เฟซบุ๊ก

เฟซบุ๊ก (อังกฤษ: Facebook) เป็นบริการเครือข่ายสังคมสัญชาติอเมริกัน สำนักงานใหญ่อยู่ที่ เมนโลพาร์ก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ เฟซบุ๊กก่อตั้งเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ.

2004 โดยมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก และเพื่อนร่วมห้องในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สมาชิกเพื่อนผู้ก่อตั้ง คือ เอดูอาโด ซาเวอริน, แอนดรูว์ แม็กคอลลัม, ดัสติน มอสโควิส และคริส ฮิวจ์ส ในตอนแรกจำกัดผู้เข้าชมเฉพาะนักศึกษามหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ภายหลังได้เพิ่มจำนวนมหาวิทยาลัยในพื้นที่บอสตัน ไอวีลีก และมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และค่อย ๆ รับรองมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ต่อมารับรองโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยเฟซบุ๊กอนุญาตให้เยาวชนอายุต่ำกว่า 13 ปี ทั่วโลกสามารถสมัครสมาชิกได้โดยไม่ต้องอ้างอิงหลักฐานใด ๆ ใน ค.ศ. 2020 เฟซบุ๊กอ้างว่ามีผู้ใช้ที่ยังคงใช้งานรายเดือนที่ 2.9 พันล้านคน โดยมีผู้ใช้งานทั่วโลกมากเป็นอันดับ 7 และเป็นโปรแกรมประยุกต์ที่มียอดดาวน์โหลดมากที่สุดในคริสต์ทศวรรษ 2010

เฟซบุ๊ก
เฟซบุ๊ก

เฟซบุ๊ก
ภาพจับหน้าจอ
ประเภทบริการเครือข่ายสังคม
การจัดพิมพ์
ภาษาที่ใช้ได้111 ภาษา
รายชื่อภาษา
หลายภาษา
อาฟรีกานส์, แอลเบเนีย, อัมฮาริก, อาหรับ, อาร์มีเนีย, อัสสัม, อาเซอร์ไบจาน, บาสก์, เบลารุส, เบงกอล, บอสเนีย, เบรอตง, บัลแกเรีย, พม่า, กาตาลา, เซบัวโน, คอร์ซิกา, โครเอเชีย, เช็ก, เดนมาร์ก, ดัตช์, ดัตช์ (เบลเยียม), อังกฤษ (สหราชอาณาจักร), อังกฤษ (สหรัฐ), อังกฤษ (กลับหัว), เอสเปรันโต, เอสโตเนีย, แฟโร, ฟิลิปิโน, ฟินแลนด์, ฝรั่งเศส (แคนาดา), ฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส), ฟรีเซีย, ฟูลา, กาลีเซีย, จอร์เจีย, เยอรมัน, กรีก, กวารานี, คุชราต, เฮติครีโอล, เฮาซา, ฮีบรู, ฮินดี, ฮังการี, ไอซ์แลนด์, อินโดนีเซีย, ไอริช, อิตาลี, ญี่ปุ่น, ญี่ปุ่น (คันไซ), ชวา, กันนาดา, คาซัค, เขมร, กิญญาร์วันดา, เกาหลี, เคิร์ด (กุรมันชี), คีร์กีซ, ลาว, ลัตเวีย, ลิทัวเนีย, มาซิโดเนีย, มาลากาซี, มลายู, มลยาฬัม, มอลตา, มราฐี, มองโกเลีย, เนปาล, นอร์เวย (bokmal), นอร์เวย์ (nynorsk), โอริยา, ปาทาน, เปอร์เซีย, โปแลนด์, โปรตุเกส (บราซิล), โปรตุเกส (โปรตุเกส), ปัญจาบ, โรมาเนีย, รัสเซีย, ซาร์ดิเนีย, เซอร์เบีย, โชนา, ไซลีเซีย, จีนตัวย่อ (จีน), สิงหล, สโลวัก, สโลวีเนีย, โซมาลี, เคิร์ดโซรานี, สเปน, สเปน (สเปน), สวาฮิลี, สวีเดน, ซีรีแอก, ทาจิก, เบอร์เบอร์, ทมิฬ, ตาตาร์, เตลูกู, เตตุน, ไทย, จีนตัวเต็ม (ฮ่องกง), จีนตัวเต็ม (ไต้หวัน), ตุรกี, ยูเครน, อูรดู, อุซเบก, เวียดนาม, เวลส์ และซาซา
ก่อขึ้น4 กุมภาพันธ์ 2004; 20 ปีก่อน (2004-02-04) ที่เคมบริดจ์, รัฐแมสซาชูเซตส์
พื้นที่ให้บริการทั่วโลก ยกเว้นประเทศที่บล็อก
ผู้ก่อตั้งมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก
เอดูอาโด ซาเวอริน
แอนดรูว์ แม็กคอลลัม
ดัสติน มอสโควิส
คริส ฮิวจ์ส
ผู้บริหารสูงสุดมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก
บริษัทแม่เมตา (อดีตมีชื่อว่า บริษัทเฟซบุ๊ก)
ยูอาร์แอลfacebook.com
ลงทะเบียนจำเป็น (เพื่อทำกิจกรรม)
ผู้ใช้เพิ่มขึ้น 2.91 พันล้านผู้ใช้ที่มีความเคลื่อนไหวต่อเดือน (ข้อมูลเมื่อ 29 เมษายน ค.ศ. 2021 (2021 -04-29))
เปิดตัว4 กุมภาพันธ์ 2004; 20 ปีก่อน (2004-02-04)
สถานะปัจจุบันดำเนินการ
เขียนด้วยC++, Hack (ในฐานะHHVM), D

