เฮลซิงกิ

เฮลซิงกิ (ฟินแลนด์: Helsinki, ออกเสียง:  ( ฟังเสียง); สวีเดน: Helsingfors, ภาษาสวีเดนถิ่นฟินแลนด์:  ( ฟังเสียง)) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศฟินแลนด์ ตั้งอยู่ทางใต้ของประเทศ ริมชายฝั่งอ่าวฟินแลนด์ ตัวเมืองมีประชากรประมาณ 600,000 คน เฮลซิงกิอยู่ติดกับเมืองวันตาและเอสโปซึ่งรวมตั้งเป็นเขตเมืองหลวงหรือมหานครเฮลซิงกิ มีประชากรเกือบหนึ่งล้านคน และถ้านับเขตที่อยู่อาศัยในปริมณฑลด้วยจะมีประชากรมากกว่า 1.2 ล้านคน

เฮลซิงกิ

Helsinki – Helsingfors
Helsingin kaupunki
Helsingfors stad
City of Helsinki
ตามเข็มจากบน: อาสนวิหารเฮลซิงกิ, เฮลซิงกิตอนกลาง, ซาโนมากับคีอัสมา, ใจกลางนครยามค่ำคืน, ชายหาดออรินโกลาห์ตี, รัฐสภา และ ซูโอเมนลินนา
ตามเข็มจากบน: อาสนวิหารเฮลซิงกิ, เฮลซิงกิตอนกลาง, ซาโนมากับคีอัสมา, ใจกลางนครยามค่ำคืน, ชายหาดออรินโกลาห์ตี, รัฐสภา และ ซูโอเมนลินนา
ตราราชการของเฮลซิงกิ
ตราอาร์ม
สมญา: 
Stadi, Hesa
Location in the Uusimaa region and the Helsinki sub-region
Location in the Uusimaa region and the Helsinki sub-region
ประเทศฟินแลนด์
ภูมิภาคเฮลซิงกิ Uusimaa
อนุภูมิภาคHelsinki
Charter1550
Capital city1812
การปกครอง
 • Lord MayorJussi Pajunen
 • MayorTo be elected in 2017
พื้นที่
 • เขตเมือง672.08 ตร.กม. (259.49 ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล3,697.52 ตร.กม. (1,427.62 ตร.ไมล์)
ประชากร
 • เขตเมือง1,231,595 คน
 • ความหนาแน่นเขตเมือง1,800 คน/ตร.กม. (4,700 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล1,431,641 คน
 • ความหนาแน่นรวมปริมณฑล387.2 คน/ตร.กม. (1,003 คน/ตร.ไมล์)
เดมะนิมhelsinkiläinen (Finnish)
helsingforsare (Swedish)
Helsinkian (English)
เขตเวลาUTC+2 (EET)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+3 (EEST)
รหัสพื้นที่+358-9
ClimateDfb
เว็บไซต์www.hel.fi

เฮลซิงฟอร์สเป็นชื่อเมืองดั้งเดิม และยังคงเป็นชื่อเมืองในภาษาสวีเดนในปัจจุบัน ในอดีตเป็นชื่อที่ใช้ในระดับนานาชาติด้วย

ประวัติ

ในปีพ.ศ. 2093 พระเจ้ากุสตาฟที่ 1 แห่งสวีเดน ทรงก่อตั้งเมืองเฮลซิงกิขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางการค้า แข่งกับเมืองทาลลินน์ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของอ่าวฟินแลนด์ จากคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญทางการทหาร เฮลซิงกิจึงตั้งอยู่ที่ปากแม่น้ำวันตา ได้รับการปกป้องจากบรรดาเกาะเล็กๆทั้งหลาย ในช่วงแรกเฮลซิงกิไม่ประสบความสำเร็จมากนัก 90 ปีต่อมา สมเด็จพระราชินีคริสตินา ทรงดำริให้ย้ายเมืองไปทางใต้ 5 กิโลเมตร ซึ่งเป็นที่ตั้งปัจจุบันของเมือง เฮลซิงกิได้รับสถานะเป็นเมืองสำคัญ สามารถทำการค้าขายกับต่างประเทศได้ แต่ในเวลานี้สวีเดนได้ครอบครองทางใต้ของอ่าวฟินแลนด์แล้ว เฮลซิงกิจึงไม่มีความสำคัญมากนัก และยังคงเป็นเมืองเล็กๆอยู่

