กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร

กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ย่อเป็น กอ.รมน.

กองอำนวยการรักษาความมั่นคง
ภายในราชอาณาจักร
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
ตราสัญลักษณ์ กอ.รมน.
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง17 ธันวาคม พ.ศ. 2508; 58 ปีก่อน (2508-12-17)
หน่วยงานก่อนหน้า
  • กองบัญชาการป้องกันและปราบปรามคอมมิวนิสต์ (บก.ปค.)
  • กองอำนวยการป้องกันและปราบปรามคอมมิวนิสต์ (กอ.ปค.)
ประเภทหน่วยงานของรัฐ
เขตอำนาจทั่วประเทศไทย
สำนักงานใหญ่สวนรื่นฤดี ถนนนครราชสีมา แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
คำขวัญ"อสาธุ สาธุนา ชิเน" (บาลี)
("พึงชนะคนไม่ดี ด้วยความดี")
งบประมาณประจำปี10,200.9716 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)
รัฐมนตรี
ต้นสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี
เอกสารหลัก
เว็บไซต์www.isoc.go.th//

คำขวัญของหน่วยงานคือ "อสาธุ สาธุนา ชิเน" (พึงชนะคนไม่ดี ด้วยความดี) มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (ผอ.รมน.) โดยตำแหน่ง หน่วยงานมีเจ้าพนักงาน 5,000–6,000 คนทั่วประเทศ และมีอาสาสมัครความมั่นคงภายใน 500,000–600,000 คน และมีบุคคลอยู่ในเครือข่ายข้อมูลหลักหมื่นคน

เดิมรับผิดชอบต่อการปราบปรามกลุ่มฝ่ายซ้ายตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงกลางคริสต์ทศวรรษ 1980 นอกจากนี้ยังมีการดำเนินโครงการกิจการพลเรือนหลายอย่าง รวมทั้งการพัฒนาชนบทและปฏิบัติการจิตวิทยา เพื่อแทรกซึมแวดวงสังคมและการเมืองของประเทศซึ่งยังดำเนินต่อมาแม้ภัยคุกคามคอมมิวนิสต์หมดไปแล้ว: g  อำนาจของ กอ.รมน. ยิ่งได้รับการส่งเสริมหลังรัฐประหารปี 2549 และปี 2557 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อชี้นำทิศทางการเมืองของประเทศ นับเป็นเครื่องมือที่อภิชนอนุรักษนิยมสามารถบั่นทอนและควบคุมประชาธิปไตยและเป็นวิธีที่กองทัพใช้รักษาอำนาจ โดยในเดือนมิถุนายน 2550 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติอนุมัติร่างกฎหมายความมั่งคงแห่งชาติซึ่งให้ กอ.รมน. มีอำนาจกว้างขวางในการรับมือภัยคุกคามต่อประเทศ โดยให้หัวหน้า กอ.รมน. สามารถดำเนินมาตรการความมั่นคงอย่างค้นโดยไม่ต้องขออนุญาตนายกรัฐมนตรี หลังรัฐประหารปี 2557 มีการขยายอำนาจของ กอ.รมน. ให้สามารถตีความภัยคุกคามได้เอง และเพิ่มงานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

พวงทอง ภวัครพันธุ์เขียนว่า "การต่อต้านประชาธิปไตย" เป็นภารกิจของ กอ.รมน. และ "การขาดความสนใจในบทบาทกว้างขวางของกองทัพในแวดวงสังคมและการเมืองสะท้อนออกมา ... แม้มีการเรียกร้องให้กองทัพกลับเข้ากรมกอง ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยและให้พลเรือนควบคุมกองทัพ ... แต่ไม่มีผู้ใดเสนอให้ลบระบบการเมืองและอุดมการณ์ของกองทัพ"

ประวัติ

การปราบปรามคอมมิวนิสต์

วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2508 มีการก่อตั้ง กองบัญชาการป้องกันและปราบปรามคอมมิวนิสต์ (บก.ปค.) ด้วยความช่วยเหลือของสหรัฐเพื่อประสานงานปฏิบัติการต่อต้านคอมมิวนิสต์ทั่วประเทศ

ผู้นำนักศึกษา ธีรยุทธ บุญมี แสดงหลักฐานว่าการทำลายบ้านนาทราย ในอำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคายนั้นเป็นผลงานของ บก.ปค.

