ปรัชญา

ปรัชญา (อังกฤษ: Philosophy จาก กรีก: φιλοσοφία, philosophia, 'ความรักในปัญญา') เป็นการศึกษาปัญหาทั่วไปและปัญหาพื้นฐาน เช่น เกี่ยวกับการดำรงอยู่ (อภิปรัชญา), เหตุผล (ตรรกศาสตร์), ความรู้ (ญาณวิทยา), คุณค่า (จริยศาสตร์), จิตใจ และ ภาษา Such questions are often posed as problems แหล่งข้อมูลบางแหล่งอ้างว่าคำนี้คิดขึ้นโดยพีทากอรัส (c.

1453)">φιλοσοφία, philosophia, 'ความรักในปัญญา') เป็นการศึกษาปัญหาทั่วไปและปัญหาพื้นฐาน เช่น เกี่ยวกับการดำรงอยู่ (อภิปรัชญา), เหตุผล (ตรรกศาสตร์), ความรู้ (ญาณวิทยา), คุณค่า (จริยศาสตร์), จิตใจ และ ภาษา Such questions are often posed as problems แหล่งข้อมูลบางแหล่งอ้างว่าคำนี้คิดขึ้นโดยพีทากอรัส (c. 570 – c. 495 ปีก่อนค.ศ.) ในขณะที่บางส่วน ปฏิเสธและเชื่อว่าพีทากอรัสนำคำนี้มาใช้จากคำเดิมที่ปรากฏอยู่แล้ว วิธีวิทยาของปรัชญาประกอบด้วยการตั้งคำถาม, การถกเถียงเชิงวิพากษ์, การถกเถียงด้วยเหตุผล และการนำเสนออย่างเป็นระบบระเบียบ

ปรัชญา
วิทยาลัยเอเธนส์ (1509–1511) โดย ราฟาเอล

ในอดีต คำว่า "ปรัชญา" หมายรวมถึงความรู้ทุกแขนง ส่วนผู้ศึกษาปรัชญา เรียก นักปรัชญา นับแต่ยุคของแอริสตอเติล นักปรัชญากรีกโบราณ จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 คำว่า "ปรัชญาธรรมชาติ" ครอบคลุมวิชาดาราศาสตร์ แพทยศาสตร์และฟิสิกส์ อย่างเช่น ตำรา Philosophiæ Naturalis Principia Mathematica (หลักคณิตศาสตร์ของปรัชญาธรรมชาติ) ของไอแซก นิวตัน ในปี 1687 เป็นวิชาปรัชญาก่อนที่ภายหลังจะถูกจำแนกเป็นวิชาฟิสิกส์แทน ในศตวรรษที่ 19 ภายหลังการเติบโตของมหาวิทยาลัยวิจัยทำให้ปรัชญาเชิงวิชาการ (academic philosophy) และสาขาวิชาอื่นกลายเป็นอาชีพและมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมากขึ้น หลังจากนั้นจึงมีหลายวิชาที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของปรัชญาแยกออกไป โดยเฉพาะสังคมศาสตร์ เช่น จิตวิทยา สังคมวิทยา ภาษาศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์

ในปัจจุบัน โดยทั่วไปถือว่าปรัชญาประกอบด้วยสาขาย่อยหลักทางวิชาการได้แก่ อภิปรัชญา ซึ่งศึกษาธรรมชาติพื้นฐานของการดำรงอยู่ และ ความเป็นจริง, ญาณวิทยา ซึ่งศึกษาธรรมชาติของความรู้ และ ความเชื่อ, จริยศาสตร์ ซึ่งศึกษาคุณค่าทางศีลธรรม และ ตรรกศาสตร์ ซึ่งศึกษากฎเกณฑ์ของการให้เหตุผลเพื่อสร้างข้อสรุปจากความจริง สาขาย่อยอื่น ๆ ที่เป็นที่รู้จักของปรัชญา เช่น ปรัชญาวิทยาศาสตร์, ปรัชญาการเมือง, สุนทรียศาสตร์, ปรัชญาภาษา และ ปรัชญาความคิด เป็นต้น

แขนงของปรัชญา

ปัญหาทางปรัชญาอาจจัดกลุ่มรวมกันเป็นแขนงต่าง ๆ ได้ เพื่อให้นักปรัชญาสามารถมุ่งสนใจหัวข้อใกล้เคียงกัน และมีปฏิสัมพันธ์กับนักคิดคนอื่นที่สนใจในปัญหาทำนองเดียวกัน

การแบ่งอาจมีได้มากกว่ารายการข้างล่างนี้ และแต่ละแขนงอาจไม่ได้แยกออกจากกันอย่างสิ้นเชิง ปัญหาทางปรัชญาเหล่านี้บางทีก็ซ้อนทับกันหลายแขนงปรัชญา และบางทีก็ซ้อนทับกับวิชาและความคิดอื่น เช่น วิทยาศาสตร์ ศาสนาหรือคณิตศาสตร์

สุนทรียศาสตร์

สุนทรียศาสตร์คือ "การสะท้อนเชิงวิพากษ์ต่อศาสนา วัฒนธรรมและธรรมชาติ" แขนงนี้ว่าด้วยสภาพของศิลปะ ความงาม รสนิยม ความพึงพอใจ คุณค่าทางอารมณ์ การรับรู้ ตลอดจนการสร้างสรรค์และการชื่นชมความงาม หรือหากนิยามให้แม่นยำกว่านั้น คือ การศึกษาคุณค่าของประสาทสัมผัสหรือประสาทสัมผัสและอารมณ์ ส่วนใหญ่แบ่งได้เป็นทฤษฎีศิลปะ ทฤษฎีภาพยนตร์ หรือทฤษฎีดนตรี

