ข้าวโพด: พืชหญ้าชนิดหนึ่ง

ข้าวโพด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Zea mays Linn.) ชื่ออื่น ๆ ข้าวสาลี สาลี (เหนือ) คง (กระบี่) โพด (ใต้) บือเคเส่ะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ยาฆง (ยะลา ปัตตานี นราธิวาส) เป็นพืชตระกูลเดียวกับหญ้ามีลำต้นสูง โดยเฉลี่ย 2.2 เมตร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้น 0.5–2.0 นิ้ว เมล็ดจากฝักใช้เป็นอาหารคนและสัตว์

ข้าวโพด
ข้าวโพด: ลักษณะทางพฤกษศาสตร์, ถิ่นกำเนิด, การนำเข้ามาในประเทศไทย
ข้าวโพดชนิดต่าง ๆ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Liliopsida
อันดับ: Poales
วงศ์: Poaceae
สกุล: Zea
สปีชีส์: Z.  mays
ชื่อทวินาม
Zea mays
L.
ข้าวโพด: ลักษณะทางพฤกษศาสตร์, ถิ่นกำเนิด, การนำเข้ามาในประเทศไทย
ลักษณะของข้าวโพด
ข้าวโพด: ลักษณะทางพฤกษศาสตร์, ถิ่นกำเนิด, การนำเข้ามาในประเทศไทย
Zea mays "fraise"
ข้าวโพด: ลักษณะทางพฤกษศาสตร์, ถิ่นกำเนิด, การนำเข้ามาในประเทศไทย
Zea mays "Oaxacan Green"
ข้าวโพด: ลักษณะทางพฤกษศาสตร์, ถิ่นกำเนิด, การนำเข้ามาในประเทศไทย
Zea mays "Ottofile giallo Tortonese”

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ข้าวโพดเป็นพืชจำพวกบาสซ่า รากชั่วคราว เรียกว่า ไพรี หลังจากข้าวโพดเจริญเติบโตได้ประมาณ 7–10 วัน รากถาวรจะงอกขึ้นรอบ ๆ ข้อปลาในระดับใต้พื้นดินประมาณ 1–2 นิ้ว รากถาวรนี้ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะแผ่ออกไปโดยรอบประมาณ 100 เซนติเมตร รากของข้าวโพดเป็นระบบรากฝอย (fibrous root system) นอกจากรากที่อยู่ใต้ดินแล้ว ยังมีรากยึดเหนี่ยว (brace root) ซึ่งเกิดขึ้นรอบ ๆ ข้อที่อยู่ใกล้ผิวดิน มีลำต้นตั้งตรงแข็งแรง เนื้อภายในฟ่ามคล้ายฟองน้ำสูงประมาณ 1.4 เมตร ลำต้นมีข้อ (node) และปล้อง (internode) ปล้องที่อยู่ในดินและใกล้ผิวดินสั้น และจะค่อย ๆ ยาวขึ้นไปทางด้านปลาย ปล้องเหนือพื้นดินจะมีจำนวนประมาณ 8–20 ปล้อง ลำต้นสดมีสีเขียว ใบ ยาวรี เป็นเส้นตรงปลายแหลม ยาวประมาณ 30–100 ซม. เส้นกลางของใบจะเห็นได้ชัด ตรงขอบใบมีขนอ่อน ๆ มีเขี้ยวใบ ลักษณะของใบรวมทั้งสีของใบแตกต่างกันไป แล้วแต่ชนิดของพันธุ์ บางพันธุ์ใบสีเขียว บางพันธุ์ใบสีม่วงและบางพันธุ์ใบลาย จำนวนใบก็เช่นเดียวกันอาจมีตั้งแต่ 8–48 ใบ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ในต้นเดียวกัน ช่อดอกตัวผู้อยู่ส่วนยอดของลำต้น ช่อดอกตัวเมียอยู่ต่ำลงมาอยู่ระหว่างกาบของใบ และลำต้น ช่อดอกตัวผู้ (tassel) อยู่ตอนบนสุดของลำต้น ดอกตัวผู้ดอกหนึ่งจะมีอับเกสร (anther) 3 อับ ส่วนดอกตัวเมียอยู่รวมกันเป็นช่อ เกิดขึ้นตอนข้อกลาง ๆ ลำต้น ฝักเกิดจากดอกตัวเมียที่เจริญเติบโตแล้ว ฝักอ่อนจะมีสีเขียว พอแก่เป็นสีนวล

