รายชื่อประธานาธิบดีอินเดีย

ประธานาธิบดีแห่งอินเดียเป็นประมุขแห่งรัฐ ของอินเดีย และเป็น ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของ กองทัพอินเดีย ประธานาธิบดีถือว่าเป็นพลเมืองหมายเลขหนึ่งของอินเดีย แม้ว่าจะได้รับอำนาจเหล่านี้ตามรัฐธรรมนูญของอินเดีย แต่ตำแหน่งส่วนใหญ่เป็นพิธีการและอำนาจบริหารเป็นของ นายกรัฐมนตรีโดย พฤตินัย 

ประธานาธิบดีได้รับการเลือกตั้งจากคณะผู้เลือกตั้ง ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งของรัฐสภาซึ่งประกอบด้วย โลกสภา และราชยสภา และสมาชิกของ วิธนสภา ซึ่งเป็นสภานิติบัญญัติของรัฐแต่ละรัฐ ประธานาธิบดีสามารถอยู่ในตำแหน่งได้เป็นเวลาห้าปีตามที่ระบุไว้ในมาตรา 56 ส่วนที่ 5 ของรัฐธรรมนูญอินเดีย ในกรณีที่วาระการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดีสิ้นสุดลงก่อนกำหนดหรือในระหว่างที่ประธานาธิบดีสาบสูญ จะให้รองประธานาธิบดีเข้ารับตำแหน่ง ตามมาตรา 70 ของส่วนที่ 5 รัฐสภาอาจตัดสินกระบวนการปลดประธานาธิบดีออกจากตำแหน่งในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือในกรณีฉุกเฉินอื่น ๆ ที่ไม่คาดคิด

Presidents by state of birth
ถิ่นกำเนิดของประธานาธิบดีแบ่งตามรัฐ

เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ได้มี ประธานาธิบดีคนที่ 15 ของอินเดีย

ประธานาธิบดี

  รักษาการประธานาธิบดี (3)
  ประธานาธิบดีที่ไม่สังกัดพรรคการเมือง (5)
  ประธานาธิบดีจากพรรคคองเกรสแห่งชาติ (INC) (7)
  ประธานาธิบดีจากพรรคภารติยชนตา (BJP) (2)
  ประธานาธิบดีจากพรรคชนตา (JP) (1)
ลำดับที่ ภาพ ชื่อ

(เกิด–เสียชีวิต)
  • วาระการดำรงตำแหน่ง
  • อาณัติจากการเลือกตั้ง
  • ระยะเวลาปฏิบัติงาน
ตำแหน่งก่อนหน้า รองประธานาธิบดี พรรค อ้างอิง
1 รายชื่อประธานาธิบดีอินเดีย  ราเชนทระ ปรสาท

(1884–1963)
26 มกราคม 1950 13 พฤษภาคม 1962 ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ สรวปัลลี ราธากฤษณัน   คองเกรสแห่งชาติอินเดีย
1950, 1952, 1957
12 ปี 107 วัน
ปรสาทมาจากรัฐพิหาร เป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศอินเดียหลังได้รับเอกราช และดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุด ในฐานะประธานาธิบดีเพียงคนเดียวที่ดำรงตำแหน่งสองวาระขึ้นไป เขายังเป็นหนึ่งในนักต่อสู้ในขบวนการเรียกร้องเอกราช
2 รายชื่อประธานาธิบดีอินเดีย  สรวปัลลี ราธากฤษณัน

(1888–1975)
13 พฤษภาคม 1962 13 พฤษภาคม 1967 รองประธานาธิบดี ซากีร์ ฮุสเซน   อิสระ
1962
5 ปี
ราธากฤษณันเป็นนักปรัชญาและนักเขียนคนสำคัญ เขาดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีของมหาวิทยาลัยอานธร และ มหาวิทยาลัยพนรัสฮินดู เขาได้รับรางวัลภารตรัตนะ ในปี พ.ศ. 2497 ก่อนที่จะเป็นประธานาธิบดี เขาเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่มาจากอินเดียใต้
3
รายชื่อประธานาธิบดีอินเดีย 
ซากีร์ ฮุสเซน

(1897–1969)
13 พฤษภาคม 1967 3 พฤษภาคม 1969 รองประธานาธิบดี วรหคีรี เวนกต คีรี   อิสระ
1967
1 ปี 355 วัน
ฮุสเซนเป็นรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมุสลิมอาลีคฤห์ เป็นผู้ได้รับรางวัลปัทมา วิภูชาน และรางวัลภารตรัตนะ เขาเสียชีวิตขณะดำรงตำแหน่ง เป็นประธานาธิบดีที่ดำรงตำแหน่งสั้นที่สุด และเป็นประธานาธิบดีมุสลิมคนแรกของอินเดีย
รายชื่อประธานาธิบดีอินเดีย  วรหคีรี เวนกต คีรี

