Iso 8601

ISO 8601 คือมาตรฐานสำหรับการนำเสนอตามปฏิทินและเวลา ประกาศโดยองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) มาตรฐานนี้มีหัวเรื่องว่า องค์ประกอบข้อมูลและรูปแบบการแลกเปลี่ยน — รูปแบบการแลกเปลี่ยน — การนำเสนอวันที่และเวลา คุณลักษณะสำคัญของการนำเสนอนี้คือ การจัดอันดับให้ส่วนที่มี ความสำคัญมากกว่าขึ้นก่อน นั่นคือเรียงจากหน่วยใหญ่ที่สุด (ปี) ไปยังหน่วยเล็กที่สุด (วินาที)

ตัวอย่างวันที่:
2024-04-23
ตัวอย่างวันที่และเวลา UTC แบบแยกกัน:
2024-04-23 17:24Z
ตัวอย่างวันที่และเวลา UTC แบบรวมกัน:
2024-04-23T17:24Z
ตัวอย่างวันที่ตามสัปดาห์:
2024-W17-2
ตัวอย่างวันที่ของปี:
2024-114

ประวัติ

การประกาศ ISO 8601 ครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2531 เป็นการรวบรวมและแทนที่มาตรฐาน ISO ของเก่าซึ่งมีสัญกรณ์ที่แตกต่างกันได้แก่ ISO 2014, ISO 2015, ISO 2711, ISO 3307 และ ISO 4031 แทนที่ด้วยการแก้ไขครั้งที่สอง ISO 8601:2000 เมื่อ พ.ศ. 2543 และการแก้ไขครั้งที่สาม ISO 8601:2004 เผยแพร่เมื่อ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ต่อมาถูกยกเลิกและแก้ไขเป็น ISO 8601-1:2019 และ ISO 8601-2:2019 เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ISO 8601 ถูกแก้ไขและอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบโดยตรงของคณะกรรมการเทคนิค ISO/TC 154

ISO 2014 แนะนำให้ใช้การแสดงวันที่เป็นตัวเลขทั้งหมดเป็นครั้งแรก โดยเรียงจากหน่วยใหญ่ไปหน่วยเล็กดังนี้ [YYYY]-[MM]-[DD] ระบบเลขสัปดาห์ได้กำหนดไว้ใน ISO 2015 และการแสดงวันที่ของปีได้กำหนดไว้ใน ISO 2711

ขอบเขตและการใช้งานมาตรฐาน

ขอบเขตของมาตรฐานนี้ครอบคลุมการนำเสนอสิ่งเหล่านี้

  • วันที่ในปฏิทินเกรโกเรียน สามารถนำเสนอได้สามรูปแบบได้แก่
    1. ปี-เดือน-วันที่ของเดือน
    2. ปี-สัปดาห์-วันในสัปดาห์
    3. ปี-วันที่ของปี
  • เวลาของวัน นำเสนอโดยใช้
  • การรวมวันที่และเวลาของวัน นำเสนอโดยนำเอาวันที่กับเวลามาต่อกันเป็นค่าเวลาเดียว
  • ช่วงของเวลา นำเสนอโดยการรวมจุดเริ่มต้น จุดสุดท้าย ระยะเวลา และข้อมูลอื่นที่เป็นบริบท

มาตรฐานนี้กำหนดขึ้นเพื่อตั้งใจให้ใช้งานได้อย่างกว้างขวาง สามารถใช้ได้กับการสื่อสารด้วยวิธีเขียนทั้งหมดที่มีการอ้างอิงถึง วัน เวลา และช่วงเวลา ไม่ว่าสื่อนั้นจะเป็นอะไร (สื่อสิ่งพิมพ์ อิเล็กทรอนิกส์ หรือเขียนด้วยลายมือ) หรือที่อยู่ของผู้ส่งผู้รับอยู่ที่ไหน (ภายในองค์กร ระหว่างองค์กร หรือข้ามประเทศ) การใช้งานมาตรฐานนี้ไม่ได้หมายความว่าจำกัดอยู่เพียงวันเวลาที่ดำเนินการ เก็บบันทึก หรือแสดงผลในคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ยังใช้ได้กับอุตสาหกรรมทุกประเภทและกิจกรรมของมนุษย์ทุกรูปแบบ ที่ซึ่งการนำเสนอวันเวลาอย่างแม่นยำและไร้ความกำกวมเป็นสิ่งที่จำเป็น เพื่อใช้สื่อสารกันระหว่างประเทศ ระดับชาติ ระดับท้องถิ่น ระดับภายใน หรือแม้แต่ระดับส่วนตัว

มาตรฐานนี้ไม่ได้บังคับหรือห้ามใช้คำแทนสำหรับวันที่ วันที่ในลักษณะคำบรรยายถูกละเว้นเอาไว้จากมาตรฐาน เพราะว่าการใช้งานเฉพาะภาษาส่วนใหญ่อาจทำให้เกิดความติดขัดในการสื่อสารระหว่างประเทศ

