การรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย

รัสเซียรุกรานยูเครนเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.

2565 เป็นการยกระดับความรุนแรงของสงครามรัสเซีย–ยูเครน ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่ พ.ศ. 2557 การรุกรานทำให้เกิดวิกฤตผู้ลี้ภัยครั้งใหญ่ที่สุดของยุโรปนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง โดยมีชาวยูเครน 6.9 ล้านคนเดินทางออกนอกประเทศ และหนึ่งในสามกลายเป็นประชากรพลัดถิ่น ขณะเดียวกันรัสเซียเผชิญกับการอพยพออกนอกประเทศครั้งใหญ่สุดนับแต่การปฏิวัติเดือนตุลาคมในปี 2460 และยังทำให้เกิดภาวะขาดแคลนอาหารทั่วโลก

การรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย พ.ศ. 2565
ส่วนหนึ่งของ สงครามรัสเซีย-ยูเครน
การรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย
สถานการณ์ทางทหาร ณ วันที่ 17 เมษายน
       ควบคุมโดยยูเครน
       ครอบครองโดยรัสเซีย

วันที่24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 (2022-02-24) – ปัจจุบัน
(2 ปี 1 เดือน 24 วัน)
สถานที่
สถานะ ดำเนินอยู่ (รายชื่อปฏิบัติการ · การควบคุมเมือง · เส้นเวลาของเหตุการณ์)
คู่สงคราม
ธงของประเทศยูเครน ยูเครน
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
หน่วยที่เกี่ยวข้อง
การจัดขบวนรบ การจัดขบวนรบ
กำลัง
  • การรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย รัสเซีย: ~175,000–190,000
  • การรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย ดอแนตสก์: 20,000
  • การรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย ลูฮันสก์: 14,000
  • การรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย ยูเครน:
    • 196,600 (กองทัพ)
    • 102,000 (กำลังกึ่งทหาร)
การประมาณกำลัง ณ ช่วงเริ่มต้นของการรุกราน
ความสูญเสีย
จำนวนที่รายงานมีหลากหลายมาก
ดูรายละเอียดที่ การบาดเจ็บล้มตายและผลกระทบด้านมนุษยธรรม

ในช่วงเริ่มต้นของสงครามรัสเซีย-ยูเครนใน พ.ศ. 2557 รัสเซียได้ผนวกดินแดนไครเมีย และกลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่ได้รับการสนับสนุนจากรัสเซียเข้ายึดพื้นที่บางส่วนของภูมิภาคดอนบัส ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของยูเครน ทำให้เกิดสงครามระดับภูมิภาคที่นั่น ใน พ.ศ. 2564 รัสเซียได้เริ่มต้นสร้างกองทัพขนาดใหญ่ตามแนวชายแดนที่มีพรมแดนติดกับยูเครน ซึ่งรวบรวมทหารได้ถึง 190,000 นาย พร้อมกับยุทโธปกรณ์ ในการออกอากาศก่อนการรุกรานไม่นาน วลาดีมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย ได้สนับสนุนการเรียกร้องดินแดนคืน, ตั้งคำถามเกี่ยวกับสิทธิในการมีสถานะเป็นมลรัฐของยูเครน และกล่าวหาอย่างผิด ๆ ว่ายูเครนถูกปกครองโดยนีโอนาซีซึ่งข่มเหงชนกลุ่มน้อยชาวรัสเซีย ปูตินยังกล่าวอีกว่าองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (เนโท) เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของรัสเซีย โดยการขยายไปทางตะวันออกตั้งแต่ช่วงต้นพุทธทศวรรษ 2543 ซึ่งเนโทโต้แย้ง รัสเซียเรียกร้องให้เนโทยุติการขยายตัวและกีดกันยูเครนจากการเข้าร่วมเป็นพันธมิตรอย่างถาวร สหรัฐและประเทศอื่น ๆ กล่าวหาว่ารัสเซียวางแผนโจมตีหรือรุกรานยูเครน ซึ่งเจ้าหน้าที่รัสเซียปฏิเสธซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนถึงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 รัสเซียได้รับรองสาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์และสาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์ซึ่งเป็นสองรัฐที่ประกาศตนเองในดอนบัสที่ควบคุมโดยกลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่สนับสนุนรัสเซีย วันรุ่งขึ้น สภาสหพันธรัฐรัสเซียอนุญาตให้ใช้กำลังทหารในต่างประเทศ และกองทหารรัสเซียได้เข้าไปยังดินแดนทั้งสองอย่างเปิดเผย การรุกรานเริ่มขึ้นในเช้าวันที่ 24 กุมภาพันธ์ เมื่อปูตินประกาศ "ปฏิบัติการทางทหารพิเศษ" เพื่อ "ลบล้างอิทธิพลของนาซีออกจาก" ยูเครน ไม่กี่นาทีต่อมา ขีปนาวุธและการโจมตีทางอากาศได้โจมตีทั่วยูเครน รวมทั้งเคียฟ เมืองหลวง ตามมาด้วยการโจมตีภาคพื้นดินขนาดใหญ่จากหลายทิศทาง วอลอดือมือร์ แซแลนสกึย ประธานาธิบดียูเครน ตอบสนองโดยการประกาศใช้กฎอัยการศึกและการระดมพลทั่วไปของพลเมืองยูเครนชายทั้งหมดที่มีอายุระหว่าง 18 ถึง 60 ปี ซึ่งถูกห้ามไม่ให้ออกนอกประเทศ