(1894–1980)
3 พฤษภาคม 1969 20 กรกฎาคม 1969 รองประธานาธิบดี  
78 วัน
คีรีได้รับเลือกเป็นรองประธานาธิบดีในปี พ.ศ. 2510 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรักษาการประธานาธิบดี ภายหลังที่ประธานาธิบดีฮุสเซนเสียชีวิตขณะดำรงตำแหน่ง เขาสละตำแหน่งในไม่กี่เดือนต่อมาเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดี
รายชื่อประธานาธิบดีอินเดีย  โมฮัมหมัด ฮิดายัตตุลเลาะห์

(1905–1992)
20 กรกฎาคม 1969 24 สิงหาคม 1969 ประธานศาลสูงสุด  
35 วัน
เขาเป็นประธานศาลสูงสุดมาก่อน และเคยได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์จักรวรรดิบริติช เขาดำรงตำแหน่งรักษาการประธานาธิบดีจนกระทั่งการเลือกตั้ง ซึ่งคีรีได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีของอินเดีย
4 รายชื่อประธานาธิบดีอินเดีย  วรหคีรี เวนกต คีรี

(1894–1980)
24 สิงหาคม 1969 24 สิงหาคม 1974 รักษาการประธานาธิบดี โคปาล สวรูป ปถก   อิสระ
1969
5 ปี
คีรีเป็นคนแรกที่ดำรงตำแหน่งทั้งรักษาการประธานาธิบดีและประธานาธิบดีของอินเดีย เขาเป็นผู้ได้รับรางวัลภารตรัตนะ และเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและการจ้างงาน และข้าหลวงใหญ่ประจำประเทศซีลอน (ศรีลังกา)
5 รายชื่อประธานาธิบดีอินเดีย  ฟาคหรุดดีน อาลี อะห์เมด

(1905–1977)
24 สิงหาคม 1974 11 กุมภาพันธ์ 1977 รัฐมนตรีกระทรวงอาหารและเกษตรกรรม โคปาล สวรูป ปถก (1974)

พสัปปา ทนัปปส ชัตตี (1974–1977)

  คองเกรสแห่งชาติอินเดีย
1974
2 ปี 171 วัน
อะห์เมดดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีก่อนได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดี เขาเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2520 ก่อนที่วาระการดำรงตำแหน่งจะสิ้นสุดลง และเป็นประธานาธิบดีอินเดียคนที่สองที่เสียชีวิตขณะดำรงตำแหน่ง เขายังเป็นประธานาธิบดีในช่วงภาวะฉุกเฉิน
พสัปปา ทนัปปส ชัตตี

(1912–2002)
11 กุมภาพันธ์ 1977 25 กรกฎาคม 1977 รองประธานาธิบดี  
164 วัน
ชัตตีเป็นรองประธานาธิบดีของอินเดียในช่วงที่อะห์เมดดำรงตำแหน่ง ก่อนที่สาบานตนขึ้นเป็นรักษาการประธานาธิบดีหลังอะห์เมดเสียชีวิต ก่อนหน้าเขาเคยเป็นมุขยมนตรีรัฐไมซอร์ (มัทราส) มาก่อน
6 รายชื่อประธานาธิบดีอินเดีย  นีลัม สัญชีพ เรฎฎี

(1913–1996)
25 กรกฎาคม 1977 25 กรกฎาคม 1982 ประธานโลกสภา พสัปปา ทนัปปา ชัตตี (1977–1979)

โมฮัมหมัด ฮิดายัตตุลเลาะห์ (1979–1982)

  พรรคชนตา
1977
5 ปี
เรฎฎีเป็นมุขยมนตรีคนแรกของรัฐอานธรประเทศ เรฎฎีเป็นสมาชิกรัฐสภาสังกัดพรรคชนตาเพียงคนเดียวที่ได้รับเลือกจากรัฐอานธรประเทศ เขาได้รับเลือกเป็นประธานโลกสภาด้วยคะแนนเอกฉันท์เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520 และได้สละตำแหน่งนี้เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2520 เพื่อดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 6 ของอินเดีย
7 รายชื่อประธานาธิบดีอินเดีย  ไซล สิงห์

(1916–1994)
25 กรกฎาคม 1982 25 กรกฎาคม 1987 รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย โมฮัมหมัด ฮิดายัตตุลเลาะห์ (1982–1984)

รามสวามี เวนกทรมัณ (1984–1987)

