การฆ่าตัวตาย

การฆ่าตัวตาย หรือ อัตฆาตกรรม หรือ อัตวินิบาตกรรม เป็นการกระทำให้ตนเองถึงแก่ความตายอย่างตั้งใจ การฆ่าตัวตายมักเกิดจากภาวะซึมเศร้า ซึ่งเกิดจากความผิดปกติทางจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว โรคจิตเภท ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง โรคพิษสุรา ความเครียด ปัญหาทางครอบครัว หรือการใช้สารเสพติด ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดเช่นความลำบากทางการเงิน หรือปัญหากับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลก็มีส่วนเช่นกัน ความพยายามป้องกันการฆ่าตัวตายหมายรวมถึงการจำกัดการฆ่าตัวตายด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น ปืน และสารพิษ การรักษาอาการทางจิตและการใช้สารเสพติด และการปรับปรุงสถานะทางการเงิน แม้ว่าบริการที่ปรึกษาสายด่วนจะมีทั่วไป แต่แทบไม่มีหลักฐานว่าวิธีนี้จะมีประสิทธิภาพ

การฆ่าตัวตาย
การฆ่าตัวตาย
เลอซุยไซด์ โดยเอดัวร์ มาแน
สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์
การตั้งต้น>70 และ 12–30 ปี
สาเหตุการแขวนคอ, พิษของยาฆ่าแมลง, กระโดดตึก ,ปืน
ปัจจัยเสี่ยงโรคซึมเศร้า, โรคอารมณ์สองขั้ว, โรคจิตเภท, ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ, โรควิตกกังวล, โรคพิษสุรา, substance abuse
การป้องกันจำกัดโอกาสฆ่าตัวตาย, บำบัดโรคประจำตัวผู้ป่วย, สื่อมวลชนควรนำเสนอข่าวฆ่าตัวตายอย่างระมัดระวัง, พัฒนาสภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ
ความชุก12 คนใน 100,000 คนต่อปี; 0.5% (โอกาสในชีวิต)
การเสียชีวิต793,000 / 1.4% ของการตาย (2016)

วิธีการฆ่าตัวตายที่พบได้บ่อยที่สุดแตกต่างกันไปตามประเทศและส่วนหนึ่งจะขึ้นกับความเป็นไปได้ วิธีการทั่วไปได้แก่ การแขวนคอ การวางยาด้วยสารฆ่าสัตว์รังควาน และอาวุธปืน การฆ่าตัวตายคร่าชีวิตคน 842,000 คนใน ค.ศ. 2013 ขึ้นจาก 712,000 คนใน ค.ศ. 1990 ทำให้เป็นสาเหตุการตายอันดับที่ 10 ทั่วโลก อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง โดยผู้ชายมีแนวโน้มฆ่าตัวตายมากกว่าผู้หญิง 3-4 เท่า มีการฆ่าตัวตายที่ไม่ถึงแก่ชีวิตประมาณ 10-20 ล้านครั้งทุกปี ความพยายามฆ่าตัวตายที่ไม่ถึงแก่ชีวิตมักก่อให้เกิดการบาดเจ็บ และความพิการระยะยาว ความพยายามดังกล่าวนี้มักพบในคนอายุน้อยและผู้หญิง

ทรรศนะที่มีต่อการฆ่าตัวตายมีหลายประเด็น เช่น ด้านศาสนา เกียรติยศ และความหมายของชีวิต ศาสนาอับราฮัมมองการฆ่าตัวตายว่าเป็นการดูหมิ่นพระเจ้าเนื่องจากความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งชีวิต ในยุคซะมุไรในญี่ปุ่น เซ็ปปุกุจัดเป็นหนึ่งในวิธีการไถ่โทษสำหรับความผิดพลาด หรือเป็นการประท้วงรูปแบบหนึ่ง พิธีสตี ซึ่งปัจจุบันเป็นสิ่งผิดกฎหมาย คาดหวังให้หญิงม่ายบูชายัญตนเองบนกองฟืนเผาศพของสามี ทั้งสมัครใจหรือจากความกดดันจากครอบครัวและสังคม

