ยูทูบ

ยูทูบ ตามสำเนียงอเมริกัน หรือ ยูทิวบ์ ตามสำเนียงบริเตน (อังกฤษ: YouTube; เสียงอ่านภาษาอังกฤษ: /ˈjuːˌtjuːb (สำเนียงบริเตน), /-tuːb (สำเนียงอเมริกัน)/) เป็นเว็บไซต์เผยแพร่วิดีโอโดยมีสำนักงานอยู่ที่แซนบรูโน แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ผู้สร้างเว็บไซต์ดังกล่าว คือ อดีตพนักงาน 3 คนในบริษัทเพย์แพล อันประกอบด้วยแชด เฮอร์ลีย์ สตีฟ เชน และยาวีด คาริม โดยสร้างในเดือนกุมภาพันธ์ 2548 ในเดือนพฤศจิกายน 2549 กูเกิลซื้อยูทูบซื้อไปในราคา 1.65 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ยูทูบเป็นหนึ่งในบริษัทย่อยของกูเกิล เว็บไซต์ยังสามารถให้ผู้ใช้งานสามารถอัปโหลด ดู หรือแบ่งปันวิดีโอได้เลย

ยูทูบ
ประเภทบริการรับฝากวีดิทัศน์
วันที่ก่อตั้ง14 กุมภาพันธ์ 2005; 19 ปีก่อน (2005-02-14)
สำนักงานใหญ่901 เชอรี้ แอลวีนิวส์, ซานบรูโน, แคลิฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกา
พื้นที่ให้บริการทั่วโลก (ยกเว้นประเทศที่ถูกบล็อก)
ผู้ก่อตั้ง
ซีอีโอนีล โมฮัน (CEO)
อุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ต
บริการรับฝากวีดิทัศน์
เจ้าของแอลฟาเบต
บริษัทแม่กูเกิล (2006–ปัจจุบัน)
เว็บไซต์YouTube.com
(see list of localized domain names)
อันดับอเล็กซาSteady 2 (Global, October 2017)
การโฆษณากูเกิล แอดเซนส์
สถานะปัจจุบันเปิดให้บริการ

ประวัติ

ยูทูบก่อตั้งขึ้นโดยพนักงานของบริษัทเพย์แพล ซึ่งเป็นเว็บไชต์สำหรับการแบ่งปันวีดิทัศน์ โดยที่สมาชิกของยูทูบสามารถอัปโหลดและสำรวจวีดิทัศน์ได้ โดเมนเนมของยูทูบมีว่า "www.youtube.com" ซึ่งเผยแพร่ครั้งแรกในวันจันทร์ ที่ 14 เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005 เวลา 9:13 นาฬิกา

ยูทูบก่อตั้งโดยแชด เฮอร์ลีย์, สตีฟ เชน และยาวีด คาริม โดยทั้งหมดเป็นพนักงานฝึกหัดที่บริษัทเพย์แพล เพื่อที่จะเข้าเป็นบุคลากรของบริษัทเพย์แพล โดยเฮอร์ลีย์ได้เข้ามหาวิทยาลัยอินเดียดาแห่งเพนสิเวอร์เนีย ด้านการออกแบบ เชนกับคาริมศึกษาอยู่มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์ ด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ โดยสำนักงานแห่งแรกของยูทูบอยู่ที่ข้างบนร้านพิซซ่า และร้านอาหารญี่ปุน ในซานเมเทโฮ รัฐแคลิฟอร์เนีย

โดเมนเนมเปิดใช้งานครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005 พร้อมกับการรวมวีดิทัศน์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 2005 เป็นการเริ่มต้นคลิปวีดิทัศน์แห่งแรกในยูทูบ ชื่อวีดิทัศน์ Me at the zoo เมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 2005 โดยมีผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ ยาวีด คาริม ถ่ายที่สวนสัตว์ซานดิอิโก

