เอเชียกลาง

เอเชียกลาง (อังกฤษ: Central Asia) เป็นอนุภูมิภาคในทวีปเอเชียที่มีขอบเขตจากทะเลแคสเปียนทางตะวันตกเฉียงใต้และยุโรปตะวันออกทางตะวันตกเฉียงเหนือถึงจีนตะวันตกและมองโกเลียทางตะวันออก และจากอัฟกานิสถานและอิหร่านทางใตืถึงรัสเซียทางเหนือ ประเทศที่อยู่ในเอเชียกลางได้แก่คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกิสถาน เติร์กเมนิสถาน และอุซเบกิสถาน

เอเชียกลาง
เอเชียกลาง
พื้นที่4,003,451 ตารางกิโลเมตร (1,545,741 ตารางไมล์)
ประชากร75,897,577 (2021) (ที่ 16)
ความหนาแน่น17.43 ต่อตารางกิโลเมตร (45.1 ต่อตารางไมล์)
จีดีพี (อำนาจซื้อ)1.25 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (2023)
จีดีพี (ราคาตลาด)446,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2023)
จีดีพีต่อหัว5,900 ดอลลาร์สหรัฐ (2023; เฉลี่ย)
16,400 ดอลลาร์สหรัฐ (2023; PPP)
เอชดีไอเพิ่มขึ้น0.779 (สูง)
เดมะนิมชาวเอเชียกลาง
ประเทศ
ภาษาดุงกาน, การากัลปัก, คาซัค, โครยอ-มาร์, คีร์กีซ, มองโกล, รัสเซีย, ทาจิก, เติร์กเมน, อุยกูร์, อุซเบก และอื่น ๆ
เขตเวลา
2 เขตเวลา
  • UTC+05:00:
  • UTC+06:00:
    • มาตรฐาน: คาซัคสถาน (4 นคร, 9 ภูมิิภาค), คีร์กีซสถาน
โดเมนระดับบนสุด.kg, .kz, .tj, .tm, .uz
รหัสโทรศัพท์โซน 9 ยกเว้นคาซัคสถาน (โซน 7)
เมืองใหญ่
รหัส UN M49143 – เอเชียกลาง
142เอเชีย
001โลก
a มีประชากรมากกว่า 500,000 คน

ในสมัยก่อนอิสลามถึงอิสลามตอนต้น (ป. ค.ศ. 1000 และก่อนหน้า) ผู้ตั้งถิ่นฐานในเอเชียกลางส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชนอิหร่าน ที่มีประชากรแบกเตรีย ซอกเดีย ฆวารัซม์ที่พูดภาษาอิหร่านตะวันออก และชนกึ่งร่อนเร่ชาวซิทและดาฮา หลังการขยายตัวของชาวเตอร์กิก เอเชียกลางจึงกลายเป็นบ้านเกิดของชาวอุซเบก, คาซัค, ตาตาร์, เติร์กเมน, คีร์กีซ และอุยกูร์ กลุ่มภาษาเตอร์กิกเข้ามาแทนที่กลุ่มภาษาอิหร่านในบริเวณนี้ ยกเว้นบริเวณทาจิกิสถานที่มีผู้พูดภาษาทาจิกอยู่

เอเชียลางในอดีตมีความเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับเส้นทางสายไหม[ต้องการอ้างอิง] โดยทำหน้าที่เป็นทางแยกในการเคลื่อนย้ายผู้คน สินค้า และแนวคิดระหว่างยุโรปกับตะวันออกไกล ประเทศในเอเชียกลางส่วนใหญ่ยังคนมีส่วนสำคัญต่อเศรษฐกิจโลก

นับตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงเกือบปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 เอเชียกลางถูกล่าอาณานิคมโดยชาวรัสเซีย และถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซียและภายหลังคือสหภาพโซเวียตที่นำชาวรัสเซียและชาวสลาฟอื่น ๆ อพยพเข้ามายังบริเวณนี้ เอเชียกลางในปัจจุบันเป็นที่ตั้งของผู้ตั้งถิ่นฐานชาวยุโรปขนาดใหญ่ที่ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในคาซัคสถาน แบ่งเป็นชาวรัสเซีย 7 ล้านคน ชาวยูเครน 500,000 คน และชาวเยอรมันประมาณ 170,000 คน นโยบายบังคับเนรเทศสมัยสตาลินยังทำให้มีชาวเกาหลีอาศัยอยู่ในบริเวณนี้มากกว่า 300,000 คน