ขณะที่ในอดีต การฆ่าตัวตายและความพยายามฆ่าตัวตาย เป็นอาชญากรรมต้องโทษ แต่ปัจจุบันในประเทศตะวันตกมิเป็นเช่นนั้นแล้ว แต่ยังถือว่าเป็นอาชญากรรมในหลายประเทศ ในศตวรรษที่ 20 และ 21 มีการฆ่าตัวตายที่เป็นการบูชายัญตนเองเกิดขึ้นบางโอกาสเป็นสื่อกลางการประท้วง และคะมิกะเซะและการระเบิดฆ่าตัวตายเกิดขึ้นเป็นยุทธวิธีทางทหารหรือการก่อการร้าย

คำจำกัดความ

การฆ่าตัวตาย หรือการฆ่าตัวตายสมบูรณ์แบบ เป็น "การกระทำที่ปลิดชีพตน" ความพยายามฆ่าตัวตาย หรือพฤติกรรมเสียงต่อการฆ่าตัวตายคือการทำร้ายตนเองโดยมีความปรารถนาว่าจะจบชีวิตตน แต่ไม่ถึงแก่ความตาย การฆ่าตัวตายแบบมีผู้ช่วย เกิดขึ้นเมื่อมีคนคนหนึ่งนำพาความตายมาให้อีกคนอีกคนทางอ้อม โดยการให้คำแนะนำหรือวิธีการฆ่าตัวตาย การฆ่าตัวตายตรงข้ามกับการุณยฆาตซึ่งคนอีกคนมีบทบาทหลักในการนำพาความตายมาสู่คนคนหนึ่ง การเกิดความคิดฆ่าตัวตายเป็นความคิดในการจบชีวิตคนคนหนึ่งแต่ไม่ต้องใช้ความพยายามเพื่อทำการดังกล่าว

ปัจจัยเสี่ยง

การฆ่าตัวตาย 
การแจกแจงสถานการณ์ที่ทำให้เกิดการฆ่าตัวตายใน 16 รัฐของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 2008.

ปัจจัยต่าง ๆ ที่เป็นความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ได้แก่ ความผิดปกติทางจิต การใช้ยาในทางที่ผิด ภาวะทางจิตวิทยา สถานการณ์ทางวัฒนธรรม สังคม และครอบครัว และพันธุกรรม อาการป่วยทางจิตใจกับการใช้สารเสพติดนั้นมักเกิดร่วมกันบ่อย ๆ ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ยังรวมถึงความพยายามฆ่าตัวตายมาก่อน ความเพียบพร้อมในการกระทำดังกล่าว ประวัติการฆ่าตัวตายของครอบครัว หรืออาการบาดเจ็บทางสมอง ตัวอย่างเช่น อัตราการฆ่าตัวตายจะพบได้ในบ้านเรือนที่มีอาวุธปืนมากกว่าบ้านเรือนที่ไม่มีอาวุธปืน ปัญหาทางสังคมเศรษฐกิจ เช่น การว่างงาน ความยากจน การไม่มีที่อยู่ และการเหยียดหยาม อาจกระตุ้นให้เกิดความคิดฆ่าตัวตายได้ คนที่ฆ่าตัวตาย 15-40% ทิ้งจดหมายฆ่าตัวตายไว้ พันธุกรรมมีผลต่อพฤติกรรมการฆ่าตัวตายอยู่ที่ 38% ถึง 55% ทหารผ่านศึกมีความเป็นไปได้ที่จะฆ่าตัวตายมากกว่า เนื่องจากความเจ็บป่วยทางจิตใจ และปัญหาสุขภาพที่มาจากสงคราม

โรคทางจิตใจ

โรคทางจิตใจเกิดขึ้น ณ เวลาที่ฆ่าตัวตายด้วยพิสัยตั้งแต่ 27% จนถึงมากกว่า 90% ในบรรดาคนที่เคยเข้ารับการรักษาทางจิต ความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายสำเร็จในช่วงชีวิตอยู่ที่ประมาณ 8.6% ประชาชนครึ่งหนึ่งที่เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายอาจเป็นโรคเกี่ยวกับความหดหู่ หากมีโรคทางจิตใจอย่างน้อยหนึ่งชนิด เช่น โรคอารมณ์สองขั้ว เพิ่มความเสี่ยงที่จะฆ่าตัวตายถึง 20 เท่า โรคอื่น ๆ เช่น โรคจิตเภท (14%) ความผิดปกติด้านบุคลิกภาพ (14%) โรคอารมณ์สองขั้ว และความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ คนที่เป็นโรคจิตเภทราว 5% เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย ความผิดปกติเกี่ยวกับการกินเป็นอีกภาวะหนึ่งที่มีความเสี่ยงสูง