เฟซบุ๊กมักถูกวิจารณ์ในหลายปัญหา เช่นความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ (จากเรื่องอื้อฉาวในข้อมูลของเฟซบุ๊ก–เคมบริดจ์แอนะลิติกา), การชักใยทางการเมือง (จากการแทรกแซงของรัสเซียในการเลือกตั้งสหรัฐ ค.ศ. 2016), การสอดแนมมวลชน, ผลกระทบทางจิตวิทยา เช่น การเสพติดสื่อสังคม, ความภูมิใจแห่งตน, ข่าวปลอม, ทฤษฎีสมคบคิด, การละเมิดลิขสิทธิ์ และประทุษวาจา นักวิจารณ์กล่าวหาเฟซบุ๊กว่าจงใจอำนวยความสะดวกในการเผยแพร่เนื้อหาดังกล่าว เช่นเดียวกับการระบุจำนวนผู้ใช้เกินจริงเพื่อดึงดูดโฆษณา

ประวัติ

มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ได้เริ่มเขียนเว็บไซต์ เฟซแมช ขึ้นมาก่อนที่จะเป็นเฟซบุ๊ก เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 2003 ขณะที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 ของมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด โดยเป็นเว็บไซต์ที่เปรียบเสมือนเว็บ ฮอตออร์น็อต ของมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด และจากข้อมูลของหนังสือพิมพ์มหาวิทยาลัยที่ชื่อ The Harvard Crimson เฟซแมชใช้ภาพที่ได้จาก เฟซบุ๊ก หนังสือแจกสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยที่มีรูปนักศึกษา จากบ้าน 9 หลัง โดยจะมีรูป 2 รูปให้คนเลือกว่า ใครร้อนแรงกว่ากัน

เฟซบุ๊ก 
มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊ก

เพื่อทำให้ได้สำเร็จ ซักเคอร์เบิร์กได้แฮกเข้าไปในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของฮาวาร์ดในพื้นที่ป้องกัน และได้คัดลอกภาพส่วนตัวประจำหอพัก ซึ่งในขณะนั้นฮาวาร์ดยังไม่มีสารบัญรูปภาพและข้อมูลพื้นฐานของนักศึกษา และเฟซแมชได้ทำให้มีผู้เข้าเยี่ยมชม 450 คน และดูรูปภาพ 22,000 ครั้งใน 4 ชั่วโมงแรกที่ออนไลน์ และเว็บไซต์นี้ได้จำลองสังคมกายภาพของคน ด้วยอัตลักษณ์จริง เป็นตัวแทนของกุญแจสำคัญด้านมุมมอง ที่ต่อมาได้กลายมาเป็น เฟซบุ๊ก

