บทความนี้ร่วมเขียนโดยเหล่าบรรณาธิการและนักวิจัยที่ผ่านการฝึกฝนมาเพื่อความถูกต้องและครอบคลุมของเนื้อหา
ทีมผู้จัดการด้านเนื้อหาของวิกิฮาว จะตรวจตราผลงานจากทีมงานด้านเนื้อหาของเราเพื่อความมั่นใจว่าบทความทุกชิ้นได้มาตรฐานตามที่เราตั้งไว้
บทความนี้ถูกเข้าชม 46,237 ครั้ง
เกมกระดานทำเองเป็นสิ่งที่จะทำให้ทุกคนประทับใจในงานปาร์ตี้เล่นเกมครั้งต่อไปของคุณ แต่ก่อนที่คุณจะสร้างงานชิ้นเอกออกมาได้ คุณจำเป็นต้องออกแบบพื้นฐานอย่างพวกเป้าหมายของเกมและกฎกติกาต่างๆ คิดเรื่องเหล่านั้นออกมาแล้ว ถึงได้เวลาสร้างเกมตัวต้นแบบเพื่อมาทดสอบงานออกแบบของคุณ เมื่อทุกอย่างผ่านการทดสอบ คราวนี้ที่เหลือก็มีแค่สร้างเกมกระดานขั้นตอนสุดท้ายให้พร้อมเล่นแบบเกมของจริง
ขั้นตอน
ออกแบบเกม
-
1เขียนไอเดียออกมา. คุณไม่มีทางรู้หรอกว่าแรงบันดาลใจจะโดนเมื่อไหร่ คุณอาจมีไอเดียที่แยกจากกันสองแนว แต่พอเอามารวมกันกลับสร้างเกมดีๆ ขึ้นมาได้ ให้บันทึกไอเดียต่างๆ ไว้ในสมุดบันทึกหรือคอมพิวเตอร์หรือแอปบันทึกในมือถือตลอด
- จะมีประโยชน์อย่างยิ่งถ้าคุณเก็บอุปกรณ์บันทึกนี้ไว้ข้างกายตลอดเวลาตอนเล่นเกม การเล่นเกมอาจจุดประกายไอเดียเกมคุณเองขึ้นมาก็ได้
- เวลาใช้เกมที่ซื้อจากร้านมาเป็นแรงบันดาลใจ ถามตัวเองว่า “ฉันจะทำอย่างไรถึงพัฒนาเกมนี้ให้ดีขึ้นไปอีก” คำถามนี้มักนำคนไปสู่การคิดสิ่งใหม่ๆ ที่น่าสนใจ [1]
-
2เลือกแนวทางว่าจะเน้นตรงธีมหรือตรงกลไก. นี่คือสองแนวทางพื้นฐานในการเริ่มต้นออกแบบเกม ธีมนั้นจะเป็น “อารมณ์” ของเกมและสามารถอ้างอิงว่าเป็น “แนว” ของเกม ส่วนกลไกนั้นจะเป็นวิธีที่ผู้เล่นมีปฏิสัมพันธ์กับเกมหรือกับผู้เล่นคนอื่น สองแนวคิดนี้คือพื้นฐานของเกมกระดานทุกเกม [2]
- เกมอย่าง Sorry! มีธีมง่ายๆ แค่ไล่กวดฝั่งตรงข้ามไปรอบกระดาน ในขณะที่เกมสงครามที่ซับซ้อนอาจมีธีมของความขัดแย้งครั้งใหญ่ มีการเล่นเกมการเมือง และต้องใช้กลยุทธในการวางหมากบนกระดาน
- ในเกมเศรษฐีหรือ Monopoly กลไกนั้นมีหลักอยู่ตรงการทอยลูกเต๋า ซื้อ/ขายที่ดิน และหาเงิน กลไกของเกมอักษะกับสัมพันธมิตรหรือ Axis & Allies จะอยู่ที่การเดินหมากไปบนกระดานขนาดใหญ่และสลายความขัดแย้งของผู้เล่นด้วยการทอยลูกเต๋า