  คองเกรสแห่งชาติอินเดีย
1982
5 ปี
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2515 สิงห์ดำรงตำแหน่งมุขยมนตรีของรัฐปัญจาบและในปี พ.ศ. 2523 เขาได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของสหภาพ นอกจากนี้เขายังเป็นเลขาธิการของขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (Non-Aligned Movement; NAM) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 ถึง 2529
8 รายชื่อประธานาธิบดีอินเดีย  รามสวามี เวนกทรมัณ

(1910–2009)
25 กรกฎาคม 1987 25 กรกฎาคม 1992 รองประธานาธิบดี ศังกร ทยาล ศรรมา   คองเกรสแห่งชาติอินเดีย
1987
5 ปี
ในปี พ.ศ. 2485 เวนกทรมัณ ถูกอังกฤษจำคุกเนื่องจากมีส่วนร่วมในขบวนการเรียกร้องเอกราชของอินเดีย หลังจากได้รับการปล่อยตัวเขาได้รับเลือกเป็นสมาชิกรัฐสภาชั่วคราวของอินเดียที่เป็นเอกราช ในฐานะสมาชิกพรรคคองเกรสในปี พ.ศ. 2493 และเข้าร่วมรัฐบาลกลางในที่สุดโดยเขาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและอุตสาหกรรมเป็นครั้งแรก และต่อมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
9 ศังกร ทยาล ศรรมา

(1918–1999)
25 กรกฎาคม 1992 25 กรกฎาคม 1997 รองประธานาธิบดี โกจเจรีล รามัน นารายณัน   คองเกรสแห่งชาติอินเดีย
1992
5 ปี
ศรรมาเคยเป็นมุขยมนตรีของรัฐมัธยประเทศ และรัฐมนตรีกระทรวงการสื่อสารของอินเดีย เขายังเคยปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ว่าการรัฐอานธรประเทศ, ปัญจาบ และ มหาราษฏระ
10 รายชื่อประธานาธิบดีอินเดีย  โกจเจรีล รามัน นารายณัน

(1921–2005)
25 กรกฎาคม 1997 25 กรกฎาคม 2002 รองประธานาธิบดี กฤษาณ กันต์   อิสระ
1997
5 ปี
นารายณันดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย, ตุรกี, จีนและสหรัฐ เขาได้รับปริญญาเอกสาขาวิทยาศาสตร์และกฎหมายและยังเป็นอธิการบดีในมหาวิทยาลัยหลายแห่ง เขายังเป็นรองอธิการบดีของมหาวิทยาลัยชวาหะร์ลาล เนห์รู เขาเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่มาจากกลุ่มฑลิต (Dalit)
11 รายชื่อประธานาธิบดีอินเดีย  อวุล ปกีร์ ไชนุลาบดีน อับดุล กลาม

(1931–2015)
25 กรกฎาคม 2002 25 กรกฎาคม 2007 หัวหน้าที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของนายกรัฐมนตรี กฤษาณ กันต์ (2002)

ไภโรน สิงห์ เศขาวัต (2002–2007)

  อิสระ
2002
5 ปี
กลามเป็นนักการศึกษาและวิศวกรที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาโครงการขีปนาวุธและอาวุธนิวเคลียร์ของอินเดีย เขาเป็นผู้ได้รับรางวัลภารตรัตนะ เขาได้รับการขนานนามว่าเป็น "ประธานาธิบดีของประชาชน"
12 รายชื่อประธานาธิบดีอินเดีย  ประติภา เทวีสิงห์ ปาฏีล

(1934–)
25 กรกฎาคม 2007 25 กรกฎาคม 2012 ผู้ว่าการรัฐราชสถาน โมฮัมหมัด ฮามิด อันสารี   คองเกรสแห่งชาติอินเดีย
2007
5 ปี
ปาฏีลเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้เป็นประธานาธิบดีของอินเดีย เธอยังเป็นผู้ว่าการรัฐราชสถานหญิงคนแรก
13 รายชื่อประธานาธิบดีอินเดีย  ปรณพ มุขรจี

(1935–2020)
25 กรกฎาคม 2012 25 กรกฎาคม 2017 รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง โมฮัมหมัด ฮามิด อันสารี   คองเกรสแห่งชาติอินเดีย
2012
5 ปี
มุขรจีดำรงตำแหน่งหลายตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลอินเดีย เช่น รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง, รัฐมนตรีต่างประเทศ, รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม และรองประธานคณะกรรมาธิการการวางแผน
14 รายชื่อประธานาธิบดีอินเดีย  ราม นาถ โกวินท์