เว็บไซต์ได้ก้าวไกลไปในหลายเซิร์ฟเวอร์ของกลุ่มในมหาวิทยาลัย แต่ก็ปิดตัวไปในอีกไม่กี่วันโดยคณะบริหารฮาวาร์ด ซักเคอร์เบิร์กถูกกล่าวโทษว่าทำผิดต่อระบบรักษาความปลอดภัย การละเมิดลิขสิทธิ์ และการละเมิดความเป็นส่วนตัว และยังถูกไล่ออก แต่ท้ายที่สุดแล้วข้อกล่าวหาก็ยกเลิกไป ต่อมาซักเคอร์เบิร์กได้ขยับขยายโครงการในเทอมนั้นเอง โดยได้คิดค้นเครื่องมือการศึกษาทางสังคมที่ก้าวหน้า ของการสอบวิชาประวัติศาสตร์ โดยการอัปโหลดรูปเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โรม 500 รูป โดยมี 1 รูปกับอีก 1 ส่วนที่ให้แสดงความเห็น เขาเปิดกับเพื่อนร่วมชั้นของเขา และคนเริ่มที่จะแบ่งปันข้อความกัน

ในเทอมต่อมาซักเคอร์เบิร์กเริ่มเขียนโค้ดในเว็บไซต์ใหม่ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2004 เขาได้รับแรงกระตุ้นให้ทำ เขาพูดไว้ใน The Harvard Crimson เกี่ยวกับเรื่อง เฟซแมช และเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 ซักเกอร์เบิร์กได้เปิดตัวเว็บไซต์ "เดอะเฟซบุก" ในยูอาร์แอล thefacebook.com

6 วันหลังจากเปิดเว็บไซต์ รุ่นพี่ 3 คน คือ แคเมรอน วิงก์เลวอส, ไทเลอร์ วิงก์เลวอส และดิฟยา นาเรนดรา ได้ฟ้องร้องซักเกอร์เบิร์กที่หลอกลวงพวกเขาให้เชื่อว่า เขาได้ช่วยที่จะช่วยสร้างเครือข่ายสังคมที่ชื่อว่า HarvardConnection.com ขณะที่เขาใช้แนวคิดพวกเขาในการสร้างเว็บไซต์เพื่อแข่งขัน ทั้ง 3 คนได้บ่นในหนังสือพิมพ์ Harvard Crimson โดยทางหนังสือพิมพ์เริ่มทำการสอบสวน ต่อมาทั้ง 3 คนได้ยื่นฟ้องทางกฎหมายต่อซักเกอร์เบิร์กในภายหลัง

แต่เดิม สมาชิกจะจำกัดเฉพาะนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด และภายในเดือนแรก มากกว่าครึ่งหนึ่งของนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ได้ลงทะเบียนใช้บริการ เอ็ดวาร์โด ซาเวริน (ดูแลเรื่องธุรกิจ), ดิสติน มอสโควิตซ์ (โปรแกรเมอร์), แอนดรูว์ แม็กคอลลัม (กราฟิก) และคริส ฮิวส์ ที่ต่อมาได้ร่วมกับซักเกอร์เบิร์กเพื่อประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ และในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2004 เฟซบุ๊กได้ขยับขยายสู่มหาวิทยาลัยอื่นอย่าง สแตนฟอร์ด, โคลัมเบีย, และเยล และยังคงขยับขยายต่อสู่กลุ่มไอวีลีกทั้งหมด และมหาวิทยาลัยบอสตัน, มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก, เอ็มไอที และสู่มหาวิทยาลัยอื่นในแคนาดาและสหรัฐอเมริกาไปทีละน้อย