ประวัติของความพยายามฆ่าตัวตายเป็นตัวทำนายการฆ่าตัวตายสมบูรณ์แบบที่ใหญ่ที่สุด การฆ่าตัวตายประมาณ 20% เคยมีความพยายามฆ่าตัวตายมาก่อน และในจำนวนผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายนั้น มีผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จภายในเวลาหนึ่งปีเพียง 1 % และฆ่าตัวตายสำเร็จภายใน 10 ปีเพียง 5% การกระทำที่เป็นการทำร้ายตนเองมักไม่ใช่ความพยายามฆ่าตัวตาย และคนที่ทำร้ายตนเองส่วนมากไม่มีความเสี่ยงที่จะฆ่าตัวตาย คนที่ทำร้ายตนเองบางคนตัดสินใจจบชีวิตด้วยการฆ่าตัวตายจริง และความเสี่ยงของการทำร้ายตนเองและการฆ่าตัวตายอาจทับซ้อนกัน

การฆ่าตัวตายสมบูรณ์ประมาณ 80% ผู้ที่ฆ่าตัวตายได้พบกับหมอภายในเวลาหนึ่งปีก่อนเสียชีวิต 45% ของจำนวนนี้พบหมอในหนึ่งเดือนก่อนหน้า ผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จประมาณ 25-40% ใช้บริการสุขภาพจิตในเวลาหนึ่งปีมาก่อน

การใช้สารเสพติด

การฆ่าตัวตาย 
"The Drunkard's Progress", 1846 ภาพบรรยายว่าของมึนเมานำไปสู่ความยากจน อาชญากรรม และการฆ่าตัวตายได้อย่างไร

การใช้สารเสพติดเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายอันดับที่สองรองจากโรคซึมเศร้าและโรคอารมณ์สองขั้ว ทั้งการใช้สารเสพติดเรื้อรังและการเสพสารมึนเมาก็มีส่วน เมื่อรวมกับความโศกเศร้าส่วนตัว เช่น การสูญเสียคนรัก ความเสี่ยงยิ่งเพิ่มขึ้นอีก นอกจากนี้การใช้สารเสพติดยังเป็นเหตุให้เกิดโรคทางสุขภาพจิตใจด้วย

คนส่วนมากได้รับผลกระทบจากฤทธิ์ยาระงับประสาท (เช่น แอลกอฮอล์ หรือเบนโซไดอาเซพีนส์) หลังเขาเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย โดย 15-61% ของคนกลุ่มนี้เป็นโรคพิษสุรา ประเทศที่มีการบริโภคแอลกอฮอล์สูง และมีบาร์ในเมืองอย่างหนาแน่น มีอัตราการฆ่าตัวตายสูง ผู้ที่ได้รับการรักษาโรคพิษสุราประมาณ 2.2-3.4% ณ เวลาหนึ่งในชีวิตจะเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย คนติดสุราที่พยายามฆ่าตัวตายปกติเป็นผู้ชาย สูงอายุ และเคยพยายามฆ่าตัวตายมาก่อน ผู้เสียชีวิตที่ใช้เฮโรอีน 3-35% เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย (มากกว่าผู้ที่ไม่ใช้ประมาณ 14 เท่า) ในผู้ใหญ่ที่ดื่มสุรา การทำงานผิดพลาดของระบบประสาทและทางจิตอาจมีส่วนในการเพิ่มความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย

ปัญหาการพนัน

ปัญหาการพนันเป็นเหตุให้เกิดความคิดฆ่าตัวตายและความพยายามฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับประชากรทั่วไป นักเล่นพนันระหว่าง 12-24% พยายามฆ่าตัวตาย อัตราการฆ่าตัวตายในสามีภรรยาของพวกเขามีมากกว่าประชากรทั่วไปถึง 3 เท่า ปัจจัยอื่น ๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงในนักเล่นพนัน ได้แก่ ความผิดปกติทางจิตใจ แอลกอฮอล์ และการใช้ยา