(1945–)
25 กรกฎาคม 2017 25 กรกฎาคม 2022 ผู้ว่าการรัฐพิหาร เวงกายยา นายุดู   ภารตียชนตา
2017
5 ปี 0 วัน
โกวินท์เป็นผู้ว่าการรัฐพิหารตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ถึง 2560 และเป็นสมาชิกรัฐสภาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 ถึง 2549 เขาเป็นประธานาธิบดีจากวรรณะจัณฑาล (ฑลิต) คนที่สอง (ต่อจาก โกจเจรีล รามัน นารายณัน) และเป็นประธานาธิบดีคนแรกจากพรรคภารตียชนตา (BJP) และเป็นสมาชิกของกลุ่มราษฏริยะ สวยัมเสวก สังฆ์ (Rashtriya Swayamsevak Sangh; RSS) ตั้งแต่วัยเยาว์
15 รายชื่อประธานาธิบดีอินเดีย  เทราปที มุรมู

(1958–)
25 กรกฎาคม 2022 ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าการรัฐฌารขัณฑ์ เวงกายยา นายุดู   ภารตียชนตา
2022
1 ปี 266 วัน
มุรมูเป็นผู้ว่าการรัฐฌารขัณฑ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2015 ถึง 2022 มุรมูกลายเป็นประธานาธิบดีคนแรกของอินเดียที่เป็นคนจากชนเผ่า และเป็นประธานาธิบดีคนที่สองจากพรรคภารตียชนตา (BJP) อีกทั้งประธานาธิบดีที่อายุน้อยที่สุดของอินเดีย และเป็นประธานาธิบดีอินเดียคนแรกที่เกิดหลังอินเดียได้รับเอกราช
    สัญลักษณ์อื่น ๆ
    - เสียชีวิตขณะดำรงตำแหน่ง
    - ดำรงตำแหน่งไม่ครบวาระ
    - รักษาการประธานาธิบดี

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

ทั่วไป

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

รายชื่อประธานาธิบดีอินเดีย ประธานาธิบดีรายชื่อประธานาธิบดีอินเดีย ดูเพิ่มรายชื่อประธานาธิบดีอินเดีย อ้างอิงรายชื่อประธานาธิบดีอินเดีย แหล่งข้อมูลอื่นรายชื่อประธานาธิบดีอินเดียกองทัพอินเดียนายกรัฐมนตรีอินเดียประธานาธิบดีอินเดียประมุขแห่งรัฐประเทศอินเดียผู้บัญชาการทหารโดยพฤตินัย

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

วัดพระศรีรัตนศาสดารามปริญ สุภารัตน์ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2023ฟุตซอลโลกประเทศจอร์แดนบยอน อู-ซ็อกสามก๊กพงศธร จงวิลาสการฆ่าตัวตายสุจาริณี วิวัชรวงศ์Aภัทร เอกแสงกุลกิ่งดาว ดารณีจังหวัดขอนแก่นจังหวัดของประเทศเกาหลีใต้ไลแคน (บอยแบนด์)หม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุลนินจาคาถาโอ้โฮเฮะเสริมศักดิ์ พงษ์พานิชเผ่าเพชร เจริญสุขมหาสงครามพิภพวานรอุรัสยา เสปอร์บันด์เกิดใหม่ทั้งทีก็เป็นสไลม์ไปซะแล้ววรันธร เปานิลนุ้ย เชิญยิ้มกรุงเทพมหานครและปริมณฑลอดอล์ฟ ฮิตเลอร์พรหมวิหาร 4ดินสอพองการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566จังหวัดมหาสารคามสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวีจังหวัดนครพนมวัดพระธาตุบังพวนเคลลี่ ธนะพัฒน์จังหวัดภูเก็ตสหรัฐรายชื่อตอนในโปเกมอนรายชื่อตัวละครในนักเตะแข้งสายฟ้ารัฐฉานรายชื่อนายกรัฐมนตรีไทยจังหวัดอุบลราชธานีสมาคมกีฬาโรมาอวตาร (ภาพยนตร์)มหาวิทยาลัยรังสิตจังหวัดจันทบุรีรายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่องวัน 31สุภาพบุรุษชาวดินเมธวิน โอภาสเอี่ยมขจรพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร4 KINGS 2ป๊อกเด้งภาษาไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรคณาวุฒิ ไตรพิพัฒนพงษ์ประเทศนิวซีแลนด์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังแอนดรอยด์ (ระบบปฏิบัติการ)บาปเจ็ดประการจังหวัดแพร่หัสวีร์ ภัคพงษ์ไพศาลมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชสัปเหร่อ (ภาพยนตร์)จีดีเอชธนาคารทหารไทยธนชาตบีบีซี เวิลด์นิวส์วิดีโอประเทศออสเตรียหน้าหลักพระครูวรเวทมุนี (อี๋ พุทฺธสโร)ยู-พรินซ์ซีรีส์นรวิชญ์ ฐิติเจริญรักษ์ซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์มหัพภาคพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลณวัสน์ ภู่พันธัชสีห์นฤมล พงษ์สุภาพพ.ศ. 2567🡆 More