จริยศาสตร์

จริยศาสตร์ หรือเรียก ปรัชญาศีลธรรม เป็นการศึกษาความประพฤติที่ดีและเลว ค่านิยมที่ถูกต้องและผิด และความดีกับความชั่วร้าย โดยหลักสนใจศึกษาวิธีการดำรงชีวิตที่ดีและการบอกมาตรฐานศีลธรรม นอกจากนี้ยังสนใจว่ามีวิธีดำรงชีวิตที่ดีที่สุด หรือมีมาตรฐานศีลธรรมเป็นสากลหรือไม่ และถ้ามี มนุษย์จะเรียนรู้เกี่ยวกับมันได้อย่างไร

ญาณวิทยา

ญาณวิทยาเป็นแขนงของปรัชญาที่ศึกษาความรู้ นักญาณวิทยาศึกษาบ่อเกิดความรู้ต่าง ๆ เช่น ประสบการณ์ผัสสะ เหตุผล ความทรงจำและพยาน นอกจากนี้ยังศึกษาปัญหาของสภาพความจริง ความเชื่อ การให้เหตุผลและความสมเหตุสมผล

แขนงย่อยหนึ่งที่ได้รับความสนใจมากในประวัติศาสตร์ของวิชาปรัชญา คือ กังขาคติทางปรัชญา ซึ่งตั้งข้อสงสัยข้ออ้างในความรู้ ซึ่งถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่สมัยก่อนโสเครดิส และยังคงปรากฏในงานในของนักปรัชญาสมัยใหม่ที่มีชื่อเสียง และยังเป็นหัวข้อศูนย์กลางในการถกเถียงทางญาณวิทยาร่วมสมัยอยู่

การถกเถียงทางปรัชญาที่มีชื่อเสียง คือ การถกเถียงระหว่างประสบการณ์นิยมกับเหตุผลนิยม ประสบการณ์นิยมเน้นหลักฐานที่สังเกตได้ด้วยประสาทสัมผัสว่าเป็นบ่อเกิดของความรู้ (เช่นความรู้ทางวิทยาศาสตร์) ส่วนเหตุผลนิยมเน้นเหตุผลเป็นบ่อเกิดของความรู้ ซึ่งไม่ต้องอาศัยประสบการณ์ (เช่น ตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์)

เชิงอรรถ

อ้างอิง

Tags:

ปรัชญา แขนงของปรัชญา เชิงอรรถปรัชญา อ้างอิงปรัชญาDialecticEpistemologyPythagorasSocratic questioningจริยศาสตร์ตรรกศาสตร์ภาษากรีกภาษาอังกฤษอภิปรัชญาเหตุผล

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ชา อึน-อูปานปรีย์ พหิทธานุกรกรรชัย กำเนิดพลอยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์รายชื่อละครโทรทัศน์จักร ๆ วงศ์ ๆจังหวัดเชียงใหม่ลือชัย งามสมทวีปอเมริกาใต้พลังธรรม กล่อมทองสุขกรมราชเลขานุการในพระองค์เอฟเอคัพสโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกนฤมล พงษ์สุภาพสนธิสัญญาเบาว์ริงชาลิดา วิจิตรวงศ์ทองทวิตเตอร์พระไตรปิฎกข่าวช่อง 7HDกองทัพอากาศไทยฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือกใหม่ เจริญปุระพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์พีรวิชญ์ อรรถชิตสถาพรสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดขาดคุณนางฟ้าข้างห้องไป ผมคงมีชีวิตต่อไปไม่ได้อีกแล้วศิริลักษณ์ คองสล็อตแมชชีนฟุตบอลทีมชาติไทยรุ่นอายุไม่เกิน 23 ปีการร่วมเพศแอน ทองประสมฮ่องกงโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัยฟุตบอลโลกบัญญัติ 10 ประการจังหวัดสงขลาควยข้าราชการส่วนท้องถิ่นเฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลบูมเมอแรง (ประเทศไทย)หอแต๋วแตก (ภาพยนตร์ชุด)FIFA World Cupกรมสรรพากรรายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (แอนิเมชัน)ธนาคารออมสินคิม มิน-แจ (นักฟุตบอล)นามสกุลพระราชทานโรนัลโดไกรศักดิ์ ชุณหะวัณทักษอร ภักดิ์สุขเจริญสงกรานต์ในประเทศไทยนินจาคาถาโอ้โฮเฮะฟุตบอลทีมชาติฮังการีไตรลักษณ์สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานชูษี เชิญยิ้มฉัตรชัย เปล่งพานิชผู้หญิง 5 บาปอแมนด้า ออบดัมแอน อรดีจีเอ็มเอ็มทีวีพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไมเคิล เบิร์นราชวงศ์จักรีโรงเรียนวัดสุทธิวรารามสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังสวิตเซอร์แลนด์จังหวัดนครสวรรค์โรงเรียนชลราษฎรอำรุงบอลทิมอร์สุธิตา ชนะชัยสุวรรณจำนวนเฉพาะอาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจังหวัดของประเทศไทย4 KINGS 2สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)🡆 More