หน่วยงานดังกล่าวมีแนวคิดว่าการใช้การปราบปรามการก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ด้วยอาวุธอย่างเดียวไม่พอ และมีทัศนะว่าสาเหตุรากเหง้าเกิดจากความไม่เสมอภาคทางสังคม เศรษฐกิจและการเมือง สหรัฐช่วยพัฒนายุทธศาสตร์การรุกทางการเมือง รวมทั้งโครงการพัฒนาชนบท การจัดตั้งมวลชนและปฏิบัติการจิตวิทยา เงินช่วยเหลือของสหรัฐสมประโยชน์ของผู้นำกองทัพและใช้เสริมกำลังให้แก่ระบอบทหารในประเทศ สหรัฐยังช่วยยกสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นไทยเพื่อใช้ต่อต้านคอมมิวนิสต์ รัฐบาลทหารเร่งปฏิบัติการจิตวิทยาเพื่อทำให้พระมหากษัตริย์เป็นสถาบันสูงสุดของไทย

กอ.รมน.พันจ่าอากาศโทวิศิษฎ์ ทองโม้ จังหวัดเลย

ผู้ว่าราชกาลจังหวัดเลย

พันจ่าอากาศเอก ชัยพจน์ จรูญพวศ์

วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 ได้แปรสภาพเป็น กองอำนวยการป้องกันและปราบปรามคอมมิวนิสต์ (กอ.ปค.) จากนั้น พ.ศ. 2516 ก็เปลี่ยนชื่อเป็น กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) โดยยังคงมีหน้าที่ตาม พ.ร.บ. คอมมิวนิสต์ฯ ซึ่งถึงแม้ว่าหน่วยงานอยู่ใต้อำนาจของนายกรัฐมนตรีในนาม แต่อำนาจสั่งการแท้จริงอยู่ที่กองทัพ

ต่อมาภายหลัง พ.ศ. 2525 ภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์มีน้อยลง และมีการปรับปรุงโครงสร้าง ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัยได้ปรับบทบาทของ กอ.รมน. ให้ปฏิบัติภารกิจทางด้านป้องกันปราบปรามยาเสพติด การจัดระเบียบและเสริมความมั่นคงชายแดน การพัฒนาเพื่อความมั่นคงเฉพาะพื้นที่ การแก้ปัญหาชนกลุ่มน้อยและผู้หลบหนีเข้าเมือง การแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ แก้ปัญหาความข้องแย้งโดยสันติวิธี (หน่วยสันตินิมิต) การปฏิบัติงานด้านการข่าว และการปฏิบัติการจิตวิทยา (ปจว.)

เมื่อ พ.ศ. 2544 รัฐบาลทักษิณ ชินวัตรปรับลดบทบาทของ กอ.รมน. ลง โดยเฉพาะด้านการแก้ไขความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย และเพิ่มบทบาทด้านการประสานงาน มีการปรับโครงสร้าง กอ.รมน. จากเดิมมี ผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็น รอง ผอ.รมน. โดยตำแหน่ง และปรับเพิ่มตำแหน่ง ดังนี้

หลังรัฐประหารปี 2557

ปัจจุบันมโนทัศน์ภัยคุกคามของ กอ.รมน. ได้ขยายรวมไปถึงเรื่องชนกลุ่มน้อยและผู้เข้าเมืองผิดกฎหมาย การลักลอบค้ายาเสพติด อาชญากรรมไซเบอร์ การก่อการร้าย การทำลายป่าและความขัดแย้งเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ ผู้มีอิทธิพลและแก๊งมาเฟีย และภัยธรรมชาติ นอกจากนี้ ยังคงมีบทบาทในการ "พัฒนาชาติ" ซึ่งรวมถึงกิจการทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองอย่างกว้างขวาง

รัฐบาลประยุทธ์แก้ไขกฎหมายพระราชบัญญัติความมั่นคงฯ โดยยก กอ.รมน. ให้เป็นแม่ข่ายในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ทั้งยังทำให้ กอ.รมน. เป็นผู้ควบคุมงานความมั่นคงของประเทศทั้งหมด โดยสำนักงบประมาณมีหน้าที่ต้องจัดสรรงบประมาณให้หน่วยงานดังกล่าวด้วย และให้หน่วยงานของรัฐจัดสรรคนมายังหน่วยงานตามที่มีการร้องขอ กฎหมายใหม่ยังตั้งคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ซึ่งประกอบด้วยรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงและผู้บังคับบัญชาหน่วยงานความมั่นคงต่าง ๆ ทำหน้าที่คู่ขนานไปกับสภาความมั่นคงแห่งชาติซึ่งเป็นหน่วยงานโดยตรงที่มีอยู่แล้ว ภารกิจของ กอ.รมน. ถูกวิจารณ์ว่า สามารถกำหนดเองได้ว่าสถานการณ์ใดเป็นภัยคุกคาม และในอนาคตอาจเป็น "รัฐบาลน้อย" เพราะมีอำนาจรอบด้านไม่ต่างจากรัฐบาลที่ควบคุมประเทศอยู่

