ประเทศอาเซอร์ไบจาน

อาเซอร์ไบจาน (อังกฤษ: Azerbaijan; อาเซอร์ไบจาน: Azərbaycan ) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน (อังกฤษ: Republic of Azerbaijan; อาเซอร์ไบจาน: Azərbaycan Respublikası ) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ที่ชายแดนยุโรปตะวันออกกับเอเชียตะวันตก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคอเคซัสใต้ และมีอาณาเขตทิศตะวันออกจรดทะเลแคสเปียน ทิศเหนือติดต่อกับสหพันธรัฐรัสเซีย ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับจอร์เจีย ทิศตะวันตกติดต่อกับอาร์มีเนีย และทิศใต้ติดต่อกับอิหร่าน

สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน

Azərbaycan Respublikası  (อาเซอร์ไบจาน)
เพลงชาติ
ที่ตั้งของอาเซอร์ไบจาน (เขียว)
ที่ตั้งของอาเซอร์ไบจาน (เขียว)
ที่ตั้งของอาเซอร์ไบจาน
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
บากู
40°23′43″N 49°52′56″E / 40.39528°N 49.88222°E / 40.39528; 49.88222
ภาษาราชการอาเซอร์ไบจาน
ภาษาชนกลุ่มน้อยดูรายชื่อเต็ม
กลุ่มชาติพันธุ์
(ค.ศ. 2009)
ศาสนา
เดมะนิม
การปกครองรัฐเดี่ยว ระบบกึ่งประธานาธิบดี รัฐธรรมนูญ สาธารณรัฐ
• ประธานาธิบดี
อิลฮัม แอลีเยฟ
• รองประธานาธิบดี
เมฮ์รีบาน แอลีเยวา
• นายกรัฐมนตรี
แอลี แอแซดอฟ
• ประธานรัฐสภา
ซาฮีแบ กาฟาโรวา
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
ก่อตั้ง
• สาธารณรัฐประชาธิปไตย
28 พฤษภาคม ค.ศ. 1918
28 เมษายน ค.ศ. 1920
• เป็นเอกราชจากสหภาพโซเวียต
  • 30 สิงหาคม ค.ศ. 1991 (ประกาศ)
  • 18 ตุลาคม ค.ศ. 1991 (เป็นเอกราช)
  • 25 ธันวาคม ค.ศ. 1991 (สมบูรณ์)
• เป็นสมาชิกเครือรัฐเอกราช
21 ธันวาคม ค.ศ. 1991
• ยอมรับเป็นสมาชิกสหประชาชาติ
2 มีนาคม ค.ศ. 1992
• ใช้งานรัฐธรรมนูญ
12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1995
พื้นที่
• รวม
86,600 ตารางกิโลเมตร (33,400 ตารางไมล์) (อันดับที่ 112)
1.6
ประชากร
• เมษายน ค.ศ. 2021 ประมาณ
10,130,100 (อันดับที่ 90)
115 ต่อตารางกิโลเมตร (297.8 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 99)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2019 (ประมาณ)
• รวม
189.050 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
18,793 ดอลลาร์สหรัฐ
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2019 (ประมาณ)
• รวม
45.284 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
4,498 ดอลลาร์สหรัฐ
จีนี (ค.ศ. 2008)Negative increase 33.7
ปานกลาง
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019)เพิ่มขึ้น 0.756
สูง · อันดับที่ 88
สกุลเงินมานัต (₼) (AZN)
เขตเวลาUTC+4 (เวลาอาเซอร์ไบจาน)
รูปแบบวันที่วว.ดด.ปปปป (ค.ศ.)
ขับรถด้านขวา
รหัสโทรศัพท์+994
โดเมนบนสุด.az

สาธารณรัฐประชาธิปไตยอาเซอร์ไบจานประกาศเป็นเอกราชจากสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยทรานส์คอเคเซีย ใน ค.ศ. 1918 และกลายเป็นรัฐประชาธิปไตยแบบฆราวาสที่มีมุสลิมส่วนใหญ่แห่งแรก ซึ่งนำชื่อประเทศจากภูมิภาคที่อิหร่านตะวันตกเฉียงเหนือด้วยเหตุผลทางการเมือง ใน ค.ศ. 1922 ประเทศนี้ถูกรวมเข้ากับสหภาพโซเวียตในฐานะสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาเซอร์ไบจาน

สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจานในปัจจุบันประกาศเอกราชในวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ไม่นานก่อนการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปีเดียวกัน ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1991 ภูมิภาคนากอร์โน-คาราบัคที่ส่วนใหญ่มีเชื้อชาติอาร์มีเนียแยกออกเป็นสาธารณรัฐอาร์ทซัค ภูมิภาคและอำเภอรอบ ๆ 7 อำเภอ ได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นส่วนหนึ่งของอาเซอร์ไบจานตามแนวทางแก้ปัญหาคาราคาซังถึงสถานะนากอร์โน-คาราบัคผ่านการเจรจาขององค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป ทำให้บริเวณนี้กลายเป็นเอกราช โดยพฤตินัย หลังสิ้นสุดสงครามนากอร์โน-คาราบัคที่หนึ่งใน ค.ศ. 1994 หลังสงครามนากอร์โน-คาราบัค พ.ศ. 2563 7 อำเภอและส่วนหนึ่งของนากอร์โน-คาราบัคอยู่ภายใต้การควบคุมของอาเซอร์ไบจาน

ภูมิศาสตร์

ภูมิประเทศ ประกอบด้วยเทือกเขาและที่ขรุขระ ทางภาคเหนือเป็นแม่นํ้า The Greater Caucasus ซึ่งมียอดเขา Mount Bazardyuzyu เป็นภูเขาที่สูงที่สุดของประเทศ (4,466 เมตร) ส่วนเทือกเขา The Lesser Caucasus เป็นพรมแดนด้านตะวันออกเฉียงใต้ ภาคกลางของประเทศ จึงเป็นบริเวณที่ราบลุ่มที่สำคัญคือ ลุ่มน้ำ Aras-Kura และที่ราบบริเวณชายฝั่งทะเลสาบ Caspian ที่ราบลุ่มเหล่านี้มีพื้นที่กว่า 4,278 เฮคตาร์ (ใช้เป็นพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 1,600 เฮคตาร์ และที่เหลือใช้เลี้ยงสัตว์)มีพื้นที่ป่ากว่า 1 ล้านเฮคตาร์

ภูมิอากาศ อากาศหนาวในเขตเทือกเขาคอเคซัสทางภาคเหนือของอาเซอร์ไบจาน ส่วนบริเวณที่ราบ Kura อากาศเย็นสบาย และมีอากาศแบบเขตร้อนบริเวณที่ราบต่ำ Lenkoran ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของชายฝั่งแคสเปียน (ประมาณ 27 องศาเซลเซียส ในเดือนกรกฎาคม และ 1 องศาเซลเซียส ในเดือนมกราคม)

ประวัติศาสตร์

ประเทศอาเซอร์ไบจาน 
แผนที่อาเซอร์ไบจาน ค.ศ. 1919

นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าชาวอาเซอร์ไบจานสืบเชื้อสายมาจากชนชาติเซลจุคเติร์ก (Seljuk Turks) และชาวเปอร์เซียโบราณ และสันนิษฐานว่าชื่อประเทศในปัจจุบันมาจากภาษาเปอร์เซียโบราณที่แปลว่า “ดินแดนแห่งไฟ” เนื่องจากดินแดนแถบนี้มีทรัพยากรน้ำมันอุดมสมบูรณ์และมีสถานะเป็นศูนย์กลางของศาสนาโซโรอัสเตอร์ (Zoroaster) ซึ่งเป็นกลุ่มชนโบราณที่บูชาไฟ ดินแดนของอาเซอร์ไบจานถูกครอบครองโดยชนเผ่าเติร์กตั้งแต่ศตวรรษที่ 7 จึงทำให้ได้รับการถ่ายทอดวัฒนธรรมแบบมุสลิม ศาสนา และภาษาโดยกลุ่มชนดังกล่าวกว่าหลายศตวรรษ ต่อมาได้ถูกยึดครองโดยชาวมองโกลตั้งแต่ศตวรรษที่ 13-15 และชาวเปอร์เซีย (อิหร่าน) ในศตวรรษที่ 16 ส่งผลให้อาเซอร์ไบจานรับเอาศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์เป็นนิกายประจำชาติ

หลังจากนั้น อาเซอร์ไบจานได้ตกอยู่ภายใต้การครอบครองของหลายชนชาติ อาทิ เปอร์เซีย และออตโตมัน ด้วยเหตุที่เป็นดินแดนที่มีที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นสะพานเชื่อมต่อระหว่างทวีปยุโรปกับเอเชียกลาง รวมทั้งอยู่ติดกับทะเลสาบแคสเปียนซึ่งเป็นบริเวณที่มีน้ำมันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งในที่สุดรัสเซียได้ลงนามในสนธิสัญญา Turkmenchay กับเปอร์เซีย ใน ค.ศ. 1828 เพื่อแบ่งดินแดนของอาเซอร์ไบจานออกจากอาณาจักรเปอร์เซีย และได้ใช้เริ่มสำรวจและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน้ำมันในอาเซอร์ไบจานนับแต่นั้น ซึ่งก่อให้เกิดความเติบโตทางเศรษฐกิจขึ้นในบริเวณดังกล่าวในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1

