 86.3 ของประชากร

แม้ว่าคีร์กีซสถานจะเคยตกอยู่ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียตที่มิเคยสนับสนุนให้นับถือศาสนา แต่ในปัจจุบันคีร์กีซสถานมีอิทธิพลของอิสลามต่อการเมืองสูงขึ้น เป็นต้นว่า มีสวัสดิการลดภาษีให้แก่ผู้ที่เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ในนครมักกะห์ ประชากรส่วนใหญ่ในประเทศนับถือนิกายซุนนีย์และใช้การศึกษาในแนวทางมัซฮับฮานาฟี

ประเทศคีร์กีซสถาน: ภูมิศาสตร์, การแบ่งเขตการปกครอง, เศรษฐกิจ 
มัสยิดของชาวดันกันที่เมืองการาโกล

ศาสนาอิสลามในคีร์กีซสถาน เป็นมากกว่าปูมหลังทางวัฒนธรรม และเกินกว่าหลักวัตรปฏิบัติ มีศาสนิกชนจำนวนไม่น้อยพยายามฟื้นฟูศาสนาให้คงอยู่ดังเดิม ตูร์ซันเบ บากีร์อูลู ผู้ตรวจการแผ่นดินและนักสิทธิมนุษยชนชาวคีร์กีซ ได้ให้ข้อสังเกตว่า "ในยุคแห่งความเป็นอิสระนี้ ไม่น่าแปลกใจอะไรที่จะหวนกลับไปหารากเหง้าและจิตวิญญาณ ไม่เพียงแต่ในคีร์กีซสถานเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงอดีตสาธารณรัฐต่าง ๆ ของโซเวียต มันจะเป็นสิ่งที่ผิดศีลธรรม เพื่อพัฒนาสังคมที่ใช้การตลาดโดยไม่คำนึงถึงมิติทางจริยธรรม"

เบร์เมต์ อะคาเยวา บุตรสาวของอดีตประธาธิบดีอัสการ์ อะกาเยฟ ได้ให้สัมภาษณ์ในปี พ.ศ. 2550 ว่าศาสนาอิสลามจะแผ่ขยายไปทั่วประเทศ เธอเน้นย้ำว่ามัสยิดถูกสร้างขึ้นจำนวนมากในประเทศเพื่ออุทิศให้แก่พระศาสนา เธอได้ให้ข้อสังเกตว่า "มันไม่ได้เป็นสิ่งที่ไม่ดีในตัวของมัน มันทำให้สังคมเรามีคุณธรรมมากยิ่งขึ้น สะอาดมากยิ่งขึ้น" ทั้งยังแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของอิสลามดั้งเดิมกับอิสลามในปัจจุบัน

ประเทศคีร์กีซสถาน: ภูมิศาสตร์, การแบ่งเขตการปกครอง, เศรษฐกิจ 
โบสถ์ออร์ทอดอกซ์รัสเซียในกรุงบิชเคก

ส่วนศาสนาอื่น ๆ อย่างศาสนาคริสต์ โดยเฉพาะนิกายรัสเซียออร์ทอดอกซ์ และยูเครนออร์ทอดอกซ์ ในกลุ่มที่มีเชื้อสายรัสเซียและยูเครน ส่วนนิกายลูเธอแรน กับนิกายอานาบัปติสต์ อยู่ในกลุ่มเชื้อสายเยอรมัน และนอกจากนี้ยังมีกลุ่มที่นับถือนิกายโรมันคาทอลิกประมาณ 600 คน

ส่วนการนับถือภูตผียังพอมีให้เห็นบ้าง เช่นประเพณีติดธงมนต์บนต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่มีกลิ่นอายของพุทธศาสนาซึ่งเคยมีอิทธิพลเหนือดินแดนแถบนี้มาช้านาน แม้ว่าประเพณีบางอย่างเป็นวัตรปฏิบัติของพวกซูฟีก็ตาม ทั้งนี้ในประเทศคีร์กีซสถานเคยมีกลุ่มชาวยิวเมืองบูฆอรออยู่ด้วย แต่ปัจจุบันชนกลุ่มดังกล่าวได้ย้ายออกไปยังสหรัฐอเมริกา และอิสราเอลแล้ว

เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 รัฐสภาได้มีมติเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ในการออกกฎหมายเพิ่มเติม เกี่ยวกับชุมนุมเกี่ยวกับศาสนาตั้งแต่ 10-200 คน ว่าด้วย "การกระทำอันรุนแรงที่มุ่งเป้าไปยังศาสนิก" และห้ามทำกิจกรรมทางศาสนาในโรงเรียนหรือองค์กรที่มิได้รับการจดทะเบียน ซึ่งถูกลงนามโดยประธานาธิบดีกูร์มานเบก บากีฟ เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2552

ภาษา

คีร์กีซสถานเป็นหนึ่งในสองสาธารณรัฐโซเวียตในอดีตที่อยู่ในเอเชียกลาง (ร่วมกับประเทศคาซัคสถาน) ที่มีภาษารัสเซียเป็นภาษาราชการ ภาษาคีร์กีซถูกนำมาใช้เป็นภาษาราชการในปีพ.ศ. 2534 หลังจากกระแสเรียกร้องกดดันจากชนกลุ่มน้อยชาวรัสเซียในประเทศ คีร์กีซสถานได้ประกาศใช้ภาษารัสเซียเป็นภาษาราชการเช่นกันในปี พ.ศ. 2540 ทำให้มีภาษาราชการสองภาษา

