เรื้อน

โรคเรื้อน (อังกฤษ: Leprosy) หรือ โรคแฮนเซน (อังกฤษ: Hansen's disease, ย่อ: HD) เป็นโรคเรื้อรังอันเกิดจากแบคทีเรีย Mycobacterium leprae และ Mycobacterium lepromatosis ตั้งตามชื่อแพทย์เจอร์ราด แฮนเซน (Gerhard Hansen) ชาวนอร์เวย์ โรคเรื้อนหลัก ๆ เป็นโรคผิวหนังเส้นประสาทส่วนปลายและเยื่อเมือกระบบทางเดินหายใจส่วนบน รอยโรคที่ผิวหนังเป็นสัญญาณภายนอกหลักอย่างหนึ่ง หากไม่ได้รับการรักษา โรคเรื้อนอาจลุกลาม และสร้างความเสียหายถาวรต่อผิวหนัง เส้นประสาท แขนขาและตาได้ คติชาวบ้านมักเชื่อว่าโรคเรื้อนทำให้ส่วนของร่างกายหลุดออกมา แต่คตินี้ไม่เป็นความจริง แม้ส่วนนั้นอาจชาหรือเป็นโรคจากการติดเชื้อทุติยภูมิ ซึ่งเกิดขึ้นหลังภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อสู้กับการติดเชื้อปฐมภูมิ การติดเชื้อทุติยภูมิสามารถส่งผลให้สูญเสียเนื้อเยื่อตามลำดับ ทำให้นิ้วมือและนิ้วเท้าสั้นลงและผิดรูปร่าง เพราะกระดูกอ่อนถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย

Leprosy
ชื่ออื่นHansen's disease (HD)
เรื้อน
ชายวัย 24 ปีติดโรคเรื้อน
การออกเสียง
สาขาวิชาInfectious disease
อาการDecreased ability to feel pain
สาเหตุMycobacterium leprae or Mycobacterium lepromatosis
ปัจจัยเสี่ยงClose contact with a case of leprosy, living in poverty
การรักษาMultidrug therapy
ยาRifampicin, dapsone, clofazimine
ความชุก209,000 (2018)

แม้วิธีการส่งผ่านโรคเรื้อนจะยังไม่ทราบแน่ชัด ผู้ทำการศึกษาส่วนใหญ่คิดว่า M. leprae ติดต่อจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งโดยฝอยละออง การศึกษาได้แสดงว่า โรคเรื้อนสามารถส่งผ่านไปยังมนุษย์ได้โดยอาร์มาดิลโล ปัจจุบันนี้ โรคเรื้อนทราบกันว่า ไม่ส่งผ่านทางเพศสัมพันธ์และการติดเชื้ออย่างรุนแรงหลังได้รับการรักษาแล้ว มนุษย์กว่า 95% มีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ และผู้ป่วยจะไม่แพร่เชื้อหลังรักษาแล้วเพียง 2 สัปดาห์

ระยะฟักตัวน้อยสุดมีรายงานว่าสั้นเพียงไม่กี่สัปดาห์ ตามการเกิดโรคเรื้อนขึ้นอย่างน้อยครั้งมากในทารก ระยะฟักตัวมากสุดมีรายงานว่านานถึง 30 ปีหรือมากกว่า ดังที่สังเกตหมู่ทหารผ่านศึกที่เคยไปอยู่ในพื้นที่การระบาดช่วงสั้น ๆ แต่ปัจจุบันได้อยู่ในพื้นที่ไม่มีการระบาด เป็นที่ตกลงกันทั่วไปว่าระยะฟักตัวเฉลี่ยอยู่ระหว่างสามถึงห้าปี

โรคเรื้อนเป็นโรคที่มนุษย์เป็นมานานกว่า 4,000 ปีแล้ว และเป็นที่รู้จักกันดีในอารยธรรมจีน อียิปต์และอินเดียโบราณ ค.ศ. 1995 องค์การอนามัยโลกประเมินว่า ประชากรโลกระหว่าง 2 และ 3 ล้านคน พิการถาวรเพราะโรคเรื้อนในขณะนั้น ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ประชากรโลก 15 ล้านคนได้รับการรักษาโรคเรื้อน แม้การบังคับกักกันหรือการแยกผู้ป่วยออกนั้น เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นอีกแล้ว ในสถานที่ซึ่งมีการบำบัดรักษา แต่หลายพื้นที่ของโลกก็ยังมีนิคมโรคเรื้อนอยู่ เคยเชื่อกันว่า โรคเรื้อนติดต่อทางสัมผัสและรักษาได้ด้วยปรอท ซึ่งทั้งหมดเป็นลักษณะของซิฟิลิส ซึ่งอธิบายครั้งแรกใน ค.ศ. 1530 ปัจจุบัน เชื่อกันว่าผู้ป่วยโรคเรื้อนสมัยโบราณหลายคนอาจเป็นโรคซิฟิลิส