อาเซอร์ไบจานได้ประกาศเอกราชครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1918 หลังจากที่จักรวรรดิรัสเซียล่มสลายลง 1 ปี แต่ต่อมาใน ค.ศ. 1920 กองทัพแดงของพรรคบอลเชวิคได้เข้ารุกรานและมีชัยชนะเหนืออาเซอร์ไบจานรวมทั้งดินแดนอื่น ๆ ในส่วนที่เรียกว่าทรานส์คอเคเซีย (ได้แก่ จอร์เจีย อาร์มีเนีย และอาเซอร์ไบจาน) ส่งผลให้ใน ค.ศ. 1922 อาเซอร์ไบจานได้ถูกผนวกเข้ากับสหภาพโซเวียตในฐานะส่วนหนึ่งของสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทรานส์คอเคซัสร่วมกับจอร์เจียและอาร์มีเนีย และได้กลายเป็นสาธารณรัฐหนึ่งในสหภาพโซเวียต ในชื่อสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาเซอร์ไบจาน เมื่อสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทรานส์คอเคเซียล่มสลายลงใน ค.ศ. 1936

หลังจากนั้น นับแต่ทศวรรษ 1980 อาเซอร์ไบจานประสบกับความวุ่นวายภายในประเทศ รวมทั้งได้เกิดการต่อสู้อย่างรุนแรงกับกองทัพสหภาพโซเวียต ซึ่งส่งผลให้ชาวอาเซอร์ไบจานที่เรียกร้องเอกราชในกรุงบากูเสียชีวิตลงจำนวน 190 คนใน ค.ศ. 1990 และต่อมาเมื่อสหภาพโซเวียตได้ล่มสลายลงใน ค.ศ. 1991 อาเซอร์ไบจานก็ได้ประกาศเอกราช.ในที่สุด

การเมือง

รูปแบบการปกครอง

ประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ รัฐธรรมนูญรับรองโดยประชาชนเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1995 สถาบันการเมือง • ฝ่ายนิติบัญญัติ - ระบบสภาเดียว (Unicameral) คือ “ Milli Majlis” หรือ สภาแห่งชาติ (National Assembly) ซึ่งมีสมาชิกจำนวน 125 ที่นั่ง มาจากการเลือกตั้ง โดยตรง (ผลจากการลงประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 2002) มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี การเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2005 ผลคือ seats by party - Yeni 58, Azadliq coalition 8, CSP 2, YES 2, Motherland 2, other parties with single seats 7, independents 42, undetermined 4 การเลือกตั้งจะมีครั้งต่อไปปี 2010 • ฝ่ายบริหาร - ประธานาธิบดี เป็นประมุขของประเทศ (Chief of State) มาจากการ เลือกตั้งโดยประชาชน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี โดยการเลือกตั้ง ครั้งล่าสุดมีขึ้นในวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 2003 โดยนาย Ilham Aliyev ได้รับเลือกตั้งเป็นปธน.อาเซอร์ไบจาน ใน ค.ศ. 2003 ต่อจากบิดา คือ ปธน. Heydar Aliyev ซึ่งเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ ท่ามกลางการกล่าวหาว่ารับตำแหน่งอย่างไม่โปรงใส ทั้งจากฝ่ายค้านและองค์การระหว่างประเทศ - นายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล โดยประธานาธิบดี เป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี (Council of Ministers) โดยการแต่งตั้งต้องได้รับความเห็นชอบจากสภา