ในช่วงแรกของการรุกราน การโจมตีของรัสเซียได้เริ่มต้นขึ้นที่แนวรบด้านเหนือจากเบลารุสไปยังเคียฟ, แนวรบด้านตะวันออกเฉียงเหนือไปที่คาร์กิว, แนวรบด้านใต้จากไครเมีย และแนวรบด้านตะวันออกเฉียงใต้จากเมืองลูฮันสก์และดอแนตสก์ ช่วงเดือนมีนาคม การรุกของรัสเซียไปยังเคียฟหยุดชะงัก ท่ามกลางความสูญเสียและการต่อต้านอย่างแข็งแกร่งของยูเครน กองทหารรัสเซียก็ถอยทัพจากแคว้นเคียฟ ภายในวันที่ 3 เมษายน เมื่อวันที่ 8 เมษายน รัสเซียประกาศว่ากำลังของตนในยูเครนตอนใต้และตะวันออกจะอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของนายพลอะเลคซันดร์ ดวอร์นีคอฟ และหน่วยบางหน่วยที่ถอนตัวออกจากยูเครนตอนเหนือก็ถูกส่งไปยังดอนบัสอีกครั้ง เมื่อวันที่ 19 เมษายน รัสเซียได้เริ่มการโจมตีครั้งใหม่ในบริเวณแนวรบยาว 500 กิโลเมตร ซึ่งทอดยาวจากคาร์กิวไปยังดอแนตสก์และลูฮันสก์ ด้วยการโจมตีด้วยขีปนาวุธพร้อมกันที่มุ่งเป้าไปที่ทางตอนเหนือของเคียฟและเมืองลวิวในทางตะวันตกของยูเครน เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม กองกำลังรัสเซียที่อยู่ใกล้เมืองคาร์กิวได้ถอนกำลังออกหลังจากการโจมตีตอบโต้ของยูเครน เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม มารีอูปอลถูกกองทหารรัสเซียยึดหลังจากการล้อมโรงงานเหล็กอาซอว์สตัลเป็นเวลานาน วันที่ 19 เมษายน รัสเซียเปิดฉากการโจมตีรอบใหม่ในภูมิภาคดอนบัส โดยแคว้นลูฮันสก์ถูกยึดทั้งหมดในวันที่ 3 กรกฎาคม กองกำลังรัสเซียยังคงทิ้งระเบิดใส่เป้าหมายทางทหารและพลเรือนที่อยู่ห่างจากแนวหน้า กองกำลังรัสเซียเปิดฉากการรุกโต้ตอบในภาคใต้เมื่อเดือนสิงหาคม และในภาคตะวันออกในเดือนกันยายน