ข้อมูลเชิงเทคนิค

รูปแบบวิดีโอ

ยูทูบใช้งานโดยแสดงผลภาพวิดีโอในลักษณะของ Adobe Flash และใช้การถอดรหัสแบบ Sorenson Spark H.263 แฟลชเป็นโปรแกรมเสริมที่ต้องติดตั้งเพิ่มสำหรับเว็บเบราว์เซอร์ทั่วไป โดยแสดงผลที่ขนาดความกว้างและสูง 320 และ 240 พิกเซล ที่ 25 เฟรมต่อวินาที โดยมีการส่งข้อมูลสูงสุดที่ 300 กิโลบิตต่อวินาที ซึ่งการแสดงผลสามารถดูได้ที่ขนาดปกติ หรือขนาดที่แสดงผลเต็มจอ

ยูทูบแปลงไฟล์วิดีโอเป็นไฟล์ในลักษณะแฟลชวิดีโอ ในนามสกุล .FLV ภายหลังจากผู้ใช้ได้อัปโหลดเข้าไป ไม่ว่าผู้อัปโหลดจะโหลดในลักษณะ .WMV .AVI .MOV .3GP MPEG หรือ .MP4

รูปแบบเสียง

ไฟล์ในยูทูบเก็บในลักษณะสตรีมไฟล์MP3 โดยมีการเข้ารหัสแบบโมโนที่ 65 กิโลบิต/วินาที ที่ 22050 เฮิรตซ์ อย่างไรก็ตามยูทูบสามารถเก็บไฟล์เสียงในลักษณะสเตอริโอได้หากมีการแปลงเป็นไฟล์ FLV ก่อนที่ทำการอัปโหลด

การแสดงผล

วิดีโอในยูทูบสามารถดูได้ผ่านเว็บไซต์ยูทูบโดยตรงผ่านซอฟต์แวร์แฟลชที่กล่าวมา ดูได้ผ่านคอมพิวเตอร์, สมาร์ตโฟน หรือแท็บเล็ตที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ ซึ่งนอกจากนี้ยูทูบสามารถดูได้จากเว็บไซต์ทั่วไปที่มีการนำรหัสไปใส่เชื่อมโยงกลับมาที่เว็บยูทูบเอง เห็นได้ตามกระดานสนทนา บล็อก หรือเว็บไซต์ต่าง ๆ

นอกจากนี้สามารถบันทึกไฟล์ยูทูบเก็บไว้ในเครื่องของตนเองได้โดยใช้งานซอฟต์แวร์ของบริษัทอื่น เช่น Keepvid หรือผ่านสคริปต์จาก Greasemonkey โดยจะมีไฟล์เป็นนามสกุล .flv

โดยมีความละเอียดแตกต่างกันไป โดยมีความละเอียดเริ่มต้นที่ 144P ถึง 480P และในความละเอียด HD ที่ 720P ถึง 8K ที่ 4320P

ยูทูบในประเทศไทย

การปิดกั้นข่าวสารในประเทศไทย

ผู้ใช้ในประเทศไทยได้ถูกปิดกั้นการเข้าถึงเว็บไซต์ยูทูบ ตั้งแต่คืนวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2550 หลังจากสิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในขณะนั้น พยายามขอความร่วมมือหลายครั้ง ให้กูเกิลนำคลิปวิดีโอตัดต่อพระบรมฉายาลักษณ์ที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพออก แต่ถูกปฏิเสธโดยได้ให้เหตุผลว่าคลิปวิดีโออื่นที่โจมตีประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช รุนแรงมากกว่านี้ ยังให้อยู่ได้ ซึ่งคลิปวิดีโอดังกล่าว อัปโหลดโดยผู้ใช้ชื่อ paddidda เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2550 มีผู้ชมไปแล้ว มากกว่า 16,000 ครั้ง และมีมากกว่า 500 ความคิดเห็นด้วยกัน หลังจากที่ได้มีการออกข่าว จำนวนผู้ชมไปขึ้นไปถึงกว่า 66,553 ครั้งก่อนที่คลิปวิดีโอดังกล่าวจะถูกย้ายออกจากระบบ แม้ว่าคลิปวิดีโอได้ถูกเอาออกไปแล้ว แต่เว็บไซต์ยังคงถูกบล็อกต่อไป โดยนายสิทธิชัย โภไคยอุดมได้ให้เหตุผลว่ายังมีภาพตัดต่อพระบรมฉายาลักษณ์คงเหลืออยู่ และต้องการให้เอาออกทั้งหมด

ในวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ได้มีการยกเลิกการบล็อกเว็บไซต์ยูทูบ จนสามารถใช้งานได้ตามปกติแล้ว หลังจากที่ยูทูบตกลงที่จะบล็อกวิดีโอที่มีการหมิ่นประมาทในไทยต่าง ๆ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

ยูทูบ ประวัติยูทูบ ข้อมูลเชิงเทคนิคยูทูบ ในประเทศไทยยูทูบ ดูเพิ่มยูทูบ อ้างอิงยูทูบ แหล่งข้อมูลอื่นยูทูบAmerican Englishกูเกิลภาษาอังกฤษยาวีด คาริมสตีฟ เชนสหรัฐอเมริกาสำเนียงบริเตนเพย์แพลเว็บไซต์แคลิฟอร์เนียแชด เฮอร์ลีย์

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์สมณศักดิ์จังหวัดศรีสะเกษทวิตเตอร์พัฒน์ชัย ภักดีสู่สุขคือหัตถาครองพิภพ (ละครโทรทัศน์)พรรคเพื่อไทยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจังหวัดพะเยาอาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)งูทะเลงูกะปะอีเอฟแอลแชมเปียนชิปพระครูวรเวทมุนี (อี๋ พุทฺธสโร)การรถไฟแห่งประเทศไทยชานน สันตินธรกุลภาคใต้ (ประเทศไทย)เซี่ยงไฮ้กรุงเทพมหานครและปริมณฑลวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหารเอลนีโญพระพุทธชินราชดอลลาร์สหรัฐธนานนท์ ปฏิญญาศักดิกุลราศีพฤษภไฮคิว!! คู่ตบฟ้าประทานลิซ่า (แร็ปเปอร์)วีริณฐ์ศรา ตั้งกิจสุวานิชทีสปอร์ต 7กวนอิมข้าราชการส่วนท้องถิ่นไพ่แคงแบล็กพิงก์ตารางตัวหารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒดราก้อนบอลฉัตรชัย เปล่งพานิชจังหวัดจันทบุรีจังหวัดสมุทรสาครโรงเรียนนายร้อยตำรวจรายชื่อภาพยนตร์ในจักรวาลภาพยนตร์มาร์เวลบรรดาศักดิ์ไทยอสมทฟุตซอลโลก 2021สังฆาทิเสสยมทูตกับภูตสาวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเผ่าภูมิ โรจนสกุลอินดอร์ สเตเดียม หัวหมากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เครยอนชินจังแฮร์รี่ พอตเตอร์ปรเมศร์ น้อยอ่ำติ๊กต็อกเอกซ์เอกซ์เอกซ์เทนเทสซิยอนจังหวัดปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนาทศศีลเจดอน แซนโชจังหวัดกระบี่มาวิน ทวีผลหม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์พริมรตา เดชอุดมดาวิกา โฮร์เน่จังหวัดชัยภูมิหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคลพรหมลิขิตภาวะโลกร้อนพิชิตรัก พิทักษ์โลกจังหวัดลำปางพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถโรงเรียนเตรียมทหารสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวีณฐพร เตมีรักษ์ก็อดซิลล่า ปะทะ คองประเทศอิสราเอลกูเกิลจนกว่าจะได้รักกันธนาคารกรุงไทย🡆 More