ประเทศชาด

15°N 19°E / 15°N 19°E / 15; 19

สาธารณรัฐชาด

République du Tchad (ฝรั่งเศส)
العربية تشاد (อาหรับ)
ตราแผ่นดินของชาด
ตราแผ่นดิน
คำขวัญUnité, Travail, Progrès
(ภาษาฝรั่งเศส: เอกภาพ แรงงาน การพัฒนา)
ที่ตั้งของชาด
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
อึนจาเมนา
12°06′N 16°02′E / 12.100°N 16.033°E / 12.100; 16.033
ภาษาราชการภาษาฝรั่งเศสและภาษาอาหรับ
การปกครองรัฐเดี่ยวแบบคณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง
• ประธานสภาทหารเปลี่ยนผ่าน
Mahamat Déby
• นายกรัฐมนตรี
Succès Masra
เอกราช
11 สิงหาคม พ.ศ. 2503
พื้นที่
• รวม
1,284,000 ตารางกิโลเมตร (496,000 ตารางไมล์) (20)
1.9
ประชากร
• 2020 ประมาณ
16,244,513 (70)
• สำมะโนประชากร 2009
11,039,873
8.6 ต่อตารางกิโลเมตร (22.3 ต่อตารางไมล์)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2018 (ประมาณ)
• รวม
$30 พันล้าน (123)
$2,428 (168)
จีดีพี (ราคาตลาด) 2018 (ประมาณ)
• รวม
$11 พันล้าน (130)
$890 (151)
จีนี (2011)43.3
ปานกลาง
เอชดีไอ (2019)ลดลง 0.398
ต่ำ · 187
สกุลเงินฟรังก์ซีเอฟเอ (XAF)
เขตเวลาUTC+1 (WAT)
ขับรถด้านขวา
รหัสโทรศัพท์+235
โดเมนบนสุด.td

ชาด (ฝรั่งเศส: Tchad; อาหรับ: تشاد, Tshād) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในแอฟริกากลาง มีอาณาเขตทางเหนือจดประเทศลิเบีย ทางตะวันออกจดประเทศซูดาน ทางใต้จดสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ทางตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศแคเมอรูนและประเทศไนจีเรีย และทางตะวันตกจดประเทศไนเจอร์ เนื่องจากมีระยะไกลจากทะเลและมีภูมิอากาศเป็นแบบทะเลทรายเป็นส่วนใหญ่ ประเทศจึงได้ชื่อว่าเป็น "หัวใจตายของแอฟริกา" (dead heart of Africa) ทางเหนือมีทิวเขาทิเบสตี (Tibesti Mountains) ซึ่งเป็นเทือกเขาที่ใหญ่ที่สุดในทะเลทรายสะฮารา เดิมเป็นส่วนหนึ่งของแอฟริกาศูนย์สูตรของฝรั่งเศส (Federation of French Equatorial Africa) มีชื่อตามทะเลสาบชาด (Lake Chad)

ประวัติศาสตร์

ชาดเป็นดินแดนที่เคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรโบราณที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของพ่อค้าชาวอาหรับ ฝรั่งเศสเข้ามาปกครองชาดเมื่อ พ.ศ. 2443 จนได้รับเอกราชเมื่อ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2503

ใน พ.ศ. 2509 กลุ่มมุสลิมทางภาคเหนือก่อกบฏต่อต้านรัฐบาลในภาคใต้ที่เป็นชาวคริสต์ รัฐบาลชาดเปิดให้กองทหารลิเบียเข้ามาในประเทศเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2523 และแสดงเจตนารมณ์จะรวมเข้ากับลิเบียเมื่อ 6 มกราคม พ.ศ. 2524 แต่ถูกฝรั่งเศสและหลายชาติในแอฟริกาคัดค้าน กองทหารลิเบียจึงถอนตัวออกไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2524 กบฏมุสลิมนำโดยฮาเบอร์เข้ายึดเมืองหลวงได้ใน พ.ศ. 2526 แต่ยังต้องต่อสู้กับฝ่ายตรงข้ามที่มีลิเบียหนุนหลัง ฝรั่งเศสเข้ามาสนับสนุนฮาเบอร์ ต่อมาฝรั่งเศสกับลิเบียตกลงจะถอนทหารออกจากชาดพร้อมกันภายในเดือนกันยายน พ.ศ. 2527 แต่ลิเบียยังคงทหารไว้ทางเหนือของชาดจนถูกทหารชาดขับออกไปในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2530