ในปีพ.ศ. 2291 เริ่มมีการสร้างฐานทัพ Suomenlinna บนหมู่เกาะบริเวณปากอ่าวของเฮลซิงกิ การก่อสร้างนี้ส่งผลต่อเฮลซิงกิจากการที่คนงานนับพันคนเข้ามาทำให้การค้าเจริญเติบโตขึ้น รวมถึงทหารประจำการที่มาพร้อมกับครอบครัวและวัฒนธรรมแบบชาวสวีเดนชั้นสูง

พ.ศ. 2351-52 เกิดสงครามระหว่างรัสเซียและสวีเดน ดินแดนฟินแลนด์ตกเป็นส่วนหนึ่งของสวีเดนในฐานะราชรัฐปกครองตนเองฟินแลนด์ ชาวฟินแลนด์บางส่วนเริ่มสนับสนุนความคิดการตั้งเฮลซิงกิเป็นเมืองหลวงของราชรัฐ ความคิดนี้ได้รับการสนับสนุนจากฝั่งรัสเซียเช่นกัน เนื่องจากเฮลซิงกิอยู่ใกล้กับเซนต์ปีเตอส์เบิร์กมากกว่า และมีอิทธิพลของสวีเดนน้อยกว่าตุรกุซึ่งเป็นเมืองหลวงเดิม ซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 1 จึงตั้งเฮลซิงกิเป็นเมืองหลวงของฟินแลนด์แทนที่ตุรกุในปีพ.ศ. 2355 จากการที่เฮลซิงกิถูกทำลายด้วยไฟในปี 2351 ทำให้ซาร์วางแผนที่จะสร้างเมืองขึ้นใหม่ ได้มีการแต่งตั้งวิศวกรชาวฟินแลนด์ให้ออกแบบเมืองใหม่ และเชิญสถาปนิกชาวเยอรมันมาร่วมงาน มีการสร้างอาคารใหม่จำนวนมาก รวมถึงการย้ายมหาวิทยาลัยมาจากตุรกุด้วย สถาปัตยกรรมที่สร้างใหม่นี้มีรูปแบบนีโอคลาสสิกตามแบบเมืองเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก เฮลซิงกิได้กลายมาเป็นศูนย์กลางทางการปกครองและวัฒนธรรม

ในช่วงสงครามกลางเมืองฟินแลนด์ พ.ศ. 2461 เฮลซิงกิถูกยึดโดยฝ่ายแดงในเดือนมกราคม วุฒิสภาย้ายไปประจำการที่เมืองวาซา กองทัพฝ่ายขาว ร่วมกับทหารเยอรมันสามารถยึดเฮลซิงกิกลับมาได้ในเดือนเมษายน เฮลซิงกิได้รับความเสียหายไม่มากนัก ในช่วงสงครามฤดูหนาวและสงครามต่อเนื่อง (ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง) เฮลซิงกิถูกโจมตีทางอากาศจากสหภาพโซเวียต อย่างไรก็ตาม เฮลซิงกิได้รับความเสียหายไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับเมืองสำคัญอื่นๆในยุโรป เฮลซิงกิยังเป็นหนึ่งในสามเมืองหลวงของประเทศในทวีปยุโรปที่เข้าร่วมสงครามที่ไม่ถูกยึดครองโดยฝ่ายศัตรู (อีกสองเมืองคือลอนดอนและมอสโก)