สื่อ

สื่อต่าง ๆ รวมถึงอินเทอร์เน็ต มีบทบาทสำคัญ ผลกระทบต่อการฆ่าตัวตายจากสื่อมักเป็นทางลบ การรายงานข่าวเด่นซ้ำ ๆ ที่สรรเสริญการฆ่าตัวตายมีผลกระทบสูงสุด เมื่อมีการพรรณนารายละเอียดการฆ่าตัวตายด้วยวิธีเฉพาะทางวิธีหนึ่ง ๆ วิธีการฆ่าตัวตายวิธีนั้นจะมีความเสี่ยงเกิดขึ้นได้มาก

แรงกระตุ้นให้เกิด "การฆ่าตัวตายตามกัน" หรือการลอกเลียนแบบการฆ่าตัวตาย ที่เรียกกันว่า ปรากฏการณ์แวเธ่อร์ (Werther effect) ได้ชื่อตามตัวเอกในนวนิยายเรื่อง แวเธ่อร์ระทม ของเกอเทอ ที่ฆ่าตัวตาย และผู้ที่อ่านนวนิยายเรื่องนี้ต่างก็เลียนแบบกัน ความเสี่ยงเกิดขึ้นในผู้ใหญ่ที่หลงใหลในความตาย ปรากฏว่าขณะที่สื่อข่าวมีผลกระทบมาก ผลกระทบจากสื่อบันเทิงนั้นไม่แน่นอน ตรงกันข้ามกับปรากฏการณ์แวร์เธ่อร์ มีการเสนอว่าเป็นปรากฏการณ์พาพาเกโน ที่การรายงานข่าวกลไกการรับมืออาจมีผลกระทบที่เป็นการป้องกัน คำนี้มาจากตัวละครในละครโอเปราเรื่อง ขลุ่ยวิเศษ ของโมซาร์ท ที่ (กลัวว่าจะสูญเสียคนรัก) วางแผนฆ่าตัวตายจนกระทั่งเพื่อนของเขามาช่วย

วิธีการ

การฆ่าตัวตาย 
อัตราการตายตามวิธีการฆ่าตัวตายในสหรัฐอเมริกา

วิธีการฆ่าตัวตายที่พบมากจะแตกต่างไปตามประเทศต่าง ๆ วิธีการที่พบมากในภูมิภาคต่าง ๆ ได้แก่ การแขวนคอ การวางยาด้วยสารฆ่าสัตว์รังควาน และการใช้อาวุธปืน ความแตกต่างเหล่านี้ส่วนหนึ่งเชื่อกันว่ามาจากความเป็นไปได้ของแต่ละวิธี จากการทบทวน ประเทศ 56 ประเทศพบว่าการแขวนคอเป็นวิธีการที่พบมากที่สุด คิดเป็นเพศชาย 53% และเพศหญิง 39%

ในทั่วโลก การฆ่าตัวตาย 30% มาจากสารฆ่าสัตว์รังควาน อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ในยุโรปผันแปร 4% และในภูมิภาคแปซิฟิกผันแปรมากกว่า 50% วิธีนี้พบได้บ่อยในลาตินอเมริกาเนื่องจากประชากรที่ทำไร่นาเข้าถึงสารดังกล่าวได้ง่าย ในหลายประเทศ การใช้ยาเกินขนาดคิดเป็นราว 60% ของการฆ่าตัวตายในผู้หญิง และ 30% ในผู้ชาย การฆ่าตัวตายจำนวนมากไม่ได้ไตร่ตรองไว้ก่อน และเกิดขึ้นในช่วงเวลาอารมณ์รวนเรฉับพลัน อัตราการตายแตกต่างกันไปตามวิธีการ กล่าวคือ จากอาวุธปืน 80-90% การจมน้ำ 65-80% การแขวนคอ 60-85% ท่อไอเสียรถยนต์ 40-60% การกระโดด 35-60% การรมควันจากถ่านไม้ 40-50% สารฆ่าสัตว์รังควาน 6-75% และการใช้ยาเกินขนาด 1.5-4% อัตราการพยายามฆ่าตัวตายที่พบได้บ่อยที่สุดต่างจากอัตราความสำเร็จในการฆ่าตัวตาย กล่าวคือ ความพยายาม 85% เป็นการใช้ยาเกินขนาดในประเทศพัฒนาแล้ว