เอเชียกลางมีประชากรประมาณ 72 ล้านคนใน 5 ประเทศ ได้แก่: คาซัคสถาน (18 ล้านคน), คีร์กีซสถาน (6 ล้านคน), ทาจิกิสถาน (9 ล้านคน), เติร์กเมนิสถาน (6 ล้านคน) และอุซเบกิสถาน (35 ล้านคน)

คำนิยาม

แผนที่ทางการเมืองของเอเชียกลางและคอเคซัส (2000)
แผนที่ทางการเมืองสองมิติของเอเชียกลางที่รวมอัฟกานิสถาน

หนึ่งในนักภูมิศาสตร์คนแรกที่ให้เอเชียตกลางเป็นภูมิภาคจำเพาะของโลกคืออเล็คซันเดอร์ ฟ็อน ฮุมบ็อลท์ ของเขตเอเชียกลางมีคำจำกัดความหลายแบบ โดยในอดีต ตัวแปรสำคัญสองประการที่ใช้ในคำจำกัดความทางวิชาการของเอเชียกลางอย่างแพร่หลายคือภูมิศาสตร์ทางการเมืองและวัฒนธรรม คำนิยามของฮุมบ็อลท์ประกอบด้วยทุกประเทศที่อยู่ในระหว่าง 5° เหนือถึง 5° ใต้ของละติจูด 44.5°เหนือ ฮุมบ็อลท์กล่าวถึงลักษณะทางภูมิศาสตร์ในภูมิภาคนี้ ได้แก่ ทะเลแคสเปียนทางตะวันตก เทือกเขาอัลไตทางเหนือ และเทือกเขาฮินดูกูชกับปามีร์ทางใต้ เขาไม่ได้ระบุขอบเขตทางตะวันออกของเอเชียกลาง Nikolaĭ Khanykov นักภูมิศาสตร์ชาวรัสเซีย ตั้งคำถามถึงคำนิยามละติจูดของเอเชียกลางและใช้การนับประเทศในภูมิภาคที่ไม่ติดทะเล ซึ่งรวมอัฟกานิสถาน, โฆรอซอน (อิหร่านตะวันออกเฉียงเหนือ), คีร์กีซสถาน, ทาจิกิสถาน, เติร์กเมนิสถาน, อุยกูริสถาน (ซินเจียง) และอุซเบกิสถาน

เอเชียกลาง 
ตำนิยามเอเชียกลางแบบขยาย แก่นกลางได้แก่ 5 รัฐหลังโซเวียตในสีเขียวเข้ม อัฟกานิสถาน ประเทศที่ได้รับการบรรจุเข้าในเอเชียมากที่สุด ยู่ในสีเขียว ภูมิภาคที่บางครั้งถือเป็นส่วนหนึ่งของเอเชียกลางอยู่ในสีเขียวอ่อน
เอเชียกลาง 
แผนที่เอเชียกลางแสดงเขตแดนตามคำนิยามที่ต่างกัน 3 แบบ (ซึ่งทับซ้อนแนวคิดของเอเชียใต้และตะวันออก)

วัฒนธรรมรัสเซียมีคำที่ใช้เรียกบริเวณนี้ 2 แบบ: Средняя Азия (Srednyaya Aziya หรือ "เอเชียตอนกลาง" คำนิยามแบบแคบกว่าที่รวมเฉพาะดินแดนเอเชียกลางที่ไม่ใช่สลาฟที่ถูกรวมเข้าในชายแดนอดีตรัสเซีย) กับ Центральная Азия (Tsentralnaya Aziya หรือ "เอเชียกลาง" คำนิยามกว้างกว่าที่รวมดินแดนเอเชียกลางที่ไม่เคยเป็นส่วนหนึ่งของอดีตรัสเซีย) คำนิยามหลังรวมประเทศอัฟกานิสถานและ'เตอร์กิสถานตะวันออก'