เฟซบุ๊กได้เป็นบริษัทในฤดูร้อนปี ค.ศ. 2004 และได้นักธุรกิจ ฌอน พาร์กเกอร์ ที่ได้เคยแนะนำซักเกอร์เบิร์กอย่างเป็นกันเอง ก็ได้ก้าวมาเป็นประธานของบริษัท. ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2004 เฟซบุ๊กได้ย้ายฐานปฏิบัติงานมาอยู่ที่ แพโลอัลโต รัฐแคลิฟอร์เนีย และได้รับเงินทุนในเดือนนั้นจากผู้ร่วมก่อตั้ง เพย์พาล ที่ชื่อ ปีเตอร์ ธีล บริษัทได้เปลี่ยนชื่อ โดยลดคำว่า เดอะ ออกไป และซื้อโดเมนเนมใหม่ในชื่อ เฟซบุ๊ก.คอม ในปี ค.ศ. 2005 ด้วยเงิน 2 แสนดอลลาร์สหรัฐ

เฟซบุ๊กได้เปิดตัวในรูปแบบของโรงเรียนไฮสคูล ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2005 ที่ซักเกอร์เบิร์กเรียกว่า ก้าวต่อไปที่มีเหตุผล ณ เวลานั้นในเครือข่ายไฮสคูล ต้องการการรับเชิญเท่านั้นเพื่อร่วมเว็บไซต์ ต่อมาเฟซบุ๊กได้ขยับขยายให้กับลูกจ้างบริษัทที่คัดสรรอย่าง แอปเปิล และ ไมโครซอฟท์ เฟซบุ๊กได้เปิดตัวเมื่อวันที่ 26 กันยายน ค.ศ. 2006 ให้ทุกคนได้ใช้กัน โดยต้องมีอายุมากกว่า 13 ปี และมีอีเมลที่แท้จริง

ในวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 2007 ไมโครซอฟท์ประกาศว่าได้ซื้อหุ้นของเฟซบุ๊กเป็นจำนวน 1.6% ด้วยเงิน 240 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เฟซบุกมีมูลค่าราว 15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และทำให้ไมโครซอฟท์มีสิทธิ์ที่จะแขวนป้ายโฆษณาบนเฟซบุ๊กได้ ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2008 เฟซบุกประกาศว่าจะตั้งสำนักงานใหญ่ระดับนานาชาติในดับลิน ประเทศไอร์แลนด์

ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2009 เฟซบุ๊กได้กล่าวว่า สถานะการเงินเริ่มเป็นตัวเลขบวกเป็นครั้งแรก ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2010 จากข้อมูลของ เซคันด์มาร์เก็ต ระบุว่าเฟซบุกมีมูลค่า 41 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (แซงหน้าอีเบย์ไปเล็กน้อย) และถือเป็นบริษัทเว็บไซต์ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกาเป็นอันดับ 3 รองจากกูเกิลและแอมะซอน สถิติผู้เข้าชมในเฟซบุ๊กหลังปี ค.ศ. 2009 ผู้ชมเฟซบุ๊กมากกว่ากูเกิลในปลายสัปดาห์ของสัปดาห์ 13 มีนาคม ค.ศ. 2010

ข้อพิพาทและการวิจารณ์

เฟซบุ๊กประสบกับข้อพิพาทหลายเรื่อง เฟซบุ๊กถูกปิดกั้นการเข้าถึงเป็นช่วง ๆ ในหลายประเทศ อย่างเช่นใน ประเทศจีน, เวียดนาม อิหร่าน อุซเบกิสถาน ปากีสถาน ซีเรีย ลาวกัมพูชาพม่า บรูไน และบังคลาเทศ ในเหตุผลที่แตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น เนื้อหาการต่อต้านอิสลามและการแบ่งแยกทางศาสนาในเฟซบุ๊ก และยังถูกห้ามใช้จากหลายประเทศ และยังถูกห้ามใช้ในสถานที่ทำงานหลายที่เพื่อป้องกันพนักงานเสียเวลาในการทำงาน และนโยบายความเป็นส่วนตัวก็เป็นประเด็น และความปลอดภัยของบัญชีผู้ใช้ก็มีการไกล่เกลี่ยกันหลายต่อหลายครั้ง เฟซบุ๊กได้ลงมือแก้ปัญหาคดีความที่เกี่ยวกับซอร์ซโคดและทรัพย์สินทางปัญญา