สถาปัตยกรรม

เฮลซิงกิ 
อาสนวิหารของเฮลซิงกิ เป็นที่หมายตาของกรุงเฮลซิงกิ

หลังจากเฮลซิงกิถูกตั้งเป็นเมืองหลวง เฮลซิงกิก็ถูกแปรสภาพจากเมืองเล็กๆที่มีประชากรเพียง 4,000 คนเป็นศูนย์กลางการปกครองของฟินแลนด์ สถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ได้รับอิทธิพลจากจักรวรรดิรัสเซีย โดยเฉพาะรูปแบบนีโอคลาสสิกตามแบบเมืองเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก คาร์ล ลุดวิก เองเกล ชาวเยอรมัน ทำหน้าที่เป็นสถาปนิกใหญ่ในโครงการสร้างเมืองใหม่นี้ ศูนย์กลางของแผนอยู่ที่จัตุรัสวุฒิสภา (Senaatintori; Senatstorgot) ซึ่งมีขนาดใหญ่รองรับคนได้หลายหมื่นคน สิ่งก่อสร้างสำคัญบริเวณจัตุรัสนี้คืออาสนวิหาร (ในอดีตเรียกโบสถ์นิโคลัส) ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจัตุรัส ทางทิศตะวันออกและตะวันตกเป็นทำเนียบรัฐบาลและอาคารหลักของมหาวิทยาลัยตามลำดับ อาคารสองหลังนี้มีขนาดใกล้เคียงกัน ทำเนียบรัฐบาลมีเสาหินแบบคอรินเธียน ในขณะที่อาคารมหาวิทยาลัยเป็นแบบไอออนิก สิ่งก่อสร้างทั้งสามนี้เป็นผลงานของเองเกล เช่นเดียวกับสิ่งก่อสร้างอีกหลายแห่ง อาคารที่มีชื่อเสียงของเองเกลอีกแห่งหนึ่งคือห้องสมุดมหาวิทยาลัย ซึ่งได้รับการยกย่องในเรื่องความงดงาม อิทธิพลของรัสเซียอีกอย่างหนึ่งคือโบสถ์ออร์โธดอกซ์ ซึ่งแห่งที่สำคัญของเฮลซิงกิคือมหาวิหารอุสเปนสกี ก่อสร้างในช่วงปีพ.ศ. 2405-2411

เฮลซิงกิยังมีชื่อเสียงในด้านสถาปัตยกรรมแบบอาร์ตนูโว (Jugenstil) โดยมีสถาปนิกคนสำคัญคือเอเลียล ซาริเนน ในช่วงแรกซาริเนนร่วมงานกับสถาปนิกอีกสองคนในบริษัท Gesellius, Lindgren & Saarinen ผลงานที่สำคัญในเฮลซิงกิคือพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ ออกแบบในปีพ.ศ. 2445 ผลงานสำคัญของซาริเนนอีกอย่างหนึ่งคือสถานีรถไฟกลางเฮลซิงกิ

อาคารรัฐสภา (Eduskuntatalo) เป็นผลงานนีโอคลาสสิกชิ้นสำคัญของฟินแลนด์ยุคหลังประกาศเอกราช ออกแบบโดยโยฮัน ซิกฟริด ซิเรน ในปีพ.ศ. 2467 และสร้างเสร็จในปีพ.ศ. 2474 ภายหน้าอาคารเป็นเสาหินแบบคอรินเธียน 14 ต้น

สถาปัตยกรรมแบบประโยชน์นิยม (อังกฤษ: functionalism) ได้รับความนิยมในฟินแลนด์ยุคใหม่ อัลวาร์ อาลโต เป็นสถาปนิกชาวฟินแลนด์ที่มีชื่อเสียงในด้านนี้ โดยมีสิ่งก่อสร้างในเฮลซิงกิคือหอฟินแลนเดีย

ศิลปะและวัฒนธรรม

ที่เซนาทสแคว์เมื่อเดือนกันยายน/ตุลาคม 2010 งานนิทรรศการศิลปะกลางแจ้งที่ใหญ่ที่สุดในฟินแลนด์: มีผู้เข้าชมงานนิทรรศการสากล United Buddy Bears ประมาณ 1.4 ล้านคน

