ภาษารัสเซีย

ภาษารัสเซีย (รัสเซีย: русский язык, อักษรโรมัน: russkiy yazyk) เป็นภาษากลุ่มสลาฟตะวันออกที่ชาวรัสเซียใช้พูดในยุโรปตะวันออก โดยเป็นภาษาทางการในประเทศรัสเซีย, เบลารุส, คาซัคสถาน, คีร์กีซสถาน และใช้เป็นภาษากลางอย่างแพร่หลายทั่วประเทศยูเครน, ภูมิภาคคอเคซัส, เอเชียกลาง และบางส่วนของรัฐบอลติก ภาษารัสเซียเป็นภาษาทางการโดยพฤตินัยของสหภาพโซเวียตจนกระทั่งสหภาพฯ ล่มสลายในวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ.

1991

ภาษารัสเซีย
русский язык
ออกเสียง[ˈruskʲɪj jɪˈzɨk] (ภาษารัสเซีย ฟังเสียง)
ประเทศที่มีการพูดประเทศรัสเซีย
ภูมิภาคโลกที่พูดภาษารัสเซีย
ชาติพันธุ์ชาวรัสเซีย
จำนวนผู้พูด150 ล้านคน  (2020)
ผู้พูดเป็นภาษาที่ 2: 110 ล้านคน (2020)
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
ภาษาสลาฟตะวันออกเก่า
  • ภาษารัสเซีย
ระบบการเขียนซีริลลิก (อักษรรัสเซีย)
อักษรเบรลล์รัสเซีย
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ
11 รัฐ
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน
ผู้วางระเบียบสถาบันภาษารัสเซีย ที่สถาบันวิทยาศาสตร์รัสเซีย
รหัสภาษา
ISO 639-1ru
ISO 639-2rus
ISO 639-3rus
Linguasphere53-AAA-ea < 53-AAA-e
(วิธภาษา: 53-AAA-eaa ถึง 53-AAA-eat)
ภาษารัสเซีย
บริเวณที่ใช้ภาษารัสเซียเป็นภาษาชนกลุ่มใหญ่ (น้ำเงินเข้ม) หรือภาษาชนกลุ่มน้อย (ฟ้า)
ภาษารัสเซีย
รัฐที่ใช้ภาษารัสเซียเป็นภาษาทางการ (น้ำเงินเข้ม) หรือรัฐที่มีประชากรตั้งแต่ร้อยละ 30 ขึ้นไปพูดภาษารัสเซียเป็นภาษาที่หนึ่งหรือสอง

ภาษารัสเซียเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดในทวีปยุโรปและเป็นภาษาที่กระจายตัวตามเขตภูมิศาสตร์มากที่สุดในยูเรเชีย โดยมีผู้พูดมากกว่า 258 ล้านคนทั่วโลก จึงถือเป็นภาษากลุ่มสลาฟที่มีผู้พูดมากที่สุด ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับที่ 7 ของโลกหากเรียงตามจำนวนผู้พูดภาษาแม่ และเป็นภาษาที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ของโลกหากเรียงตามจำนวนผู้พูดทั้งหมด ภาษานี้เป็นหนึ่งในภาษาทางการ 6 ภาษาของสหประชาชาติ และยังเป็นภาษาที่แพร่หลายในอินเทอร์เน็ตมากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 โดยเป็นรองเพียงภาษาอังกฤษ

