ประเทศติมอร์-เลสเต

ติมอร์-เลสเต, ตีโมร์-แลชต์ (โปรตุเกส: Timor-Leste, ออกเสียง: ) หรือ ติมอร์ตะวันออก (เตตุน: Timór Lorosa'e) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต หรือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยตีโมร์-แลชต์ (โปรตุเกส: República Democrática de Timor-Leste; เตตุน: Repúblika Demokrátika Timór-Leste) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่บนเกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยเกาะติมอร์ด้านตะวันออก เกาะอาเตารู (Atauro) และเกาะฌากู (Jaco) ที่อยู่ใกล้เคียง และเทศบาลโอเอกูซี (Oecusse) ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของเกาะติมอร์ ติมอร์ตะวันออกถูกล้อมรอบโดยพื้นที่ของประเทศอินโดนีเซีย

สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต

República Democrática de
Timor-Leste
(โปรตุเกส)
Repúblika Demokrátika
Timór-Leste
(เตตุน)
คำขวัญ"เอกภาพ การกระทำ ความก้าวหน้า"
(โปรตุเกส: Unidade, Acção, Progresso;
เตตุน: Unidade, Asaun, Progresu)
ที่ตั้งของติมอร์-เลสเต
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
ดิลี
8°33′S 125°34′E / 8.55°S 125.56°E / -8.55; 125.56
ภาษาราชการ
ภาษาประจำชาติ
15 ภาษา
    • Atauru
    • Baikeno
    • Bekais
    • Bunak
    • Fataluku
    • Galoli
    • Habun
    • Idalaka
    • Kawaimina
    • Kemak
    • Makalero
    • Makasae
    • Makuva
    • Mambai
    • Tokodede
ภาษาปฏิบัติการ
ศาสนา
(สำมะโน ค.ศ. 2015)
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบกึ่งประธานาธิบดี
ฌูแซ รามุช-ออร์ตา
ตาอูร์ มาตัน รูอัก
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
เอกราช 
คริสต์ศตวรรษที่ 16
• ประกาศเอกราช
28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1975
17 กรกฎาคม ค.ศ. 1976
25 ตุลาคม ค.ศ. 1999
• ฟื้นฟูเอกราช
20 พฤษภาคม ค.ศ. 2002
พื้นที่
• รวม
15,007 ตารางกิโลเมตร (5,794 ตารางไมล์) (อันดับที่ 154)
น้อยมาก
ประชากร
• ค.ศ. 2021 ประมาณ
1,340,513 (อันดับที่ 153)
• สำมะโนประชากร ค.ศ. 2015
1,183,643
78 ต่อตารางกิโลเมตร (202.0 ต่อตารางไมล์)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2020 (ประมาณ)
• รวม
5.315 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
4,031 ดอลลาร์สหรัฐ
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2020 (ประมาณ)
• รวม
1.920 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
1,456 ดอลลาร์สหรัฐ
จีนี (ค.ศ. 2014)Steady 28.7
ต่ำ
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019)ลดลง 0.606
ปานกลาง · อันดับที่ 141
สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐb (USD)
เขตเวลาUTC+9 (TLT)
ขับรถด้านซ้ายมือ
รหัสโทรศัพท์+670
รหัส ISO 3166TL
โดเมนบนสุด.tlc
เว็บไซต์
timor-leste.gov.tl
  1. "ภาษาประจำชาติ" อีก 15 ภาษาได้รับการรับรองในรัฐธรรมนูญ
  2. นอกจากนี้ยังใช้เหรียญเซ็งตาวู
  3. .tp ยกเลิกการใช้แล้ว

แต่เดิมประเทศติมอร์-เลสเตถูกปกครองโดยประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งได้ยึดครองติมอร์ตะวันออกเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) และในปี พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) ติมอร์ตะวันออกได้แยกตัวเป็นอิสระ และได้รับเอกราชอย่างเต็มตัวเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) เมื่อประเทศติมอร์ตะวันออกเข้าร่วมองค์การสหประชาชาติในปีเดียวกัน ก็ได้ตกลงว่าจะเรียกประเทศอย่างเป็นทางการว่า ตีโมร์-แลชต์ ซึ่งเป็นชื่อในภาษาโปรตุเกส มีดอกไม้ประจำชาติคือดอกกุหลาบ