การรุกรานได้รับการประณามอย่างกว้างขวางจากนานาชาติว่าเป็นการกระทำที่ก้าวร้าว สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้มีมติที่เรียกร้องให้รัสเซียถอนกำลังทั้งหมด ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศสั่งให้รัสเซียระงับปฏิบัติการทางทหารและสภายุโรปขับไล่รัสเซีย หลายประเทศกำหนดมาตรการคว่ำบาตรใหม่ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของรัสเซียและทั่วโลก และให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการทหารแก่ยูเครน การประท้วงเกิดขึ้นทั่วโลก; ผู้ที่อยู่ในรัสเซียถูกจับกุมเป็นจำนวนมากและมีการเซ็นเซอร์สื่อ, รวมถึงการห้ามใช้คำว่า "สงคราม" และ "การรุกราน" บริษัทหลายแห่งถอนผลิตภัณฑ์และบริการของตนออกจากรัสเซียและเบลารุส และสื่อที่ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐของรัสเซียถูกห้ามไม่ให้ออกอากาศและนำออกจากแพลตฟอร์มออนไลน์ ศาลอาญาระหว่างประเทศเปิดการสอบสวนอาชญากรรมสงครามที่เกิดขึ้นในยูเครนตั้งแต่การปฏิวัติศักดิ์ศรีใน พ.ศ. 2556–2557 ไปจนถึงอาชญากรรมสงครามในการรุกราน พ.ศ. 2565

ภูมิหลัง

ยุคหลังสหภาพโซเวียต

หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต เมื่อปี 2534 ยูเครนและรัสเซียก็ยังคงมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดต่อกัน โดยยูเครนยินยอมที่จะปลดอาวุธนิวเคลียร์ในประเทศและยอมรับรายงานกรุงบูดาเปสต์เรื่องการประกันความมั่นคง ภายใต้เงื่อนไขว่ารัสเซีย สหรัฐ และสหราชอาณาจักรจะต้องไม่ใช้กำลังเพื่อละเมิดดินแดนหรืออธิปไตยของยูเครน ในปี 2542 รัสเซียเป็นผู้ลงนามกฎบัตรความมั่นคงยุโรป ซึ่งยืนยันว่าชาติยุโรปมีอิสระในการเลือกหรือเปลี่ยนการจัดการด้านความมั่นคงของตนเองได้ ประเทศยุโรปตะวันออกรวม 14 ประเทศเข้าร่วมกับเนโทซึ่งมีเหตุผลบางส่วนมาจากภัยคุกคามด้านความมั่นคงส่วนภูมิภาคจากรัสเซีย ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตรัฐธรรมนูญรัสเซียปี 2536 สงครามในอับฮาเซียหรือสงครามเชเชนครั้งที่ 1 ผู้นำรัสเซียอ้างว่าการรับสมาชิกเพิ่มของเนโทเป็นการละเมิดการรับประกันอย่างไม่เป็นทางการว่าเนโทจะไม่ขยายตัวมาทางตะวันออก

ต่อมาใน พ.ศ. 2551 วลาดีมีร์ ปูติน ออกมาเรียกร้องต่อต้านไม่ให้ยูเครนเข้าร่วมองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือเนโท เหตุการณ์นี้ทำให้มีนักวิเคราะห์มองว่า รัสเซียต้องการที่จะฟื้นฟูลัทธิเบรจเนฟ ซึ่งจำกัดอธิปไตยของยูเครนไว้ไม่ให้เหนือกว่าชาติอื่น ๆ ในกลุ่มกติกาสัญญาวอร์ซอ เมื่อครั้งที่ยูเครนยังอยู่ใต้อำนาจของสหภาพโซเวียต