หลักการทั่วไป

  • ค่าของวันที่และเวลาจะถูกจัดอันดับ จากมากที่สุดไปยังน้อยที่สุด นั่นคือ ปี เดือน วันที่ของเดือน ชั่วโมง นาที วินาที และเศษของวินาที การจัดอันดับการนำเสนอเช่นนี้สอดคล้องกับการจัดอันดับตามเวลา เว้นแต่ว่าการนำเสนอนั้นเกี่ยวข้องกับจำนวนปีที่ติดลบ
  • ค่าของวันที่และเวลาแต่ละตัว มีจำนวนหลักของเลขโดดที่แน่นอน หากจำนวนหลักไม่ครบให้เติม 0 ข้างหน้าจนครบ
  • การนำเสนอสามารถกระทำได้สองรูปแบบ หนึ่งคือ รูปแบบพื้นฐาน โดยใช้เครื่องหมายคั่นน้อยหรือไม่ใช้เลย สองคือ รูปแบบขยาย โดยจะมีเครื่องหมายเพิ่มเติมเข้ามาเพื่อเพิ่มความสามารถในการอ่านโดยมนุษย์ เครื่องหมายคั่นที่ใช้ระหว่างค่าวันที่คือยัติภังค์ (-) และทวิภาค (:) สำหรับค่าเวลา ตัวอย่างเช่น วันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 2009 จะเขียนเป็น "20090106" ในรูปแบบพื้นฐานและ "2009-01-06" ในรูปแบบขยาย รูปแบบขยายมักจะเป็นที่นิยมมากกว่ารูปแบบพื้นฐาน ด้วยเหตุผลที่นอกเหนือจากความสามารถในการอ่านแล้ว แต่ยังเป็นเพราะการปรากฏของรูปแบบพื้นฐานบางค่าอาจทำให้เกิดความกำกวม หรือถูกมองว่าไม่เป็นมาตรฐาน
  • การลดความเจาะจงของวันเวลา ค่าของตัวเลขสามารถตัดออกจากการนำเสนอวันที่ในรูปแบบใดก็ได้ แต่จะต้องตัดออก จากนัยสำคัญน้อยที่สุดไปมากที่สุด ตัวอย่างเช่น "2004-05" คือวันที่มาตรฐานตาม ISO 8601 หมายถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2004 ไม่ได้หมายถึงวันที่ 5 ของเดือนที่ไม่ทราบใน ค.ศ. 2004
  • เมื่อวันเวลาต้องการความแม่นยำมากขึ้น มาตรฐานนี้รองรับการเพิ่ม เศษทศนิยม ไปยังค่าเวลาที่เล็กที่สุดในการนำเสนอนั้น

วันที่

มาตรฐานนี้ใช้ปฏิทินเกรโกเรียน ซึ่งเป็นปฏิทินที่ใช้อย่างแพร่หลายมากที่สุดในโลก และเป็นมาตรฐานโดยพฤตินัยสำหรับการค้าระหว่างประเทศ

จุดที่น่าสนใจคือ ISO 8601 ได้ถือเอาวันที่อ้างอิงตามปฏิทินเกรโกเรียนในวันที่ 1875-05-20 เป็นหลัก ซึ่งเป็นวันที่(Convention du Mètre) ได้รับการลงนามในปารีส อย่างไรก็ตาม วันที่ของ ISO ก่อนเกิดสนธิสัญญาจะยังคงเข้ากันได้กับปฏิทินเกรโกเรียน ย้อนไปจนถึงวันที่มีการแนะนำปฏิทินเกรโกเรียนอย่างเป็นทางการเมื่อ 1582-10-15 สำหรับวันที่อยู่ก่อนหน้านั้นจะใช้ตามปฏิทินก่อนเกรโกเรียน (proleptic Gregorian calendar) ซึ่งอาจนำมาใช้ได้โดยมีข้อตกลงร่วมกันในการแลกเปลี่ยนข้อมูล

ปี

YYYY ±YYYYY

ISO 8601 ได้กำหนดไว้ว่า ให้ใช้ปีคริสต์ศักราชสี่หลัก [YYYY] เพื่อหลีกเลี่ยง

สำหรับการนำเสนอปีที่อยู่ก่อน 0000 หรือหลังจาก 9999 มาตรฐานนี้อนุญาตให้ใช้ส่วนขยายของการนำเสนอปี [±YYYYY] โดยมีข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ การนำเสนอปีแบบขยายจะใช้เฉพาะเมื่อมีตัวเลขเกินสี่หลักเท่านั้น และจะต้องนำหน้าด้วยเครื่องหมายบวก (+) หรือลบ (−) เสมอ โดยถือว่าปี 0 เป็นบวก

สัญกรณ์ที่ใช้กับปีก่อนคริสตกาล (BC) จะไม่ถูกนำมาใช้ แต่จะใช้เป็นปีติดลบแทน ตัวอย่างเช่น 3 ปีก่อนคริสตกาล เขียนแทนได้ด้วย −0002 ตัวเลขต่างกันอยู่ 1 เนื่องจากระบบปีก่อนคริสตกาลไม่มีปีที่ศูนย์ ดังนั้นปี 0000 ของ ISO จะหมายถึง 1 ปีก่อนคริสตกาล