ภาพรวมของสถานการณ์การเมืองอาเซอร์ไบจานตั้งแต่ ค.ศ. 1990 อาเซอร์ไบจานประกาศเอกราชจากสหภาพโซเวียตเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 1991 โดยนายAyaz Mutalibov ซึ่งเป็นอดีตเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งอาเซอร์ไบจานดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรก แต่ได้ลาออกจากตำแหน่งหลังจากที่เกิดเหตุการณ์ที่ชาวอาเซอร์ไบจานจำนวนมากถูกสังหารในดินแดนนากอร์โน-คาราบัค (ดินแดนของอาเซอร์ไบจานซึ่งมีชาวอาร์มีเนียจำนวนมากอาศัยอยู่) ต่อมาในการเลือกตั้ง ค.ศ. 1992 นาย Abulfez Elchibey ผู้นำพรรค Popular Front Party (PFP) ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี แต่ก็ไม่สามารถคลี่คลายสถานการณ์ความขัดแย้งในดินแดนนากอร์โน-คาราบัค และไม่ประสบความสำเร็จในการปฏิรูปเศรษฐกิจรวมทั้งแก้ไขปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง จึงก่อให้เกิดความไม่ พอใจในหมู่ประชาชนจนเกิดการจลาจลสู้รบขึ้นในประเทศ ทำให้ประธานาธิบดี Elchibey ต้องลี้ภัยทางการเมืองไปอยู่ที่เมือง Nakchivan และต่อมารัฐสภาได้แต่งตั้งให้นาย Heydar Aliyev ประธานรัฐสภาในขณะนั้น เป็นผู้รักษาการประธานาธิบดี ซึ่งต่อมานาย Aliyev ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรค New Azerbaijan Party ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง ค.ศ. 1992 และดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของอาเซอร์ไบจานเรื่อยมา สถานการณ์ทางการเมืองของอาเซอร์ไบจานกล่าวได้ว่า อำนาจในการปกครองประเทศเกือบทั้งหมดอยู่ในการควบคุมของประธานาธิบดี Heydar Aliyev ซึ่งควบคุมคะแนนเสียงข้างมากในสภาและสมาชิกของพรรคฯ ได้รับตำแหน่งสำคัญ ๆ ในรัฐบาล อย่างไรก็ดี ยังคงมีปัญหาที่สั่นคลอนเสถียรภาพของ รัฐบาลหลายประการ อาทิ ปัญหาทางการเมืองภายในกับฝ่ายค้านที่พยายามจะแย่งชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ในการเลือกตั้งสมัยต่อไป ปัญหาภายในพรรครัฐบาล ข้อกล่าวหาว่ายักยอกเงินกองทุนที่จะนำไปช่วยเหลือผู้อพยพจากการสู้รบกับอาร์มีเนียคาราบัค ปัญหาเรื่องความขัดแย้งเหนือดินแดนนากอร์โน-คาราบัค การเดินขบวนประท้วงในกรุงบากูเพื่อสนับสนุนฝ่ายค้านและต่อต้านการผูกขาดอำนาจในการบริหารประเทศของ ประธานาธิบดี Aliyev การฉ้อราษฎร์บังหลวง การละเมิดสิทธิมนุษยชน และการใช้สื่อของรัฐในการหาเสียงเพื่อประโยชน์ของรัฐบาลเอง เป็นต้น

สถานการณ์การเมืองปัจจุบัน

การเลือกตั้งทั่วไป อาเซอร์ไบจานได้จัดการเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดขึ้นเมื่อปี 2005 ผลคือ seats by party - Yeni 58, Azadliq coalition 8, CSP 2, YES 2, Motherland 2, other parties with single seats 7, independents 42, undetermined 4 การเลือกตั้งจะมีครั้งต่อไปปี 2014

การเลือกตั้งประธานาธิบดี สำหรับการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งล่าสุด มีขึ้นเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2546 ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า นาย Ilham Heydar oglu Aliyev นายกรัฐมนตรีและบุตรชายของอดีตประธานาธิบดี Heydar Aliyev ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น โดยได้รับเสียงสนับสนุนร้อยละ 76.84 ในขณะที่นาย Isa Bambar ผู้สมัครคู่แข่ง ได้รับเสียงสนับสนุนเป็นอันดับที่สอง คือ ร้อยละ 10.74 จากจำนวนผู้สมัครทั้งสิ้น 8 ราย โดยสาเหตุที่นาย Ilham Aliyev ได้รับเสียงสนับสนุนจำนวนมาก เนื่องมาจากนาย Heydar Aliyev ซึ่งกำลังป่วยด้วยโรคหัวใจและอยู่ระหว่างรับการรักษาที่สหรัฐฯ ได้ถอนตัวจากการลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีในครั้งนี้ เพื่อถ่ายโอนคะแนนนิยมให้แก่บุตรชาย ทั้งนี้ นาย Ilham Aliyev อายุ 41 ปี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองประธานพรรค Yeni Azerbaijan นอกจากนี้ นาย Ilham ยังดำรงตำแหน่งรองประธานหมายเลข 1 ของบริษัทน้ำมันของรัฐ และประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ อย่างไรก็ดี ได้เกิดเหตุการณ์ประท้วงผลการเลือกตั้งดังกล่าวอย่างรุนแรง ประชาชน 60 คน ได้รับความเดือดร้อน เจ้าหน้าที่ของรัฐ 112 ราย ได้รับบาดเจ็บ และผู้สื่อข่าวหลายรายถูกทำร้าย รัฐบาลอาเซอร์ไบจานจึงได้ดำเนินการจับกุมผู้เกี่ยวข้องกับการก่อเหตุการณ์ความไม่สงบทั้งสิ้น 625 ราย

