สัตว์: สิ่งมีชีวิตในอาณาจักร

สัตว์ (อังกฤษ: animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ที่ประกอบกันขึ้นเป็นอาณาจักร Animalia สัตว์เกือบทั้งหมดบริโภคอินทรียวัตถุ หายใจด้วยออกซิเจน สามารถเคลื่อนไหวได้เอง สามารถสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศได้ และเติบโตจากเซลล์ทรงกลมกลวงในช่วงการเกิดเอ็มบริโอ มีสปีชีส์สัตว์ที่ยังมีชีวิตอยู่มากกว่า 1.5 ล้านสปีชีส์ที่ได้รับการบรรยายลักษณะแล้ว ประมาณ 1 ล้านในจำนวนนี้เป็นแมลง แต่ก็มีการประมาณจำนวนสปีชีส์ของสัตว์ทั้งหมดที่ 7 ล้านสปีชีส์ สัตว์มีขนาดได้ตั้งแต่ 8.5 ไมโครเมตรไปจนถึง 33.6 เมตร (110 ฟุต) สัตว์มีปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อนต่อสัตว์อื่นและสภาพแวดล้อม ทำให้เกิดเป็นสายใยอาหารที่สลับซับซ้อนได้ อาณาจักร Animalia รวมมนุษย์ไปด้วย แต่คำว่า สัตว์ โดยทั่วไปนั้นมักหมายถึงสัตว์อื่นที่ไม่ใช่มนุษย์ การศึกษาสัตว์ที่ไม่ใช่มนุษย์นั้นเรียกว่าสัตววิทยา

สัตว์
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: กลางยุคไครโอเจเนียนปัจจุบัน, 665–0Ma
สัตว์: รากศัพท์, ลักษณะ, สายวิวัฒนาการอิคีเนอเดอร์เมอเทอไนดาเรียชั้นไบวาลเวียหมีน้ำสัตว์พวกกุ้งกั้งปูแมงฟองน้ำแมลงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมไบรโอซัวอะแคนโธเซฟาลาหนอนตัวแบนชั้นเซฟาโลพอดสัตว์พวกหนอนปล้องยูโรคอร์ดาตาปลานกโฟโรนิดา
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
เคลด: Amorphea
เคลด: โอบาซัว
ไม่ได้จัดลำดับ: โอพิสโธคอนตา
ไม่ได้จัดลำดับ: โฮโลซัว
ไม่ได้จัดลำดับ: ไฟโลซัว
อาณาจักร: สัตว์
Linnaeus, 1758
ไฟลัม
หน่วยอนุกรมวิธานหลักของสัตว์
  • ฟองน้ำ
  • อาณาจักรย่อย ยูเมทาซัว
    • ทีโนฟอรา
    • พลาโคซัว
    • ไนดาเรีย
    • †ไทรโลโบซัว
    • ไบลาทีเรีย (ไม่ได้จัดอันดับ)
      • คิมเบอริลลา
      • เซนาซีโลมอร์ฟา
      • †โพรอาร์ทิคูลาตา
      • เนโฟรซัว (ไม่ได้จัดอันดับ)
        • ไฟลัมใหญ่
          ดิวเทอโรสโทเมีย
        • โพรโทสโทเมีย (ไม่ได้จัดอันดับ)
          • ไฟลัมใหญ่
            เอคดีโซซัว
          • ไฟลัมใหญ่
            โลโฟโทรโคซัว
ชื่อพ้อง
  • เมทาซัว
  • โคอาโนบลาสเทีย

สปีชีส์สัตว์ที่ยังมีชีวิตอยู่ส่วนมากอยู่ในกลุ่มไบลาทีเรีย ซึ่งเป็นเคลดที่แผนกายของสมาชิกมีสมมาตรด้านข้าง ไบลาทีเรียประกอบด้วยสัตว์จำพวกโพรโทสโทเมีย อันประกอบด้วยสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหลายกลุ่ม เช่น นีมาโทดา สัตว์ขาปล้อง หนอนตัวแบน มอลลัสกา เป็นต้น และสัตว์จำพวกดิวเทอโรสโทเมีย อันประกอบไปด้วยอิคีเนอเดอร์เมอเทอและสัตว์มีแกนสันหลังที่รวมสัตว์มีกระดูกสันหลังด้วย สิ่งมีชีวิตที่จัดว่าเป็นสัตว์ยุคแรกนั้นปรากฏขึ้นครั้งแรกในกลุ่มสิ่งมีชีวิตยุคอีดีแครัน (Edicaran biota) แห่งพรีแคมเบรียนตอนปลาย ไฟลัมของสัตว์ยุคปัจจุบันจำนวนมากมีซากดึกดำบรรพ์ระบุว่าเคยเป็นสปีชีส์น้ำมาก่อนในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน เริ่มต้นขึ้นเมื่อประมาณ 542 ล้านปีก่อน มีการพบกลุ่มยีนจำนวน 6,331 กลุ่มที่ปรากฏร่วมกันในสัตว์ที่ยังมีชีวิตอยู่ทั้งหมด ลักษณะดังกล่าวอาจเกิดขึ้นจากบรรพบุรุษร่วมกันของสัตว์ที่มีชีวิตอยู่เมื่อ 650 ล้านปีก่อน