ภาษารัสเซียเขียนด้วยอักษรซีริลลิกซึ่งจำแนกความต่างระหว่างหน่วยเสียงพยัญชนะที่มีการออกเสียงรองเป็นเสียงเพดานแข็งกับหน่วยเสียงพยัญชนะที่ไม่มี (ซึ่งเรียกกันว่าเสียง อ่อน และเสียง แข็ง) เสียงพยัญชนะเกือบทุกเสียงมีคู่เสียงอ่อน-แข็ง ลักษณะสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือการกร่อนเสียงสระที่ไม่ได้เน้นหนัก ในอักขรวิธีโดยปกติไม่มีการระบุว่าสระใดเป็นสระที่เน้นเสียงหนัก แต่บางครั้งก็มีการใช้เครื่องหมายอะคิวต์แอกเซนต์แสดงการเน้นหนักเพื่อจำแนกความต่างระหว่างคำพ้องรูป เช่น замо́к (zamók – "แม่กุญแจ") กับ за́мок (zámok – "ปราสาท") หรือเพื่อแสดงการออกเสียงที่ถูกต้องของคำหรือชื่อที่พบไม่บ่อยนัก

การจัดจำแนก

ภาษารัสเซียเป็นภาษากลุ่มสลาฟในตระกูลอินโด-ยุโรเปียน ในแง่ของภาษาพูดมีความใกล้เคียงกับภาษาไบโลรัสเซียและภาษายูเครนที่อยู่ในภาษากลุ่มสลาฟตะวันออกและเป็นลูกหลานของภาษาสลาฟตะวันออกโบราณเช่นเดียวกัน หลายแห่งในไบโลรัสเซียและยูเครน มีผู้พูดภาษาเหล่านี้ได้สองภาษาซึ่งเป็นผลมาจากการปะปนกัน

ลักษณะของศัพท์ในภาษาเขียน หลักการสร้างคำ และการผันคำในภาษารัสเซียได้รับอิทธิพลจากภาษาสลาโวนิกคริสตจักรที่พัฒนามาจากภาษากลุ่มสลาฟใต้ ภาษาสลาโวนิกคริสตจักรโบราณซึ่งใช้ในทางศาสนาของคริสต์ศาสนา นิกายรัสเซียนออร์โธดอกซ์ สัทวิทยาและการเรียงประโยคของภาษารัสเซีย (โดยเฉพาะสำเนียงทางเหนือ) ได้รับอิทธิพลจากภาษากลุ่มฟินน์ของภาษาตระกูลฟินโน-ยูกริก เช่นภาษาเมอร์ยา ภาษามอกซาภาษามูโรเมียด้วย ภาษาเหล่านี้มักเป็นภาษาที่ตายแล้ว แต่เคยใช้พูดในบริเวณภาคกลางและภาคเหนือของรัสเซียในยุโรป

การแพร่กระจายในทางภูมิศาสตร์

ภาษารัสเซียใช้พูดในรัสเซียเป็นหลัก ประเทศอื่นๆ ที่ใช้ภาษารัสเซียมักเป็นประเทศที่เคยรวมอยู่ในสหภาพโซเวียต ซึ่งใช้ภาษารัสเซียเป็นภาษากลางตั้งแต่ พ.ศ. 2460 จนเมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลายไปเมื่อ พ.ศ. 2534 ประเทศเหล่านั้นจึงกลับไปใช้ภาษาของตนเอง

ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 25 ประเทศในกลุ่มกติกาสัญญาวอร์ซอและประเทศที่อยู่ในสหภาพโซเวียต ใช้ภาษารัสเซียเป็นภาษาในโรงเรียน เช่นในโปแลนด์ บัลแกเรีย เช็กเกีย สโลวาเกีย ฮังการี โรมาเนีย แอลเบเนีย และคิวบา แต่คนรุ่นต่อมาเริ่มใช้ภาษารัสเซียน้อยลง นอกจากนั้นมีชาวยิวในอิสราเอลที่พูดภาษารัสเซียอีกราว 750,000 คน ซึ่งเป็นกลุ่มที่อพยพไปจากรัสเซีย ในอเมริกาเหนือ พบผู้พูดภาษารัสเซียแพร่กระจายทั่วไปในช่วงก่อนการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ผู้พูดเหล่านี้ส่วนมากเป็นชาวยิวที่อพยพมาจากรัสเซีย ในยุโรปตะวันตกมีผู้พูดภาษารัสเซียซึ่งอพยพออกจากรัสเซียในพุทธศตวรรษที่ 25