วันที่ตามปฏิทิน

YYYY-MM-DD หรือ YYYYMMDD
YYYY-MM (แต่ไม่มี YYYYMM)

การนำเสนอวันที่ตามปฏิทินมีสองรูปแบบคือรูปแบบขยายกับรูปแบบพื้นฐานดังที่ได้กล่าวไว้แล้ว [YYYY] คือปีคริสต์ศักราชสี่หลัก 0000 ถึง 9999 [MM] คือเลขเดือนสองหลัก 01 ถึง 12 และ [DD] คือวันที่ของเดือนสองหลัก 01 ถึง 31 ตัวอย่างเช่น วันที่ 5 เมษายน ค.ศ. 1981 เขียนแทนได้เป็น "1981-04-05" หรือ "19810405"

มาตรฐานนี้อนุญาตให้วันที่ตามปฏิทินสามารถลดความเจาะจงได้ เช่น "1984-04" หมายถึง เดือนเมษายน ค.ศ. 1984, "1984" หมายถึงปี ค.ศ. 1984, "19" หมายถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19

ถึงแม้มาตรฐานอนุญาตให้ใช้รูปแบบ YYYY-MM-DD และ YYYYMMDD เพื่อแสดงวันที่ให้ครบถ้วน แต่ถ้าวันที่ของเดือน [DD] ถูกละเว้นออกไป จะมีเพียงแค่ YYYY-MM เท่านั้นที่สามารถใช้ได้ ไม่อนุญาตให้ใช้ YYYYMM เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนกับรูปแบบวันที่อย่างย่อ YYMMDD ซึ่งก็ยังมีการใช้กันมาก

วันที่ตามสัปดาห์

YYYY-Www หรือ YYYYWww
YYYY-Www-D หรือ YYYYWwwD

วันที่ตามสัปดาห์มีรูปแบบการนำเสนอดังที่แสดงไว้ทางขวามือ [YYYY] แสดงปีที่นับตามสัปดาห์ของ ISO ซึ่งจะแตกต่างจากปีปกติตามปฏิทินเล็กน้อย (ดูคำอธิบายข้างล่าง) [Www] คือเลขสัปดาห์สองหลักที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษร W มีค่า W01 ถึง W53 และ [D] คือวันในสัปดาห์โดยเริ่มต้นจากวันจันทร์เท่ากับ 1 ถึงวันอาทิตย์เท่ากับ 7 (วันแรกของสัปดาห์ตาม ISO คือวันจันทร์) รูปแบบนี้เป็นที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต

ต่อไปนี้เป็นการอธิบายที่เทียบเท่าร่วมกันของสัปดาห์ที่ 01 ว่าอยู่ที่ใด

  • สัปดาห์ที่มีวันพฤหัสบดีแรกของปี (กำหนดโดย ISO) เลขสัปดาห์จึงอาจอธิบายได้ว่าเป็นการนับจำนวนครั้งของวันพฤหัสบดี เช่นสัปดาห์ 12 จะมีวันพฤหัสบดีครั้งที่ 12 ของปีในสัปดาห์นั้น
  • สัปดาห์ที่มีวันที่ 4 มกราคม อยู่ในสัปดาห์นั้น
  • สัปดาห์ที่มีวันส่วนใหญ่ (ตั้งแต่ 4 วันขึ้นไป) อยู่ในสัปดาห์นั้น
  • สัปดาห์ที่เริ่มด้วยวันจันทร์ในช่วงวันที่ 29 ธันวาคม ถึง 4 มกราคม

ดังนั้นหากวันที่ 1 มกราคม ตรงกับวันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ หรือวันพฤหัสบดี สัปดาห์จะนั้นเป็นสัปดาห์ที่ 01 ถ้าวันที่ 1 มกราคม ตรงกับวันศุกร์ วันเสาร์ หรือวันอาทิตย์ สัปดาห์นั้นจะยังคงอยู่ในสัปดาห์ที่ 52 หรือ 53 ของปีก่อนหน้า และวันที่ 28 ธันวาคม จะอยู่ในปีก่อนหน้าเสมอ

ปีที่นับตามสัปดาห์ของ ISO จะเริ่มจากวันแรก (วันจันทร์) ของสัปดาห์ที่ 01 ไปจนสิ้นสุดวันอาทิตย์ที่อยู่ก่อนวันแรกของปีถัดไป ทำให้มีสัปดาห์เต็ม 7 วันเป็นจำนวน 52 หรือ 53 สัปดาห์ โดยไม่มีช่วงทับซ้อนหรือเว้นว่าง การนับปีตามสัปดาห์ของ ISO จะเบี่ยงเบนไปจากปีตามปฏิทินเกรโกเรียนโดยปกติ ในวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์, หรือวันเสาร์-อาทิตย์, หรือเฉพาะวันอาทิตย์ ของจุดเริ่มต้นของปีปฏิทิน (ซึ่ง ISO จะถือว่าอยู่ในปีก่อนหน้า) และในวันจันทร์-อังคาร-พุธ, หรือวันจันทร์-อังคาร, หรือเฉพาะวันจันทร์ ของจุดสิ้นสุดของปีปฏิทิน (ซึ่ง ISO จะถือว่าอยู่ในสัปดาห์ที่ 01 ของปีใหม่) สำหรับวันพฤหัสบดี ปีปฏิทินและปีตาม ISO จะตรงกันเสมอ ตัวอย่างเช่น