ภาษาคีร์กีซอยู่ใน กลุ่มภาษาเตอร์กิกสาขากลุ่มภาษาเคียบชัก ที่มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับภาษาคาซัค, ภาษาการากัลปัก และภาษาตาตาร์ โนไก ใช้อักษรอาหรับในการเขียนจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 12 อักษรละตินได้ถูกเสนอและนำมาใช้แทนในปี พ.ศ. 2471 และต่อมาเปลี่ยนมาใช้อักษรซีริลลิกตามคำสั่งของ สตาลิน ในปี พ.ศ. 2484

จากการสำรวจสำมะโนประชากรปี 2552 ประชากรกว่า 4.1 ล้านคน พูดภาษาคีร์กีซเป็นภาษาแม่หรือภาษาที่สองและ 2.5 ล้านคนพูดภาษารัสเซียเป็นภาษาแม่หรือภาษาที่สอง, ภาษาอุซเบกเป็นภาษาที่มีการกระจายตัวของผู้พูดเป็นภาษาแม่อย่างกว้างขวางที่สุด มากเป็นอันดับสองรองลงมาคือภาษารัสเซีย, ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีการกระจายตัวของผู้พูดเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวางที่สุด ตามด้วยภาษาคีร์กีซและภาษาอุซเบก

ภาษา ผู้พูดเป็นภาษาแม่ ผู้พูดเป็นภาษาที่สอง จำนวนรวม
ภาษาคีร์กีซ 3,830,556 271,187 4,121,743
ภาษารัสเซีย 482,243 2,109,393 2,591,636
ภาษาอุซเบก 772,561 97,753 870,314
ภาษาอังกฤษ 28,416 28,416
ภาษาฝรั่งเศส 641 641
ภาษาเยอรมัน 10 10
อื่น ๆ 277,433 31,411

ธุรกิจและกิจกรรมทางการเมืองหลายอย่างดำเนินการในภาษารัสเซีย จนกระทั่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ ภาษาคีร์กีซยังคงเป็นภาษาที่ใช้พูดที่บ้านและไม่ค่อยได้ใช้ในระหว่างการประชุมหรือกิจกรรมอื่น ๆ อย่างไรก็ตามการประชุมรัฐสภา ในระยะหลังนี้ส่วนใหญ่จะดำเนินการในภาษาคีร์กีซพร้อมทั้งมีล่ามทำการแปลสำหรับผู้ที่ไม่ได้พูดคีร์กีซ

อ้างอิง

อ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

    รัฐบาล
    ข้อมูลทั่วไป
    แผนที่

Tags:

ประเทศคีร์กีซสถาน ภูมิศาสตร์ประเทศคีร์กีซสถาน การแบ่งเขตการปกครองประเทศคีร์กีซสถาน เศรษฐกิจประเทศคีร์กีซสถาน ประชากรประเทศคีร์กีซสถาน อ้างอิงประเทศคีร์กีซสถาน อ่านเพิ่มประเทศคีร์กีซสถาน แหล่งข้อมูลอื่นประเทศคีร์กีซสถาน

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

จังหวัดบึงกาฬเนย์มาร์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทวีปเอเชียรายชื่อตอนในเป็นต่อ (ช่องวัน)โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์โรดรีกู กอยส์ปิยวดี มาลีนนท์จังหวัดพะเยาดินสอพองไทใหญ่ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรประเทศซาอุดีอาระเบียยอดนักสืบจิ๋วโคนันเมลดา สุศรีสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญาฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024แม่มด (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2563)อริยสัจ 4มหาเวทย์ผนึกมารมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชการโฆษณาอินนาลิลลาฮิวะอินนาอิลัยฮิรอญิอูนแอมโมเนียกีลียาน อึมบาเป18 เมษายนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงรายชื่อตัวละครในกังฟูแพนด้ารายชื่อผู้เล่นของสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดฮันเตอร์ x ฮันเตอร์ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดสมุทรสาครจังหวัดเพชรบุรีมาวิน ทวีผลขันธ์ภาษาอังกฤษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ไฮโดรเจนกฤษฏ์ อำนวยเดชกรจักรพรรดินโปเลียนที่ 1ญินไบเออร์ 04 เลเวอร์คูเซินจังหวัดจันทบุรีอุรัสยา เสปอร์บันด์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีรายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่อง 3 เอชดีวิทยุเสียงอเมริกาอัตเลติโกเดมาดริดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566รายชื่อท่าอากาศยานในประเทศไทยค็อกเทล (วงดนตรี)โทกูงาวะ อิเอยาซุประเทศเยอรมนีอินทิรา โมราเลสประเทศมาเลเซียพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเวลาพิเศษวันวิสาขบูชา2สุภาพบุรุษชาวดินฉัตรมงคลราชวงศ์ชิงศีล 227กกกองทัพเรือไทยการบินไทยสมศักดิ์ เทพสุทินจั๊กกะบุ๋ม เชิญยิ้มรายพระนามและชื่ออธิบดีกรมตำรวจและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติของไทยจิตรพล โพธิวิหครายชื่อสถานีรถไฟ สายใต้คือหัตถาครองพิภพ (ละครโทรทัศน์)อาภัสรา เลิศประเสริฐพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนกกะรางหัวขวานธีรเดช เมธาวรายุทธจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่🡆 More