สถานะการเป็นภาษาราชการ

ภาษารัสเซียเป็นภาษาราชการของรัสเซีย และเป็นภาษาราชการร่วมในเบลารุส คาซัคสถาน และคีร์กิซสถาน เป็น 1 ใน 6 ภาษาราชการของสหประชาชาติ มีการเรียนการสอนเป็นภาษารัสเซียในฐานะภาษาที่สองในหลายประเทศ โดยมากเป็นประเทศที่เคยอยู่ในสหภาพโซเวียตมาก่อน

สำเนียง

นักภาษาศาสตร์แบ่งภาษารัสเซียเป็นสองกลุ่มหลักคือกลุ่มเหนือและกลุ่มใต้ โดยสำเนียงมอสโกอยู่ระหว่างกลางทั้งสองกลุ่ม (ถือเป็นกลุ่มกลาง) และเป็นสำเนียงมาตรฐาน

ประวัติ

เมื่อประมาณ พ.ศ. 1543 กลุ่มชนส่วนใหญ่ในบริเวณที่เป็นประเทศรัสเซีย ยูเครน และไบโลรัสเซียเป็นชาวสลาฟกลุ่มตะวันออกที่พูดภาษาใกล้เคียงกัน การรวมตัวทางการเมืองบริเวณนี้เป็นเคียวาน รุสเมื่อ พ.ศ. 1423 ทำให้เกิดภาษาสลาฟตะวันออกโบราณที่กลายเป็นภาษาทางวรรณคดีและการค้า ตามมาด้วยการรับอิทธิพลของศาสนาคริสต์เมื่อ พ.ศ. 1531 และการเข้ามาของภาษาสลาโวนิกคริสตจักรโบราณที่เป็นภาษากลุ่มสลาฟใต้ และเป็นภาษาราชการและภาษาทางศาสนาในยุคนั้น เริ่มมีการยืมคำจากภาษากรีกยุคไบแซนไทน์ ทำให้ภาษาสลาโวนิกคริสตจักรโบราณเริ่มถูกเปลี่ยนแปลง

เมื่อเคียวาน รุสแตกสลายเมื่อราว พ.ศ. 1643 จึงมีการพัฒนาสำเนียงที่แตกต่างกัน ความแตกต่างอย่างชัดเจนเกิดขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 18 เมื่อมีการตั้งเขตของดยุกแห่งลิทัวเนีย ทางตะวันตกและดินแดนอิสระของสาธารณรัฐฟิวดัลโนฟโกรอดและดินแดนของตาตาร์ทางตะวันออก ภาษาราชการในโนฟโกรอด มอสโก และตาตาร์เป็นภาษาสลาโวนิกคริสตจักร ที่พัฒนามาจากภาษาสลาโวนิกคริสตจักรโบราณ ภาษารัสเซียได้รับอิทธิพลจากภาษาสลาโวนิกคริสตจักรจนถึงพุทธศตวรรษที่ 22 มีการจัดมาตรฐานโดยเมเลเตียส สโมเตรียสกีเมื่อ พ.ศ. 2163 และมีการปรับตัวอักษรในพระเจ้าปีเตอร์มหาราช ได้รับอิทธิพลด้านคำศัพท์จากยุโรปตะวันตกโดยเฉพาะภาษาฝรั่งเศสกับภาษาเยอรมัน

ภาษารัสเซียสมัยใหม่มีการปรับเปลี่ยนอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2461 อิทธิพลในยุคของสหภาพโซเวียตทำให้ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีผู้ใช้แพร่หลายมากภาษาหนึ่ง