  • 2008-12-29 เขียนแทนได้เป็น "2009-W01-1" (วันจันทร์)
  • 2010-01-03 เขียนแทนได้เป็น "2009-W53-7" (วันอาทิตย์)

ในสหรัฐอเมริกาใช้ระบบวันอาทิตย์ถึงวันเสาร์เป็นหนึ่งสัปดาห์ และมีสัปดาห์บางส่วนที่ไม่เต็ม 7 วันที่จุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของปี ข้อดีของการทำเช่นนี้คือไม่ต้องมีการปรับเลขปีเหมือนเช่นปีที่นับตามสัปดาห์ของ ISO ในขณะที่การจัดอันดับนัยสำคัญที่สอดคล้องกันก็ยังคงมีอยู่

วันที่ของปี

YYYY-DDD หรือ YYYYDDD

วันที่เชิงอันดับ (ordinal date) เป็นรูปแบบอย่างง่ายในโอกาสเมื่อการนิยามสัปดาห์และเดือนเป็นอุปสรรคมากกว่าที่จะช่วยเหลือ เช่นเมื่อต้องการเปรียบเทียบวันที่จากระบบปฏิทินที่ต่างกัน จากรูปแบบการนำเสนอ [YYYY] หมายถึงปีคริสต์ศักราชสี่หลัก และ [DDD] คือวันที่ของปีนั้นสามหลัก มีค่า 001 ถึง 365 (หรือ 366 ในปีอธิกสุรทิน) ตัวอย่างเช่น 1981-04-05 เขียนแทนได้เป็น "1981-095" หมายถึงวันที่ 95 ของปี ค.ศ. 1981

รูปแบบนี้ใช้เฉพาะกับระบบฮาร์ดแวร์อย่างง่ายที่ต้องการมีระบบวันที่ แต่ไม่สามารถบรรจุซอฟต์แวร์คำนวณปฏิทินอย่างเต็มรูปแบบซึ่งอาจก่อให้เกิดความยุ่งยาก บางครั้งระบบนี้ถูกทึกทักเอาว่าเป็นวันที่จูเลียน (Julian date) ซึ่งความจริงไม่ใช่ เพราะวันที่จูเลียนคือจำนวนวันที่ผ่านมานับตั้งแต่ 1 มกราคม 4713 ปีก่อนคริสตกาล ณ เวลาเที่ยงวันที่กรีนิช ในปฏิทินก่อนจูเลียน

เวลา

hh:mm:ss หรือ hhmmss
hh:mm หรือ hhmm
hh

ISO 8601 ใช้ระบบ รูปแบบพื้นฐานคือ [hh][mm][ss] และรูปแบบขยายคือ [hh]:[mm]:[ss]

  • [hh] คือชั่วโมงสองหลัก มีค่า 00 ถึง 24 (ค่า 24 จะใช้เมื่อเวลาเที่ยงคืนเป็นจุดสิ้นสุดของวันเท่านั้น)
  • [mm] คือนาทีสองหลัก มีค่า 00 ถึง 59
  • [ss] คือวินาทีสองหลัก มีค่า 00 ถึง 60 (ค่า 60 จะใช้เมื่อมีการเพิ่มอธิกวินาทีเท่านั้น)

ดังนั้นเวลา 13 นาฬิกา 47 นาที 30 วินาที จึงเขียนได้เป็น "134730" หรือ "13:47:30"

ค่าของเวลาสามารถลดความเจาะจงได้จากหน่วยที่มีนัยสำคัญน้อยกว่าขึ้นมา เมื่อละวินาทีจะเหลือเพียง [hh]:[mm] หรือ [hh][mm] และเมื่อละนาทีจะเหลือเพียง [hh]

เวลาเป็นกรณีพิเศษที่สามารถอ้างถึงได้ด้วย 00:00 หรือ 24:00 ก็ได้ รูปแบบ 00:00 จะใช้เพื่อบอกว่าเป็นจุดเริ่มต้นของวัน ซึ่งเป็นการใช้ที่บ่อยกว่า ในขณะที่จุดสิ้นสุดของวันจะใช้เป็น 24:00 ดังนั้น "2007-04-05T24:00" จึงเป็นเวลาเดียวกันกับ "2007-04-06T00:00" ต่างกันแค่ความหมายที่สื่อออกมา (ดูเพิ่มที่หัวข้อการรวมวันที่และเวลา)