ในอดีต อริสโตเติลจำแนกสัตว์ออกเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มที่มีเลือดและไม่มีเลือด คาร์ล ลินเนียสสร้างการจำแนกสิ่งมีชีวิตอย่างเป็นลำดับเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2301 ด้วยผลงาน Systema Naturae ของเขา ซึ่งต่อมาฌ็อง-บาติส ลามาร์กขยายเพิ่มเป็น 14 ไฟลัมในปี พ.ศ. 2352 ในปี พ.ศ. 2417 แอ็นสท์ แฮเคิลแบ่งอาณาจักรสัตว์ออกเป็นเมทาซัวหลายเซลล์ (พ้องกับ Animalia) และโพรโทซัว อันเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่ไม่ได้รับการพิจารณาว่าเป็นสัตว์อีกต่อไป ในยุคปัจจุบัน การจำแนกประเภทของสัตว์ขึ้นอยู่กับวิธีการขั้นสูง เช่น วิวัฒนาการชาติพันธุ์เชิงโมเลกุล (Molecular phylogenetics) ซึ่งสามารถแสดงความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการระหว่างสัตว์แต่ละชนิดได้อย่างดี

มนุษย์นำสัตว์มาใช้ประโยชน์ในหลากหลายด้าน เช่น นำมาบริโภคเป็นอาหาร (รวมทั้งเนื้อสัตว์ นม และไข่) นำมาใช้เป็นวัสดุ (เช่น หนังสัตว์ ขนสัตว์ เป็นต้น) และนำมาเป็นสัตว์เลี้ยงสำหรับขนส่งหรือใช้แรงงาน เป็นต้น มนุษย์นำสุนัขมาใช้ในการล่าสัตว์ขณะที่มีสัตว์บกและสัตว์น้ำจำนวนมากถูกล่าเป็นกีฬา สัตว์ที่ไม่ใช่มนุษย์ปรากฏในงานศิลปะตั้งแต่ยุคเริ่มแรกของมนุษย์ และยังปรากฏในปรัมปราวิทยาและศาสนาด้วย

รากศัพท์

คำว่า "สัตว์" มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤตว่า सत्त्व (สตฺตฺว) แปลว่าความเป็น

คำว่า "animal" ในภาษาอังกฤษมีรากศัพท์มาจากภาษาละตินว่า animalis แปลว่ามีลมหายใจ มีวิญญาณ หรือสิ่งมีชีวิต ส่วนนิยามในทางชีววิทยานั้นหมายถึงทุกสมาชิกในอาณาจักร Animalia แต่เมื่อใช้โดยทั่วไป คำว่า "สัตว์" บางครั้งหมายถึงแค่สัตว์อื่นที่ไม่ใช่มนุษย์ อันเป็นผลมาจากแนวคิดมนุษย์เป็นศูนย์กลาง

ลักษณะ

สัตว์มีลักษณะหลายประการที่จำแนกชัดเจนจากสิ่งมีชีวิตอื่น สัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตและหลายเซลล์ ต่างจากแบคทีเรียที่เป็นโพรแคริโอต ต่างจากโพรทิสตาที่เป็นยูแคริโอตแต่เป็นเซลล์เดียว และต่างจากพืชและสาหร่ายที่สามารถสร้างอาหารได้เอง แต่สัตว์นั้นเป็นเฮเทโรทรอพ กล่าวคือต้องรับอาหารจากแหล่งอื่นมาย่อยสลายภายใน สัตว์เกือบทั้งหมดหายใจด้วยออกซิเจน สัตว์ทั้งหมดเคลื่อนไหวได้เอง (สามารถขยับร่างกายได้โดยธรรมชาติ) อย่างน้อยในช่วงหนึ่งของวัฎจักรชีวิต แต่ในสัตว์บางชนิด ได้แก่ ฟองน้ำ ปะการัง หอยแมลงภู่ และเพรียง มักจะเกาะอยู่กับที่ในช่วงหลังของชีวิต บลาสตูลาเป็นระยะหนึ่งในช่วงการเกิดเอ็มบริโอที่เป็นเอกลักษณ์ของสัตว์ส่วนใหญ่ อันเป็นกระบวนการที่ทำให้เซลล์สามารถเปลี่ยนสภาพไปเป็นเนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง ๆ ได้