ภาษาลูกหลาน

ภาษาที่มีพัฒนาการไปจากภาษารัสเซียได้แก่

  • ภาษาเฟนยา ไวยากรณ์มีจุดกำเนิดเดียวกับภาษารัสเซียแต่ใช้คำศัพท์ต่างไป
  • ภาษาซุรเซียก เป็นภาษาที่มีลักษณะของภาษารัสเซียและภาษายูเครน ใช้พูดในบางบริเวณของประเทศยูเครน
  • ภาษาทราเซียนกา เป็นภาษาที่มีลักษณะของภาษารัสเซียและภาษาไบโลรัสเซีย ใช้พูดในเบลารุส
  • สำเนียงบาลัชกา ใช้พูดโดยชาวคอสซักก์ในบริเวณดอน คูบันและเตเรก
  • ภาษากวูเอเลีย เป็นภาษาผสมระหว่างภาษารัสเซียกับภาษาเยอรมัน
  • ภาษารุสเซนอร์ส เป็นภาษาผสมที่ตายแล้วใช้คำศัพท์จากภาษารัสเซียและไวยากรณ์ของภาษานอร์เวย์ ใช้ในการติดต่อทางการค้าระหว่างชาวรัสเซียและนอร์เวย์ในอดีต
  • ภาษารุงลิซ เป็นภาษาผสมระหว่างภาษารัสเซียกับภาษาอังกฤษ ใช้เรียกการพูดภาษาอังกฤษของชาวรัสเซียที่ใช้ลักษณะและการเรียงประโยคแบบภาษารัสเซีย
  • ภาษานักซัต เป็นภาษาในนิยายพูดโดย “A Clockwork Orange” ใช้คำและคำแสลงจากภาษารัสเซียมาก

ระบบการเขียน

เมเลเตียส สโมเตรียสกี นำอักษรซีริลลิกมาใช้เขียนภาษารัสเซียเมื่อราว พ.ศ. 2162 ใช้ตัวอักษร 33 ตัว มีการปรับปรุงตัวสะกดในภาษารัสเซียหลายครั้ง เช่นเมื่อ พ.ศ. 2423, 2461, และครั้งล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2533 อักษรที่ใช้เขียนภาษารัสเซียเรียกว่าอักษรซีริลลิก มีอยู่ทั้งหมด 33 ตัวด้วยกัน ดังต่อไปนี้

Аа Бб Вв Гг Дд Ее Ёё Жж Зз Ии Йй

Кк Лл Мм Нн Оо Пп Рр Сс Тт Уу Фф

Хх Цц Чч Шш Щщ Ъъ Ыы Ьь Ээ Юю Яя

ในภาษาอื่นที่ใช้อักษรซีริลลิก เช่น ภาษายูเครน ภาษามองโกเลีย ฯลฯ จะมีอักขระพิเศษเพิ่มขึ้นมาตามแต่ละภาษาในประเทศรัสเซีย อักษรซีริลลิกนอกจากจะใช้เขียนภาษารัสเซีย ปัจจุบันยังใช้เขียนภาษาของชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ ในประเทศด้วย

ระบบเสียง

เสียงพยัญชนะ

  ริมฝีปาก ริมฝีปากกับฟัน ฟัน &
ปุ่มเหงือก
หลังปุ่มเหงือก เพดานแข็ง เพดานอ่อน
นาสิก หนัก /m/   /n/      
เบา /mʲ/ มฺย   /nʲ/ นฺย      
กัก หนัก /p/   /b/ ป บ   /t/   /d/ ต ด    A/อ /k/   /g/ ก กฺง
เบา /pʲ/   /bʲ/ ปฺย บฺย   /tʲ/   /dʲ/ ตฺย ดฺย     /kʲ/*   [gʲ] กฺย งฺย
Affricate หนัก     /t͡s/    จ(ตฺซ)        
เบา         /t͡ɕ/    จ    
เสียดแทรก หนัก   /f/   /v/ ฟฺว /s/   /z/ /ʂ/   /ʐ/ ซ(ม้วนลิ้น)   /x/      ฮฺค
เบา   /fʲ/   /vʲ/ ฟฺย วฺย /sʲ/   /zʲ/ ซฺย - /ɕː/*   /ʑː/* ศ -   [xʲ]      ฮฺย
รัวลิ้น หนัก     /r/      
เบา     /rʲ/ รฺย      
เปิดข้างลิ้น หนัก     /l/      
เบา     /lʲ/ ลฺย   /j/  