เศษทศนิยมสามารถใช้ได้กับค่าเวลาส่วนใดก็ได้ จุดทศนิยมไม่ว่าจะเป็นจุลภาค (,) หรือมหัพภาค (.) สามารถใช้แบ่งเศษทศนิยมได้เช่นกัน แต่เศษทศนิยมควรเพิ่มลงไปเฉพาะในส่วนที่มีนัยสำคัญน้อยที่สุดเท่านั้น ตัวอย่างเช่นเวลา 14 ชั่วโมง 30 นาทีครึ่ง สามารถแสดงโดยไม่ใช้เลขวินาทีเป็น "14:30,5" หรือ "1430,5" ไม่มีข้อจำกัดว่าจะต้องเป็นทศนิยมกี่ตำแหน่ง อย่างไรก็ตามก็ต้องมีข้อตกลงร่วมกันระหว่างกลุ่มผู้สื่อสารก่อนว่าต้องการใช้ทศนิยมกี่หลัก สำหรับการใช้จุดอาจทำให้เกิดความสับสนเมื่อใช้กับเลขชั่วโมงหรือนาที ซึ่งจะทำให้เข้าใจผิดว่าตัวเลขหลังจุดเป็นเลขนาทีหรือวินาทีตามลำดับ เช่น "14:30.50" เลขวินาทีของเวลานี้เทียบเท่ากับ 30 วินาที (ครึ่งนาที) ไม่ใช่ 50 วินาทีอย่างที่เห็น

ตัวกำหนดเขตเวลา

<เวลา>Z
<เวลา>±hh:mm หรือ <เวลา>±hhmm
<เวลา>±hh

ถ้าหากไม่มีการระบุเขตเวลา (time zone) ในการนำเสนอเวลา ข้อมูลนั้นจะถูกสมมติว่าเป็นเวลาท้องถิ่น ซึ่งอาจไม่ส่งผลกระทบอะไรเมื่อใช้สื่อสารกันภายในเขตเวลาเดียวกัน แต่จะเกิดความกำกวมเมื่อสื่อสารข้อมูลข้ามเขตเวลา การระบุตัวกำหนดเขตเวลาจึงเป็นสิ่งที่ควรทำเมื่อใช้สัญกรณ์มาตรฐาน

ถ้าเวลานั้นอยู่ในเวลาสากลเชิงพิกัด (UTC) เพียงแค่เพิ่มตัวอักษร Z ลงไปโดยไม่เว้นวรรคหลังจากค่าเวลา ซึ่ง Z คือตัวกำหนดเขตเวลาที่เยื้องจากเวลาสากลเชิงพิกัดเป็นศูนย์ ดังนั้นเวลา 09:30 UTC จึงเขียนได้เป็น "09:30Z" หรือ "0930Z" และเวลา 14:45:15 UTC เขียนเป็น "14:45:15Z" หรือ "144515Z" เวลาสากลเชิงพิกัดถูกเรียกอีกอย่างว่าเป็นเวลา "ซูลู" (Zulu) เพราะคำว่า "ซูลู" เป็นรหัสวิทยุของอักษร Z

การกำหนดเขตเวลาอื่น ๆ สามารถทำได้โดยระบุความเยื้องจากเวลาสากลเชิงพิกัดในรูปแบบ ±[hh]:[mm], ±[hh][mm], หรือ ±[hh] ต่อท้ายค่าเวลาเหมือนวิธีของการเติม Z เช่นเขตเวลาที่มากกว่าเวลาเชิงพิกัดสากลอยู่เจ็ดชั่วโมง (กรุงเทพมหานคร) ตัวกำหนดเขตเวลาเขียนเป็น "+07:00", "+0700", หรือเพียงแค่ "+07" โปรดสังเกตว่าตัวกำหนดเขตเวลานี้คือความเยื้องจากเวลาสากลเชิงพิกัดที่แท้จริง และไม่ได้บ่งบอกข้อมูลเรื่องเวลาออมแสง (daylight saving time) ดังนั้นในเมืองชิคาโก จะมีเขตเวลาเป็น −06:00 ในฤดูหนาวและ −05:00 ในฤดูร้อน ตัวอย่างค่าเวลาต่อไปนี้หมายถึงเวลาเดียวกัน ณ ขณะนั้น "18:30Z", "22:30+04", "1130−0700", และ "15:00−03:30" สำหรับ(nautical time) อักษรแทนเขตเวลาจะไม่มีการนำมาใช้ ยกเว้นอักษร Z

การรวมวันที่และเวลา

<วันที่>T<เวลา> <วันที่>T<เวลา>Z

การนำเสนอวันที่และเวลารวมกันเป็นการนำเสนอจุดหนึ่งของเวลาจริง ใช้รูปแบบ <วันที่>T<เวลา> โดยที่ตัวอักษร T คือตัวกำหนดเวลา ใช้แสดงว่าหลังจากตัวอักษรนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของค่าเวลา องค์ประกอบวันที่และเวลาที่นำมารวมกันต้องมีรูปแบบมาตรฐานอย่างใดอย่างหนึ่งที่เข้ากันได้ตามที่อธิบายไว้แล้วข้างบน ตัวอย่างเช่น "2007-04-05T14:30" คือรูปแบบส่วนขยาย [YYYY]-[MM]-[DD]T[hh]:[mm] หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง "20090621T0545Z" คือรูปแบบพื้นฐาน [YYYY][MM][DD]T[hh][mm]Z เป็นต้น