โครงสร้าง

สัตว์ทั้งหมดประกอบขึ้นจากเซลล์ที่ล้อมไปด้วยสารเคลือบเซลล์ต่าง ๆ ที่ประกอบขึ้นจากคอลลาเจนและไกลโคโปรตีนที่ยืดหยุ่น ระหว่างการเจริญเติบโต สารเคลือบเซลล์ของสัตว์ก่อตัวเป็นโครงร่างที่ค่อนข้างยืดหยุ่น เซลล์สามารถขยับและจัดเรียงตัวเองใหม่ได้ ทำให้โครงสร้างที่ซับซ้อนสามารถก่อตัวขึ้นได้ โครงร่างนี้สามารถแข็งตัวขึ้นและกลายเป็นโครงร่างเปลือก กระดูก หรือ ขวาก ในทางกลับกัน เซลล์ของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์อื่น (สาหร่าย พืช และเห็ดราเป็นหลัก) จะยึดอยู่กับที่ด้วยผนังเซลล์ และพัฒนาขึ้นระหว่างการเจริญเติบโตเรื่อย ๆ เซลล์สัตว์มีรอยต่อระหว่างเซลล์ที่เป็นเอกลักษณ์ ได้แก่ ไทต์ จังก์ชัน แกบจังก์ชัน และเดสโมโซม

ร่างกายของสัตว์ส่วนมาก ยกเว้นฟองน้ำและพลาโคซัว แยกออกเป็นเนื้อเยื่อต่าง ๆ รวมถึงกล้ามเนื้อที่ทำให้เคลื่อนไหวได้ และเนื้อเยื่อประสาทที่ถ่ายทอดสัญญาณและควบคุมร่างกาย โดยปกตินั้นจะมีห้องย่อยอาหารภายใน ไม่ว่าจะมีทางเข้าเดียว (อย่างในทีโนโฟรา ไนดาเรีย และหนอนตัวแบน) หรือสองทางเข้า (อย่างในไบลาทีเรียส่วนใหญ่)

การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต

สัตว์: รากศัพท์, ลักษณะ, สายวิวัฒนาการ 
การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศเกือบจะปรากฏในสัตว์ทุกชนิด ดังเช่นในแมลงปอเหล่านี้

สัตว์เกือบทั้งหมดสืบพันธุ์โดยอาศัยเพศ สัตว์เหล่านี้จะสร้างเซลล์สืบพันธุ์แฮพล็อยด์สองชนิดจากไมโอซิส อันได้แก่สเพอร์แมโทซูน เซลล์สืบพันธุ์ขนาดเล็กที่เคลื่อนไหวเองได้ และเซลล์ไข่ที่มีขนาดใหญ่กว่าและเคลื่อนไหวเองไม่ได้ สองเซลล์นี้จะรวมตัวกันเป็นไซโกต ที่เจริญเติบโตขึ้นด้วยไมโอซิสอยู่ภายในทรงกลมกลวง เรียกว่า บลาสตูลา ในฟองน้ำ ตัวอ่อนบลาสตูลาจะว่ายน้ำไปสู่ตำแหน่งใหม่ ยึดติดกับก้นทะเล และเจริญเติบโตกลายเป็นฟองน้ำตัวใหม่ ในสัตว์กลุ่มอื่น ๆ ส่วนใหญ่ บลาสตูลาจะเข้าสู่การจัดเรียงใหม่ที่ซับซ้อนมากขึ้น เริ่มแรกมันจะบุ๋มลงไป เกิดเป็นแกสตรูลาที่มีห้องย่อยอาหารและเนื้อเยื่อคัพภะสองชั้น ได้แก่ เอ็กโทเดิร์มอยู่ด้านนอก และเอนโดเดิร์มอยู่ด้านใน ในกรณีส่วนใหญ่นั้น ชั้นที่สามที่เรียกว่า เมโซเดิร์ม จะเจริญขึ้นระหว่างสองชั้นนั้น เนื้อเยื่อคัพภะเหล่านี้ภายหลังจะเปลี่ยนสภาพไปเป็นเนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง ๆ