อ้างอิง

บรรณานุกรม

  • Bell, M., & Hietala, M. (2002). Helsinki: the innovative city ; historical perspectives. Helsinki: Suomalaisen Kirjallisuuden Seura [u.a.]. ISBN 951-746-359-6 (อังกฤษ)
  • Roininen, V., Ekbom, M., & Miller, E. (2003). Vanha, kaunis Helsinki = Det gamla, vackra Helsingfors = Beautiful old Helsinki. Jyväskylä: Atena. ISBN 951-796-309-2 (ฟินแลนด์ สวีเดน อังกฤษ)
  • Finland, & Morris, D. (2000). The Finnish parliament. Helsinki: Finnish Parliament : Edita. ISBN 951-37-3228-2(อังกฤษ)

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

เฮลซิงกิ ประวัติเฮลซิงกิ สถาปัตยกรรมเฮลซิงกิ ศิลปะและวัฒนธรรมเฮลซิงกิ อ้างอิงเฮลซิงกิ แหล่งข้อมูลอื่นเฮลซิงกิFi-Helsinki.ogaHelsingfors.oggประเทศฟินแลนด์ภาษาฟินแลนด์ภาษาสวีเดนวันตาอ่าวฟินแลนด์เมืองหลวงเอสโปไฟล์:Fin-Helsinki.oggไฟล์:Helsingfors.ogg

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

มังกรหยกสมเด็จพระมหาจักรพรรดิทางพิเศษศรีรัชจำลอง ศรีเมืองจุดทิศหลักโชกุนลำไย ไหทองคำโชกุน (ละครโทรทัศน์ปี 2024)ไอ้หนุ่มพลังช้าง ไวอาก้าเรียกพี่น้ำอสุจิจังหวัดกาญจนบุรีมาริโอ้ เมาเร่อมี่นอองไลง์อิษยา ฮอสุวรรณจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดปทุมธานีวัดไชยวัฒนารามสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลอัจฉริยะหมอ 2 แผ่นดินฟิวเจอร์พาร์ค รังสิตไวยาวัจกรไม้มลายพิกซี่ (วงดนตรี)ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ประเทศไทย)สโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ดพรรคเพื่อไทยชาวซามีณวัสน์ ภู่พันธัชสีห์สังโยชน์จังหวัดชัยภูมิราชวงศ์ในประวัติศาสตร์จีนพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถนิโคลัส มิคเกลสันอนิเมะเป็นต่อปรสิต (หนังสือการ์ตูน)แจ็กสัน หวังราศีสิงห์วัดสระเกศราชวรมหาวิหารวัดไร่ขิงอานาปานสติเสกสรรค์ ศุขพิมายกองบัญชาการตำรวจนครบาลคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลจัน ดารา (ภาพยนตร์ทวิภาค)สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักรควยสาธุ (ละครโทรทัศน์)พุฒิพงศ์ อัสสรัตนกุลนิษฐา คูหาเปรมกิจสุภาพบุรุษชาวดินสุภาพบุรุษจุฑาเทพแมวแฮร์รี่ พอตเตอร์ปุญญ์ปรีดี คุ้มพร้อม รอดสวาสดิ์โปเตโต้ลาลิกาพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภัสสรวงศ์วัดปากน้ำ ภาษีเจริญรายชื่อสถานีรถไฟ สายใต้วรนุช ภิรมย์ภักดีสิเรียม ภักดีดำรงฤทธิ์หญิงรักร่วมเพศสุจินดา คราประยูรไล่ กวานหลินฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024ชาวยิวพีรวิชญ์ อรรถชิตสถาพรลิขิตกามเทพรายชื่อสมาชิกบีเอ็นเคโฟร์ตีเอตสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดชพงศธร จงวิลาสเอกซ์เจแปนกรรชัย กำเนิดพลอยประเทศอินโดนีเซียถนนข้าวสารแฮตทริก🡆 More