เคมบริดจ์แอนะลิติกา

ในเดือนมีนาคม 2561 ผู้เป่านกหวีดเปิดเผยว่า มีการขายสารสนเทศส่วนบุคคลของผู้ใช้เฟซบุ๊กกว่า 50 ล้านคนให้เคมบริดจ์แอนะลิติกา บริษัทวิเคราะห์ข้อมูลการเมืองซึ่งทำงานให้การรณรงค์ทางการเมืองของดอนัลด์ ทรัมป์ แอพที่การวิจัยวิทยาศาสตร์ทั่วโลก (Global Science Research) สร้างรวบรวมข้อมูลดังกล่าว แม้ว่ามีผู้อาสาใช้แอพนี้ประมาณ 270,000 คน แต่เอพีไอของเฟซบุ๊กยังอนุญาตให้เก็บรวบรวมข้อมูลจากเพื่อนของผู้ใช้แอพดังกล่าว เมื่อมีการรายงานสารสนเทศดังกล่าวต่อเฟซบุ๊กครั้งแรก เฟซบุ๊กพยายามลดความสำคัญของการละเมิดดังกล่าวและพยายามเสนอว่าเคมบริดจ์แอนะลิติกาไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ถูกขโมยไปแล้ว ทว่า เมื่อมีการตรวจสอบละเอียดเพิ่มขึ้นแล้ว เฟซบุ๊กออกแถลงการณ์แสดงความตื่นตระหนกและระงับเคมบริดจ์แอนะลิติกา ขณะที่การทบทวนเอกสารและการสัมภาษณ์กับอดีตลูกจ้างของเฟซบุ๊กเสนอว่าเคมบริดจ์แอนะลิติกายังครอบครองข้อมูลนั้น เป็นการละเมิดกฤษฎีกาความยินยอมที่มีผลตามกฎหมายโดยเฟซบุ๊กกับคณะกรรมการการค้ากลาง (Federal Trade Commission) และการละเมิดกฤษฎีกาความยินยอมอาจมีโทษปรับถึง 40,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อการละเมิดหนึ่งครั้ง หมายความว่า หากพิสูจน์ได้ว่ามีการแบ่งปันข้อมูลของผู้ใช้ 50 ล้านคนจริง บริษัทอาจเสียค่าปรับหลักล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

ตามข้อมูลของผู้สื่อข่าว เดอะการ์เดียน คาโรล คัดวอลลัดเดอร์ (Carole Cadwalladr) ซึ่งเปิดเผยเรื่องนี้ ทั้งเฟซบุ๊กและเคมบริดจ์แอนะลิติกาขู่ฟ้องหนังสือพิมพ์หากพิมพ์เรื่องนี้และพยายามยับยั้งการพิมพ์เรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง เมื่อมีการพิมพ์เรื่องนี้ เฟซบุ๊กอ้างว่าถูก "โกหก" คัดวอลลัดเดอร์กล่าวว่าเฟซบุ๊กพยายามผลักการกล่าวโทษสู่บุคคลภายนอก นิก ทอมสันแห่งไวอัด และ ซีบีเอสนิวส์ ชี้ว่าเคมบริดจ์แอนะลิติกาได้ข้อมูลส่วนบุคคลทั้งหมดโดยไม่จำเป็นต้อง "ละเมิด" เฟซบุ๊ก และ "มันไม่ได้ผลเพราะบางคนแฮ็กเข้าไปพังสิ่งต่าง ๆ แต่มันได้ผลเพราะเฟซบุ๊กได้สร้างแบบจำลองโฆษณาที่รุกล้ำมากที่สุดบ้าที่สุดในประวัติศาสตร์โลก และบางคนใช้ประโยชน์จากมัน" วันที่ 23 มีนาคม 2561 ศาลสูงบริติชอนุมัติหมายค้นตามคำขอของสำนักงานกรรมาธิการสารสนเทศเพื่อค้นสำนักงานกรุงลอนดอนของเคมบริดจ์แอนะลิติกา