ชาดต้องประสบกับปัญหาสงครามกลางเมืองหลายครั้ง รวมถึงการบุกรุกดินแดนโดยลิเบีย และกลุ่มกบฏที่ดำเนินการก่อความไม่สงบอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์เริ่มพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นตั้งแต่ปี 2533 เป็นต้นมา เมื่อนาย Deby สถาปนาตนเองขึ้นเป็นประธานาธิบดี และได้ยกร่างและประกาศใช้รัฐธรรมนูญ และจัดให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2539 และปี 2544

อย่างไรก็ตาม ในปี 2548 ได้มีกลุ่มกบฏใหม่เกิดขึ้นทางชายแดนฝั่งตะวันตกของซูดาน และดำเนินการก่อความไม่สงบทางภาคตะวันออกของชาด ปัจจุบัน อำนาจทางการเมืองของประเทศยังคงตกอยู่ในมือของคนกลุ่มน้อยของประเทศ

ภูมิอากาศ

ภาคเหนือมีอากาศแบบทะเลทราย ทางภาคใต้มีอากาศร้อนชื้น ฝนตกมากในเดือนสิงหาคม และแห้งแล้งที่สุดในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงมีนาคม อากาศหนาวที่สุดในเดือนธันวาคม (ประมาณ 14-33 องศาเซลเซียส)

การเมืองการปกครอง

ชาดปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี นายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำรัฐบาล ได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี มีอำนาจในการเสนอชื่อแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีเพื่อทำหน้าที่บริหารประเทศ ฝ่ายนิติบัญญัติ ประกอบด้วยรัฐสภาระบบสองสภา มีสมาชิกสภา 155 คน มาจากการเลือกตั้งและดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี ในขณะที่วุฒิสมาชิกดำรงตำแหน่งคราวละ 6 ปี มีการเลือกตั้งทุก ๆ 2 ปี เพื่อทดแทนสมาชิก 1 ใน 3 ส่วนของสภาที่พ้นหน้าที่ ฝ่ายตุลาการประกอบด้วยศาลสูง ศาลอุทธรณ์ ศาลอาญา และศาลแขวง

ประธานาธิบดี Idriss Deby ซึ่งได้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีโดยการทำรัฐประหารในปี 2533 ได้ปกครองประเทศเรื่อยมา ทั้งนี้ ในเดือนมิถุนายน 2548 ประธานาธิบดี Idriss Deby ได้จัดให้มีการลงประชามติเพื่อปรับแก้รัฐธรรมนูญซึ่งยังผลให้ตนสามารถสมัครลงชิงชัยตำแหน่งประธานาธิบดีต่อได้เป็นสมัยที่ 3 และได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปีต่อมา และดำรงตำแหน่งมาจนถึงปัจจุบัน ท่ามกลางกระแสคัดค้านของพวกกบฏที่ยังคงใช้ความรุนแรงในความพยายามโค่นล้มรัฐบาลคว

นโยบายต่างประเทศ

สถานการณ์ความไม่สงบในภูมิภาคแอฟริกากลางส่งผลอย่างยิ่งต่อสถานะของชาดในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ชาดต้องรับภาระผู้ลี้ภัยจากการสู้รบในสาธารณรัฐแอฟริกากลางและซูดาน ทั้งยังมีความสัมพันธ์ที่ยังคงอยู่ในระดับเสื่อมทรามกับกับซูดาน ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านทางตะวันออกซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกันยาวที่สุดถึง 1,360 กิโลเมตร ทั้งสองประเทศกล่าวหากันและกันว่าให้การสนับสนุนกลุ่มกบฏที่ต่อต้านรัฐบาล ล่าสุด ชาดได้ปิดพรมแดนและตัดความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจกับซูดาน เพื่อตอบโต้การที่ซูดานตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับชาดในปี 2549

ในปี 2550 สภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้มีมติให้กองกำลังรักษาสันติภาพร่วมแห่งสหประชาชาติและสหภาพยุโรป (UN-European Union peacekeeping force) ทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองประชาชนจากผลกระทบของการสู่รบในดาร์ฟูร์ ประเทศซูดาน ต่อมา ในเดือนมกราคม 2551 สหภาพยุโรปได้เห็นชอบให้จัดตั้งกองกำลังรักษาสันติภาพขึ้นเพื่อให้ความคุ้มครองแก่ผู้ลี้ภัยจากการสู้รบในดาร์ฟูร์

ความสัมพันธ์ระหว่างชาดกับฝรั่งเศสยังคงเป็นไปด้วยดี ที่ผ่านมา ฝรั่งเศสได้ส่งกองกำลังเข้ามาช่วยปราบปรามกลุ่มกบฏ และให้ความช่วยเหลือชาดในด้านต่าง ๆ อยู่เสมอ