ในประเทศจีน การบริโภคสารฆ่าสัตว์รังควานเป็นวิธีการฆ่าตัวตายที่พบมากที่สุด ในประเทศญี่ปุ่น วิธีการคว้านไส้ตนเองที่เรียกว่า เซ็ปปุกุ หรือฮาราคีรี ยังคงเกิดขึ้นอยู่ อย่างไรก็ตาม การแขวนคอพบได้บ่อยที่สุด การกระโดดจนถึงแก่ชีวิตพบมากในฮ่องกงและประเทศสิงคโปร์ ที่อัตรา 50% และ 80% ตามลำดับ ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งมีอาวุธปืนอยู่ทั่วไป แต่การฆ่าตัวตายที่พบบ่อยที่สุดคือการแขวนคอ ในสหรัฐอเมริกา การฆ่าตัวตาย 57% เกี่ยวพันกับอาวุธปืน พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง รองลงมาคือการแขวนคอในผู้ชาย และการวางยาพิษตนเองในผู้หญิง วิธีการเหล่านี้รวมกันคิดเป็น 40% ของการฆ่าตัวตายในสหรัฐอเมริกา

วิทยาการระบาด

การฆ่าตัวตาย 
จำนวนผู้เสียชีวิตจากการทำร้ายตัวเองในปี 2012 (ตัวเลขแทนจำนวนผู้เสียชีวิตต่อประชากรล้านคน).
  24-32
  33-49
  50-61
  62-76
  77-95
  96-121
  122-146
  147-193
  194-395

ประชาชนประมาณ 0.5% - 1.4% เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย ด้วยอัตราการตาย 11.6 ต่อ 100,000 คนต่อปี การฆ่าตัวตายคร่าชีวิตคน 842,000 คนใน ค.ศ. 2013 ขึ้นจาก 712,000 คนใน ค.ศ. 1990 อัตราการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น 60% จากคริสต์ทศวรรษ 1960 ถึง ค.ศ. 2012 ในอัตราที่เพิ่มขึ้นนี้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนา นับถึง ค.ศ. 2008-2009 การฆ่าตัวตายทั่วโลกเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่สิบ ในทุก ๆ การฆ่าตัวตายที่ส่งผลให้เกิดผู้เสียชีวิตนั้น 10-40% พยายามฆ่าตัวตายมาก่อน

อัตราการฆ่าตัวตายแตกต่างกันตามแต่ละประเทศและแต่ละช่วงเวลาอย่างมีนัยสำคัญ ค่าเปอร์เซนต์ของผู้เสียชีวิตใน ค.ศ. 2008 ได้แก่ แอฟริกา 0.5% เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 1.9% อเมริกาเหนือและใต้ 1.2% และยุโรป 1.4% อัตราส่วนต่อคน 100,000 คน ได้แก่ ออสเตรเลีย 8.6 แคนาดา 11.1 จีน 12.7 อินเดีย 23.2 สหราชอาณาจักร 7.6 สหรัฐอเมริกา 11.4 และเกาหลีใต้ 28.9 การฆ่าตัวตายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 10 ในสหรัฐอเมริกาใน ค.ศ. 2009 ที่ 36,000 คดีต่อปี โดยประมาณ 650,000 คนเข้าแผนกฉุกเฉินเนื่องจากพยายามฆ่าตัวตาย อัตราการฆ่าตัวตายของผู้ชายวัย 50 ปีเพิ่มขึ้นเกือบครึ่งหนึ่งในทศวรรษ 1999-2010 ประเทศลิทัวเนีย ญี่ปุ่น และฮังการี มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงสุด ประเทศที่มีตัวเลขจำนวนครั้งการฆ่าตัวตายสูงสุดคือจีน และอินเดีย คิดเป็นครึ่งหนึ่งของจำนวนทั้งหมด ในประเทศจีน การฆ่าตัวตายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 5