- บางคนก็คิดกลไกออกมาได้ก่อนแล้วถึงค่อยสร้างธีมมารองรับมัน ในขณะที่อาจมีคนที่คิดธีมเจ๋งๆ ได้แล้วพยายามหากลไกมาปรับให้เข้ากับธีม ทดลองดูว่าคุณถนัดแบบไหน
-
3คำนึงช่วงอายุของผู้เล่น. ช่วงอายุของผู้เล่นจะมีอิทธิพลต่อความซับซ้อนของเกมและกฎกติกาการเล่น หากคุณออกแบบเกมสำหรับเด็ก ออกแบบให้เรียบๆ เข้าใจง่ายและเน้นสนุกจะดีกว่า ส่วนถ้าเป็นผู้ใหญ่ก็อาจออกแบบที่ซับซ้อน ขับเคี่ยวและตื่นเต้นได้
- นึกถึงธีมอยู่ตลอดเวลาตัดสินช่วงอายุผู้เล่น เกมล่าซอมบี้คงไม่เหมาะกับเด็กเล็ก แต่อาจโดนใจผู้ใหญ่ที่เคยดูหนังทีวีอย่าง The Walking Dead[3]
-
4กำหนดข้อจำกัดทางผู้เล่น เวลาและขนาดของเกม. บางเกมจำกัดโดยขนาดของกระดาน จำนวนผู้เล่น หรือจำนวนการ์ด ขนาดกับจำนวนการ์ดยังมีผลว่าทำให้ผู้เล่นต้องใช้เวลาแค่ไหนกว่าจะทำภารกิจสำเร็จ เวลากำหนดข้อจำกัดให้คิดถึง:
- จำนวนผู้เล่นที่เกมสามารถรองรับได้ ลองพิจารณาดูว่าถ้าเล่นกันแค่สองคนจะสนุกไหมและรองรับได้สูงสุดกี่คน
- ความยาวโดยเฉลี่ยของเกม จำไว้ว่าตอนแรกๆ มักใช้เวลานานกว่า เพราะผู้เล่นต้องการเวลาในการเรียนรู้กติกา
- ขนาดของเกม กระดานขนาดใหญ่หรือการ์ดสำรับใหญ่มักเพิ่มความซับซ้อนและความยาวของเวลาเล่น แต่มันก็อาจทำให้เกมดูพะรุงพะรังจนพกติดตัวได้ยาก
-
5เลือกว่าผู้เล่นจะชนะเกมได้อย่างไร. พอคุณมีไอเดียพื้นฐานของเกมออกมาแล้ว ถามตัวเองว่า “ฉันอยากให้คนเล่นเกมได้พบประสบการณ์แบบไหน สภาวะไหนถึงจะถือว่าชนะเกม” ลองคิดถึงวิธีต่างๆ ที่ผู้เล่นจะเอาชนะได้ และจดจำไว้เวลาพัฒนาเกม [4]
- เกมประชันความเร็วจะให้ผู้เล่นรีบไปให้สุดกระดาน ในเกมแบบนี้ ใครถึงก่อนก็เป็นฝ่ายชนะ
- เกมสะสมแต้มจะให้ผู้เล่นสะสมรางวัล อย่างแต้มชนะหรือการ์ดพิเศษ ในตอนท้าย ใครมีแต้มสูงที่สุดเป็นฝ่ายชนะ
- เกมร่วมไม้ร่วมมือจะให้ผู้เล่นต้องจับมือกันไปให้ถึงเป้าหมาย อย่างการซ่อมเรือดำน้ำหรือหยุดยั้งการแพร่ของเชื้อโรคร้าย