ภูมิศาสตร์

ประเทศติมอร์-เลสเต 
ชายฝั่งทาซิโตลู

ประเทศติมอร์-เลสเตเป็นประเทศหมู่เกาะ จัดเป็นเกาะในกลุ่มเกาะอินโดนีเซีย เรียกว่า เกาะติมอร์ ด้วยเงื่อนไขทางภูมิศาสตร์ที่เป็นเกาะขนาดเล็ก เกาะติมอร์ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลีย และอยู่ห่างจากกรุงจาการ์ตา ของประเทศอินโดนีเซียไปทางตะวันออกประมาณ 2,100 กิโลเมตร ประเทศติมอร์ตะวันออกประกอบไปด้วยดินแดนส่วนปลายด้านตะวันออกของเกาะติมอร์ และมีดินแดนส่วนแยกเทศบาลโอเอกูซีที่ตั้งอยู่บนชายฝั่งทางตอนเหนือของติมอร์ตะวันตกซึ่งอยู่ในการปกครองของประเทศอินโดนีเซีย

ภูมิอากาศ

ประเทศติมอร์-เลสเตมีเพียงสองฤดูเช่นเดียวกับทางภาคใต้ของประเทศไทย คือมีฤดูฝนและฤดูร้อน ภูมิอากาศบางแห่งมีภูมิอากาศแบบสะวันนา ด้วยเหตุที่ได้รับลมแล้งจากทะเลทรายทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลีย ทรัพยากรทางธรรมชาติของติมอร์ตะวันออกคือ น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ซึ่งอาจมีมากไม่แพ้ประเทศบรูไนที่อยู่ในทะเลลึกที่เรียกว่า Timor Gap ซึ่งอยู่ครึ่งทางระหว่างติมอร์-เลสเตกับออสเตรเลีย ส่วนพืชเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ กาแฟ มะพร้าว โกโก้ ข้าวโพด และปศุสัตว์ที่สำคัญได้แก่ โค กระบือ แกะ ม้า และทรัพยากรสัตว์น้ำที่มีอยู่มากมาย

ประวัติศาสตร์

อาณานิคมโปรตุเกส

ดินแดนติมอร์ตะวันออกเป็นอาณานิคมของประเทศโปรตุเกสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2063 (ค.ศ. 1520)

การอ้างสิทธิ์เรียกร้องเอกราช

ประเทศติมอร์-เลสเต 
การอ้างสิทธิ์เรียกร้องเอกราชจากอินโดนีเซีย

ภายหลังโปรตุเกสถอนตัวออกไปเมื่อปี พ.ศ. 2518 โดยมิได้จัดการปกครองให้แก่ติมอร์ตะวันออกแต่อย่างใด เป็นเหตุให้ประเทศอินโดนีเซียได้ส่งทหารเข้ายึดครองติมอร์ตะวันออกโดยผนวกเข้าเป็นจังหวัดที่ 27 ของประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งต่อมาได้ถูกคัดค้านจากประชาชนชาวติมอร์ตะวันออกเป็นเหตุให้เกิดความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่การชุมนุมทางศาสนาในพิธีมิสซาที่โบสถ์โมตาเอล (Motael) เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1991 ริมทะเลกรุงดิลี โดยผู้ชุมนุมได้เดินขบวนไปยังสุสานซานตาครูซจำนวนผู้ร่วมชุมนุมจึงมีมากขึ้น และการชุมนุมก็เปลี่ยนเป็นการเรียกร้องเอกราช โดยมีนายชานานา กุฌเมา เป็นผู้นำที่มีบทบาทอย่างมากต่อการเรียกร้องเอกราชจากอินโดนีเซีย

อย่างไรก็ดีเมื่อรัฐบาลอินโดนีเซียยินยอมให้ชาวติมอร์ตะวันออกลงประชามติเพื่อแยกตัวเป็นเอกราชจากอินโดนีเซีย ในวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2542 ประชาชนชาวติมอร์ตะวันออกกว่าร้อยละ 80 ออกเสียงสนับสนุนการแยกตัวเป็นเอกราช จึงก่อให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงในติมอร์ตะวันออกโดยกลุ่มกองกำลังมิลิเทีย (militia) ที่นิยมอินโดนีเซีย สหประชาชาติจึงได้ตัดสินใจจัดตั้งกองกำลังนานาชาติ (International Force in East Timor – INTERFET) เมื่อ 15 กันยายน 2542 เพื่อส่งเข้าไปรักษาสันติภาพในติมอร์ตะวันออก ก่อนที่จะประกาศเอกราชในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 ในขณะนี้ สหประชาชาติดำเนินการสนับสนุนติมอร์ตะวันออกภายใต้ United Nations Mission of Support in East Timor (UNMISET) ตั้งแต่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2545

