ประวัติศาสตร์อักษร

ประวัติศาสตร์ของอักษร ชนิดแทนหน่วยเสียงมีจุดเริ่มต้นอยู่ในอียิปต์โบราณ อักษรแทนหน่วยเสียงชนิดแรกเป็นอักษรไร้สระ ปรากฏเมื่อ 1,457 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเป็นผลงานของแรงงานชาวเซมิติกในอียิปต์ เพื่อใช้เขียนภาษาของตนเอง โดยได้รับอิทธิพลจากอักษรที่ใช้แทนเสียงพยัญชนะซึ่งใช้คู่กับอักษรคำในอักษรไฮโรกลิฟฟิก อักษรอื่น ๆ ที่ใช้ในปัจจุบันส่วนใหญ่พัฒนามาจากอักษรนี้รวมทั้งอักษรฟินิเชีย อักษรกรีก และอักษรละติน

จุดกำเนิดในอียิปต์

เมื่อประมาณ 2,157 ปีก่อนพุทธศักราช ชาวอียิปต์โบราณพัฒนาอักษร 22 ตัว ใช้แสดงเสียงพยัญชนะ และสัญลักษณ์ตัวที่ 23 ใช้แสดงคำที่ขึ้นต้นด้วยเสียงสระ ซึ่งใช้แสดงการออกเสียงของอักษรไฮโรกลิฟฟิกที่ใช้แทนคำ แสดงการผันทางไวยากรณ์ และใช้ถ่ายเสียงคำยืมจากภาษาอื่น แต่ตัวอักษรเหล่านี้ไม่ได้ใช้ในระบบอักษรแทนหน่วยเสียง ระบบอักษรแทนหน่วยเสียงปรากฏครั้งแรกเมื่อ 1,457 ปีก่อนพุทธศักราช โดยคนงานชาวเซมิติกในอียิปต์ตอนกลาง อีก 500 ปีต่อมา อักษรนี้ได้แพร่กระจายขึ้นไปทางเหนือ และเป็นต้นกำเนิดของอักษรต่าง ๆ ทั่วโลก ยกเว้นอักษรเมรอยติกที่พัฒนาจากไฮโรกลิฟฟิกเมื่อ พ.ศ. 243 ในนิวเบีย อียิปต์ใต้

อักษรตระกูลเซมิติก

อักษรเหล่านี้ไม่ได้มาจากสัญลักษณ์แทนพยัญชนะของชาวอียิปต์ แต่เป็นการรวมอักษรไฮโรกลิฟฟิกอื่น ๆ เข้ามาด้วย ทั้งหมดมี 30 ตัว กำหนดชื่อเป็นภาษาเซมิติกเช่น ไฮโรกลิฟ per (บ้าน ในภาษาอียิปต์) กลายเป็น bayt (บ้าน ในภาษาเซมิติก) เมื่อนำมาเขียนภาษาเซมิติกจะเป็นระบบพยัญชนะล้วน โดยอักษรแต่ละตัวแทนเสียงพยัญชนะตัวแรกของชื่อ เช่น รูปบ้าน beyt ใช้แทนเสียง b หรือใช้แทนทั้งเสียง b และลำดับพยัญชนะ byt ดังที่ใช้แทนเสียง p และลำดับพยัญชนะ pr ในภาษาอียิปต์ ในยุคที่ชาวคานาอันนำอักษรนี้ไปใช้ จะใช้แทนเสียง b เท่านั้น ไม่มีหลักฐานว่าอักษรเซมิติกเริ่มต้นมีจำนวนเท่าใดและเรียงลำดับอย่างใด อักษรที่พัฒนาต่อมานั้น อักษรยูการิติคมี 27 ตัว และอักษรฟินิเชียมี 22 ตัว การเรียงลำดับของอักษรเหล่านี้มี 2 แบบ คือ ลำดับ ABGDE ของอักษรฟินิเชีย และลำดับ HMĦLQ ของอักษรทางใต้ อักษรยูการิติกใช้ทั้ง 2 แบบ ชื่อของอักษรมักใช้ตามอักษรฟินิเชีย ทั้งอักษรซามาริทัน อักษรอราเมอิก อักษรซีเรียค อักษรฮีบรูและอักษรกรีก แต่ต่างไปในอักษรอาหรับและอักษรละติน แต่ไม่มีการใช้ชื่ออักษรในอักษรพราหมีและอักษรรูนิก