ไวยากรณ์

ภาษารัสเซียมีลักษณะคล้ายกับภาษาอื่น ๆ ในตระกูลเดียวกัน คือมีการเปลี่ยนแปลงรูปคำเพื่อแสดงเพศ พจน์ กาล การก แม้ว่าในหลายภาษาในตระกูลเดียวกันกฎเกณฑ์เหล่านี้ได้หายไปบ้าง แต่ในภาษารัสเซียรวมทั้งภาษาสลาฟอื่น ๆ ยังคงมีกฎเหล่านี้อยู่ มีการเปลี่ยนรูปคำมาก การเรียงประโยคเป็นการผสมอิทธิพลระหว่างภาษาสลาโวนิกคริสตจักรกับภาษาในยุโรปตะวันตก

infinitive работать ทำงาน
รูปปัจจุบัน รูปอดีต
Я (สรรพนามบุรุษที่ 1 เอกพจน์) работаю ช работал ญ работала
Ты (สรรพนามบุรุษที่ 2 เอกพจน์) работаешь ช работал ญ работала
Он (สรรพนามเพศชายบุรุษที่ 3 เอกพจน์) работает работал
Она (สรรพนามเพศหญิงบุรุษที่ 3 เอกพจน์) работает работала
Оно (สรรพนามเพศกลางบุรุษที่ 3 เอกพจน์) работает работало
Мы (สรรพนามบุรุษที่ 1 พหูพจน์) работаем работали
Вы (สรรพนามบุรุษที่ 2 พหูพจน์) работаете работали
Они (สรรพนามบุรุษที่ 3 พหูพจน์) работают работали

นอกจากนี้แล้ว กริยาภาษารัสเซีย ยังมีรูปสมบูรณ์ และ ไม่สมบูรณ์ โดยกริยาสมบูรณ์เน้นที่ผลของการกระทำกริยาตัวนั้นๆ ได้แก่ прочитать หมายถึง อ่าน (จบแล้ว)

ประโยคตัวอย่าง

Я прочитал эту книгу. (ฉันอ่านหนังสือเล่มนี้จบแล้ว)

ส่วนกริยาไม่สมบูรณ์เน้นที่ขั้นตอนของการกระทำกริยาตัวนั้นๆ ได้แก่ читать หมายถึง อ่าน

ประโยคตัวอย่าง

Я читаю эту книгу. ฉันกำลังอ่านหนังสือเล่มนี้อยู่ (เริ่มอ่านแล้ว และ ยังอ่านไม่จบเล่ม)


อนึ่ง กาลของกริยาสมบูรณ์มีเพียง 2 กาล คือ อดีต และ อนาคต ต่างจากกริยาไม่สมบูรณ์ ที่มี อดีต ปัจจุบัน และ อนาคต (กาลอนาคตใช้ กริยา быть มาขยายข้างหน้ากริยารูป infinitive โดยผันกริยา быть ตามประธาน กาลปัจจุบัน (เช่น Я буду, ты будешь...они будут)

การก

ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีการผันคำนามและคุณศัพท์ตามการกหรือหน้าที่ของคำในประโยคนั้นๆ ภาษารัสเซียมีหกการก ดังนี้