การปฏิวัติยูเครน

ในปี 2556 เกิดการประท้วงยูโรไมดาน ทำให้วิกตอร์ ยานูกอวึช ประธานาธิบดีของยูเครนในขณะนั้น เซ็นสัญญากับฝ่ายค้าน เพื่อจัดเลือกตั้งใหม่ ยานูกอวึชหลบหนีออกจากกรุงเคียฟก่อนที่จะถูกถอดถอนเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 แต่ยังคงมีผู้นำจากบริเวณยูเครนตะวันออกที่ให้ความเคารพในตัวเขาอยู่ ทำให้เกิดความขัดแย้งนิยมรัสเซีย ตามมาด้วยการผนวกไครเมียของประเทศรัสเซีย และนำไปสู่การจัดตั้งสาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์และลูฮันสก์ที่บริเวณดอนบัส

เหตุการณ์ก่อนเกิดสงคราม

ความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้น (มีนาคม พ.ศ. 2564 – กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565)

การรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย 
พลร่มของสหรัฐจากกองพันที่ 2 กรมทหารราบที่ 503 ออกจากฐานทัพอากาศอาวีอาโนไปยังลัตเวียในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 มีกองกำลังสหรัฐหลายพันนายถูกส่งไปยังยุโรปตะวันออก ท่ามกลางการเสริมกำลังทหารของรัสเซีย

นับตั้งแต่เดือนมีนาคมจนถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2564 รัสเซียเริ่มเสริมกำลังทหารครั้งใหญ่ใกล้กับพรมแดนรัสเซีย–ยูเครน ซึ่งตามมาด้วยการเสริมกำลังทหารครั้งที่สองระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ทั้งในรัสเซียและเบลารุส ระหว่างการเสริมกำลังเหล่านี้ รัฐบาลรัสเซียได้ออกมาปฏิเสธหลายครั้งว่ามีแผนที่จะรุกรานหรือโจมตียูเครน บรรดาผู้ที่ออกมาปฏิเสธเรื่องดังกล่าวรวมถึงดมีตรี เปสคอฟ โฆษกรัฐบาล ในวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564, เซียร์เกย์ เรียบคอฟ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2564, อะนาโตลี อันโตนอฟ เอกอัครราชทูตรัสเซียประจำสหรัฐ ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 และ อะเลคซันดร์ ซเมเยฟสกี เอกอัครราชทูตรัสเซียประจำเช็กเกีย ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

นีโคไล ปาตรูเชฟ หัวหน้าที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของประธานาธิบดีปูติน ซึ่งเชื่อว่าฝ่ายตะวันตกทำสงครามกับรัสเซียมาเป็นเวลาหลายปีโดยที่ไม่ได้ประกาศสงคราม เป็นบุคคลสำคัญที่อยู่เบื้องหลังของยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติฉบับปรับปรุงของรัสเซียซึ่งได้รับการเผยแพร่ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 โดยได้ระบุไว้ว่า รัสเซียอาจใช้ "วิธีการขั้นรุนแรง" เพื่อ "ขัดขวางหรือป้องกันการกระทำที่ไม่เป็นมิตรที่คุกคามอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนสหพันธรัฐรัสเซีย"

ในช่วงต้นเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 หลังจากที่รัสเซียออกมาปฏิเสธเรื่องดังกล่าว สหรัฐได้เผยแพร่ข่าวกรองเกี่ยวกับแผนการรุกรานของรัสเซีย ซึ่งรวมไปถึงภาพถ่ายทางดาวเทียมที่แสดงถึงกองกำลังและยุทโธปกรณ์ของรัสเซียที่อยู่ใกล้กับพรมแดนรัสเซีย–ยูเครน หน่วยข่าวกรองรายงานว่ามีการจัดทำรายชื่อสถานที่และบุคคลสำคัญที่จะถูกสังหารหรือถูกตัดรอนกำลังเมื่อมีการรุกราน สหรัฐยังคงเผยแพร่รายงานที่คาดการณ์ถึงแผนการรุกรานยูเครนได้อย่างถูกต้องแม่นยำ