ถิ่นกำเนิด

เป็นที่ยอมรับกันว่า ข้าวโพดมีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกา อาจจะเป็นอเมริกากลางเช่นในประเทศเม็กซิโก หรืออาจจะเป็นอเมริกาใต้ ในปี พ.ศ. 2035 เมื่อคริสโตเฟอร์ โคลัมบัสค้นพบทวีปอเมริกา ยังไม่พบการปลูกข้าวโพดในทวีปอื่น ๆ ต่อมาปี พ.ศ. 2036 โคลัมบัสจึงนำข้าวโพดกลับไปยังยุโรปแล้วข้าวโพดจึงได้เกิดการขยายพันธุ์ต่อไป ปัจจุบันนิยมปลูกแพร่หลายในแถบอเมริกา แคนาดา สามารถปลูกได้ในสภาพที่ภูมิอากาศแตกต่างกันมาก ๆ เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของสัตว์ เพราะสามารถนำมาเลี้ยงสัตว์ได้ทั้งต้น ใบ และเมล็ด

การนำเข้ามาในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทย คนไทยมักจะ นำข้าวโพดมาเลี้ยงสัตว์ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 โดย หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร ได้นำข้าวโพดพันธุ์ที่ใช้เลี้ยงสัตว์มาปลูกและทดลองใช้เลี้ยงสัตว์ ซึ่งในขณะนั้นยังเป็นที่รู้จักกันน้อย จนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การใช้ข้าวโพดเริ่มแพร่หลายขึ้นเนื่องจาก หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจได้นำการเลี้ยงไก่แบบการค้ามาเริ่มสาธิต และกระตุ้นให้ประชาชนปฏิบัติตาม ผู้เลี้ยงไก่จึงรู้จัก และใช้ข้าวโพดมากขึ้นกว่าเดิม แต่เนื่องจากในเวลานั้นข้าวโพดมีราคาสูงและหายาก การใช้ข้าวโพดจึงใช้เป็นเพียงส่วนประกอบของอาหารหลัก ซึ่งมีรำและปลายข้าวเป็นส่วนใหญ่ แต่ในปัจจุบันข้าวโพดเป็นที่รู้จักและใช้เลี้ยงสัตว์ อย่างแพร่หลาย เพราะปัจจุบันประเทศไทยได้ผลผลิดจากข้าวโพด เป็นจำนวนมาก