เดือนพฤศจิกายน 2561 มีคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้ตั้งคณะกรรมการบริหารความมั่นคงภายในภาค และคณะกรรมการบริหารความมั่นคงภายในจังหวัด โดยให้ทหารดำรงตำแหน่งประธาน และมีตำรวจและข้าราชการพลเรือนเป็นรองประธาน ทำให้เกิดข้อวิจารณ์ว่ากองทัพอาจใช้เพื่อออกคำสั่งด้วยเหตุผลทางการเมือง

เดือนมิถุนายน 2562 โฆษก กอ.รมน. ออกมาแถลงว่า กอ.รมน. รับโอนหน้าที่ของ คสช. หลังหมดอำนาจ ในเดือนเมษายน​ ปี​ ​2563​ มีการจัดตั้ง​ ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง​ ขึ้น

ฐาน

เชิงอรรถ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

This article uses material from the Wikipedia ไทย article กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร, which is released under the Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 license ("CC BY-SA 3.0"); additional terms may apply (view authors). เนื้อหาอนุญาตให้เผยแพร่ภายใต้ CC BY-SA 4.0 เว้นแต่ระบุไว้เป็นอื่น Images, videos and audio are available under their respective licenses.
®Wikipedia is a registered trademark of the Wiki Foundation, Inc. Wiki ไทย (DUHOCTRUNGQUOC.VN) is an independent company and has no affiliation with Wiki Foundation.

Tags:

กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ประวัติกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ฐานกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เชิงอรรถกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร อ้างอิงกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร แหล่งข้อมูลอื่นกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรกองทัพไทยสำนักนายกรัฐมนตรี

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์นิภาภรณ์ ฐิติธนการสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร)รายชื่อสกุลญี่ปุ่นที่ใช้มากที่สุดศิริกัญญา ตันสกุลบิลลี ไอลิชอครา อมาตยกุลฟ่าน ปิงปิงสุรยุทธ์ จุลานนท์ปรสิต (หนังสือการ์ตูน)ปราโมทย์ ปาทานสามเณรนามสกุลพระราชทานสิเรียม ภักดีดำรงฤทธิ์ประเทศอิหร่านกฤษฏ์ อำนวยเดชกรรามาวดี นาคฉัตรีย์ประเทศกัมพูชาทวี ไกรคุปต์วัดไร่ขิงจักรราศีฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักรภาคตะวันออก (ประเทศไทย)วอน (สกุลเงินเกาหลีใต้)รายชื่อตอนในเป็นต่อพ.ศ. 2564ยศทหารและตำรวจไทยรายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/กฮันเตอร์ x ฮันเตอร์กาจบัณฑิต ใจดีแอน อรดีสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินเศรษฐา ทวีสินโบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัคจังหวัดนครปฐมจัน ดารา (ภาพยนตร์ทวิภาค)รายชื่อยุทโธปกรณ์ในกองทัพบกไทยพรรคเพื่อไทยศาสนาพุทธปอบสงครามโลกครั้งที่หนึ่งหญิงรักร่วมเพศเต่าปูลูแอร์เบ ไลพ์ซิชสินจัย เปล่งพานิชปรีดี พนมยงค์ข้าราชการพลเรือนสามัญรายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร18วิดีโอวอลเลย์บอลสมณะโพธิรักษ์มณฑลของประเทศจีนสโมสรกีฬาฟุตบอลนาโปลีจัน ดารา (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2544)พรรคประชาธิปัตย์จังหวัดตรังบาปเจ็ดประการธนินท์ เจียรวนนท์คิม จี-ว็อน (นักแสดง)จีดีเอชก็อตซิลลาณฐพร เตมีรักษ์รายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่องวัน 31เชิญยิ้มกรภัทร์ เกิดพันธุ์พรีเมียร์ลีกรายชื่อสถานีรถไฟ สายใต้พิชัย ชุณหวชิรวรกมล ชาเตอร์ประเทศฝรั่งเศสอินสตาแกรมออแล็งปิกลียอแนประเทศตุรกี🡆 More