จำนวนเฉพาะ

ในคณิตศาสตร์ จำนวนเฉพาะ (อังกฤษ: prime number) คือ จำนวนเต็มบวกที่มากกว่า 1 และมีตัวหารที่เป็นบวกอยู่ 2 ตัว คือ 1 กับตัวมันเอง ตรงข้ามกับจำนวนประกอบ

จำนวนเฉพาะ
จำนวนประกอบสามารถสร้างเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ทุกด้านยาวมากกว่า 1 ได้ แต่จำนวนเฉพาะทำไม่ได้

ลำดับของจำนวนเฉพาะเริ่มต้นด้วย

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 มีข่าวจำนวนเฉพาะที่มากที่สุดเท่าที่มีการค้นพบ ซึ่งมีความยาว 24,862,048 หลัก

การแทนจำนวนธรรมชาติ ด้วยผลคูณของจำนวนเฉพาะ

ทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิตกล่าวว่า จำนวนเต็มบวกทุกตัวสามารถเขียนได้ในรูปผลคูณของจำนวนเฉพาะ และเขียนได้แบบเดียวเท่านั้น จำนวนเฉพาะเป็นเหมือน "บล็อกก่อสร้าง" ของจำนวนธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น

    จำนวนเฉพาะ 

ไม่ว่าเราจะแยกตัวประกอบของ 23244 แบบใดโดยไม่คำนึงถึงลำดับของตัวประกอบแล้ว มันก็จะไม่ต่างไปจากนี้

สมบัติมูลฐาน

การแยกตัวประกอบได้อย่างเดียว

  • ถ้า p เป็นจำนวนเฉพาะ และ p หาร ab ลงตัวแล้ว p หาร a ลงตัว หรือ p หาร b ลงตัว ประพจน์นี้พิสูจน์โดยยุคลิด และมีชื่อเรียกว่า บทตั้งของยุคลิด ใช้ในการพิสูจน์เรื่องการแยกตัวประกอบได้อย่างเดียว

การมีอยู่นับไม่ถ้วน

มีจำนวนเฉพาะอยู่มากมายนับไม่ถ้วน ข้อเท็จจริงนี้พร้อมบทพิสูจน์ปรากฏเป็นครั้งแรกในหนังสือ Elements โดยยุคลิด จึงได้ชื่อว่าทฤษฎีบทของยุคลิด

บทพิสูจน์ของยุคลิดนั้นเริ่มต้นโดยพิสูจน์ว่า รายการจำกัด จำนวนเฉพาะ  ของจำนวนเฉพาะใด ๆ จะมีจำนวนเฉพาะอื่นที่ไม่อยู่ในลำดับนี้ แนวคิดหลักของบทพิสูจน์นี้คือ คูณจำนวนเฉพาะ จำนวนเฉพาะ  ในรายการทุกตัวเข้าด้วยกัน แล้วบวกหนึ่งให้กับผลคูณที่ได้ ซึ่งจะได้เป็นจำนวนใหม่

    จำนวนเฉพาะ 

โดยทฤษฎีบทหลักมูลของเลขคณิต จะได้ว่าจำนวนนี้ต้องแยกตัวประกอบเป็นผลคูณของจำนวนเฉพาะได้

    จำนวนเฉพาะ 

(จำนวนเฉพาะ  อาจะมีตัวประกอบเป็นจำนวนเฉพาะตัวเดียวหรือหลายตัวก็ได้ และตัวประกอบเฉพาะเหล่านั้นอาจซ้ำกันก็ได้) แต่เนื่องจากจำนวนเฉพาะใด ๆ ในรายการ จำนวนเฉพาะ  เมื่อนำไปหาร จำนวนเฉพาะ  แล้วจะหารไม่ลงตัวเสมอ ดังนั้น ตัวประกอบเฉพาะ จำนวนเฉพาะ  ของ จำนวนเฉพาะ  ต้องเป็นจำนวนเฉพาะอื่นนอกเหนือจากในรายการ จำนวนเฉพาะ  จึงทำให้ได้ทันทีว่า มีจำนวนเฉพาะอยู่เป็นอนันต์

