ตัวเลขโรมัน

ตัวเลขโรมัน เป็นระบบตัวเลขที่ใช้ในโรมโบราณ และยังคงเป็นระบบตัวเลขที่ใช้งานทั่วยุโรปจนถึงสมัยกลางตอนปลาย ตัวเลขในระบบนี้แสดงเป็นการผสมตัวอักษรในอักษรละติน ระบบเลขโรมันมีสัญลักษณ์ที่ใช้กันในสมัยใหม่ดังนี้:

ตัวเลขโรมัน
ตัวเลขโรมันที่ท้ายเรือคัตตีซาร์ก ในหน่วยฟุต ตัวเลขจากล่างขึ้นบนคือ 13 ถึง 22
สัญลักษณ์ I V X L C D M
ค่าของตัวเลข 1 5 10 50 100 500 1,000

หลังการล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน ยังคงมีการใช้งานตัวเลขโรมันต่อไปเป็นเวลานาน ก่อนจะถูกแทนที่ด้วยตัวเลขอาหรับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษ 14 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป และตัวเลขโรมันยังคงมีอยู่ในบางผลิตภัณฑ์จนถึงปัจจุบัน

บริเวณที่มักพบเห็นตัวเลขโรมันคือหน้าปัดนาฬิกา เช่น บนนาฬิกาของบิกเบน (ออกแบบใน ค.ศ. 1852) เส้นชั่วโมงจาก 1 ถึง 12 เขียนเป็น:

I, II, III, IV, V, VI, VII, VIII, IX, X, XI, XII

บางครั้ง มีความนิยมในการแสดงเลข "4" บนนาฬิกาที่มีเลขโรมันเป็น "IIII"

บริเวณอีกแห่งที่มีการใช้งานคือปีในเอกสารและอาคารกับวันที่ลิขสิทธิ์บนหน้าหลักของภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์ เช่น MCM คือเลข 1900 ดังนั้น 1912 สามารถเขียนได้เป็น MCMXII สำหรับปีในศตวรรษนี้ MM คือเลข 2000 ปีปัจจุบันคือ MMXXIV (2024)

การเขียนเลขโรมัน

การเขียนเลขโรมัน สามารถเขียนแทนเฉพาะจำนวนเต็มบวกเท่านั้น เนื่องจากในสมัยก่อนโรมยังไม่มีสัญลักษณ์แทนเลขศูนย์หรือเลขทศนิยม โดยให้เขียนจากสัญลักษณ์ที่มีค่ามากแล้วลดหลั่นกันไปยังสัญลักษณ์ที่มีค่าน้อย เช่น

  • MCCCXXV มีค่าเท่ากับ 1,000 + 300 + 20 + 5 = 1,325
  • MMMDLXVII มีค่าเท่ากับ 3,000 + 500 + 60 + 7 = 3,567

ถ้าเขียนสัญลักษณ์ที่มีค่าน้อยกว่าไว้ด้านหน้าสัญลักษณ์ที่มีค่ามากกว่า ค่าของจำนวนที่ได้จะมีค่าเท่ากับจำนวนที่มีค่ามากลบด้วยจำนวนที่มีค่าน้อย และจะเขียนสัญลักษณ์เพียงคู่เดียวในแต่ละหลักเท่านั้น เช่น

  • IX มีค่าเท่ากับ 10 − 1 = 9
  • XL มีค่าเท่ากับ 50 − 10 = 40
  • MCMLXXVII มีค่าเท่ากับ 1,000 + (1,000 − 100) + 70 + 7 = 1,977
  • MMCDLXVIII มีค่าเท่ากับ 2,000 + (500 − 100) + 60 + 8 = 2,468

โดยปกติแล้ว การเขียนเลขโรมันจะไม่เขียนสัญลักษณ์เดียวกันอยู่ติดกันตั้งแต่ 4 ตัวขึ้นไป ยกเว้นบนหน้าปัดนาฬิกา ที่จะใช้ IIII แทนเวลา 4 นาฬิกาหรือ 16 นาฬิกา เพื่อป้องกันความสับสนในการอ่านเวลา

รูปมาตรฐาน

ตารางต่อไปนี้เป็นรูปแบบการเขียนตัวเลขโรมันตามปกติ:

พัน ร้อย สิบ หน่วย
1 M C X I
2 MM CC XX II
3 MMM CCC XXX III
4 CD XL IV
5 D L V
6 DC LX VI
7 DCC LXX VII
8 DCCC LXXX VIII
9 CM XC IX

เศษส่วน

เศษส่วนตั้งแต่ 1/12 ถึง 12/12 มีชื่อในสมัยโรมัน ซึ่งเป็นชื่อเดียวกับเหรียญมูลค่าเท่ากัน

เศษส่วน ตัวเลขโรมัน ชื่อ ความหมาย
1/12 · Uncia, unciae "Ounce"
2/12 = 1/6 ·· หรือ : Sextans, sextantis "Sixth"
3/12 = 1/4 ··· หรือ Quadrans, quadrantis "Quarter"
4/12 = 1/3 ···· หรือ Triens, trientis "Third"
5/12 ····· หรือ Quincunx, quincuncis "Five-ounce" (quinque unciaequincunx)
6/12 = 1/2 S Semis, semissis "Half"
7/12 S· Septunx, septuncis "Seven-ounce" (septem unciaeseptunx)
8/12 = 2/3 S·· หรือ S: Bes, bessis "Twice" (as in "twice a third")
9/12 = 3/4 S··· หรือ S Dodrans, dodrantis
or nonuncium, nonuncii
"Less a quarter" (de-quadransdodrans)
or "ninth ounce" (nona uncianonuncium)
10/12 = 5/6 S···· หรือ S Dextans, dextantis
or decunx, decuncis
"Less a sixth" (de-sextansdextans)
or "ten ounces" (decem unciaedecunx)
11/12 S····· หรือ S Deunx, deuncis "Less an ounce" (de-unciadeunx)
12/12 = 1 I As, assis "Unit"