วิกฤตการเมือง พ.ศ. 2548

ความวุ่นวายได้เริ่มขึ้นในติมอร์-เลสเตเมื่อเดือนเมษายน พ. หลังจากที่การชุมนุมเพื่อสนับสนุนทหารติมอร์-เลสเต 600 นาย ซึ่งถูกปลดออกจากราชการเนื่องจากหนีทัพกลายเป็นการจลาจลที่มีผู้เสียชีวิต 5 คน และมีมากกว่า 20000 คนที่หนีจากบ้านของตัวเอง

การต่อสู้อันรุนแรงทหารที่สนับสนุนรัฐบาลกับทหารฟาลินติลที่ไม่พอใจได้เกิดขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม 2549 แม้ว่าจะยังไม่มีความชัดเจน แรงจูงใจเบื้องหลังการต่อสู้ คาดว่าจะเป็นการกระจายของกองทุนน้ำมัน และการจัดการไม่ดีของกองทัพและตำรวจติมอร์-เลสเต ซึ่งรวมถึงตำรวจอินโดนีเซียเดิมและกบฏติมอร์เดิม นายกรัฐมนตรีมารี อัลกาตีรี ได้เรียกความรุนแรงนี้ว่าเป็นการรัฐประหาร และได้ยอมรับความช่วยเหลือจากกองทัพจากต่างประเทศหลายชาติ ณ วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ประเทศออสเตรเลีย โปรตุเกส นิวซีแลนด์ และมาเลเซียได้ส่งทหารมายังติมอร์-เลสเตเพื่อปราบปรามความไม่สงบ

เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ประธานาธิบดีชานานา กุฌเมา ได้ขอร้องอย่างเป็นทางการให้นายกรัฐมนตรีมารี อัลกาตีรี ลาออก ซึ่งสมาชิกพรรคเฟรตีลินส่วนใหญ่ได้ข้อรองให้นายกรัฐมนตรีลาออก โดยกล่าวหาว่า ได้พูดเท็จเกี่ยวกับการกระจายอาวุธให้พลเรือน เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2549 นายกรัฐมนตรีมารี อัลกาตีรี ได้ลาออกโดยกล่าวว่า เป็นไปเพื่อหลีกเลี่ยงการลาออกของประธานาธิบดี ฌูแซ รามุช-ออร์ตา ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2549

การปกครอง

ปัจจุบันประเทศติมอร์-เลสเตมีการปกครองในระบอบของประชาธิปไตย แต่ด้วยความที่เป็นประเทศใหม่ ซึ่งต้องเผชิญกับเหตุการณ์สงครามกลางเมือง และการรุกรานจากประเทศอื่น เพื่อให้การดำเนินการในติมอร์ตะวันออกเป็นไปโดยสงบ องค์การสหประชาชาติโดยสำนักงานโครงการเพื่อสนับสนุนภารกิจของในติมอร์ตะวันออก (United Nation Mission of Support in East Timor: UNMISET) เป็นหน่วยงานที่คอยให้การสนับสนุนการดำเนินการต่าง ๆ ในติมอร์-เลสเตให้เป็นไปอย่างเรียบร้อย ประเทศติมอร์-เลสเตเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2545

การแบ่งเขตการปกครอง

ประเทศติมอร์-เลสเต 
แผนที่แสดงเขตเทศบาลต่าง ๆ ของติมอร์-เลสเต

ติมอร์-เลสเตแบ่งเขตการปกครองเป็น 13 เทศบาล (โปรตุเกส: município; เตตุน: munisípiu) ดังนี้

  1. กอวาลีมา
  2. ดิลี
  3. เบาเกา
  4. โบโบนารู
  5. มานาตูตู
  6. มานูฟาฮี
  7. ลีกีซา
  8. เลาเต็ง
  9. วีเกเก
  10. เอร์เมรา
  11. โอเอกูซี
  12. ไอนารู
  13. ไอเลอู