ชนิดของข้าวโพด

โดยทั่วไปข้าวโพดจัดออกเป็น 6 กลุ่ม คือ

  1. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หรือข้าวโพดไร่ (Field Corn) ที่รู้จักในปัจจุบันเช่นข้าวโพดหัวบุ๋ม (Dent Corn) และข้าวโพดหัวแข็ง (Flint Corn) ซึ่งเป็นการเรียกตามลักษณะเมล็ดข้าวโพดหัวบุ๋มหรือหัวบุบ ข้าวโพดชนิดนี้เมื่อเมล็ดแห้งแล้วตรงส่วนหัวบนสุดจะมีรอยบุ๋มลงไป ซึ่งเป็นส่วนของแป้งสีขาว ข้าวโพดชนิดนี้สำคัญมากและนิยมปลูกกันมากใน ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะทางแถบคอร์นเบลท์ สีของเมล็ดมีตั้งแต่ขาวไปจนถึงเหลือง เนื่องจากมีหลายสายพันธุมีโปรตีนน้อยกว่าพวกข้าวโพดหัวแข็ง ข้าวโพดหัวแข็ง ข้าวโพดพันธุ์นี้ส่วนบนสุดของเมล็ดมักมีสีเหลืองจัดและเมื่อแห้งจะแข็งมาก ภายในเมล็ดมีสารที่ทำให้ข้าวโพดมีสีเหลืองจัดเป็นสารให้สีที่ชื่อ คริปโทแซนทิน (Cryptoxanthin) สารนี้เมื่อสัตว์ได้รับร่างกายสัตว์จะเปลี่ยนสารนี้ให้เป็นวิตามินเอ นอกจากนี้สารนี้ยังช่วยให้ไข่แดงมีสีแดงเข้ม ช่วยให้ไก่มีผิวหนัง ปาก เนื้อ และแข้งมีสีเหลืองเข้มขึ้น เป็นที่นิยมของตลาดโดยเฉพาะแถบอเมริกาส่วนอังกฤษนั้นนิยมใช้ข้าวโพดขาว ประเทศไทยนิยมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แบบที่มีสีเหลืองเข้ม มีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เกือบตลอดทั้งปี กระจายในพื้นที่ภาคกลาง ตอนกลางของประเทศ ภาคอีสานตอนบน และภาคเหนือ พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จำนวนมากได้แก่ น่าน แพร่ เลย อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ ลพบุรี เชียงใหม่
  2. ข้าวโพดหวาน (Sweet Corn) เป็นข้าวโพดที่คนใช้รับประทาน ไม่มีการแปรรูป เมล็ดมักจะใสและเหี่ยวเมื่อแก่เต็มที่ เพราะมีน้ำตาลมาก ก่อนที่จะสุกจะมีรสหวานมากกว่าชนิดอื่น ๆ จึงเรียกข้าวโพดหวาน มีหลายสายพันธุ์
  3. ข้าวโพดคั่ว (Pop Corn) เป็นข้าวโพดที่คนใช้รับประทาน ไม่มีการแปรรูป เมล็ดค่อนข้างแข็ง สีดีและขนาดแตกต่างกัน สำหรับต่างประเทศ ถ้าเมล็ดมีลักษณะแหลมเรียกว่า ข้าวโพดข้าว (Rice Corn) ถ้าเมล็ดกลม เรียกว่า ข้าวโพดไข่มุก (Pearl Corn)
  4. ข้าวโพดแป้ง (Flour Corn) เมล็ดมีสีหลายชนิด เช่น ขาว (ขุ่น ๆ หรือปนเหลืองนิด ๆ) หรือสีน้ำเงินคล้ำ หรือมีทั้งสีขาวและสีน้ำเงินคล้ำในฝักเดียวกัน เนื่องจากกลายพันธุ์ พวกที่มีเมล็ดสีคล้ำและพวกกลายพันธุ์เรียกว่าข้าวโพดอินเดียนแดง (Squaw Corn) หรือเรียกได้อีกชื่อว่าข้าวโพดพันธุ์พื้นเมือง (Native Corn) พวกข้าวโพดสีคล้ำนี้จะมีไนอาซิน สูงกว่าข้าวโพดที่มีแป้งสีขาว
  5. ข้าวโพดเทียน (Waxy Corn) เป็นข้าวโพดที่คนใช้รับประทาน จะมีแป้งที่มีลักษณะเฉพาะคือ นุ่มเหนียว เพราะในเนื้อแป้งจะประกอบด้วยแป้งพวกอะไมโลเพกทิน (Amylopectin) ส่วนข้าวโพดอื่น ๆ มีแป้งแอมิโลส (Amylose) ประกอบอยู่ด้วย จึงทำให้แป้งค่อนข้างแข็ง
  6. ข้าวโพดป่า (Pod Corn) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า ซี เมย์ส ทูนิกา (Zea mays tunica) มีลักษณะใกล้เคียงข้าวโพดพันธุ์ป่า มีลำต้น และฝักเล็กกว่าข้าวโพดธรรมดา ขนาดเมล็ดค่อนข้างเล็กเท่าๆ กับเมล็ดข้าวโพดมีขั้วเปลือกหุ้มทุกเมล็ด และยังมีเปลือกหุ้มฝักอีกชั้นหนึ่งเหมือนข้าวโพดธรรมดาทั่วๆ ไป เมล็ดมีลักษณะต่างๆ กัน ข้าวโพดชนิดนี้ไม่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ปลูกไว้เพื่อการศึกษาเท่านั้น

ข้าวโพดที่ใช้เลี้ยงสัตว์ในประเทศไทยมีหลายพันธุ์ ที่นิยมปลูกในประเทศไทยได้แก่ พันธุ์กัวเตมาลา พียี 12 (Rep.1) กัวเตมาลา พีบี 12 (Rep.2) พีบี 5 ข้าวโพดเหนียว และโอเปค-2 มีเมล็ดตั้งแต่สีขาว สีเหลืองไปจนถึงสีแดง ขนาดของเมล็ดขึ้นอยู่กับพันธุ์ โดยทั่วไปจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ในช่วง 0.5–0.8 ซม. ก่อนนำมาเลี้ยงสัตว์จึงต้องบดก่อนเพื่อช่วยให้การย่อยและการผสมได้ผลดีขึ้น ที่บดแล้วจะมีขนาดประมาณ 1–8 มม.