การอสัญกรรมของประธานาธิบดี Heydar Aliyev นาย Haidar Aliyev อดีตประธานาธิบดีสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจานได้ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 2003 ด้วยอายุ 80 ปี ภายหลังการเดินทางเข้ารับการรักษาอาการหัวใจล้มเหลวและโรคไตที่ Cleveland Clinic Foundation ในสหรัฐฯ นับตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 2003

สถานการณ์ในดินแดนนากอร์โน-คาราบัค นากอร์โน-คาราบัค (Nagorno-Karabakh) ในอดีตเป็นดินแดนปกครองตนเองของสหภาพโซเวียต ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวอาร์มีเนีย นับถือศาสนาคริสต์นิกายออร์โธดอกซ์ ต่อมาใน ค.ศ. 1923 สหภาพ โซเวียตได้มอบดินแดนนี้ให้แก่อาเซอร์ไบจาน ซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม และให้ชาวอาเซอรีเข้าไปตั้งถิ่นฐานในบริเวณดังกล่าว โดยให้ใช้ภาษาอาร์มีเนียเป็นภาษาหลัก นับตั้งแต่ผู้นำท้องถิ่นของชาวอาร์มีเนียในนากอร์โน-คาราบัค ประกาศเอกราชจากอาเซอร์ไบจาน ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1988 จนถึงปัจจุบัน การประกาศเอกราชดังกล่าวก็ยังไม่ได้รับการรับรองจากนานาชาติและอาเซอร์ไบจานถือว่านากอร์โน-คาราบัค เป็นดินแดนกบฏที่ได้รับการสนับสนุนจากอาร์มีเนีย ความขัดแย้งเริ่มเกิดขึ้นพร้อม ๆ กับนโยบายปฏิรูป “Perestroika” ของสหภาพโซเวียตในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1988 เมื่อสภาท้องถิ่นของเมือง Stepanakert เมืองหลวงของนากอร์โน-คาราบัค มีมติให้นากอร์โน-คาราบัคประกาศเอกราชจากอาเซอร์ไบจานเพื่อไปรวมตัวกับอาร์มีเนีย รัฐบาลอาเซอร์ไบจาน จึงได้ส่งกองกำลังเข้าไปควบคุมสถานการณ์ในดินแดนดังกล่าวไว้ เหตุการณ์ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยมาจนอาเซอร์ไบจานสามารถเข้ายึดพื้นที่เกือบทั้งหมดของคาราบัคและเมืองหลวง Stepanakert ระหว่าง ค.ศ. 1991 - 1992 ต่อมารัฐบาลอาร์มีเนียได้ส่งกำลังเข้ารุกรานอาเซอร์ไบจานเพื่อช่วยเหลือกองกำลังคาราบัคระหว่างปีค.ศ. 1993-1994 จนในที่สุดกองกำลังคาราบัคสามารถยึดครองดินแดนส่วนหนึ่งเท่ากับประมาณ 20 % ของสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน และขับไล่ชาวอาเซอรีประมาณ 600,000 คน ออกจากพื้นที่ สงครามต่อสู้แย่งดินแดนดังกล่าวมีผลทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนกว่า 25,000 คน และมีผู้อพยพจากภัยสงคราม อีกเป็นจำนวนมาก ในที่สุดสงครามระหว่างเชื้อชาติที่ดำเนินมา 6 ปี ได้ยุติลงชั่วคราวในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1994 เมื่ออาเซอร์ไบจานกับอาร์มีเนียได้ร่วมกันจัดทำข้อตกลงหยุดยิงโดยความช่วยเหลือของรัสเซีย อย่างไรก็ตาม จนถึงปัจจุบัน ทั้งสองฝ่ายก็ยังมิได้ปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวอย่างแท้จริง ยังคงมีการยิงสู้รบระหว่างกันเป็นระยะ ๆ ล่าสุดในการพบปะกันระหว่างประธานาธิบดี Aliyev แห่งอาเซอร์ไบจานกับประธานาธิบดี Robert Kocharyan แห่งอาร์มีเนีย ระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มเครือรัฐเอกราชที่กรุงมอสโกเมื่อวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1998 ผู้นำทั้งสองได้ร่วมกันประกาศเจตนารมณ์ที่จะยุติความขัดแย้งเหนือดินแดนนากอร์โน-คาราบัค โดยทั้งสองฝ่ายเรียกร้องให้แต่ละฝ่ายปฏิบัติตามข้อตกลงยุติการยิงที่ทำขึ้นใน ค.