การป้องกัน

ทัศนะของศาสนาต่าง ๆ

ศาสนาพุทธ

พุทธศาสนาถือว่าการฆ่าตัวตายไม่เป็นปาณาติบาต เพราะปาณาติบาตหมายถึงการฆ่าชีวิตอื่น พระโคตมพุทธเจ้าตรัสเล่าว่าพระองค์เคยเสวยพระชาติเป็นกระต่าย ได้กระโดดเข้ากองไฟเพื่อสละร่างกายตนเป็นอาหารของพราหมณ์คนหนึ่ง อย่างไรก็ตามผู้ฆ่าตัวตายด้วยความโกรธ ย่อมไปเกิดในอบายภูมิ เช่น นรกภูมิ เพราะความโกรธนั้น

ศาสนาอิสลาม

ศาสนาอิสลามต่อต้านการฆ่าตัวตาย ตามที่ปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอาน ซูเราะฮ์อันนิซาอ์ อายะห์ที่ 29 ระบุว่า "จงอย่าฆ่าตัวของพวกเจ้าเอง"

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

Tags:

การฆ่าตัวตาย คำจำกัดความการฆ่าตัวตาย ปัจจัยเสี่ยงการฆ่าตัวตาย วิธีการการฆ่าตัวตาย วิทยาการระบาดการฆ่าตัวตาย การป้องกันการฆ่าตัวตาย ทัศนะของศาสนาต่าง ๆการฆ่าตัวตาย อ้างอิงการฆ่าตัวตาย ดูเพิ่มการฆ่าตัวตายความตายความผิดปกติทางจิตความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่งภาวะซึมเศร้าโรคจิตเภทโรคซึมเศร้าโรคพิษสุราโรคอารมณ์สองขั้ว

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ทักษิณ ชินวัตรประวัติศาสตร์ไทยฟุตซอลโลก 2021เจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณีวัชรพล ประสารราชกิจกองทัพบกไทยเกิดชาตินี้พี่ต้องเทพอีเอฟแอลแชมเปียนชิปสโมสรฟุตบอลบีจี ปทุม ยูไนเต็ดเซี่ยงไฮ้พระไชยบูลย์ ธมฺมชโยนาฬิกาหกชั่วโมงจังหวัดราชบุรีเพลงสโมสรฟุตบอลนครราชสีมา มาสด้าสุพรรณิการ์สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์เกศริน ชัยเฉลิมพลกฤษณภูมิ พิบูลสงครามรายชื่อสมาชิกบีเอ็นเคโฟร์ตีเอตวชิรวิชญ์ ชีวอารีฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024ไอแซก นิวตันประเทศนิวซีแลนด์ธีรเดช วงศ์พัวพันธ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของไทยจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดพิษณุโลกสุภาพบุรุษชาวดินบยอน อู-ซ็อกสามก๊กมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีการลอบสังหารจอห์น เอฟ. เคนเนดีพระศิวะปตท.ไคจูหมายเลข 8จังหวัดของประเทศไทยอุรัสยา เสปอร์บันด์สถิตย์พงษ์ สุขวิมลอี เจ-โนวันมูหะมัดนอร์ มะทาสติปัฏฐาน 4เรื่องหัวใจ ไม่ไหวอย่าฝืนฮ่องกงจังหวัดกาญจนบุรีแพนเซ็กชวลไทใหญ่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024เอฟเอคัพศาสนาอิสลามพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถกระทรวงกลาโหม (ประเทศไทย)ประเทศญี่ปุ่นป๊อกเด้งประเทศเยอรมนีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร)การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566ลาลิกามณฑลของประเทศจีนมหาวิทยาลัยขอนแก่นนริลญา กุลมงคลเพชรมาริลิน เคท การ์ดเนอร์ณัฐพล นาคพาณิชย์สโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตีเสกสรรค์ ศุขพิมายรายชื่อยุทโธปกรณ์ในกองทัพบกไทยปิยวดี มาลีนนท์กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ลำไย ไหทองคำสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ภูภูมิ พงศ์ภาณุภาควันไหลจังหวัดสุพรรณบุรีเข็มทิศเดวิด เบคแคม🡆 More