สัญกรณ์เศษส่วนโรมันอื่น ประกอบด้วย:

เศษส่วน ตัวเลขโรมัน ชื่อ ความหมาย
1/1728=12−3 𐆕 Siliqua, siliquae
1/288 Scripulum, scripuli "scruple"
1/144=12−2 𐆔 Dimidia sextula, dimidiae sextulae "half a sextula"
1/72 𐆓 Sextula, sextulae "1/6 of an uncia"
1/48 Sicilicus, sicilici
1/36 𐆓𐆓 Binae sextulae, binarum sextularum "two sextulas" (duella, duellae)
1/24 Σ or 𐆒 or Є Semuncia, semunciae "1/2 uncia" (semi- + uncia)
1/8 Σ· or 𐆒· or Є· Sescuncia, sescunciae "1 1/2 uncias" (sesqui- + uncia)

วิงคิวลัม

จำนวนที่มีค่าเกินกว่าที่กำหนดไว้ตามสัญลักษณ์ดังกล่าว จะเขียนขีดไว้บนสัญลักษณ์เหล่านี้ เรียกว่า วิงคิวลัม (vinculum) สัญลักษณ์ที่มีวิงคิวลัมอยู่จะมีค่าคูณด้วย 1,000 เช่น

  • V มีค่าเท่ากับ 5 × 1,000 = 5,000
  • X มีค่าเท่ากับ 10 × 1,000 = 10,000

มีการระบุว่าการใช้วิงคิวลัมเป็นมาตรฐาน แต่ที่จริงเป็นเพียงสมมติฐานเท่านั้น เลขโรมันที่ใช้กันในสมัยใหม่มักไม่เกินปี ค.ศ. ปัจจุบัน (คือ MMXXIV หรือ 2024)

ยูนิโค้ด

นอกจากนี้ ยังมีสัญลักษณ์อื่นที่ไม่ได้ใช้ในระบบเลขโรมันปัจจุบัน แต่ปรากฏอยู่ในรหัสยูนิโคด ดังนี้

    (U+2180) มีค่าเท่ากับ 1,000
    (U+2181) มีค่าเท่ากับ 5,000
    (U+2182) มีค่าเท่ากับ 10,000
    (U+2187) มีค่าเท่ากับ 50,000
    (U+2188) มีค่าเท่ากับ 100,000

อ้างอิง

Tags:

ตัวเลขโรมัน การเขียนเลขโรมันตัวเลขโรมัน ยูนิโค้ดตัวเลขโรมัน อ้างอิงตัวเลขโรมันระบบตัวเลขสมัยกลางตอนปลายอักษรละตินโรมโบราณ

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ประเทศกรีซเสกสรรค์ ศุขพิมายไทใหญ่เขตการปกครองของประเทศพม่าสมเด็จพระมหินทราธิราชหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินประเทศกาตาร์เซบิยาสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาชาคริต แย้มนามวันพีซลมเล่นไฟซูเปอร์จิ๋ววชิรวิชญ์ วัฒนภักดีไพศาลสโมสรฟุตบอลอินแตร์นาซีโอนาเลมีลาโนทวิตเตอร์สำราญ นวลมาวรินทร ปัญหกาญจน์กรมที่ดินโชติกา วงศ์วิลาศทักษิณ ชินวัตรรายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/สธนาคารกรุงไทยรายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานครราณี แคมเปนจังหวัดนครนายกเรื่องหัวใจ ไม่ไหวอย่าฝืนไททานิค (ภาพยนตร์)ต่าย อรทัยราชสกุลจังหวัดตราดต้นตะวัน ตันติเวชกุลฮอร์โมนส์ วัยว้าวุ่นรายชื่อตอนในเป็นต่อ (ช่องวัน)มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยสรพงศ์ ชาตรีแผนที่ภาษาญี่ปุ่นระบบสุริยะประวัติศาสตร์ไทยจังหวัดตรังกองบัญชาการตำรวจนครบาลโรงพยาบาลในประเทศไทยรายชื่อสัตว์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เอฟเอคัพ รอบชิงชนะเลิศ 2024การบินไทยพระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฟุตซอลทีมชาติไทยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของไทยจังหวัดสมุทรสาครพุฒิพงศ์ อัสสรัตนกุลฟุตซอลโลก 2024นโยบายสาธารณะไพ่แคงคนลึกไขปริศนาลับสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญาณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์กำแพงเมืองจีนนรวิชญ์ ฐิติเจริญรักษ์จังหวัดสุโขทัยสโมสรฟุตบอลทอตนัมฮอตสเปอร์เกิดใหม่ทั้งทีก็เป็นสไลม์ไปซะแล้ว5พระพุทธชินราชสฤษดิ์ ธนะรัชต์ICD-10มหัพภาคโลก (ดาวเคราะห์)มหาวิทยาลัยสวนดุสิตพรรคก้าวไกลสุภัคชญา ชาวคูเวียงเจนนีเจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณีสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าพัฒน์ชัย ภักดีสู่สุข4 KINGS 2🡆 More