แอลี ฆอเมเนอี: ผู้นำสูงสุดอิหร่าน

เซย์เยด แอลี โฮเซย์นี ฆอเมเนอี (Sayyid Ali Hosseini Khamenei, เปอร์เซีย: سید علی حسینی خامنه‌ای ; เกิด 19 เมษายน 1939) เป็นมัรเญียะอ์ชีอะฮ์สิบสองอิมาม และเป็นผู้นำสูงสุดอิหร่านคนที่สองและคนปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี 1989 เขาเคยดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอิหร่านระหว่างปี 1981 ถึง 1989 ฆอเมเนอีถือเป็นประมุขแห่งรัฐที่อยู่ในตำแหน่งนานเป็นอันดับสองในตะวันออกกลาง

เซย์เยด แอลี โฮเซย์นี ฆอเมเนอี
سید علی حسینی خامنه‌ای
แอลี ฆอเมเนอี: ผู้นำสูงสุดอิหร่าน
ผู้นำสูงสุดอิหร่าน คนที่ 2
เริ่มดำรงตำแหน่ง
4 มิถุนายน ค.ศ. 1989
(34 ปี 293 วัน)
ประธานาธิบดี
ก่อนหน้ารูฮุลลอฮ์ โคมัยนี
ประธานาธิบดีอิหร่าน คนที่ 3
ดำรงตำแหน่ง
13 ตุลาคม ค.ศ. 1981 – 3 สิงหาคม ค.ศ. 1989
(7 ปี 294 วัน)
นายกรัฐมนตรีMir-Hossein Mousavi
ผู้นำสูงสุดรูฮุลลอฮ์ โคมัยนี
ก่อนหน้าโมแฮมแมดแอลี แรจออี
ถัดไปแอกแบร์ ฮอเชมี แรฟแซนจอนี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
Sayyed Ali Hosseini Khameneh

(1939-04-19) 19 เมษายน ค.ศ. 1939 (84 ปี)
แมชแฮด โฆรอซอนแรแซวี, อิหร่าน
ศาสนาอิสลามนิกายชีอะฮ์ (อิมาม)
พรรคการเมืองอิสระ
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
  • พรรคสาธารณรัฐอิสลาม (1979–1987)
  • Combatant Clergy Association (1977–1989)
คู่สมรสKhojaste Bagherzadeh (m. 1964)
บุตร6 คน
ความสัมพันธ์Hadi Khamenei (brother)
ลายมือชื่อแอลี ฆอเมเนอี: ผู้นำสูงสุดอิหร่าน
เว็บไซต์english.khamenei.ir
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัดกองพิทักษ์ปฏิวัติอิสลาม
ประจำการค.ศ. 1979–1980
บังคับบัญชาประมุขกองพิทักษ์ปฏิวัติอิสลาม

เว็บไซต์ชีวประวัติทางการระบุว่า ฆอเมเนอีเคยถูกจับกุมหกครั้งก่อนที่จะถูกเนรเทศออกนอกประเทศเป็นเวลาสามปีในรัชสมัยพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี เขาเคยตกเป็นเป้าหมายการลอบสังหารในปีค.ศ. 1981 ซึ่งทำให้แขนขวาเขาเป็นอัมพาต ฆอเมเนอีมีวิถีชีวิตที่น่านับถือ ใช้ชีวิตอย่างสมถะและไม่โปรดความหรูหรา สำนักข่าว The Telegraph ระบุว่าเขา "มีกิตติศัพท์เรื่องวิถีชีวิตเยี่ยงนักรบ" ตำแหน่งผู้นำสูงสุดนี้เป็นตำแหน่งที่ไม่มีเงินเดือนประจำ ผู้ใกล้ชิดระบุว่าฆอเมเนอีมีเงินเก็บอยู่บ้างแต่ก็ไม่ถึงกับว่าร่ำรวย ถึงแม้ชีวิตส่วนตัวเขาจะไม่ร่ำรวย แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าด้วยตำแหน่งของฆอเมเนอี เขามีอำนาจควบคุมเหนือบริษัทยักษ์ใหญ่ของอิหร่านที่มีมูลค่ารวมกันกว่าแสนล้านดอลลาร์สหรัฐ

ฆอเมเนอีเป็นบุคคลสำคัญผู้ใกล้ชิดของอายะตุลลอหฺรูฮุลลอฮ์ โคมัยนี ผู้นำในการปฏิวัติอิสลาม ฆอเมเนอีเป็นผู้นำแถวหน้าของอิหร่านในช่วงสงครามอิรัก–อิหร่านในคริสต์ทศวรรษที่ 1980 เขาสร้างสัมพันธ์แนบแน่นกับกองพิทักษ์ปฏิวัติอิสลาม ซึ่งเป็นเหล่าทัพที่ทรงอำนาจในปัจจุบัน และเขามีอำนาจเลือกและปลดผู้บัญชาการกองพิทักษ์ปฏิวัติฯได้โดยตรง องค์กรนี้คอยเป็นหูเป็นตาและปราบปรามผู้ต่อต้านอำนาจรัฐ ฆอเมเนอีได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนที่สามในปี 1981 และกลายเป็นมือขวาของผู้นำสูงสุดอายะตุลลอหฺโคมัยนี ต่อมาเมื่อผู้นำสูงสุดโคมัยนีถึงแก่อสัญกรรม สมัชชาบัณฑิตได้ลงมติเลือกฆอเมเนอีเป็นผู้นำสูงสุดคนใหม่ในวันที่ 4 มิถุนายน 1989 ขณะที่เขามีอายุ 49 ปี