ชื่ออักษรและการเรียงลำดับ

ตารางนี้แสดงอักษรฟินิเชียและอักษรที่เป็นลูกหลาน

ลำดับที่ อักษรคานาอันไนต์ ระบบสัทศาสตร์สากล(IPA) value อักษรยูการิติก อักษรฟินิเชีย อักษรฮีบรู อักษรอาหรับ อักษรที่เป็นลูกหลาน
1 ʼalp "วัว" /ʔ/ 1 𐎀 ʼalpa ประวัติศาสตร์อักษร  ʼālep א ا Α A А
2 bet "บ้าน" /b/ 2 𐎁 beta ประวัติศาสตร์อักษร  bēt ב Β B В-Б
3 gaml “เครื่องขว้าง” /g/ 3 𐎂 gamla ประวัติศาสตร์อักษร  gīmel ג Γ C-G Г
4 dalet “ประตู” / digg “ปลา” /d/ 4 𐎄 delta ประวัติศาสตร์อักษร  dālet ד Δ D Д
5 Haw “หน้าต่าง” / hll “การเฉลิมฉลอง” /h/ 5 𐎅 ho ประวัติศาสตร์อักษร  ה هـ Ε E Е-Є
6 wāw “ห่วง” /β/ 6 𐎆 wo ประวัติศาสตร์อักษร wāw ו و polytonicϜ-Υ F-V-Y У
7 zen “อาวุธ” / ziqq “โซ่ตรวน” /z/ 7 𐎇 zeta ประวัติศาสตร์อักษร  zayin ז ز Ζ Z З
8 ḥet “เส้นด้าย” / “รั้ว” /ħ/ / /x/ 8 𐎈 ḥota ประวัติศาสตร์อักษร  ḥēt ח ح Η H И
9 ṭēt “ล้อ” /tˁ/}} 9 𐎉 ṭet ประวัติศาสตร์อักษร  ṭēt ט ط Θ Ѳ
10 yad “แขน” /j/ 10 𐎊 yod ประวัติศาสตร์อักษร  yōd י ي Ι I
11 kap “มือ” /k/ 20 𐎋 kap ประวัติศาสตร์อักษร  kap כ ك Κ K К
12 lamd “ปฏัก” /l/ 30 𐎍 lamda ประวัติศาสตร์อักษร  lāmed ל ل Λ L Л
13 mem “น้ำ” /m/ 40 𐎎 mem ประวัติศาสตร์อักษร  mēm م Μ M М
14 naḥš “งู” / nun“ปลา” /n/ 50 𐎐 nun ประวัติศาสตร์อักษร  nun נ ن Ν N Н
15 samek “การสนับสนุน” / “ปลา” ?" /s/ 60 𐎒 samka ประวัติศาสตร์อักษร  sāmek ס - Ξ
16 ʻen “ตา” /ʕ/ 70 𐎓 ʻain ประวัติศาสตร์อักษร  ʻayin ע ع Ο O О
17 pu “ปาก” / piʼt“มุม” /p/ 80 𐎔 pu ประวัติศาสตร์อักษร  פ ف Π P П
18 ṣad “พืช” /sˁ/ 90 𐎕 ṣade ประวัติศาสตร์อักษร  ṣādē צ ص Ϡ
19 qup “เชือก” /kˁ/ 100 𐎖 qopa ประวัติศาสตร์อักษร  qōph ק ق Ϙ Q Ҁ
20 raʼs “หัว” /r/ / /ɾ/ 200 𐎗 raša ประวัติศาสตร์อักษร  rēš ר ر Ρ R Р
21 šin “ฟัน” / šimš “พระอาทิตย์” /ʃ/ 300 𐎌 šin ประวัติศาสตร์อักษร  šin ש س Σ S Ш
22 Taw “แต้ม” /t/ 400 𐎚 to ประวัติศาสตร์อักษร  tāw ת ت Τ T Т