คำนิยามที่จำกัดที่สุดคือคำนิยามทางการของสหภาพโซเวียตที่นิยามเอเชียตอนกลางว่าประกอบด้วยคีร์กีซสถาน, ทาจิกิสถาน, เติร์กเมนิสถาน และอุซเบกิสถาน ไม่นับคาซัคสถาน หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1991 ผู้นำอดีตสาธารณรัฐเอเชียกลางของโซเวียต 4 แห่ง พบปะกันที่ทาชเคนต์และประกาศว่าคำนิยามของเอเชียกลางควรรวมคาซัคสถานกับ 4 สาธารณรัฐเดิม นับแต่นั้นมา คำนิยามนี้จึงกลายเป็นคำนิยามเอเชียกลางที่พบได้มากที่สุด

ใน ค.ศ. 1978 ทางยูเนสโกระบุคำนิยามภูมิภาคนี้เป็น "อัฟกานิสถาน, อิหร่านตะวันออกเฉียงเหนือ, ปากีสถาน, อินเดียเหนือ, จีนตะวันตก, มองโกเลีย และสาธารณรัฐเอเชียกลางโซเวียต"

ภูมิศาสตร์

เอเชียกลาง 
ชายฝั่งทางใต้ของทะเลสาบอือซึก-เกิล จังหวัดอือซึก-เกิล

เอเชียกลางเป็นภูมิภาคที่มีสภาพภูมิศาสตร์หลากหลาย เช่นทางผ่านและเทือกเขาสูง (เทียนชาน) ทะเลทรายกว้าง (Kyzyl Kum, ทากลามากัน) และโดยเฉพาะสเตปป์หญ้าที่ไม่มีต้นไม้ สเตปป์ที่กว้างขวางในเอเชียกลางกับสเตปป์ในยุโรปตะวันออกถือว่าอยู่ในเขตภูมิศาสตร์เดียวกันที่มีชื่อว่าสเตปป์ยูเรเชีย

พื้นที่ส่วนใหญ่ของเอเชียกลางแห้งหรือขรุขระเกินไปที่จะทำเกษตรกรรม ทะเลทรายโกบีมีขอบเขตจากตีนเทือกเขาปามีร์ 77° ตะวันออก ถึงเทือกเขาต้าซิงอาน 116°–118° ตะวันออก

เอเชียกลางมีความสุดขั้วทางภูมิศาสตร์ดังนั้:

  • ทะเลทรายเหนือสุดในโลก (เนินทราย) ที่ Buurug Deliin Els ประเทศมองโกเลีย, 50°18' เหนือ
  • ชั้นดินเยือกแข็งคงตัวใต้สุดของซีกโลกเหนือที่Erdenetsogt sum, ประเทศมองโกเลีย, 46°17' เหนือ
  • ระยะห่างระหว่างทะเลทรายที่ไม่หนาวเย็นกับชั้นดินเยือกแข็งคงตัวที่สั้นที่สุดในโลก: 770 กิโลเมตร (480 ไมล์)
  • ขั้วที่เข้าไม่ถึงในยูเรเชีย

ประชากรส่วนใหญ่หารายได้ผ่านการต้อนปศุสัตว์ ศูนย์อุตสาหกรรมตั้งอยู่ที่ใจกลางนครต่าง ๆ ของภูมิภาค

แม่น้ำสายหลักในภูมิภาคนี้ได้แก่แม่น้ำอามูดาร์ยา ซีร์ดาร์ยา อีร์ติช ฮารี และ Murghab แหล่งน้ำหลักได้แก่ทะเลอารัลและทะเลสาบบัลคัช ทั้งอสงแห่งเป็นส่วนหนึ่งของแอ่งปิดเอเชียกลาง-ตะวันตกขนาดใหญ่ที่รวมทะเลแคสเปียนด้วย

แหล่งน้ำทั้งสองแห่งมีขนาดลดลงในช่วงไม่กี่ทศวรรษเนื่องจากการเปลี่ยนเส้นทางน้ำจากแม่น้ำที่ไหลเข้ามาเพื่อการชลประทานและอุตสาหกรรม น้ำเป็นทรัพยากรที่มีค่าอย่างมากในเอเชียกลางที่แห้งแล้ง และสามารถนำไปสู่ข้อพิพาทระดับนานาชาติที่ค่อนข้างสำคัญได้