ในฐานะผู้นำสูงสุดอิหร่าน ฆอเมเนอีมีสถานะทั้งประมุขแห่งรัฐและผู้บัญชาการสูงสุดกองทัพ มีอำนาจปลดประธานาธิบดีหรือรัฐมนตรีได้โดยไม่ต้องผ่านสภา ทำให้เขาเป็นผู้มีอำนาจที่สุดในประเทศโดยปริยาย นอกจากนี้เขายังเป็นผู้ตัดสินใจเรื่องสำคัญของรัฐบาลอิหร่าน ทั้งการแต่งตั้งรัฐมนตรีคนสำคัญ หรือการเห็นชอบนโยบายสำคัญ ตลอดเป็นผู้วางยุทธศาสตร์ชาติ เขามีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมเหนือฝ่ายบริหาร, ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ รวมถึงกองทัพและสื่อมวลชน ในปี 2014 ฟอบส์ จัดให้เขาเป็นบุคคลที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก อันดับที่ 19

ที่ผ่านมามีการชุมนุมประท้วงระบอบการปกครองของฆอเมเนอีหลายครั้ง ได้แก่ในปี 1994, 1999, 2009, 2011–2012, 2017–2018 และ 2018–2019 อย่างไรก็ตาม ทุกครั้งล้วนจบลงด้วยการปราบปราม บรรณาธิการข่าว, นักเขียน และบุคคลจำนวนมากถูกจับกุมโทษฐานหมิ่นผู้นำสูงสุด มีอีกจำนวนไม่น้อยที่ตั้งข้อหาว่าดูหมิ่นศาสนา บุคคลเหล่านี้ได้รับโทษด้วยการเฆี่ยนหรือจำคุก มีหลายรายที่เสียชีวิตขณะถูกคุมขัง

อ้างอิง

Tags:

ชีอะฮ์สิบสองอิมามประธานาธิบดีอิหร่านประมุขแห่งรัฐผู้นำสูงสุดอิหร่านภาษาเปอร์เซียมัรเญี้ยะอ์ตักลีด

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกไบเออร์ 04 เลเวอร์คูเซินปิยะพงษ์ ผิวอ่อนณัฐวรรธน์ จิโรชน์ธิกุลศิรพันธ์ วัฒนจินดาอนิเมะนริลญา กุลมงคลเพชรโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าฮวัง ฮี-ชันออลเทอร์นาทิฟร็อกดาวิกา โฮร์เน่เซเว่น อีเลฟเว่นพ.ศ. 2567โทกูงาวะ อิเอยาซุท้าวสุรนารีดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)มหาวิทยาลัยกรุงเทพกระทรวงสาธารณสุข (ประเทศไทย)เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มหาวิทยาลัยบูรพาซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์จังหวัดสุราษฎร์ธานีแอน ทองประสมแสนชัย2เข็มอัปสร สิริสุขะโชกุนราชวงศ์ในประวัติศาสตร์จีนชาคริต แย้มนามประเทศเนเธอร์แลนด์บริษัทPremier Leagueจังหวัดระยองประเทศกัมพูชาศาสนาพุทธเอเชียนเกมส์ 1998ไทยรัฐราชวงศ์จักรีประเทศญี่ปุ่นโทโยโตมิ ฮิเดโยชิฟุตบอลทีมชาติฮังการีรายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยเปรม ติณสูลานนท์กัณวีร์ สืบแสงรายชื่อตอนในวันพีซ (อนิเมะ)แมวสัปเหร่อ (ภาพยนตร์)พันทิป.คอมจังหวัดอุบลราชธานีกรมการปกครองรายชื่อนักฟุตบอลทีมชาติไทยสุภัคชญา ชาวคูเวียงฐสิษฐ์ สินคณาวิวัฒน์รายชื่อตอนในนารูโตะ ตำนานวายุสลาตันประเทศอิตาลีเพื่อน(ไม่)สนิทวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารมาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ธงชาติไทยสามก๊กจำนวนเฉพาะอนุทิน ชาญวีรกูลรายชื่อจังหวัดของประเทศไทยเรียงตามพื้นที่สฤษดิ์ ธนะรัชต์ภูมิภาคของประเทศไทยเอกซ์เอกซ์เอกซ์เทนเทสซิยอนอาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)จุฑาวัชร วิวัชรวงศ์โฟร์อีฟอักษรไทยรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดปทุมธานีศิริลักษณ์ คองนามสกุลพระราชทานโรงเรียนชลกันยานุกูลนิวจีนส์โรนัลโด🡆 More