สถานการณ์

การรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย 
     ดินแดนใต้การปกครองของยูเครน      ดินแดนใต้การปกครองของรัสเซีย

แนวรบตอนเหนือ

กองทัพรัสเซียมีความพยายามที่จะเข้ายึดครองเมืองเคียฟ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของยูเครน โดยการเคลื่อนทัพหลักเข้ามาจากทางประเทศเบลารุส บุกเข้ามาตามฝั่งตะวันตกของแม่น้ำนีเปอร์เพื่อเข้าปิดล้อมเคียฟ โดยมีทัพย่อยอีกสองทัพเคลื่อนเข้ามาจากฝั่งตะวันออกของแม่น้ำนีเปอร์เพื่อให้การสนับสนุน ได้แก่ กองทัพที่เมืองแชร์นีฮิวและกองทัพที่เมืองซูมือ เคลื่อนเข้ามาเพื่อช่วยปิดล้อมเคียฟจากฝั่งตะวันออก

ในวันแรกที่รัสเซียเริ่มรุกรานยูเครน รัสเซียสามารถยึดครองเชอร์โนบิลและปรือปิยัจซึ่งเป็นเมืองร้างได้สำเร็จ การเคลื่อนทัพของรัสเซียชะลอลงที่เมืองอีวันกิว ซึ่งตั้งอยู่ที่บริเวณชานเมืองเคียฟ รัสเซียพยายามที่จะยึดครองเคียฟให้ได้ในเวลาอันสั้น โดยทำการโจมตีสนามบินสองแห่งใกล้เคียฟ และส่งหน่วยรบพิเศษสเปซนาซเข้าไปแทรกซึมเคียฟ แต่ความพยายามดังกล่าวล้มเหลว นอกจากนี้ รัสเซียยังพยายามที่จะลอบสังหารประธานาธิบดียูเครนด้วย โดยส่งกองกำลังทหารรับจ้างและทหารจากเชชเนียเข้าไปปฏิบัติการ แต่ความพยายามดังกล่าวก็ล้มเหลวเช่นกัน โดยยูเครนอ้างว่ามีเจ้าหน้าที่ในหน่วยข่าวกรองของรัสเซียคอยให้ข้อมูลเกี่ยวกับปฏิบัติการดังกล่าว ทำให้ยูเครนสามารถขัดขวางแผนการได้สำเร็จ

แนวรบตะวันออกเฉียงเหนือ

เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 กองทัพรัสเซียสามารถเคลื่อนเข้าแคว้นแชร์นีฮิวที่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของยูเครนและปิดล้อมเมืองแชร์นีฮิวได้สำเร็จ ในวันถัดมา รัสเซียได้บุกเข้าเมืองกอนอตอป และสามารถยึดครองเมืองได้สำเร็จ

ในวันเดียวกัน มีการเคลื่อนทัพเข้าแคว้นซูมือ และหน่วยรบของรัสเซียได้เข้าโจมตีเมืองซูมือ ซึ่งอยู่ห่างจากพรมแดนรัสเซีย–ยูเครนแค่ 35 กิโลเมตร แต่การเคลื่อนทัพของรัสเซียในบริเวณนี้ก็หยุดลงเนื่องจากเกิดการสู้รบอย่างหนักในเมืองซูมือ แหล่งข่าวในประเทศยูเครนอ้างว่า ยานหุ้มเกราะของรัสเซียถูกทำลายมากกว่าหนึ่งร้อยคัน และมีทหารนับสิบนายถูกจับได้สำเร็จ ในวันเดียวกัน มีรายงานว่าเมืองออคตือร์กาก็ถูกโจมตีเช่นกัน และมีรายงานว่ากองทัพรัสเซียมีการใช้ระเบิดสุญญากาศเพื่อโจมตีเมือง