นอกจากบทพิสูจน์ของยูคลิดแล้ว ยังมีบทพิสูจน์ว่าจำนวนเฉพาะมีเป็นอนันต์ในแบบอื่น ๆ อีก เช่น บทพิสูจน์ของออยเลอร์โดยใช้วิธีการทางคณิตวิเคราะห์ บทพิสูจน์ของคริสเตียน ก็อลท์บัคโดยอาศัยจำนวนแฟร์มา บทพิสูจน์เชิงทอพอโลยีของฮิลแลล ฟัวร์ทสเตนแบร์ก และบทพิสูจน์ของเอิร์นส์ คุมเมอร์

การหาจำนวนเฉพาะ

ตะแกรงเอราทอสเทนีส และ ตะแกรงของ Atkin เป็นวิธีที่ใช้สร้างรายการจำนวนเฉพาะทั้งหมดตามจำนวนที่กำหนดอย่างรวดเร็ว

ในทางปฏิบัติ เราต้องการตรวจสอบว่าเลขที่กำหนดให้ว่าเป็นจำนวนเฉพาะหรือไม่ มากกว่าจะสร้างรายการจำนวนเฉพาะทั้งหมดขึ้นมา ซึ่งวิธีที่ทดสอบ จะให้คำตอบด้วยความน่าจะเป็น เราสามารถตรวจสอบเลขที่มีขนาดใหญ่ (มี 1 พันหลักขึ้นไป) ว่าเป็นจำนวนเฉพาะหรือไม่ได้อย่างรวดเร็ว โดยใช้การทดสอบความเป็นจำนวนเฉพาะด้วยความน่าจะเป็น (probabilistic primality tests) ซึ่งวิธีนี้ จะต้องทำการสุ่มตัวเลขขึ้นมาตัวหนึ่ง เรียกว่า "พยาน" (witness) และใช้สูตรที่เกี่ยวข้องกับพยาน และจำนวนเฉพาะ N ทำการทดสอบ หลังจากที่ทดสอบไปหลายรอบ เราจะตอบได้ว่า N เป็น "จำนวนประกอบอย่างแน่นอน" หรือ N "อาจเป็นจำนวนเฉพาะ" วิธีทดสอบไม่สามารถให้คำตอบได้ว่าเป็นจำนวนเฉพาะอย่างแน่นอนหรือไม่ การทดสอบบางครั้ง เมื่อใส่จำนวนประกอบลงไป ก็ให้คำตอบว่า "อาจเป็นจำนวนเฉพาะ" เสมอ ไม่ว่าจะเลือกพยานตัวใดก็ตาม จำนวนเหล่านี้เรียกว่า จำนวนเฉพาะเทียม (pseudoprimes) สำหรับการทดสอบ

สมบัติเชิงวิเคราะห์

พีชคณิตนามธรรม

สาขาเลขคณิตมอดุลาร์และฟีลด์จำกัด

  • ถ้า p เป็นจำนวนเฉพาะ และ a เป็นจำนวนเต็มใดๆแล้ว apa หารด้วย p ลงตัว (ทฤษฎีบทน้อยของแฟร์มาต์)
  • จำนวนเต็ม p > 1 เป็นจำนวนเฉพาะ ก็ต่อเมื่อ (p − 1) ! + 1 หารด้วย p ลงตัว (ทฤษฎีบทของวิลสัน) ยิ่งไปกว่านั้น จำนวนเต็ม n > 4 เป็นจำนวนประกอบ ก็ต่อเมื่อ (n− 1) ! หารด้วย n ลงตัว

การประยุกต์

จำนวนเฉพาะที่มีขนาดใหญ่มาก (ใหญ่กว่า 10100) นำไปใช้ประโยชน์ในขั้นตอนวิธีเข้ารหัสลับแบบกุญแจสาธารณะ นอกจากนี้ยังใช้ในตารางแฮช (hash tables) และเครื่องสุ่มเลขเทียม

