กรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์

กรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ มีพระนามเดิมว่า เจ้าหญิงฉิม เป็นพระธิดาของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (หนู) เจ้าผู้ครองนครศรีธรรมราช และเป็นพระมเหสีฝ่ายซ้ายในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

กรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์
พระมเหสีฝ่ายซ้าย
ก่อนหน้าเจ้าฟ้าสังวาลย์
ถัดไปสิ้นสุด
พระสวามีสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
พระบุตร
ราชวงศ์ธนบุรี (เสกสมรส)
พระบิดาเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (หนู)
พระมารดาหม่อมทองเหนี่ยว
ศาสนาพุทธ

พระประวัติ

กรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ หรือพระนามเดิมว่าเจ้าหญิงฉิม เป็นพระธิดาในเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (หนู) เจ้าผู้ครองนครศรีธรรมราชซึ่งตั้งตนเป็นรัฐอิสระหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองเรียกว่าก๊กเจ้าเมืองนคร และมิได้มีพื้นเพเป็นชาวนครศรีธรรมราช เจ้านครศรีธรรมราชมีพระธิดาสามองค์ที่ประสูติแต่หม่อมทองเหนี่ยว พระชายา ผู้มีเชื้อสายจีนในเมืองนครศรีธรรมราช ได้แก่ เจ้าหญิงชุ่ม (หรือนวล), เจ้าหญิงฉิม และเจ้าหญิงปราง (หรือ หนูเล็ก) ในราชสำนักนครศรีธรรมราชออกพระนามว่า ทูลกระหม่อมฟ้าหญิงใหญ่, ทูลกระหม่อมฟ้าหญิงกลาง และทูลกระหม่อมฟ้าหญิงเล็กตามลำดับ และมีพระขนิษฐาต่างมารดาอีกองค์หนึ่งคือเจ้าหญิงยวน (หรือจวน) นิธิ เอียวศรีวงศ์สันนิษฐานว่ากรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์น่าจะประสูติใน พ.ศ. 2302 ขึ้นไปเป็นอย่างช้า

เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงปราบปรามชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราชได้เมื่อปี พ.ศ. 2312 เจ้านครศรีธรรมราชยอมสวามิภักดิ์ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีก็ไม่ทรงถือว่าเจ้านครศรีธรรมราชเป็นกบฏ จึงโปรดเกล้าฯ ให้เข้าไปรับราชการในกรุงธนบุรี และทรงแต่งตั้งเจ้านราสุริวงษ์ พระเจ้าหลานเธอครองนครศรีธรรมราชแทน ด้วยเหตุนี้เจ้านครจึงถวายธิดาคือเจ้าหญิงฉิมเป็นพระสนมสนองพระเดชพระคุณโดยมีเจ้าหญิงปรางติดตามไปด้วย

ขณะที่เจ้าหญิงฉิมรับราชการเป็นพระสนมนั้น ได้สนองพระเดชพระคุณประสูติกาลพระโอรสคือเจ้าฟ้าทัศพงษ์ (ราว พ.ศ. 2319) ปีต่อมาจึงประสูติกาลพระโอรสอีกคือเจ้าฟ้าทัศไพ จึงมีนามเป็นเจ้าจอมมารดาฉิม ตำแหน่งพระสนมเอก หลังการประสูติกาลพระโอรสเป็นมารดาเจ้า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงยกเจ้าจอมมารดาฉิมขึ้นเป็นกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ เป็นมเหสีฝ่ายซ้าย มีพระราชโอรส-ธิดาด้วยกัน 4 พระองค์ ได้แก่

  1. เจ้าฟ้าทัศพงษ์ (ต่อมาถูกถอดพระยศเป็นพระพงษ์นรินทร์) เป็นต้นสกุลพงษ์สิน
  2. เจ้าฟ้าทัศไพ (ต่อมาถูกถอดพระยศเป็นพระอินทร์อภัย) เป็นบิดาของเจ้าจอมมารดาน้อย ในรัชกาลที่ 4 ต้นราชสกุลนพวงศ์และสุประดิษฐ์
  3. เจ้าฟ้านเรนทรราชกุมาร (ต่อมาถูกถอดพระยศเป็นพระนเรนทรราชา) เป็นต้นสกุลรุ่งไพโรจน์
  4. เจ้าฟ้าปัญจปาปี (ต่อมาถูกลดพระยศเป็นหม่อมปัญจปาปี) เป็นหม่อมในสมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ ต้นราชสกุลอิศรางกูร

กรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์สิ้นพระชนม์เมื่อใดไม่เป็นที่ปรากฏ

อ้างอิง

Tags:

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (หนู)

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

มหัพภาคเปรียญธรรม 9 ประโยคชลน่าน ศรีแก้วธนาคารกรุงไทยบุพเพสันนิวาสเด่นคุณ งามเนตรสาธุ (ละครโทรทัศน์)บีบีซี เวิลด์นิวส์ประเทศจอร์เจียณเดชน์ คูกิมิยะกฤษฏ์ อำนวยเดชกรราชสกุลไฟเยอโนร์ดทศศีลรายชื่อท่าอากาศยานในประเทศไทยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของไทยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาตสมเด็จพระเอกาทศรถจังหวัดฉะเชิงเทราสกูบี้-ดูกรมราชเลขานุการในพระองค์เกาะเสม็ดวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยต้นตะวัน ตันติเวชกุลจังหวัดชลบุรีอีสซึ่นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัพภันตรีปชามุกดา นรินทร์รักษ์ความเสียวสุดยอดทางเพศยอดนักสืบจิ๋วโคนันฉบับภาพยนตร์Iจังหวัดจันทบุรีสงครามยุทธหัตถีทายาทไหทองคำพรนับพัน พรเพ็ญพิพัฒน์นรวิชญ์ ฐิติเจริญรักษ์ธนาคารแห่งประเทศไทยพิชญ์นาฏ สาขากรประเทศแอฟริกาใต้X-เม็น (ภาพยนตร์ชุด)พิธา ลิ้มเจริญรัตน์พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาคจัน ดารา (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2544)มหาวิทยาลัยสวนดุสิตสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีกาจบัณฑิต ใจดีอชิรญา นิติพนจังหวัดอุดรธานีจิรวัฒน์ สอนวิเชียรจีเฟรนด์รายชื่อเขตของกรุงเทพมหานครเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ประเทศมัลดีฟส์เดอะพาวเวอร์พัฟฟ์เกิลส์ละหมาดเว็บไซต์วัดพระศรีรัตนศาสดารามฟุตซอลทีมชาติไทยไพรวัลย์ วรรณบุตรวิชัย สังข์ประไพสมศักดิ์ เทพสุทินตารางธาตุอนุทิน ชาญวีรกูลวิกิพีเดียวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหารสหประชาชาติเทศน์ เฮนรี ไมรอนพล ตัณฑเสถียรสายัณห์ สัญญารายพระนามพระมหากษัตริย์ไทยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์บิ๊กแอสพ่อขุนรามคำแหงมหาราชภาษาไทยอาตาลันตาแบร์กามัสกากัลโชพระเจ้าบุเรงนองจักรทิพย์ ชัยจินดาเซเรียอา🡆 More