วันที่ 25 มีนาคม ซักเกอร์เบิร์กลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์สหราชอาณาจักรและสหรัฐขออภัยเรื่อง "การละเมิดความเชื่อมั่น" ซึ่งมีทั้งซันเดย์เทเลกราฟ, ซันเดย์ไทมส์, เมลออนซันเดย์, ดิออฟเซิร์ฟเวอร์, ซันเดย์มิเรอร์และซันเดย์เอ็กซ์เพรส

บริษัท

เฟซบุ๊ก 
บริการเครือข่ายสังคมที่เป็นที่นิยมในแต่ละประเทศ
  เฟซบุ๊ก
  VKontakte
  QZone
  Odnoklassniki
  ไม่มีข้อมูล

รายได้ส่วนมากของเฟซบุ๊กมาจากการโฆษณา โดยไมโครซอฟท์เป็นผู้ร่วมหุ้นพิเศษในด้านการบริการแบนเนอร์โฆษณา และเฟซบุ๊กให้มีการโฆษณาเฉพาะที่อยู่ในรายการลูกค้าของไมโครซอฟท์ และจากข้อมูลของคอมสกอร์ บริษัทสำรวจการตลาดทางอินเทอร์เน็ต ระบุว่า เฟซบุ๊กได้รวบรวมข้อมูลเข้าเว็บไซต์มากกว่า กูเกิลและไมโครซอฟท์ แต่น้อยกว่า ยาฮู! ในปี ค.ศ. 2010 ทีมระบบความปลอดภัยได้เพิ่มประโยชน์จากการต่อต้านภัยคุกคามและก่อการร้ายจากผู้ใช้ เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007 เฟซบุ๊กได้เปิดตัว เฟซบุ๊กบีคอน เป็นการพยายามในการโฆษณาให้เหล่าเพื่อน โดยใช้ประโยชน์จากสิ่งที่เพื่อนซื้อ แต่เฟซบุ๊กบีคอนก็เกิดความล้มเหลว

โดยปกติแล้ว เฟซบุ๊กจะมีอัตราการคลิกโฆษณาต่อการการแสดงโฆษณา (clickthrough rate) ต่ำกว่าเว็บไซต์ใหญ่ ๆ อื่น ที่ในแบนเนอร์โฆษณา เฟซบุ๊กจะมีอัตราการคลิก 1 ต่อ 5 เทียบกับเว็บไซต์อื่น นั่นหมายถึงว่ามีเปอร์เซ็นต์ที่น้อยกว่า ที่ผู้ใช้เฟซบุ๊กจะกดคลิกโฆษณา ตัวอย่างเช่น ผู้ใช้กูเกิลคลิกโฆษณาแรกในการค้นหาเฉลี่ย 8% (80,000 คลิกในทุก 1 ล้านการค้นหา) แต่ผู้ใช้เฟซบุ๊กจะคลิกโฆษณาในอัตรา 0.04% (400 คลิกในทุก 1 ล้านหน้า)

แซราห์ สมิท ผู้จัดการบริการงานขายออนไลน์ของเฟซบุ๊ก ยืนยันว่า การรณรงค์โฆษณาประสบความสำเร็จ สามารถมีอัตราการคลิกโฆษณาต่อการการแสดงโฆษณา (CTR) ต่ำอยู่ราว 0.05% ถึง 0.04% แต่อัตราการคลิกโฆษณาต่อการการแสดงโฆษณาสำหรับโฆษณามีแนวโน้มจะตกลงภายใน 2 อาทิตย์ เมื่อเปรียบเทียบ CTR กับมายสเปซแล้ว มียอดประมาณ 0.1% ซึ่งเป็น 2.5 เท่าของเฟซบุ๊ก และต่ำกว่านี้เมื่อเทียบกับเว็บไซต์อื่น คำอธิบายเรื่อง CTR สำหรับโฆษณาที่ต่ำในเฟซบุ๊กเนื่องจาก ข้อเท็จจริงที่ผู้ใช้เฟซบุ๊กเป็นผู้รอบรู้ทางเทคโนโลยีและใช้ซอฟต์แวร์ป้องกันและซ้อนโฆษณา ผู้ใช้มักเป็นคนหนุ่มสาวกว่าและชอบที่จะหลีกเลี่ยงข้อความโฆษณา ที่ในมายสเปซแล้วผู้ใช้จะเข้าถึงเนื้อหามากกว่า ในขณะที่ผู้ใช้เฟซบุ๊กจะใช้เวลาในการสื่อสารกับเพื่อน เป็นเหตุให้พวกเขาไปสนใจโฆษณา