เมื่อวันที่ 4 มีนาคม นายเฟรเดอริก เคแกน นักวิชาการชาวอเมริกัน เขียนวิเคราะห์สถานการณ์ในยูเครนว่า การรุกรานยูเครนของรัสเซียที่เมืองซูมือ “ถือเป็นการรุกรานที่ประสบความสำเร็จและอันตรายมากที่สุดในความพยายามที่จะรุกรานเคียฟ” นายเฟรเดอริกยังให้ความเห็นว่า สภาพทางภูมิศาสตร์ของบริเวณนั้นทำให้กองทัพรัสเซียได้เปรียบ เพราะเป็นพื้นที่โล่ง เรียบ และมีประชากรไม่หนาแน่น กองทัพรัสเซียจึงสามารถเคลื่อนอาวุธและเครื่องจักรกลได้ง่าย ส่วนฝ่ายยูเครนจะหาตำแหน่งป้องกันการรุกรานได้ยาก

แนวรบตะวันออก

ที่ภาคตะวันออกของยูเครน กองทัพรัสเซียพยายามเข้ายึดครองเมืองคาร์กิว ซึ่งอยู่ห่างจากพรมแดนแค่ 35 กิโลเมตร ในระหว่างการสู้รบ รถถังของรัสเซียต้องเจอกับการต่อต้านอย่างหนักจากยูเครน และเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ กองทัพรัสเซียก็ทำการยิงขีปนาวุธใส่เมืองคาร์กิว ทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายคน ที่ปรึกษาของประธานาธิบดียูเครนเรียกยุทธการครั้งนี้ว่า “สตาลินกราดแห่งศตวรรษที่ 21”

เช้าวันที่ 25 กุมภาพันธ์ กองทัพรัสเซียทำการเคลื่อนทัพเข้ามาจากสาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์เพื่อเข้าโจมตีเมืองมารีอูปอล แต่เกิดการปะทะกับกองทัพยูเครนที่หมู่บ้านปาฟโลปีล ทำให้กองทัพรัสเซียพ่ายแพ้ไป ในคืนวันนั้น กองทัพเรือของรัสเซียทำการโจมตีชายฝั่งทะเลอะซอฟ ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองมารีอูปอลไปทางตะวันตกประมาณ 70 กิโลเมตร เจ้าหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ ระบุว่า กองทัพรัสเซียอาจทำการเคลื่อนพลนับพันคนขึ้นบกที่ชายฝั่งดังกล่าว ต่อมาในวันที่ 1 มีนาคม ผู้นำของสาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์ ระบุว่ากองทัพของดอแนตสก์สามารถล้อมเมืองวอลนอวาคาได้สำเร็จ ในวันที่ 2 มีนาคม กองทัพรัสเซียถูกผลักดันออกจากเมืองซีวีโรดอแนตสก์ หลังเกิดการปะทะกันที่เมืองดังกล่าว

จนถึงวันที่ 18 มีนาคม เมืองมารีอูปอลก็ถูกปิดล้อมอย่างสมบูรณ์ เกิดการสู้รบที่ใจกลางเมือง ทำให้ประชาชนอพยพออกจากเมืองได้ยากขึ้น ต่อมาเมื่อวันที่ 20 มีนาคม โรงเรียนศิลปะแห่งหนึ่งในเมืองมารีอูปอลซึ่งเป็นที่หลบภัยของผู้คนราว 400 คนก็ถูกวางระเบิดโดยรัสเซีย ในวันเดียวกัน กองทัพรัสเซียก็ทำการปิดล้อมและโจมตีเมืองต่อไป โดยกองทัพรัสเซียต้องการให้มีการยอมแพ้อย่างสมบูรณ์ แต่เจ้าหน้าที่รัฐบาลของยูเครนไม่ยอม