ศ. 1994 และให้ดำเนินกระบวนการเพื่อสันติภาพภายใต้กรอบของกลุ่ม Minsk ซึ่งเป็นกลุ่มที่ตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะกิจขององค์การความมั่นคงและความร่วมมือแห่งยุโรป (OSCE) ภายใต้การสนับสนุนของสหรัฐอเมริกาฝรั่งเศส และรัสเซีย จากความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ได้ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงภายในภูมิภาค คือทำให้ชาวอาเซอรีกว่าร้อยละ 10 ของประชากรของอาเซอร์ไบจานต้องกลายเป็นผู้อพยพ อาศัยอยู่ตามค่ายอพยพต่าง ๆ และก่อให้เกิดปัญหาสังคมขึ้นภายในประเทศอีกด้วย นอกจากนั้น การที่อาเซอร์ไบจานกับตุรกีดำเนินการปิดกั้นทางเศรษฐกิจต่อนากอร์โน-คาราบัค และอาร์มีเนีย โดยการปิดชายแดนและเส้นทางรถไฟสายหลัก 3 สาย ซึ่งมีผลทำให้เศรษฐกิจของอาร์มีเนียตกต่ำลงอย่างมาก และยังสั่นคลอนความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมน้ำมันที่ต่างวิตกว่าเส้นทางท่อขนส่งน้ำมันจากทะเลสาบแคสเปียนอาจถูกผลกระทบจากการสู้รบที่อาจจะปะทุขึ้นได้อีก นับตั้งแต่เกิดความขัดแย้งดังกล่าวขึ้น สหประชาชาติก็ได้มีความพยายามในการที่จะระงับ กรณีพิพาทนี้ โดยให้องค์การ OSCE เข้ามามีบทบาทในการจัดตั้งกระบวนการเจรจาสันติภาพ ซึ่งผู้นำอาร์มีเนียได้ปฏิเสธแผนของ OSCE ที่ขอให้อาร์มีเนียถอนกองกำลังออกจากบริเวณนอกเขตนากอร์โน-คาราบัค ที่เป็นพื้นที่ในกรรมสิทธิ์ของอาเซอร์จาน ในขณะเดียวกัน องค์การ OSCE ยังได้เรียกร้องให้นากอร์โน-คาราบัคได้รับอำนาจปกครองตนเองอย่างเต็มที่ ภายใต้อาณาเขตของอาเซอร์ไบจาน ซึ่งประธานาธิบดี Kocharyan ของอาร์มีเนีย ได้ออกมาปฏิเสธที่จะยอมรับข้อตกลงใด ๆ ที่จะทำให้ดินแดนนากอร์โน-คาราบัค ต้องกลับไปอยู่ภายใต้การปกครองของอาเซอร์ไบจานอีกครั้ง ตลอดเวลา 10 ปี ของสงครามระหว่างเชื้อชาติ อาเซอร์ไบจานตกอยู่ในฐานะเสียเปรียบและได้กล่าวหาว่ารัสเซียเป็นผู้ให้การสนับสนุนทางการทหารแก่ประเทศอาร์มีเนีย ซึ่งคอยช่วยเหลือชาวอาร์มีเนียในดินแดนนากอร์โน-คาราบัค และการที่อาเซอร์ไบจานทำการปิดกั้นทางเศรษฐกิจต่ออาร์มีเนียและนากอร์โน-คาราบัค ทำให้สหรัฐอเมริกาตอบโต้ด้วยการจำกัดการให้ความช่วยเหลือแก่อาเซอร์ไบจานภายใต้มาตรา 907 ของ Freedom Support Act เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2002 ประธานาธิบดี Aliyev ได้พบกับประธานาธิบดี Kocharyan ของอาร์มีเนีย เพื่อหารือแนวทางการแก้ไขปัญหานากอร์โน-คาราบัคโดยสันติ แต่ไม่ปรากฏผลคืบหน้าแต่อย่างใด อนึ่ง นับตั้งแต่ประกาศเอกราชอย่างเป็นทางการจากอาเซอร์ไบจานใน ค.ศ. 1991 นากอร์โน-คาราบัคได้จัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีมาแล้วทั้งสิ้น 3 ครั้ง สำหรับการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งล่าสุดจัดขึ้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 2001 โดยนาย Arkady Gukasian ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสมัยที่สอง