ในหน้าของตราสินค้าและผลิตภัณฑ์ ในบางบริษัทมีรายงานว่า มี CTR สูงถึง 6.49% ในหน้าวอล อินโวลเวอร์ ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการตลาดสังคม ประกาศว่า ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2009 ว่าสามารถบรรลุเป้า CTR ที่ 0.7% ในเฟซบุ๊ก (เป็น 10 เท่าของ CTR การโฆษณาในเฟซบุ๊ก) กับลูกค้าคือ เซเรนาซอฟต์แวร์ ถือเป็นลูกค้ารายแรกของอินโวเวอร์ ที่สามารถมีผู้ชม 1.1 ล้านครั้งจากผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ 8,000 คน จากการศึกษาพบว่า วิดีโอโฆษณาในเฟซบุ๊กนั้น ผู้ใช้ 40% ดูวิดีโอทั้งหมดของวิดีโอ ขณะที่ค่าเฉลี่ยมาตรฐานอยู่ที่ 25% ของโฆษณาแบบแบนเนอร์ในวิดีโอ

เฟซบุ๊กมีลูกจ้างมากกว่า 1,700 คน และมีสำนักงานใน 12 ประเทศ โดยมาร์ก ซักเคอร์เบิร์กถือหุ้นของบริษัท 24% แอ็กเซล พาร์ตเนอร์ถือหุ้น 10% ดิจิตอลสกายเทคโนโลยีส์ถือหุ้น 10% ดัสติน มอสโควิตซ์ถือหุ้น 6% เอ็ดวาร์โด ซาเวรินถือหุ้น 5% ฌอน พาร์กเกอร์ถือหุ้น 4% ปีเตอร์ ธีลถือหุ้น 3% เกรย์ล็อกพาร์ตเนอร์สและเมริเทคแคพิทอลพาร์ตเนอร์ส ถือหุ้นระหว่าง 1 ถึง 2% แต่ละบริษัท ไมโครซอฟท์ถือหุ้น 1.3% ลิ คา-ชิงถือหุ้น 0.75% อินเตอร์พับลิกกรุปถือหุ้นน้อยกว่า 0.5% นอกจากนั้นยังมีลูกจ้างปัจจุบันและอดีตลูกจ้างรวมถึงผู้มีชื่อเสียงอื่นถือหุ้นอีกน้อยกว่า 1% เช่น แมต โคห์เลอร์, เจฟฟ์ รอทส์ไชลด์, วุฒิสมาชิกรัฐแคลิฟอร์เนีย บาร์บารา บอกเซอร์, คริส ฮิวส์ และโอเวน แวน แนตตา ขณะที่รีด ฮอฟแมนและมาร์ก พินคัสเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท และที่เหลืออีก 30% ถือหุ้นโดยลูกจ้าง ผู้มีชื่อเสียงไม่เปิดเผยชื่ออีกจำนวนหนึ่ง รวมถึงนักลงทุนอื่น แอดัม ดี'แองเจโล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีและเพื่อนของซักเคอร์เบิร์กได้ลาออกไปในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2008 มีรายงานอ้างว่าเขาและซักเคอร์เบิร์กเริ่มไม่ลงรอยกัน และเป็นเหตุให้เขาไม่มีความสนใจในการเป็นหุ้นส่วนของบริษัท