ดูเพิ่ม

  • การพิสูจน์ว่าผลรวมของส่วนกลับของจำนวนเฉพาะทั้งหมดลู่ออก
  • การพิสูจน์สูตรผลคูณของออยเลอร์สำหรับฟังก์ชันซีตาของรีมันน์

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

คำนวณและสร้างจำนวนเฉพาะ

Tags:

จำนวนเฉพาะ การแทนจำนวนธรรมชาติ ด้วยผลคูณของจำนวนเฉพาะ สมบัติมูลฐานจำนวนเฉพาะ สมบัติเชิงวิเคราะห์จำนวนเฉพาะ พีชคณิตนามธรรมจำนวนเฉพาะ การประยุกต์จำนวนเฉพาะ ดูเพิ่มจำนวนเฉพาะ อ้างอิงจำนวนเฉพาะ แหล่งข้อมูลอื่นจำนวนเฉพาะคณิตศาสตร์จำนวนประกอบจำนวนเต็มบวกตัวหารภาษาอังกฤษ

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

แฮนน่า โรสเซ็นบรูมคือเรารักกันดาบพิฆาตอสูรศุภชัย สุวรรณอ่อนอครา อมาตยกุลจังหวัดชลบุรีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของไทยใหม่ เจริญปุระมหาวิทยาลัยมหาสารคามนาโช (นักฟุตบอลเกิด พ.ศ. 2533)ปรสิต (หนังสือการ์ตูน)สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญามหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเขตการปกครองของประเทศพม่าพงษ์สิทธิ์ คำภีร์อดอล์ฟ ฮิตเลอร์พ.ศ. 2567พรหมลิขิตจักรพรรดินโปเลียนที่ 1จิรายุ ตั้งศรีสุข23.5 องศาที่โลกเอียงจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดศรีสะเกษอริยสัจ 4ฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์สำนักข่าวกรองแห่งชาติรายชื่อจังหวัดของประเทศไทยเรียงตามพื้นที่ประเทศไต้หวันรายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (แอนิเมชัน)สฤษดิ์ ธนะรัชต์หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินพวงเพ็ชร ชุนละเอียดมหาวิทยาลัยรังสิตเขมนิจ จามิกรณ์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อาลิง โฮลันศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลสโมสรฟุตบอลชลบุรีอาณาจักรอยุธยาพระพุทธเจ้าสังฆาทิเสสสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีโรนัลโดฟุตบอลโลกธี่หยดวินัย ทองสองสิ่งเล็กเล็กที่เรียกว่า...รักมารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยาแปลก พิบูลสงครามกฤษฏ์ อำนวยเดชกรลีกเอิงลากข้างประเทศซาอุดีอาระเบียชัยพล จูเลียน พูพาร์ตคิม ซู-ฮย็อนสล็อตแมชชีนราชวงศ์ในประวัติศาสตร์จีนรายชื่อคาถาในแฮร์รี่ พอตเตอร์ทิพนารี วีรวัฒโนดมพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวธนวรรธน์ วรรธนะภูติสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธนาคารกสิกรไทยนพเก้า เดชาพัฒนคุณบัลลังก์ลูกทุ่งธีรดนย์ ศุภพันธุ์ภิญโญล็อสก์ลีลสโมสรฟุตบอลยูเวนตุสสโมสรฟุตบอลเบรนต์ฟอร์ดรายชื่อตอนในนารูโตะ ตำนานวายุสลาตันซานเฟรชเช ฮิโรชิมะสุภัคชญา ชาวคูเวียงข้าราชการส่วนท้องถิ่นอารยา เอ ฮาร์เก็ตเกศรินทร์ น้อยผึ้งนิษฐา คูหาเปรมกิจ🡆 More