การแบ่งเขตการปกครอง

อาเซอร์ไบจานแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 10 เขตเศรษฐกิจ รวมทั้งหมด 66 จังหวัด (rayonlar, เอกพจน์ rayon) และ 77 เมือง (şəhərlər, เอกพจน์ şəhər) โดยเมือง 12 แห่งในจำนวนดังกล่าวมีหน่วยบริหารขึ้นตรงต่อสาธารณรัฐ นอกจากนี้อาเซอร์ไบจานยังมีเขตปกครองตนเองคือสาธารณรัฐปกครองตนเองนาคีชีวัน รายชื่อจังหวัดและเมืองที่บริหารโดยสาธารณรัฐแบ่งตามเขตเศรษฐกิจ มีดังนี้

    หมายเหตุ ชื่อที่เขียนด้วยตัวเอียงมีสถานะเป็นเมือง และในวงเล็บคือชื่อในภาษาอาเซอร์ไบจาน

เศรษฐกิจ

พลังงาน

สินค้าส่งออกหลักของประเทศคือน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ที่มาจากทะเลสาบแคสเปียน มีน้ำมันสำรองอันดับ 3 ของโลก อาเซอร์ไบจานอยู่ระหว่างระยะการเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจจากการมีระบบเศรษฐกิจที่รัฐเป็นผู้ควบคุมไปสู่การเปิดเสรีมากขึ้น แต่เดิมอาเซอร์ไบจานเป็นประเทศที่มีพัฒนาการทางด้านอุตสาหกรรมน้อยกว่าอาร์มีเนียและจอร์เจีย โดยมีส่วนคล้ายประเทศในเอเชียกลาง เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม มีอัตราการว่างงานสูง และมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ต่ำ สินค้าที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมัน ฝ้ายและก๊าซธรรมชาติ แต่โดยที่อาเซอร์ไบจานมีทรัพยากรน้ำมันอุดมสมบูรณ์ และตั้งอยู่บริเวณทะเลสาบแคสเปียนซึ่งเป็นแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติใหญ่เป็นอันดับสามของโลก จึงทำให้อาเซอร์ไบจานมีศักยภาพทางเศรษฐกิจที่สูงกว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเดียวกัน ส่งผลให้มีการลงทุนในธุรกิจด้านน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในอาเซอร์ไบจานอย่างต่อเนื่อง โดยอาเซอร์ไบจานได้มีสัญญาร่วมลงทุนด้านน้ำมันกับบริษัทน้ำมันต่างชาติหลายบริษัท อาทิ อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐฯ ตุรกี รวมทั้งได้มีการพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงการเชื่อมต่อท่อส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติผ่านอาเซอร์ไบจานโดยมีเส้นทางสำคัญคือ Baku-Tbilisi-Ceyhan นอกจากนี้ อาเซอร์ไบจานยังได้รับเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศเพื่อกระตุ้นพัฒนาการทางด้านอุตสาหกรรมอีกด้วย

ปัจจุบันอาเซอร์ไบจานประสบความสำเร็จในการปฏิรูปเศรษฐกิจในระดับหนึ่ง โดยภายใต้ความร่วมมือกับ IMF อาเซอร์ไบจานสามารถลดระดับเงินเฟ้อจากเดิมสูงถึง 1,800% ใน ค.ศ. 1994 เป็น ร้อยละ 1.5 ใน ค.ศ. 2001 และมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยใน ค.ศ. 2001 มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจร้อยละ 9.9 และ 10.6 ใน ค.ศ. 2002 รัฐบาลประสบความสำเร็จในการปฏิรูปที่ดินด้านการเกษตร และปฏิรูปรัฐวิสาหกิจขนาดกลาง อย่างไรก็ตาม ยังมีหลายปัจจัยที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ได้แก่ ความขัดแย้งภายในประเทศโดยมีการสู้รบในเขตนากอร์โน-คาราบัค ซึ่งทำให้ชาวต่างประเทศไม่กล้าเข้ามาลงทุนมากนัก การปฏิรูปเศรษฐกิจไปสู่ระบบแบบตลาดยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ภาวะว่างงานที่สูง และประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ

ประชากร

เชื้อชาติ

9,164,600 คน แบ่งออกเป็น 4 ชาติพันธุ์ใหญ่ ได้แก่ อาเซอรี 93.4 % ดาเกสถาน 1.5 % รัสเซีย 1.5% อาร์มีเนีย 2% และอื่น ๆ 1.4 %

ศาสนา

ศาสนาอิสลาม (ชีอะห์) ร้อยละ 93.4 คริสต์นิกายรัสเซียออร์โธดอกซ์ ร้อยละ 2.5 คริสต์นิกายอาร์มีเนียนออโธด็อกซ์ ร้อยละ 2.3 และอื่น ๆ ร้อยละ 1.8