การตอบรับ

ข้อมูลเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2556 ประเทศที่มีผู้ใช้เฟซบุ๊กมากที่สุด คือ

  1. สหรัฐอเมริกา 168.7 ล้านคน
  2. ประเทศเม็กซิโก 40.2 ล้านคน
  3. ประเทศบราซิล 64.6 ล้านคน
  4. ประเทศอินเดีย 62.6 ล้านคน
  5. ประเทศอินโดนีเซีย 51.4 ล้านคน

หกประเทศข้างต้นมีสมาชิกทั้งสิ้น 309 ล้านคน หรือราวร้อยละ 38.6 ของสมาชิก 1 พันล้านคนทั่วโลกของเฟซบุ๊ก

หมายเหตุ

อ้างอิง

อ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

เฟซบุ๊ก ประวัติเฟซบุ๊ก ข้อพิพาทและการวิจารณ์เฟซบุ๊ก บริษัทเฟซบุ๊ก การตอบรับเฟซบุ๊ก หมายเหตุเฟซบุ๊ก อ้างอิงเฟซบุ๊ก อ่านเพิ่มเฟซบุ๊ก แหล่งข้อมูลอื่นเฟซบุ๊ก

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

เกิดชาตินี้พี่ต้องเทพฟุตบอลทีมชาติฝรั่งเศสแม่นากพระโขนงดาบิด เด เฆอาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ประเทศไทย)จังหวัดบุรีรัมย์เศรษฐา ทวีสินจังหวัดจันทบุรีรายชื่อจังหวัดในประเทศไทยเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในจังหวัดต่อหัววชิรวิชญ์ ชีวอารีมีนาคมเจตริน วรรธนะสินวอชิงตัน ดี.ซี.วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหารฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024โรงเรียนสตรีวิทยา 2บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2567นิโคลัส มิคเกลสันสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีจังหวัดหนองคายจังหวัดสุพรรณบุรีแบตเตอรี่ก็อดซิลล่า ปะทะ คองรายชื่อตัวละครในยอดนักสืบจิ๋วโคนันโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าไตรลักษณ์กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ฟุตบอลทีมชาติอุรุกวัยประเทศอิหร่านสุจาริณี วิวัชรวงศ์ทวีปแอฟริกาจังหวัดอุดรธานีกกฐสิษฐ์ สินคณาวิวัฒน์แพทองธาร ชินวัตรสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดจำนวนเฉพาะฟุตบอลทีมชาติเยอรมนีพิมพ์ชนก ลือวิเศษไพบูลย์ปาฏิหาริย์แดนประหารณัฐวรรธน์ จิโรชน์ธิกุลรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดปทุมธานีประเทศเม็กซิโกเอซี มิลานจังหวัดปทุมธานีโทกูงาวะ อิเอยาซุเหี้ยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชบีบีซี เวิลด์นิวส์อู๋ เหล่ย์ (นักแสดง)ลุค อิชิกาวะ พลาวเดนสโมสรฟุตบอลบีจี ปทุม ยูไนเต็ดกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 39ทวีปอเมริกาเหนือจังหวัดเพชรบูรณ์สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลไมเคิล เบิร์นโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยกังฟูแพนด้า (แฟรนไชส์)เฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคคุณอาเรียโต๊ะข้างๆ พูดรัสเซียหวานใส่ซะหัวใจจะวายรายชื่อตอนในนารูโตะ ตำนานวายุสลาตันโรงเรียนชลกันยานุกูลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สงครามเย็นนพเก้า เดชาพัฒนคุณแจ๊ส ชวนชื่นดาบพิฆาตอสูรพ.ศ. 2552เข็มอัปสร สิริสุขะดาวิกา โฮร์เน่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงคอมพิวเตอร์รายชื่อเลขาธิการสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เกิดใหม่ทั้งทีก็เป็นสไลม์ไปซะแล้วโอริโอล โรเมอูรายชื่อรัฐวิสาหกิจไทย🡆 More