การนำเสนอโดยรวมของวันที่และเวลานี้สามารถใช้บันทึกเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับวันเวลา เช่นการรับส่งอีเมล ธุรกรรมทางการเงิน เวลาเริ่มต้นในการรักษาทางการแพทย์ หรือแม้แต่ใช้อ้างถึงการเกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ การนำเสนอนี้สามารถรวมกับช่วงของเวลาดังที่จะได้กล่าวต่อไป

องค์ประกอบวันที่และเวลาอาจปรากฏว่าอยู่ติดกันในแต่ละตัว บ่อยครั้งที่แยกด้วยเว้นวรรคหรือบางครั้งก็คั่นด้วยอักษรตัวอื่น ในกรณีเช่นนี้ค่าของวันที่และเวลาจะถือว่าเป็นฟีลด์ที่แยกกันในระบบข้อมูล มากกว่าที่จะเป็นการนำเสนอในฟีลด์เดียวกัน สิ่งนี้ก็เพื่อความสามารถในการอ่านโดยมนุษย์ จากตัวอย่างก่อนหน้านี้ "2007-04-05 14:30" จะถือว่าเป็นการนำเสนอสองฟีลด์แยกกันนั่นคือวันที่ 2007-04-05 กับเวลา 14:30 แต่ก็เป็นที่ยอมรับได้ และคงเหลือไว้ให้ผู้อ่านนำไปแปลผลว่าทั้งสองฟีลด์เป็นการนำเสนอจุดเวลาเดียวโดยขึ้นอยู่กับบริบท

ระยะเวลา

PnYnMnDTnHnMnS
PnW
P<วันที่>T<เวลา>

ระยะเวลาเป็นส่วนประกอบหนึ่งของช่วงเวลา และนิยามเป็นจำนวนเวลาที่ผ่านไปในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ ระยะเวลานี้ควรใช้เป็นส่วนหนึ่งของช่วงเวลาตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานเท่านั้น เรื่องของช่วงเวลาจะอธิบายในหัวข้อถัดไป

ระยะเวลานำเสนอโดยใช้รูปแบบ P[n]Y[n]M[n]DT[n]H[n]M[n]S หรือ P[n]W ในการนำเสนอเหล่านี้ [n] จะถูกแทนที่ด้วยค่าของวันและเวลาตามชนิดของตัวอักษรที่ตามหลัง กรณีนี้การใส่ 0 นำหน้าไม่จำเป็นต้องใช้ แต่จำนวนหลักมากที่สุดที่สามารถจะใส่ได้ต้องมีการตกลงร่วมกันระหว่างกลุ่มผู้สื่อสาร อักษรตัวใหญ่ P, Y, M, W, D, T, H, M, และ S คือตัวกำหนดขององค์ประกอบวันที่และเวลาแต่ละประเภทและจะไม่ถูกแทนที่

  • P คือตัวกำหนดระยะเวลา (แต่ก่อนเรียกว่า period ปัจจุบันใช้ duration) ซึ่งวางไว้ที่จุดเริ่มต้นของการนำเสนอระยะเวลา
  • Y คือตัวกำหนดปี ซึ่งตามหลังค่าสำหรับจำนวนปี
  • M คือตัวกำหนดเดือน ซึ่งตามหลังค่าสำหรับจำนวนเดือน
  • W คือตัวกำหนดสัปดาห์ ซึ่งตามหลังค่าสำหรับจำนวนสัปดาห์
  • D คือตัวกำหนดวัน ซึ่งตามหลังค่าสำหรับจำนวนวัน
  • T คือตัวกำหนดเวลา ซึ่งจะนำหน้าองค์ประกอบเวลาในการนำเสนอ
  • H คือตัวกำหนดชั่วโมง ซึ่งตามหลังค่าสำหรับจำนวนชั่วโมง
  • M คือตัวกำหนดนาที ซึ่งตามหลังค่าสำหรับจำนวนนาที (จะเห็นว่าซ้ำกับตัวกำหนดเดือน)
  • S คือตัวกำหนดวินาที ซึ่งตามหลังค่าสำหรับจำนวนวินาที

ตัวอย่างเช่น "P3Y6M4DT12H30M5S" หมายถึงการนำเสนอระยะเวลา 3 ปี 6 เดือน 4 วัน 12 ชั่วโมง 30 นาที 5 วินาที องค์ประกอบของวันที่และเวลารวมทั้งตัวกำหนดต่าง ๆ สามารถละเว้นไปได้ถ้าค่าของมันมีค่าเป็นศูนย์ และองค์ประกอบที่มีนัยสำคัญน้อยกว่าสามารถละเว้นเพื่อลดความเจาะจงของระยะเวลา เช่น "P23DT23H" และ "P4D" ต่างก็เป็นการนำเสนอระยะเวลาที่ยอมรับได้