กรณีซ้ำ ๆ ของการผสมพันธุ์โดยอาศัยเพศระหว่างสายเลือดเดียวกันโดยปกติจะนำไปสู่ความเสื่อมโทรมทางสายเลือดภายในกลุ่มประชากร เนื่องจากความชุกที่เพิ่มขึ้นของลักษณะด้อยอันตราย สัตว์ได้วิวัฒนาการกลไกจำนวนมากเพื่อหลีกเลี่ยงการผสมพันธุ์ระหว่างสายเลือดที่ใกล้ชิดกัน ในบางสปีชีส์ เช่น Malurus splendens ตัวเมียจะผสมพันธุ์กับตัวผู้หลายตัว ทำให้เกิดรุ่นลูกที่มีคุณภาพทางพันธุกรรมมากขึ้น

สัตว์บางชนิดสามารถสืบพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศ ซึ่งมักก่อให้เกิดการโคลนของพันธุกรรมรุ่นพ่อแม่ การสืบพันธุ์ในลักษณะนี้อาจเกิดได้จากการขาดออกเป็นท่อน การแตกหน่อดังเช่นในไฮดราและไนดาเรียอื่น ๆ หรือไม่ผสมพันธุ์เลยโดยไข่ซึ่งเจริญพันธุ์แล้วไม่ได้ผ่านการผสมพันธุ์ดังเช่นในเพลี้ยอ่อน

สายวิวัฒนาการ

สัตว์เป็นกลุ่มชาติพันธุ์เดียว กล่าวคือสัตว์ทุกชนิดมีบรรพบุรุษร่วมกัน สัตว์เป็น "พี่น้อง" กับโคอาโนแฟลกเจลลาตา ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นโคอาโนซัว สัตว์แรกเริ่มที่สุดนั้น ได้แก่ ฟองน้ำ ทีโนฟอรา ไนดาเรีย และพลาโคซัว มีแผนกายที่ขาดสมมาตรด้านข้าง ความสัมพันธ์ระหว่างสัตว์เหล่านี้ยังเป็นที่กังขา กลุ่มพี่น้องของสัตว์อื่นทั้งหมดอาจเป็นฟองน้ำหรือทีโนฟอรา โดยที่ทั้งคู่นั้นขาดยีนฮอกซ์ ซึ่งสำคัญสำหรับการเจริญเติบโตของแผนกาย

ยีนเหล่านี้พบได้ในพลาโคซัว และสัตว์ชั้นสูงกว่าอย่างไบลาทีเรีย กลุ่มยีนทั้งหมด 6,331 กลุ่มมีร่วมกันในสัตว์ที่ยังมีชีวิตอยู่ทุกชนิดที่ได้รับการระบุสายพันธุ์แล้ว นี่อาจเกิดขึ้นจากบรรพบุรุษร่วมตัวเดียวกันที่มีชีวิตอยู่เมื่อ 650 ล้านปีก่อนในยุคพรีแคมเบรียน 25 กลุ่มจากกลุ่มยีนเหล่านี้เป็นกลุ่มยืนแกนกลางซึ่งพบได้เฉพาะในสัตว์ 8 ใน 25 กลุ่มนี้เป็นส่วนประกอบจำเป็นของทางส่งสัญญาณแบบดับเบิลยูเอ็นทีและทีจีเอฟ-เบตา ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่ทำให้สัตว์กลายเป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์โดยให้แบบแผนแก่ระบบแกนของร่างกาย (ในสามมิติ) และอีก 7 กลุ่มเป็นแฟกเตอร์ของการถอดรหัส รวมถึงโปรตีนโฮเมโอโดเมนที่มีส่วนในการควบคุมการเจริญเติบโต

สายวิวัฒนาการ (เฉพาะของสายหลัก) นี้ระบุจำนวนล้านปีโดยประมาณที่สายวิวัฒนาการนั้นแยกจากกัน