แผนที่ภูมิประเทศของเอเชียกลาง

ข้อมูลประเทศและดินแดน

ประเทศ พื้นที่
ตร.กม.
ประชากร
(พ.ศ. 2560)
ความหนาแน่นประชากร
ต่อ ตร.กม.
จีดีพีเฉลี่ย (2023)
จีดีพีต่อหัว
(2023)
เอชดีไอ (2021) เมืองหลวง ภาษาราชการ
เอเชียกลาง  คาซัคสถาน 2,724,900 17,987,736 6.3 245.695 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 12,306 ดอลลาร์สหรัฐ 0.811 อัสตานา คาซัค, รัสเซีย
เอเชียกลาง  คีร์กีซสถาน 199,950 5,955,734 29.7 12.309 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 1,736 ดอลลาร์สหรัฐ 0.692 บิชเคก คีร์กีซ, รัสเซีย
เอเชียกลาง  ทาจิกิสถาน 142,550 8,734,951 60.4 12.796 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 1,277 ดอลลาร์สหรัฐ 0.685 ดูชานเบ ทาจิก, รัสเซีย
เอเชียกลาง  เติร์กเมนิสถาน 488,100 5,662,544 11.1 82.624 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 13,065 ดอลลาร์สหรัฐ 0.745 อาชกาบัต เติร์กเมน
เอเชียกลาง  อุซเบกิสถาน 448,978 36,024,900 69.1 92.332 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 2,563 ดอลลาร์สหรัฐ 0.727 ทาชเคนต์ อุซเบก

ประชากร

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

ข้อมูล

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

เอเชียกลาง คำนิยามเอเชียกลาง ภูมิศาสตร์เอเชียกลาง ข้อมูลประเทศและดินแดนเอเชียกลาง ประชากรเอเชียกลาง ดูเพิ่มเอเชียกลาง อ้างอิงเอเชียกลาง แหล่งข้อมูลอื่นเอเชียกลางคาซัคสถานคีร์กีซสถานทวีปเอเชียทะเลแคสเปียนทาจิกิสถานภาษาอังกฤษมองโกเลียยุโรปตะวันออกรัสเซียอนุภูมิภาคอัฟกานิสถานอิหร่านอุซเบกิสถานเติร์กเมนิสถาน

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

สุภาพบุรุษจุฑาเทพแอน ทองประสมสามเณรรามาวดี นาคฉัตรีย์โชติกา วงศ์วิลาศจังหวัดระยองสุรสีห์ ผาธรรมอัจฉริยะหมอ 2 แผ่นดินไม้มลายรัฐกะเหรี่ยงสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นิษฐา คูหาเปรมกิจภาษาไทยเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยสหราชอาณาจักรสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทเยือร์เกิน คล็อพสโมสรฟุตบอลทอตนัมฮอตสเปอร์บังสุกุลพระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวชลน่าน ศรีแก้วประเทศจีนท่าอากาศยานสุวรรณภูมิยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกFBเครื่องคิดเลขรายชื่อโรงเรียนในกรุงเทพมหานครศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์รายพระนามพระพุทธเจ้าจังหวัดนครศรีธรรมราชเนย์มาร์ฉัตรชัย เปล่งพานิชกฤษกร กนกธรรายชื่อนามสกุลที่ใช้กันมากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถสงกรานต์ เตชะณรงค์เทศกาลดนตรีเอสทูโอรายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดาพงษ์สิทธิ์ คำภีร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกรรชัย กำเนิดพลอยบุนเดิสลีกา ฤดูกาล 2023–24มือปืน 2 สาละวินไบเออร์ 04 เลเวอร์คูเซินวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารละหมาดสยามใหม่ เจริญปุระสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกสิเรียม ภักดีดำรงฤทธิ์เบียร์สิงห์ถนนหทัยราษฎร์ราชวงศ์จักรีสติปัฏฐาน 4การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566โฟร์อีฟสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดากองทัพอากาศไทยยอดนักสืบจิ๋วโคนันฉบับภาพยนตร์จังหวัดปทุมธานีบยอน อู-ซ็อกพ.ศ. 2542เดอะพาวเวอร์พัฟฟ์เกิลส์โหน่ง ชะชะช่าน้ำอสุจิดาวิกา โฮร์เน่จระเข้น้ำจืดพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัววัทธิกร เพิ่มทรัพย์หิรัญวัดพนัญเชิงวรวิหารเปป กวาร์ดิโอลาประเทศกัมพูชา🡆 More