อักษร M ปรากฏอยู่สองตำแหน่งในการนำเสนอ เพื่อที่จะลดความสับสนว่าหมายถึงเดือนหรือนาที ให้ดูที่อักษร T ซึ่งเป็นตัวกำหนดที่อยู่หน้าค่าเวลา ถ้า M อยู่ถัดจาก T แสดงว่าเป็นค่านาที เช่น "PT1M" คือระยะเวลา 1 นาที ต่างจาก "P1M" หมายถึงระยะเวลา 1 เดือน หน่วยที่เล็กที่สุดในการนำเสนอสามารถใช้เศษทศนิยมได้ เช่น "P0.5Y" หมายถึงระยะเวลาครึ่งปี มาตรฐานนี้ไม่ได้ห้ามให้ใช้ค่าของวันและเวลาที่เกินกว่าจุดทด เช่น "PT36H" สามารถใช้ได้และมีความหมายเหมือนกับ "P1DT12H" ยกเว้นอีกรูปแบบหนึ่งดังที่จะกล่าวต่อไป

ระยะเวลาสามารถแสดงได้อีกรูปแบบหนึ่งโดยใช้การนำเสนอการรวมวันที่และเวลาโดยมีข้อตกลงร่วมกัน ด้วยรูปแบบพื้นฐาน PYYYYMMDDThhmmss หรือรูปแบบขยาย P[YYYY]-[MM]-[DD]T[hh]:[mm]:[ss] จากตัวอย่างแรกสุดจึงสามารถเขียนได้เป็น "P0003-06-04T12:30:05" อย่างไรก็ตามการนำเสนอเช่นนี้ แต่ละส่วนไม่สามารถใส่ค่าเกินว่าจุดทดหรือค่าที่สามารถเป็นไปได้ เช่นการใส่ 13 เดือนหรือ 25 ชั่วโมงเป็นสิ่งที่ไม่อนุญาตสำหรับรูปแบบนี้

ช่วงเวลา

<จุดเริ่มต้น>/<จุดสิ้นสุด>
<จุดเริ่มต้น>/<ระยะเวลา>
<ระยะเวลา>/<จุดสิ้นสุด>
<ระยะเวลา>

ช่วงเวลาหมายถึงจำนวนเวลาที่ผ่านไประหว่างจุดเวลาสองจุด จำนวนเวลาจะแสดงโดยระยะเวลา (ดังเช่นที่กล่าวไว้ในหัวข้อที่แล้ว) ส่วนจุดเวลาสองจุดนั้นจะนำเสนอโดยการรวมวันที่และเวลา หรือวันที่อย่างเดียวอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนั้นจึงมีสี่แนวทางในการนำเสนอช่วงเวลา ได้แก่

  1. จุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด เช่น "2007-03-01T13:00:00Z/2008-05-11T15:30:00Z"
  2. จุดเริ่มต้นและระยะเวลา เช่น "2007-03-01T13:00:00Z/P1Y2M10DT2H30M"
  3. ระยะเวลาและจุดสิ้นสุด เช่น "P1Y2M10DT2H30M/2008-05-11T15:30:00Z"
  4. ระยะเวลาอย่างเดียว เช่น "P1Y2M10DT2H30M" โดยมีข้อมูลบริบทประกอบเพิ่มเติม

จากรูปแบบเหล่านี้ สามแนวทางแรกจำเป็นต้องมีการแบ่งโดยใช้ตัวกำหนดช่วงเวลาคือเครื่องหมายทับ (/) หรือ(⁄) (เครื่องหมายแยกเศษส่วน) ในการใช้งานเฉพาะอย่าง ยัติภังค์สองตัว (--) ก็สามารถใช้เป็นตัวแบ่งได้แทนเครื่องหมายทับ (ดูเพิ่มที่ส่วน 4.4.2 ของเอกสารมาตรฐาน)

สำหรับการแสดงผลแบบ <จุดเริ่มต้น>/<จุดสิ้นสุด> ถ้าองค์ประกอบใด ๆ ของจุดสิ้นสุดไม่ปรากฏ จะถือว่าองค์ประกอบนั้นมีค่าเหมือนกับจุดเริ่มต้น รวมทั้งเขตเวลาด้วย คุณลักษณะของมาตรฐานนี้ทำให้การนำเสนอช่วงเวลาสั้นกระชับมากขึ้น ตัวอย่างเช่น การประชุมสองชั่วโมง (ในวันเดียวกัน) โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดสามารถเขียนเป็น "2007-12-14T13:30/15:30" หรือการระบุวันที่เริ่มต้นและสิ้นสุดในใบแจ้งค่าใช้จ่ายประจำเดือนเป็น "2008-02-15/03-14" เป็นต้น