เศรษฐกิจ

ประเทศติมอร์-เลสเต 
ตลาดในโลสปาโลส

สถานการณ์เศรษฐกิจ

ลู่ทางการค้าการลงทุนในติมอร์-เลสเตที่มีศักยภาพ คือ ไร่กาแฟ การทำประมง ธุรกิจการท่องเที่ยว รวมถึงแหล่งทรัพยากรประเภทน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติในเขต Timor Gap ซึ่งอยู่ระหว่างติมอร์-เลสเตกับออสเตรเลีย อย่างไรก็ดี ธุรกิจเหล่านี้ยังจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาและการสนับสนุนด้านการเงินจากนักลงทุนภายนอกอยู่มาก เนื่องจากติมอร์-เลสเตยังขาดเงินทุน และชาวติมอร์-เลสเตยังขาดทักษะในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ประกอบกับในปัจจุบันมีอัตราผู้ว่างงานสูงประมาณร้อยละ 80 ซึ่งในส่วนของนักธุรกิจไทยจำเป็นต้องศึกษาความเป็นไปได้ของระเบียบรวมถึงอุปสรรคดังกล่าวต่าง ๆ ข้างต้น เพื่อประกอบการพิจารณาถึงความเสี่ยงในการลงทุนในติมอร์-เลสเต และขณะนี้สินค้าส่วนใหญ่ในติมอร์-เลสเตนำเข้าจากออสเตรเลีย เพื่อรองรับการบริโภคของคณะเจ้าหน้าที่จากสหประชาชาติและคณะทูตที่ปฏิบัติงานในติมอร์-เลสเต

โครงสร้างพื้นฐาน

ประเทศติมอร์-เลสเต 
ท่าอากาศยานประธานาธิบดีนีกูเลา ลูบาตู

เส้นทางคมนาคม

ท่าอากาศยานนานาชาติประธานาธิบดีนีกูเลา ลูบาตู (Aeroporto Internacional Presidente Nicolau Lobato) เป็นสนามบินนานาชาติเพียงแห่งเดียวในติมอร์-เลสเต และท่าเรือติมอร์และท่าเรือดิลี ท่าเรือสำคัญของประเทศ

การศึกษา

การศึกษาของติมอร์-เลสเตเป็นไปตามโครงสร้าง 6-3-3 มีระดับการศึกษาตั้งแต่ก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษาและมหาวิทยาลัย ทั้งนี้รัฐได้จัดสวัสดิการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่เยาวชนในระดับประถมศึกษา (EDUCATION POLICY AND DATA CENTER, 2012)

ประชากร

ประเทศติมอร์-เลสเต 
งานแต่งงานของชาวติมอร์เชื้อสายจีนแคะ ปี ค.ศ. 2006

ภาษา

ภาษาที่มีถึง 30 กลุ่ม โดยต่างคนต่างอยู่ นอกจากนี้ยังมีชุมชนชาวติมอร์เชื้อสายจีน และคนไทยในกรุงดิลี ส่วนภาษาทางการนั้นไม่เป็นที่ตกลงแน่นอนว่าจะใช้ภาษาใดเป็นภาษาทางการ แต่ภาษาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในติมอร์-เลสเต คือ ภาษาเตตุน ภาษาโปรตุเกส ภาษาอินโดนีเซีย และภาษาอังกฤษ โดยสองภาษาหลังนี้ทางการถือเป็นภาษาปฏิบัติการ นอกจากนี้ยังมีภาษาของชนเผ่าพื้นเมืองต่าง ๆ ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ

ศาสนา

ประเทศติมอร์-เลสเต 
รูปปั้นพระแม่มารีของศาสนาคริสต์ในกรุงดิลี
ศาสนา จำนวนศาสนิก ร้อยละ
ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก 191 96.5 %
ศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ 16,616 คน 2.2 %
นับถือผี/ไสยศาสตร์ 5,883 คน 0.8 %
ศาสนาอิสลาม 616 0.3 %
ศาสนาพุทธ 700000 0.06 %
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู 191 คน 0.02 %
อื่น ๆ 616 คน 0.08 %
รวม 741,530 คน 100.00 %

ประชากรส่วนใหญ่ในประเทศติมอร์-เลสเตนับถือศาสนาคริสต์ โดยแยกเป็นสองนิกายหลัก คือ นิกายโรมันคาทอลิก มีศาสนิกกว่าร้อยละ 96 ส่วนนิกายโปรเตสแตนต์นั้นมีร้อยละ 2.2 มีส่วนน้อยนับถือศาสนาอิสลามซึ่งส่วนใหญ่เป็นแบบซุนนี นอกนั้นนับถือศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และอื่น ๆ