ลูกหลานของอักษรเซมิติก

อักษรคานาอันไนต์ระยะแรกใช้แทนเสียงพยัญชนะเท่านั้น ซึ่งเป็นระบบที่เรียกว่าอักษรไร้สระ และพัฒนาต่อไปเป็นอักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิกที่พัฒนาไปจากอักษรฟินิเชียซึ่งใช้เขียนภาษาราชการของจักรวรรดิเปอร์เซียเป็นบรรพบุรุษของอักษรอื่น ๆ ในเอเชีย ได้แก่

อีกทางหนึ่ง อักษรฟินิเชียพัฒนาไปเป็นอักษรกรีกและอักษรเบอร์เบอร์โบราณ และเริ่มมีการกำหนดอักษรที่ใช้แทนเสียงสระ ตัวอย่างเช่น ภาษากรีก ไม่มีเสียง อ หรือ ฮ (h) ดังนั้น อักษรฟินิเชีย ’alep และ he กลายเป็นอักษรกรีก อัลฟา และ e (ต่อมาคือเอฟซิลอน) และใช้แทนเสียงสระอะ (/a/) และเอ (/e/) แทนเสียง /อ/ และ /ฮ/ เนื่องจากภาษากรีกมีเสียงสระ 6 -12 เสียง ชาวกรีกจึงพัฒนาอักษรเพิ่ม เช่น ei, ou, and o (ต่อมาคือ โอเมกา)

อักษรกรีกเป็นต้นแบบของอักษรสมัยใหม่ในยุโรป เช่นอักษรละตินและอักษรอิตาลีโบราณ โดยอักษรเหล่านั้นมีสัญลักษณ์แทนเสียงสระด้วย เช่น อักษรกลาโกลิติก อักษรซีริลลิก อักษรอาร์มีเนีย อักษรโกธิก และอาจรวมอักษรจอร์เจียด้วย

นอกจากความสัมพันธ์ในแนวเส้นตรงดังกล่าวแล้ว ยังมีความสัมพันธ์ระหว่างอักษรในด้านอื่นๆอีก เช่น อักษรแมนจู มาจากอักษรไร้สระในเอเชียตะวันตก แต่ได้รับอิทธิพลจากอักษรฮันกึลด้วย อักษรจอร์เจียมาจากอักษรอราเมอิกแต่ได้รับอิทธิพลจากอักษรกรีก อักษรกรีกที่ปรับปรุงแล้วนำไปใช้คู่กับไฮโรกลิฟ 6 ตัว ใช้เขียนภาษาคอปติก อักษรครีมีลักษณะผสมระหว่างอักษรเทวนาครีและชวเลขของพิตแมน และมีลักษณะคล้ายตัวเขียนของอักษรละติน

อักษรอิสระ

อักษรที่ใช้ในปัจจุบันและไม่อาจย้อนกลับไปหาอักษรคานาอันไนต์ได้ คือ อักษรทานะ แม้ว่าจะดูเหมือนอักษรอาหรับ แต่ที่จริงแล้วมาจากตัวเลข อักษรโซมาลีที่ใช้ในโซมาลีเมื่อ พ.ศ. 2463 และเป็นอักษรราชการคู่กับอักษรละตินจนถึง พ.ศ. 2515 มีรูปร่างพยัญชนะที่ถูกปรับปรุงขึ้นใหม่ อักษรสันตาลีที่ใช้ในเอเชียใต้ มีพื้นฐานจากสัญลักษณ์ทั่วไป อักษรโอคัมในสมัยโบราณ ประกอบด้วยเครื่องหมายที่เป็นขีด และจารึกในสมัยจักรวรรดิเปอร์เซีย เคยเขียนในรูปแบบอักษรรูปลิ่ม และมีการใช้ในระบบอักษรเป็นครั้งคราว

อักษรในสื่ออื่น ๆ

เมื่อสื่อที่ใช้เขียนอักษรเปลี่ยนไปทำให้รูปร่างของอักษรเปลี่ยนไปได้ เช่นอักษรยูการิติกที่เป็นอักษรรูปลิ่ม อาจจะมาจากตระกูลเซมิติก การประดิษฐ์หรือปรับปรุงอักษรใหม่ ๆ ยังเกิดขึ้นอยู่เสมอ รวมทั้งอักษรที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ เช่น อักษรเบรล รหัสมอร์ส ชวเลข