อ้างอิง

อ่านเพิ่ม

  • Altstadt, Audrey. Frustrated Democracy in Post-Soviet Azerbaijan (2018)
  • Broers, Broers Laurence. Armenia and Azerbaijan: Anatomy of a rivalry (Edinburgh University Press, 2019).
  • Cornell, Svante E. Azerbaijan since independence (Routledge, 2015).
  • Dragadze, Tamara. "Islam in Azerbaijan: The Position of Women" in Muslim Women’s Choices (Routledge, 2020) pp. 152–163.
  • Ergun, Ayça. "Citizenship, National Identity, and Nation-Building in Azerbaijan: Between the Legacy of the Past and the Spirit of Independence." Nationalities Papers (2021): 1-18. online
  • Goltz, Thomas. Azerbaijan Diary : A Rogue Reporter's Adventures in an Oil-Rich, War-Torn, Post-Soviet Republic. M E Sharpe (1998). ISBN 0-7656-0244-X
  • Habibov, Nazim, Betty Jo Barrett, and Elena Chernyak. "Understanding women's empowerment and its determinants in post-communist countries: Results of Azerbaijan national survey." Women's Studies International Forum. Vol. 62. Pergamon, 2017.
  • Olukbasi, Suha. Azerbaijan: A Political History. I.B. Tauris (2011). Focus on post-Soviet era.

แหล่งข้อมูลอื่น

ข้อมูลทั่วไป

ข้อมูลหลักของรัฐบาล

สื่อข่าวหลัก

การท่องเที่ยว

40°18′N 47°42′E / 40.3°N 47.7°E / 40.3; 47.7

Tags:

ประเทศอาเซอร์ไบจาน ภูมิศาสตร์ประเทศอาเซอร์ไบจาน ประวัติศาสตร์ประเทศอาเซอร์ไบจาน การเมืองประเทศอาเซอร์ไบจาน การแบ่งเขตการปกครองประเทศอาเซอร์ไบจาน เศรษฐกิจประเทศอาเซอร์ไบจาน ประชากรประเทศอาเซอร์ไบจาน อ้างอิงประเทศอาเซอร์ไบจาน อ่านเพิ่มประเทศอาเซอร์ไบจาน แหล่งข้อมูลอื่นประเทศอาเซอร์ไบจานทะเลแคสเปียนประเทศจอร์เจียประเทศอาร์มีเนียประเทศอิหร่านภาษาอังกฤษภาษาอาเซอร์ไบจานยุโรปตะวันออกสหพันธรัฐรัสเซียเอเชียตะวันตก

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

รายชื่อเครื่องบินของการบินไทยกระทรวงมหาดไทย (ประเทศไทย)สโมสรฟุตบอลหนองบัว พิชญชลน่าน ศรีแก้วอีเอฟแอลแชมเปียนชิปปรีดี พนมยงค์วชิรวิชญ์ วัฒนภักดีไพศาลสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักรเอกซ์เจแปนเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยรัมมี่ทักษิณ ชินวัตรโป๊กเกอร์คิม ซู-ฮย็อนศรัณย์ ศิริลักษณ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อิษยา ฮอสุวรรณภาสวิชญ์ บูรณนัติทักษอร ภักดิ์สุขเจริญดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กูเกิล แผนที่สมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดีไฮคิว!! คู่ตบฟ้าประทานปักหมุดรักฉุกเฉินมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์อีเอฟแอลคัพจ้าว ลู่ซือสติปัฏฐาน 4สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์สโมสรฟุตบอลขอนแก่น ยูไนเต็ดลิโอเนล เมสซิจังหวัดระยองประยุทธ์ จันทร์โอชาฮุน เซนจังหวัดหนองคายสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารีสีประจำวันในประเทศไทยรายชื่อคาถาในแฮร์รี่ พอตเตอร์เกย์พิชิตรัก พิทักษ์โลกพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวราโยบาเยกาโนจั๊กกะบุ๋ม เชิญยิ้มอัมรินทร์ นิติพนเทศน์ เฮนรี ไมรอนจังหวัดภูเก็ตสามเณรสโมสรฟุตบอลลูตันทาวน์ศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์ฟุตบอลโลกพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชสามก๊กอสุภสโมสรฟุตบอลตราดบยอน อู-ซ็อกสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดบรรดาศักดิ์ไทยราศีเมษญาณี จงวิสุทธิ์กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญFBวทานิกา ปัทมสิงห์ ณ อยุธยาจำนวนเฉพาะมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงรินลณี ศรีเพ็ญจูด เบลลิงงัมอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะอวตาร (ภาพยนตร์)รักวุ่น วัยรุ่นแสบสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเร็ว..แรงทะลุนรก 10อาทิตยา ตรีบุดารักษ์พ.ศ. 2564พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจังหวัดของประเทศเกาหลีใต้สโมสรฟุตบอลนอริชซิตีรายชื่อสมาชิกบีเอ็นเคโฟร์ตีเอตปฏิจจสมุปบาท🡆 More