วัฒนธรรม

ประชาชนชาวติมอร์-เลสเตส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามชนบท โดยส่วนมากยังทำการเกษตรแบบดั้งเดิมและพึ่งพาตนเอง มีการศึกษาต่ำ มีการจับปลาและเลี้ยงสัตว์ ผู้คนส่วนใหญ่ค้าขายไม่เป็น ไม่มีความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรม เครื่องจักรกล แต่ชาวติมอร์-เลสเตนั้นมีความเคารพในระบบอาวุโส มีระบบเครือญาติที่แข็งแกร่ง รักพวกพ้อง รักขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม โดยสตรีชาวติมอร์-เลสเตนั้นจะทำงานหนักในขณะที่บุรุษมักไม่ค่อยช่วยงานบ้าน

อ้างอิง

บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

รัฐบาล

ข้อมูลทั่วไป

Tags:

ประเทศติมอร์-เลสเต ภูมิศาสตร์ประเทศติมอร์-เลสเต ประวัติศาสตร์ประเทศติมอร์-เลสเต การปกครองประเทศติมอร์-เลสเต การแบ่งเขตการปกครองประเทศติมอร์-เลสเต เศรษฐกิจประเทศติมอร์-เลสเต โครงสร้างพื้นฐานประเทศติมอร์-เลสเต ประชากรประเทศติมอร์-เลสเต อ้างอิงประเทศติมอร์-เลสเต บรรณานุกรมประเทศติมอร์-เลสเต แหล่งข้อมูลอื่นประเทศติมอร์-เลสเตประเทศอินโดนีเซียภาษาเตตุนภาษาโปรตุเกสเกาะเกาะติมอร์เทศบาลโอเอกูซีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ชาลิดา วิจิตรวงศ์ทองจังหวัดสระบุรีติ๊กต็อกเบ็นเท็น (ซีรีส์โทรทัศน์ พ.ศ. 2548)นักเรียนวรันธร เปานิลเครยอนชินจังวชิรวิชญ์ เรืองวิวรรธน์ศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์รักวุ่น วัยรุ่นแสบจังหวัดตราดอาทิวราห์ คงมาลัยประเทศไทยอแมนด้า ออบดัมธนาคารทหารไทยธนชาตพระพุทธชินราชกรรชัย กำเนิดพลอยรัตนวดี วงศ์ทองจังหวัดสกลนครโบรุสซีอาดอร์ทมุนท์กระทรวงสาธารณสุข (ประเทศไทย)จังหวัดกระบี่กรานิต จาการายชื่อประเทศเรียงตามจำนวนประชากรรายชื่อตัวละครในนักเตะแข้งสายฟ้ารายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่อง 3 เอชดี (พ.ศ. 2560–2567)ณัฐธิชา นามวงษ์จั๊กกะบุ๋ม เชิญยิ้มเจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณีเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์โรงพยาบาลในประเทศไทยเบเวอร์ลีฮิลส์กระทรวงมหาดไทย (ประเทศไทย)ประเทศนิวซีแลนด์เด่นคุณ งามเนตรสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรคริสเตียโน โรนัลโดบุนเดิสลีกามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือรายชื่อตัวละครในดาบพิฆาตอสูรสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวรรายชื่อสมาชิกบีเอ็นเคโฟร์ตีเอตพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2023–24จีรนันท์ มะโนแจ่มFace Off แฝดคนละฝาวทานิกา ปัทมสิงห์ ณ อยุธยาจังหวัดจันทบุรีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชละหมาดหน้าไพ่อิษยา ฮอสุวรรณความเสียวสุดยอดทางเพศลิซ่า (แร็ปเปอร์)ราศีพฤษภประเทศจอร์แดนมาเก๊าถนนเพชรเกษมพิมพ์ภัทรา วิชัยกุลถนนมิตรภาพราณี แคมเปนจังหวัดปราจีนบุรีโกะโจ ซาโตรุซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์อดอล์ฟ ฮิตเลอร์บรรดาศักดิ์อังกฤษอิสระ ศรีทะโรสโมสรฟุตบอลเชลซี4 KINGS อาชีวะ ยุค 90พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์แจ๊ส ชวนชื่นไฮคิว!! คู่ตบฟ้าประทานวรินทร ปัญหกาญจน์พระยศเจ้านายไทยบัวขาว บัญชาเมฆ🡆 More