Choanozoa

โคอาโนแฟลกเจลาตา สัตว์: รากศัพท์, ลักษณะ, สายวิวัฒนาการ 


Animalia

ฟองน้ำ สัตว์: รากศัพท์, ลักษณะ, สายวิวัฒนาการ 


Eumetazoa

ทีโนฟอรา สัตว์: รากศัพท์, ลักษณะ, สายวิวัฒนาการ 


ParaHoxozoa


พลาโคซัว สัตว์: รากศัพท์, ลักษณะ, สายวิวัฒนาการ 



ไนดาเรีย สัตว์: รากศัพท์, ลักษณะ, สายวิวัฒนาการ 



Bilateria

เซนาซีโลมอร์ฟา สัตว์: รากศัพท์, ลักษณะ, สายวิวัฒนาการ 


Nephrozoa
Deuterostomia

สัตว์มีแกนสันหลัง สัตว์: รากศัพท์, ลักษณะ, สายวิวัฒนาการ 



อัมบูลาคราเรีย สัตว์: รากศัพท์, ลักษณะ, สายวิวัฒนาการ 



Protostomia
Ecdysozoa

สกาลิโดฟอรา




สัตว์ขาปล้องและพวก สัตว์: รากศัพท์, ลักษณะ, สายวิวัฒนาการ 



นีมาโทดาและพวก สัตว์: รากศัพท์, ลักษณะ, สายวิวัฒนาการ 




Spiralia
Gnathifera

โรติเฟอราและพวก สัตว์: รากศัพท์, ลักษณะ, สายวิวัฒนาการ 



คีโทนาธา สัตว์: รากศัพท์, ลักษณะ, สายวิวัฒนาการ 



Platytrochozoa

หนอนตัวแบนและพวก สัตว์: รากศัพท์, ลักษณะ, สายวิวัฒนาการ 


Lophotrochozoa

มอลลัสกาและพวก สัตว์: รากศัพท์, ลักษณะ, สายวิวัฒนาการ 



หนอนปล้องและพวก สัตว์: รากศัพท์, ลักษณะ, สายวิวัฒนาการ 













สัตว์พวกไม่ใช่ไบลาทีเรีย

สัตว์พวกไบลาทีเรีย

โพรโทสโทเมียและดิวเทอโรสโทเมีย

เอคดีโซซัว

สไปราเลีย

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

  • สัตว์: รากศัพท์, ลักษณะ, สายวิวัฒนาการ  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Animalia ที่วิกิสปีชีส์
  • แม่แบบ:Eol
  • Tree of Life Project

Tags:

สัตว์ รากศัพท์สัตว์ ลักษณะสัตว์ สายวิวัฒนาการสัตว์ ดูเพิ่มสัตว์ อ้างอิงสัตว์ แหล่งข้อมูลอื่นสัตว์

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

มิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2024อสมทหลานม่าจีเมลทวีปอเมริกาเหนือฉัตรชัย เปล่งพานิชรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)ฟุตบอลโลก 2018มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ประเทศออสเตรียพรรคก้าวไกลคริสเตียโน โรนัลโดพิจิตตรา สิริเวชชะพันธ์เอเชียนคัพกระทรวงในประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเธียร์รี อองรีรายการรหัสไปรษณีย์ไทยโป๊กเกอร์อุรัสยา เสปอร์บันด์0ภาษาเกาหลีพลังธรรม กล่อมทองสุขอุษามณี ไวทยานนท์จังหวัดตากรายชื่อจังหวัดในประเทศไทยเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในจังหวัดต่อหัวฟุตบอลทีมชาติฮังการีพัชราภา ไชยเชื้อบริษัทแจ็กสัน หวังบอดี้สแลมจังหวัดชุมพรพรหมลิขิตนิชคุณ ขจรบริรักษ์โรงพยาบาลในประเทศไทยรายชื่อรัฐวิสาหกิจไทยรายพระนามและชื่ออธิบดีกรมตำรวจและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติของไทยมหาวิทยาลัยรังสิตความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยช้อปปี้โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัยจังหวัดนครราชสีมาจีเอ็มเอ็มทีวีรายชื่อตัวละครในวันพีซอุปสงค์และอุปทานประเทศอิสราเอลรายชื่อตอนในเป็นต่อจรินทร์พร จุนเกียรติรายชื่อนามสกุลที่ใช้กันมากอู๋ เหล่ย์ (นักแสดง)วอลเลย์บอลคงกะพัน แสงสุริยะวิกิพีเดียบาสเกตบอลหอเกียรติยศพรีเมียร์ลีกรินรดา แก้วบัวสายFBFตี๋ เหรินเจี๋ยเจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณีฟุตบอลโลก 2006ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรวิทยุเสียงอเมริกาพ.ศ. 2552รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานครรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาคาราบาวเทศกาลเช็งเม้งจังหวัดเชียงใหม่ปฏิวัติ คำไหมกฤษดา สุโกศล แคลปป์อัญรินทร์ ธีราธนันพัฒน์แปลก พิบูลสงครามจังหวัดมหาสารคามธนิน มนูญศิลป์Face Off แฝดคนละฝาพรีเมียร์ลีก🡆 More