  • กรรตุการก (Именительный падеж: Nominative case)ใช้เป็นประธาน หรือผู้กระทำ
  • สัมพันธการก (Родительный падеж: Genitive case)ใช้แสดงความเป็นเจ้าของ ใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคนหรือสิ่งของกับคน
  • สัมปทานการก (Дательный падеж: Dative case)ใช้เป็นกรรมรอง เช่นได้รับของ ได้รับความช่วยเหลือ ได้รับคำแนะนำ
  • กรรมการก (Винительный падеж: Accusative case)ใช้เป็นกรรมตรง หรือผู้ถูกกระทำ
  • กรณการก (Творительный падеж: Instrumental case)ใช้เป็นตัวช่วย เป็นเครื่องมือ
  • อธิกรณการก (Предложный падеж: Prepositional case)ใช้แสดงตำแหน่ง หรือสถานที่

หมายเหตุ

อ้างอิง

ข้อมูล

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

ภาษารัสเซีย การจัดจำแนกภาษารัสเซีย การแพร่กระจายในทางภูมิศาสตร์ภาษารัสเซีย สถานะการเป็นภาษาราชการภาษารัสเซีย สำเนียงภาษารัสเซีย ประวัติภาษารัสเซีย ภาษาลูกหลานภาษารัสเซีย ระบบการเขียนภาษารัสเซีย ระบบเสียงภาษารัสเซีย ไวยากรณ์ภาษารัสเซีย การกภาษารัสเซีย หมายเหตุภาษารัสเซีย อ้างอิงภาษารัสเซีย แหล่งข้อมูลอื่นภาษารัสเซียกลุ่มภาษาสลาฟตะวันออกการล่มสลายของสหภาพโซเวียตคอเคซัสคาซัคสถานคีร์กีซสถานชาวรัสเซียประเทศยูเครนประเทศรัสเซียภาษาทางการยุโรปตะวันออกรัฐบอลติกสหภาพโซเวียตเบลารุสเอเชียกลาง

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีระบบสุริยะจังหวัดร้อยเอ็ดมังกี้ ดี. ลูฟี่จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ญินสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดจุดทิศหลักภาษาในประเทศไทยนักเรียนแฮร์รี่ พอตเตอร์กองทัพบกไทยลมเล่นไฟปราโมทย์ ปาทานกรมสรรพากรจังหวัดบึงกาฬร่างทรง (ภาพยนตร์)มินนี่ (นักร้อง)สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีพิชัย ชุณหวชิรรัฐฉานคาราบาวรามาวดี นาคฉัตรีย์ศาสนาฮินดูจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเร็ว..แรงทะลุนรก 10อาณาจักรอยุธยาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลเจลีกคัพประเทศซาอุดีอาระเบียราชสกุลศิริลักษณ์ คองณเดชน์ คูกิมิยะทศศีลสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ยูทูบข้าราชการส่วนท้องถิ่นอัมรินทร์ นิติพนผ่าพิภพไททันสมเด็จพระนารายณ์มหาราชการ์ลัส ปุดจ์ดาโมนวทานิกา ปัทมสิงห์ ณ อยุธยางูจงอางมหาวิทยาลัยนเรศวร9สังฆาทิเสสพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเหี้ยเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกจังหวัดนครสวรรค์ลิซ่า (แร็ปเปอร์)Genwit อัจฉริยะพันธุ์ใหม่จังหวัดน่านเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยปุญญ์ปรีดี คุ้มพร้อม รอดสวาสดิ์เอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024ไพรวัลย์ วรรณบุตรมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชวิดีโอมหาสงครามพิภพวานรบัวขาว บัญชาเมฆปรีชญา พงษ์ธนานิกรสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์วัดคลองครุ (จังหวัดสมุทรสาคร)รายชื่อสมาชิกบีเอ็นเคโฟร์ตีเอตไลแคน (บอยแบนด์)มิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2024ธนาคารไทยพาณิชย์ทนงศักดิ์ ภักดีเทวารายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยประเทศเยอรมนีสงครามโลกครั้งที่สองเจนี่ อัลภาชน์รัตนวดี วงศ์ทองพรรษา วอสเบียน🡆 More