ถ้าหากความแม่นยำที่เพิ่มขึ้นเป็นที่ต้องการสำหรับช่วงเวลา การนำเสนอสามารถเพิ่มองค์ประกอบของเวลาลงไปอีกได้ เช่นการสังเกตการณ์ที่มีระยะเวลาประมาณสามวันนำเสนอไว้อย่างสั้นว่า "2007-11-13/15" ถ้าจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของการสังเกตการณ์จำเป็นต้องใช้เวลาที่แน่นอนเพื่อจุดประสงค์ของการวัดและการบันทึก การนำเสนอช่วงเวลาดังกล่าวจึงสามารถเพิ่มเติมได้เป็น "2007-11-13T00:00/15T24:00"

ช่วงเวลาทำซ้ำ

Rnn/<ช่วงเวลา> R/<ช่วงเวลา>

ช่วงเวลาทำซ้ำมีการระบุไว้ในส่วน 4.5 ของเอกสารมาตรฐาน มีรูปแบบการเขียนโดยเพิ่ม "R[n]/" ลงไปที่ข้างหน้าสุดของการนำเสนอช่วงเวลา เมื่อ [n] คือจำนวนครั้งที่เกิดการทำซ้ำ (ไม่จำเป็นต้องใส่ 0 นำหน้า) ถ้าหากไม่ใส่ค่า [n] ก็จะหมายความว่าไม่จำกัดจำนวนการทำซ้ำ ดังนั้นการทำซ้ำด้วยระยะเวลา "P1Y2M10DT2H30M" เป็นจำนวนห้าครั้ง เริ่มตั้งแต่ "2008-03-01T13:00:00Z" จะเขียนได้ว่า "R5/2008-03-01T13:00:00Z/P1Y2M10DT2H30M"

การนำเสนออย่างย่อ

ISO 8601:2000 ได้อนุญาตให้มีการนำเสนออย่างย่อ (โดยมีข้อตกลงร่วมกัน) ซึ่งจะทำให้องค์ประกอบที่อยู่นำหน้า (ทางซ้าย) ของวันที่หรือเวลาถูกละเว้นไว้ จึงทำให้สามารถใช้เลขปีสองหลักในรูปแบบ YY-MM-DD และ YYMMDD แต่ก็ทำให้เกิดความกำกวม แนวคิดนี้จึงถูกยกเลิกไปใน ISO 8601:2004

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

Iso 8601 ประวัติIso 8601 ขอบเขตและการใช้งานมาตรฐานIso 8601 หลักการทั่วไปIso 8601 วันที่Iso 8601 เวลาIso 8601 การรวมวันที่และเวลาIso 8601 ระยะเวลาIso 8601 ช่วงเวลาIso 8601 การนำเสนออย่างย่อIso 8601 อ้างอิงIso 8601 แหล่งข้อมูลอื่นIso 8601ปฏิทินปีวินาทีองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐานเวลา

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

เชิญยิ้มหม่อมเจ้าสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดาเศรษฐา ทวีสินกฤษฏ์ อำนวยเดชกรมหาวิทยาลัยรังสิตเผ่า ศรียานนท์ปราบ ยุทธพิชัยโหราศาสตร์ไทยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์69 (ท่วงท่าเพศสัมพันธ์)สโมสรฟุตบอลแอสตันวิลลาสโมสรฟุตบอลคอเวนทรีซิตีรายพระนามและชื่ออธิบดีกรมตำรวจและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติของไทยภาษาในประเทศไทยพระสุริโยทัยรถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยาโชเซ มูรีนโยบรรดาศักดิ์อังกฤษศิริลักษณ์ คองจังหวัดพะเยาสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้านิวรณ์ศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์จักรพรรดินโปเลียนที่ 1ธนาคารกรุงไทยธนภัทร กาวิละเปรม ติณสูลานนท์รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดชลบุรีสมเด็จพระมหินทราธิราชกรุงเทพมหานครจังหวัดพิจิตรสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่อประเทศเรียงตามจำนวนประชากรอัมรินทร์ นิติพนศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลเทควันโดเชอร์รีบุลเลตจัน ดารา (ภาพยนตร์ทวิภาค)ประเทศกรีซเดอะพาวเวอร์พัฟฟ์เกิลส์ประเทศญี่ปุ่นสโมสรฟุตบอลนครราชสีมา มาสด้ามหาวิทยาลัยขอนแก่นฮ่องกงณัฐวิญญ์ วัฒนกิติพัฒน์อนุทิน ชาญวีรกูลจังหวัดกาญจนบุรีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ประเทศไทย)เซเรียอาประเทศอังกฤษช่อง 3 เอชดีละหมาดโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาทมหาวิทยาลัยศรีปทุมมาสค์ไรเดอร์ซีรีส์5สามเณรรายชื่อท่าอากาศยานในประเทศไทยรายพระนามและชื่อภรรยาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัววัดไร่ขิงคณาวุฒิ ไตรพิพัฒนพงษ์จังหวัดปทุมธานีณัฐฐชาช์ บุญประชมประเทศกัมพูชากรณ์นภัส เศรษฐรัตนพงศ์พระคเณศประวัติศาสตร์ไทยสูตรลับตำรับดันเจียนจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดสมุทรสาครเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรจิราพร สินธุไพรเฌอมาลย์ บุญยศักดิ์เมียวดี🡆 More