ความเป็นที่รังเกียจของสังคมช้านานกับโรคเรื้อนขั้นหนักยังเหลืออยู่ในหลายพื้นที่ และเป็นอุปสรรคสำคัญในการรายงานด้วยตัวเองและเข้ารับการรักษาเบื้องต้น การรักษาอย่างมีประสิทธิภาพมีขึ้นในปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 ด้วยการริเริ่มยาแดปโซนและยาดัดแปลง การต้านทานของแบคทีเรียโรคเรื้อนต่อแดปโซนในไม่ช้าได้วิวัฒนาขึ้น และ จากการใช้แดปโซนเกิน ได้แพร่กระจายเป็นวงกว้างด้วย ไม่จนกระทั่งการริเริ่มการรักษาด้วยยาผสมระยะสั้น (multidrug therapy - MDT) ในต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 ที่โรคเรื้อนสามารถวินิจฉัยและรักษาได้อย่างประสบผลในชุมชน

MDT สำหรับโรคเรื้อนประเภทเชื้อมาก ประกอบด้วยการรับประทานยาไรแฟมพิซิน แดปโซน และคลอฟาซิมินนานกว่า 12 เดือน ขนาดใช้ที่ปรับให้เหมาะกับเด็กและผู้ใหญ่สามารถหาซื้อได้ตามศูนย์สาธารณสุขหลักทุกแห่งในรูปบลิสเตอร์แพ็ก

อ้างอิง

หนังสืออ่านเพิ่ม

  • 1877: Lewis, T. R.; D. Cunningham, D. (1877). Leprosy In India. Calcutta: Office Of The Superintendent Of Government Printing. สืบค้นเมื่อ 2009-08-07.
  • 1895: Ashmead, Albert S. (1895). Pre-Columbian Leprosy. Chicago: American Medical Association Press. สืบค้นเมื่อ 2009-08-07.
  • 1895: Prize Essays On Leprosy. London: The New Sydenham Society. 1895. สืบค้นเมื่อ 2009-08-07.
  • 1896: Impey, S. P. (1896). A Handbook On Leprosy. Philadelphia: P. Blakiston, Son & Co. สืบค้นเมื่อ 2009-08-07.
  • 1916: Page, Walter Hines; Page, Arthur Wilson (1916). "Fighting Leprosy In The Philippines". The World's Work: A History of Our Time. XXXI: 310–320. สืบค้นเมื่อ 2009-08-04.
  • 1991:William Jopling. Leprosy stigma. Lepr Rev 1991, 62, 1-12.

แหล่งข้อมูลอื่น

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก

Tags:

ภาษาอังกฤษเยื่อเมือกแบคทีเรีย

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

นูโวX-เม็น (ภาพยนตร์ชุด)ยูฟ่ายูโรปาลีกดวงใจเทวพรหมอแมนด้า ออบดัมโปเตโต้ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ชลน่าน ศรีแก้วบาท (สกุลเงิน)สโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตีพระโคตมพุทธเจ้าโฟร์อีฟสโมสรฟุตบอลทอตนัมฮอตสเปอร์ไอยูอริศรา วงษ์ชาลีเจาะมิติพิชิตบัลลังก์ขันธ์มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชอุรัสยา เสปอร์บันด์ไทยลีกแบล็กอายด์พิลซึง2ศาสนาธนวรรธน์ วรรธนะภูติหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินพุฒิพงศ์ อัสสรัตนกุลจังหวัดลพบุรีแวมไพร์ ทไวไลท์สมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดีศาสนาอิสลามท่าอากาศยานสุวรรณภูมิสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวรสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์รายชื่อตอนในเป็นต่อ (ช่องวัน)มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยบรรดาศักดิ์ไทยพระราชาคณะเจ้าคณะรองดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)ศิริลักษณ์ คองประเทศโมนาโกชาวกะเหรี่ยงรายชื่อประเทศเรียงตามจำนวนประชากรพิกซี่ (วงดนตรี)ภาษาในประเทศไทยณัฏฐณิชา ดังวัธนาวณิชย์ภาวะโลกร้อนสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยชียากู ซิลวาสุรยุทธ์ จุลานนท์ประเทศแคนาดาการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566มหาวิทยาลัยมหิดลพันทิป.คอมภาคตะวันตก (ประเทศไทย)จังหวัดของประเทศเกาหลีใต้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลสโมสรฟุตบอลอัลฮิลาลอำเภอเพลงกระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย)ฟีลิปโป อินซากีพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวต้นตะวัน ตันติเวชกุลกติกาฟุตบอลเอกซ์เจแปนจังหวัดสระแก้วพ.ศ. 2565การรถไฟแห่งประเทศไทยมิลลิ (แร็ปเปอร์)นริลญา กุลมงคลเพชรพิมพ์ชนก ลือวิเศษไพบูลย์อำเภอพระประแดงพิธา ลิ้มเจริญรัตน์เบ็นเท็น (ซีรีส์โทรทัศน์ พ.ศ. 2548)สโมสรฟุตบอลยูเวนตุส🡆 More