การที่ชาดผันตัวมาเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา ทำให้ต่างประเทศให้ความสนใจเข้ามาลงทุนในชาดมากขึ้น รัฐบาลชาดเองก็ได้ปรับกฎหมายเกี่ยวกับการลงทุนและค้าขายน้ำมันให้มีความผ่อนปรนมากขึ้นเพื่อรองรับการลงทุนจากต่างชาติ

การแบ่งเขตการปกครอง

18 เขตได้แก่

  1. Batha
  2. Borkou-Ennedi-Tibesti
  3. Chari-Baguirmi
  4. Guera
  5. Hadjer-Lamis
  6. Kanem
  7. Lac
  8. Logone Occidental
  9. Logone Oriental
  10. Mandoul
  11. Mayo-Kebbi Est
  12. Mayo-Kebbi Ouest
  13. Moyen-Chari
  14. Ouaddai
  15. Salamat
  16. Tandjile
  17. Ville de N'Djamena
  18. Wadi Fira

ประชากร

ศาสนา

อิสลามร้อยละ 53.1 คริสต์ร้อยละ 34.3 (คาทอลิกร้อยละ 20.1 โปรเตสแตนต์ร้อยละ 14.2) อื่น ๆ ร้อยละ 12.6

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

ประเทศชาด ประวัติศาสตร์ประเทศชาด ภูมิอากาศประเทศชาด การเมืองการปกครองประเทศชาด นโยบายต่างประเทศประเทศชาด การแบ่งเขตการปกครองประเทศชาด ประชากรประเทศชาด อ้างอิงประเทศชาด แหล่งข้อมูลอื่นประเทศชาด

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

สิ่งเล็กเล็กที่เรียกว่า...รักโหราศาสตร์ไทยกรณ์นภัส เศรษฐรัตนพงศ์เอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024ใหม่ เจริญปุระภาษามลายูสโมสรฟุตบอลลูตันทาวน์ปานปรีย์ พหิทธานุกรกกศุภชัย สุวรรณอ่อนสมณศักดิ์การ์โล อันเชลอตตีอินสตาแกรมพระครูภาวนาภิรัต (ทิม อิสริโก)ภาคกลาง (ประเทศไทย)ประเทศตุรกีสิเรียม ภักดีดำรงฤทธิ์คิมเบอร์ลี่ แอน โวลเทมัสธีรเดช เมธาวรายุทธวรกมล ชาเตอร์รายพระนามพระมหากษัตริย์ไทยปลาออสการ์ฟุตบอลทีมชาติไทยโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาคณวัสน์ ภู่พันธัชสีห์แปลก พิบูลสงครามอังศุมาลิน สิรภัทรศักดิ์เมธาพุฒิพงศ์ อัสสรัตนกุลทิพนารี วีรวัฒโนดมเพลงชาติไทยธัญญ์ ธนากรประเทศเวียดนามเขมนิจ จามิกรณ์สโมสรฟุตบอลคอเวนทรีซิตีจังหวัดชุมพรโชกุน (ละครโทรทัศน์ปี 2024)นิชคุณ ขจรบริรักษ์รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานครอริยบุคคลประเทศอิหร่านจังหวัดของประเทศไทยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงยอดนักสืบจิ๋วโคนันฉบับภาพยนตร์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกัญญาวีร์ สองเมืองวรินทร ปัญหกาญจน์ออแล็งปิกลียอแนเอราวัณ การ์นิเยร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชชัยพล จูเลียน พูพาร์ตรายชื่อช่องที่มียอดติดตามสูงสุดในยูทูบพรหมวิหาร 4สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโตอดอล์ฟ ฮิตเลอร์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารสมเด็จพระนารายณ์มหาราชคาราบาวแจ๊ส ชวนชื่นมารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยาสงครามโลกครั้งที่สองเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์นวลพรรณ ล่ำซำไลแคน (บอยแบนด์)จังหวัดของประเทศเกาหลีใต้หม่ำ จ๊กมกจังหวัดจันทบุรีมหาวิทยาลัยมหิดลรินลณี ศรีเพ็ญปิยวดี มาลีนนท์X-เม็น (ภาพยนตร์ชุด)ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เปรียญธรรมภาษาเกาหลีจังหวัดสมุทรสาครศิริลักษณ์ คองฝ่ายข่าว ช่อง 3 เอชดีข้าราชการพลเรือนสามัญ🡆 More