แนวรบทางอากาศ

เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ กองกำลังรัสเซียได้โจมตีฐานทัพอากาศชูฮูย ซึ่งเป็นที่จัดเก็บอากาศยานไร้คนขับของยูเครน การโจมตีครั้งนี้สร้างความเสียหายให้กับแหล่งจัดเก็บเชื้อเพลิงและโครงสร้างพื้นฐานของฐานทัพ วันรุ่งขึ้น ฐานทัพอากาศมิลเลอร์โรโวในประเทศรัสเซียถูกกองกำลังทหารยูเครนโจมตีโดยใช้ขีปนาวุธ OTR-21 ทอชกา เจ้าหน้าที่ยูเครนระบุว่าขีปนาวุธทำลายเครื่องบิน ของกองทัพอากาศรัสเซียไปหลายลำ และทำให้เกิดเพลิงไหม้ เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ มีรายงานว่ารัสเซียใช้ระบบขีปนาวุธ 9K720 อิสคานเดอร์ ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศเบลารุส เพื่อโจมตีท่าอากาศยานจีโทมือร์ ซึ่งเป็นท่าอากาศยานพลเรือน ระบบป้องกันภัยทางอากาศของยูเครนหลายแห่งถูกทำลายหรือเสียหายในวันแรกของการรุกรานโดยการโจมตีทางอากาศของรัสเซีย

การบาดเจ็บล้มตายและผลกระทบด้านมนุษยธรรม

การบาดเจ็บล้มตาย

รายละเอียด จำนวน ช่วงเวลา แหล่งข้อมูล
พลเรือน 24,332+ เสียชีวิต (โดยประมาณ)
2,500–2,700 เสียชีวิต (รายงาน)
24 กุมภาพันธ์ – 23 เมษายน 2022
24 กุมภาพันธ์ – 18 เมษายน 2022
รัฐบาลยูเครน
2,435+ เสียชีวิต, 2,946+ บาดเจ็บ 24 กุมภาพันธ์ – 21 เมษายน พ.ศ. 2565 สหประชาชาติ
1,252 กุมขัง 21 กันยายน – 25 กันยายน พ.ศ. 2565 เดอะนิวยอร์กไทมส์
กองทัพยูเครน
(กองทัพยูเครน,
กองกำลังป้องกันประเทศยูเครน)
2,500–3,000 เสียชีวิต, 10,000 บาดเจ็บ 24 กุมภาพันธ์ – 15 เมษายน พ.ศ. 2565 รัฐบาลยูเครน
2,000–4,000 เสียชีวิต 24 กุมภาพันธ์ – 9 มีนาคม พ.ศ. 2565 ประมาณการโดยสหรัฐ
23,367 เสียชีวิต 24 กุมภาพันธ์ – 16 เมษายน พ.ศ. 2565 รัฐบาลรัสเซีย
กองทัพรัสเซีย 1,351 เสียชีวิต, 3,825 บาดเจ็บ 24 กุมภาพันธ์ – 25 มีนาคม พ.ศ. 2565 รัฐบาลรัสเซีย
กองทัพสาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์ 1,188 เสียชีวิต, 4,956 บาดเจ็บ 26 กุมภาพันธ์ – 14 เมษายน พ.ศ. 2565 สาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์
กองทัพสาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์ 500–600 เสียชีวิต 24 กุมภาพันธ์ – 5 เมษายน พ.ศ. 2565 รัฐบาลรัสเซีย
กองกำลังรัสเซียและพันธมิตร
(กองทัพรัสเซีย, กองกำลังป้องกันประเทศรัสเซีย,
กลุ่มแวกเนอร์, ดอแนตสก์กับลูฮันสก์)
30,000–40,000 ผู้บาดเจ็บ 24 กุมภาพันธ์ – 23 มีนาคม พ.ศ. 2565 ประมาณการโดยเนโท
10,000+ เสียชีวิต 24 กุมภาพันธ์ – 30 มีนาคม พ.ศ. 2565 ประมาณการโดยสหรัฐ
21,000 สูญหาย 24 กุมภาพันธ์ – 21 เมษายน พ.ศ. 2565 รัฐบาลยูเครน