คุณค่าทางโภชนาการ

ข้าวโพด 100 กรัม จะให้พลังงาน 86 กิโลแคลอรี่ (คิดเป็น 10–19% ของพลังงานที่รางกายต้องการใน 1 วัน) และยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ มากมาย ดังแสดงในตาราง

Sweetcorn, yellow, raw
(seeds only)
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน360 กิโลจูล (86 กิโลแคลอรี)
18.7 กรัม
แป้ง5.7 กรัม
น้ำตาล6.26 กรัม
ใยอาหาร2 กรัม
1.35 กรัม
3.27 กรัม
ทริปโตเฟน0.023 กรัม
ทรีโอนีน0.129 กรัม
ไอโซลิวซีน0.129 กรัม
ลิวซีน0.348 กรัม
ไลซีน0.137 กรัม
เมไธโอนีน0.067 กรัม
ซิสตีน0.026 กรัม
ฟีนิลอะลานีน0.150 กรัม
ไทโรซีน0.123 กรัม
วาลีน0.185 กรัม
อาร์จินีน0.131 กรัม
ฮิสทิดีน0.089 กรัม
อะลานีน0.295 กรัม
กรดแอสปาร์ติก0.244 กรัม
กลูตาเมต0.636 กรัม
ไกลซีน0.127 กรัม
โพรลีน0.292 กรัม
ซีรีน0.153 กรัม
วิตามิน
วิตามินเอ
(1%)
9 μg
644 μg
ไทอามีน (บี1)
(13%)
0.155 มก.
ไรโบเฟลวิน (บี2)
(5%)
0.055 มก.
ไนอาซิน (บี3)
(12%)
1.77 มก.
(14%)
0.717 มก.
วิตามินบี6
(7%)
0.093 มก.
โฟเลต (บี9)
(11%)
42 μg
วิตามินซี
(8%)
6.8 มก.
แร่ธาตุ
เหล็ก
(4%)
0.52 มก.
แมกนีเซียม
(10%)
37 มก.
แมงกานีส
(8%)
0.163 มก.
ฟอสฟอรัส
(13%)
89 มก.
โพแทสเซียม
(6%)
270 มก.
สังกะสี
(5%)
0.46 มก.
องค์ประกอบอื่น
น้ำ75.96 กรัม

ลิงก์ไปยังฐานข้อมูลของ USDA
ฝักข้าวโพดขนาดกลาง (ความยาว 6 3/4" ถึง 7 1/2")
มีน้ำหนักเมล็ด 90 กรัม
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่
แหล่งที่มา: USDA FoodData Central

ปริมาณข้าวโพด

ข้าวโพดเลี้ยงสัตวมีการปลูกกันมากทั่วโลก และมีปริมาการผลิตที่เพิ่มมากขึ้นทุกปีมากกว่าธัญพืชชนิดอื่น ๆ ประเทศสหรัฐอเมริกา สามารถผลิตข้าวโพดมากถึง 40% ของโลก และประเทศอื่นที่สามารถผลิตข้าวโพดได้มาก เช่น จีน, บราซิล, เม็กซิโก, อินโดนีเซีย, อินเดีย, ฝรั่งเศสและอาร์เจนตินา ในปี ค.ศ. 2009 สามารถผลิตข้าวโพดได้ 817 ล้านตัน ซึ่งมากกว่าข้าวและข้าวสาลีที่ผลิตได้ 678 และ 682 ล้านตัน ตามลำดับ ในปี ค.ศ. 2009 มีพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มากกว่า 3,900 ล้านไร่

สิบอันดับประเทศผู้ผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ประเทศ ปริมาณ (ตัน)
ข้าวโพด: ลักษณะทางพฤกษศาสตร์, ถิ่นกำเนิด, การนำเข้ามาในประเทศไทย  สหรัฐ 353,699,441
ข้าวโพด: ลักษณะทางพฤกษศาสตร์, ถิ่นกำเนิด, การนำเข้ามาในประเทศไทย  จีน 217,730,000
ข้าวโพด: ลักษณะทางพฤกษศาสตร์, ถิ่นกำเนิด, การนำเข้ามาในประเทศไทย  บราซิล 80,516,571
ข้าวโพด: ลักษณะทางพฤกษศาสตร์, ถิ่นกำเนิด, การนำเข้ามาในประเทศไทย  อาร์เจนตินา 32,119,211
ข้าวโพด: ลักษณะทางพฤกษศาสตร์, ถิ่นกำเนิด, การนำเข้ามาในประเทศไทย  ยูเครน 30,949,550
ข้าวโพด: ลักษณะทางพฤกษศาสตร์, ถิ่นกำเนิด, การนำเข้ามาในประเทศไทย  อินเดีย 23,290,000
ข้าวโพด: ลักษณะทางพฤกษศาสตร์, ถิ่นกำเนิด, การนำเข้ามาในประเทศไทย  เม็กซิโก 22,663,953
ข้าวโพด: ลักษณะทางพฤกษศาสตร์, ถิ่นกำเนิด, การนำเข้ามาในประเทศไทย  อินโดนีเซีย 18,511,853
ข้าวโพด: ลักษณะทางพฤกษศาสตร์, ถิ่นกำเนิด, การนำเข้ามาในประเทศไทย  ฝรั่งเศส 15,053,100
ข้าวโพด: ลักษณะทางพฤกษศาสตร์, ถิ่นกำเนิด, การนำเข้ามาในประเทศไทย  แอฟริกาใต้ 12,365,000
 ทั้งโลก 1,016,431,783

ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ

ข้าวโพดสามารถส่งเสริมการย่อยสลายพีเอเอชที่ปนเปื้อนในดิน เช่นย่อยสลาย ฟีแนนทรีน ไพรีนได้ 90% ที่ความเข้มข้นเริ่มต้น 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และยังส่งเสริมการย่อยสลาย แอนทราซีน เอนโดซัลแฟน ซัลเฟตได้ด้วย จึงมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้ฟื้นฟูดินที่ปนเปื้อนสารมลพิษอินทรีย์

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

  • พันทิพา พงษ์เพียจันทร์. "หลักการอาหารสัตว์ หลักโภชนศาสตร์และการประยุกต์". ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2547. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์. ISBN 974-97-1215-3.
  • "ข้าวโพด". มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 มกราคม 2007.
  • "ข้าวโพด เก็บถาวร 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". เว็บไซต์กรมวิชาการเกษตร.

แหล่งข้อมูลอื่น


Tags:

ข้าวโพด ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ข้าวโพด ถิ่นกำเนิดข้าวโพด การนำเข้ามาในประเทศไทยข้าวโพด ชนิดของข้าวโพด คุณค่าทางโภชนาการข้าวโพด ปริมาณข้าวโพด ประโยชน์ในด้านอื่น ๆข้าวโพด อ้างอิงข้าวโพด ดูเพิ่มข้าวโพด แหล่งข้อมูลอื่นข้าวโพดกะเหรี่ยงคาร์ล ลินเนียสจังหวัดกระบี่ชื่อวิทยาศาสตร์นราธิวาสปัตตานียะลาแม่ฮ่องสอน

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

วิทยาศาสตร์การแพทย์มณฑลของประเทศจีนเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024 รอบคัดเลือกภัทร เอกแสงกุลโลตัส (ห้างสรรพสินค้า)เมตาทักษิณ ชินวัตรชา อึน-อูซิลลี่ ฟูลส์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีประเทศเวียดนามมหาวิทยาลัยมหาสารคามสุภาพบุรุษจุฑาเทพยิ่งลักษณ์ ชินวัตรปรีชญา พงษ์ธนานิกรพรีเมียร์ลีกรายชื่อท่าอากาศยานในประเทศไทยสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดชทวิตเตอร์จังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดนครนายกนาฬิกาหกชั่วโมงกกนามสกุลพระราชทานอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ปีนักษัตรอภิรัชต์ คงสมพงษ์จังหวัดแพร่ประเทศจีนตารางตัวหารรายชื่อสกุลญี่ปุ่นที่ใช้มากที่สุดอัมรินทร์ นิติพนโลก (ดาวเคราะห์)วิสเซล โคเบะสะดุดรักยัยแฟนเช่ารายชื่อตอนในวันพีซ (อนิเมะ)สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดประเทศจอร์เจียอนุทิน ชาญวีรกูลวชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์อริศรา วงษ์ชาลีนครวัดจัน ดารา (ภาพยนตร์ทวิภาค)จังหวัดนครราชสีมาบรรดาศักดิ์อังกฤษเจ้าจอมแส ในรัชกาลที่ 5รายพระนามพระมหากษัตริย์ไทยอาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)ราชสกุลฟุตบอลโลกรัฐของสหรัฐพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567เกฟิน เดอ เบรยเนอเขมรแดงสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดาญีนา ซาลาสสโมสรฟุตบอลเชลซีถนนมิตรภาพไทใหญ่นิวรณ์สโมสรฟุตบอลดีนาโมมอสโกกันต์ กันตถาวรเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยพฤษภาคมเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024จังหวัดภูเก็ตสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติพ.ศ. 2564กูเกิลเฟซบุ๊กแปลก พิบูลสงครามยูทูบต่อศักดิ์ สุขวิมลระบบสุริยะวชิรวิชญ์ เรืองวิวรรธน์รายชื่อสถานีรถไฟ สายใต้🡆 More