อ้างอิง

  • David Diringer, History of the Alphabet, 1977, ISBN 0-905418-12-3.
  • Peter T. Daniels, William Bright (eds.), 1996. The World's Writing Systems, ISBN 0-19-507993-0.
  • Joel M. Hoffman, In the Beginning: A Short History of the Hebrew Language, 2004, ISBN 0-8147-3654-8.
  • Robert K. Logan, The Alphabet Effect: The Impact of the Phonetic Alphabet on the Development of Western Civilization, New York: William Morrow and Company, Inc., 1986.
  • B.L. Ullman, "The Origin and Development of the Alphabet," American Journal of Archaeology 31, No. 3 (Jul., 1927): 311-328.
  • Stephen R. Fischer, A History of Writing 2005 Reaktion Books CN 136481 Retrieved from "http://en.wikipedia.org/wiki/History_of_the_alphabet"

Tags:

ประวัติศาสตร์อักษร จุดกำเนิดในอียิปต์ประวัติศาสตร์อักษร อักษรตระกูลเซมิติกประวัติศาสตร์อักษร ลูกหลานของอักษรเซมิติกประวัติศาสตร์อักษร อักษรอิสระประวัติศาสตร์อักษร อักษรในสื่ออื่น ๆประวัติศาสตร์อักษร อ้างอิงประวัติศาสตร์อักษรอักษรกรีกอักษรฟินิเชียอักษรละตินอักษรไร้สระอียิปต์โบราณไฮโรกลิฟ

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

วอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บรูนู ฟือร์นังดึชมัณฑนา หิมะทองคำบริษัทสุพิศาล ภักดีนฤนาถแปลก พิบูลสงครามพิชัย ชุณหวชิรพรรคก้าวไกลสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดาไพ่แคงโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาทประเทศเวียดนามพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดรายชื่อตัวละครในดาบพิฆาตอสูรตัวเลขโรมันประเทศจอร์เจียวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหารแฮร์รี แมไกวร์พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาครายชื่อยุทโธปกรณ์ในกองทัพบกไทยณเดชน์ คูกิมิยะณฐพร เตมีรักษ์คิม ซู-ฮย็อนอชิรญา นิติพนคาร์บอนไดออกไซด์ฟุตซอลโลกอรรถกร ศิริลัทธยากรอุณหภูมิสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงมิถุนายนสหรัฐเอาแล้วไง ยัยแฟนเก่าดันเป็นลูกสาวแม่ใหม่กบฏเจ้าอนุวงศ์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดชสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์พิจักขณา วงศารัตนศิลป์เขตพื้นที่การศึกษาธีรดนย์ ศุภพันธุ์ภิญโญพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาตรณิดา เตชสิทธิ์โรงเรียนเตรียมทหารสราวุฒิ พุ่มทองการแข่งขันระหว่างสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลกับสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดFBราชวงศ์จักรีปีเตอร์ เดนแมนซิตี้ฮันเตอร์กรมสรรพากรเบบีมอนสเตอร์ไฮบ์คอร์ปอเรชันพงษ์สิทธิ์ คำภีร์รัญชน์รวี เอื้อกูลวราวัตรประเทศอิตาลีภาษาในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลคริสตัลพาเลซไพรวัลย์ วรรณบุตรณราวิชญ์ เลิศรัตน์โกสุมภ์สุทธิรักษ์ ทรัพย์วิจิตรจังหวัดของประเทศไทยหมายเลขโทรศัพท์ในประเทศไทยเกิดใหม่ทั้งทีก็เป็นสไลม์ไปซะแล้วไทยลีกวัดโสธรวรารามวรวิหารโป๊กเกอร์รายชื่อตัวละครในเกิดใหม่ทั้งทีก็เป็นสไลม์ไปซะแล้วภาษาญี่ปุ่นรัมมี่มังกี้ ดี. ลูฟี่สามเหลี่ยมเบอร์มิวดาข้ามมิติ ลิขิตสวรรค์จังหวัดนนทบุรีติ๊กต็อกลิซ่า (แร็ปเปอร์)สโมสรฟุตบอลเชลซีไทยรัฐพัฒน์ชัย ภักดีสู่สุข🡆 More