หมายเหตุ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

บทอ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

การรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย ภูมิหลังการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย เหตุการณ์ก่อนเกิดสงครามการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย สถานการณ์การรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย การบาดเจ็บล้มตายและผลกระทบด้านมนุษยธรรมการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย หมายเหตุการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย ดูเพิ่มการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย อ้างอิงการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย บทอ่านเพิ่มการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย แหล่งข้อมูลอื่นการรุกรานยูเครนโดยรัสเซียการปฏิวัติเดือนตุลาคมการโยกย้ายประชากรประเทศยูเครนประเทศรัสเซียสงครามรัสเซีย–ยูเครนสงครามโลกครั้งที่สอง

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

สมาคมกีฬาโรมาเลเวอร์คูเซินจังหวัดสกลนครแคดเมียมมหาวิทยาลัยมหิดลซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์ศุภชัย สุวรรณอ่อนภูวินทร์ ตั้งศักดิ์ยืนพัก อู-จินไตรภพ ลิมปพัทธ์เสริมศักดิ์ พงษ์พานิชชวน หลีกภัยอมีนา พินิจพระยศเจ้านายไทยงูเขียวพระอินทร์สงกรานต์ เตชะณรงค์กูเกิล แผนที่หลวงปู่ทวดรายชื่อบัญชีติ๊กต็อกที่มียอดผู้ติดตามมากที่สุดไทยลีกปราโมทย์ แสงศรโชกุนรายชื่อยุทโธปกรณ์ในกองทัพบกไทยประเพณีก่อเจดีย์ทรายทวิตเตอร์รหัสโทรศัพท์ระหว่างประเทศตะวันออกกลางลมเล่นไฟแจ็กสัน หวังภัทรานิษฐ์ ลิ้มปติยากร9จังหวัดของประเทศไทยสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลปรสิต (หนังสือการ์ตูน)หม่ำ จ๊กมกจ๊ะ นงผณีดาบมังกรหยกประเทศอินเดียอุทยานราชภักดิ์เปรม ติณสูลานนท์จังหวัดนครสวรรค์บัลลังก์ลูกทุ่งการอับปางของเรืออาร์เอ็มเอส ไททานิกอแมนด้า ออบดัมหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคลคริส หอวังอูไน เอเมรีธี่หยดสโมสรฟุตบอลบาเลนเซียรายชื่อท่าอากาศยานในประเทศไทยดราก้อนบอลถนนข้าวสารเรือหลวงจักรีนฤเบศรอุรัสยา เสปอร์บันด์รินลณี ศรีเพ็ญไบเออร์ 04 เลเวอร์คูเซินสมเด็จพระที่นั่งท้ายสระเกาะกูดศรีสว่างวงศ์ บุญจิตราดุลย์พรหมวิหาร 4รัญชน์รวี เอื้อกูลวราวัตรรายพระนามพระมหากษัตริย์ไทยแปลก พิบูลสงครามเมียวดีทางพิเศษศรีรัชลิซ่า (แร็ปเปอร์)โคล พาลเมอร์จิรายุ ตั้งศรีสุขรายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (แอนิเมชัน)สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร)จังหวัดสุรินทร์อานาปานสติสถานีกลางบางซื่อประเทศจอร์เจียพรรคก้าวไกลณภศศิ สุรวรรณเอกซ์เอกซ์เอกซ์เทนเทสซิยอนจังหวัดขอนแก่น🡆 More