- เกมสร้างสำรับจะพึ่งพาการ์ดในการเล่น ผู้เล่นจะได้รับการ์ด ถูกขโมย หรือซื้อขายการ์ดเหล่านั้นเพื่อทำให้การ์ดของตนแข็งแกร่งที่สุดเพื่อทำภารกิจให้สำเร็จ [5]
-
6เขียนกฎกติกาพื้นฐานออกมา. ส่วนนี้แน่นอนว่าจะเปลี่ยนแปลงไปเมื่อคุณพัฒนาเกมไปเรื่อยๆ แต่กติกาพื้นฐานจะช่วยให้คุณทดสอบและทดลองเล่นได้เร็วขึ้น เวลาเขียนกติกาจำไว้ว่า:
- ผู้เล่นคนแรก หลายเกมเลือกผู้เล่นคนแรกโดยให้ทุกคนทอยลูกเต๋าหรือจั่วการ์ด ใครได้แต้มสูงสุดก็เริ่มเล่นก่อน [6]
- ขั้นตอนของผู้เล่น ผู้เล่นสามารถทำอะไรได้บ้างในตาการเล่นของตนเอง เพื่อทำให้เวลาเปลี่ยนตาสมดุล เกมส่วนใหญ่จึงอนุญาตให้ผู้เล่นทำอะไรได้เพียงอย่างเดียวในแต่ละตา
- ปฏิสัมพันธ์ของผู้เล่น ผู้เล่นจะมีอิทธิพลส่งผลต่อกันอย่างไร เช่น ผู้เล่นที่มาตกอยู่ในตาเดียวกันอาจต้อง “ดวล” โดยการทอยลูกเต๋าให้ได้แต้มสูงกว่า
- ขั้นตอนที่ไม่ใช่ผู้เล่น อาจมีศัตรูในเกมที่ไม่ใช่ผู้เล่นหรืออุปสรรคในกระดาน (เช่นไฟไหม้หรือน้ำท่วม) คุณจำต้องกำหนดเวลาเกิดให้มันในระหว่างการเล่นเกม
- วิธีตัดสินผลที่ออกมา ผลที่ออกมาอาจตัดสินจากแค่ทอยลูกเต๋า ตาพิเศษอาจต้องใช้การ์ดพิเศษหรือทอยแต้มพิเศษ (เช่นออกแต้มคู่) [7]
โฆษณา
ทำเกมต้นแบบ
-
1ใช้เกมต้นแบบในการพัฒนาเกม. ก่อนจะเริ่มทำขั้นตอนสุดท้าย ควรสร้างเกมต้นแบบคร่าวๆ (เกมทดสอบ) เพื่อที่คุณจะสามารถลองเล่นกลไกต่างๆ มันไม่จำเป็นต้องออกมาสวย แต่การได้ลองจะช่วยคุณดูว่ากติกาพื้นฐานต่างๆ ออกมาอย่างที่คิดไว้ไหม
- เกมต้นแบบเป็นขั้นตอนสำคัญในกระบวนการสร้างเกม เพราะเป็นการนำเกมออกจากความคิดมาสู่โลกแห่งความจริงที่คุณสามารถพัฒนามันร่วมกับผู้เล่นคนอื่น
- หยุดความคิดที่จะเติมรายละเอียดด้านศิลป์ไว้ก่อนจนกว่าคุณจะเริ่มทำเกมตัวสำเร็จ เกมกระดานกับการ์ดง่ายๆ วาดด้วยดินสอจะช่วยให้ลบและปรับแต่งตามจำเป็นได้ง่ายกว่า [8]
-
2สเก็ตช์แบบร่างหยาบๆ ของกระดาน. นี่จะช่วยให้คิดได้ว่ากระดานใหญ่หรือเล็กไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับธีมและกลไกของเกม กระดานของคุณอาจมีหรือไม่มีองค์ประกอบดังต่อไปนี้:
- เส้นทางเดิน เกมเรียบง่ายจะมีทางเดินเส้นเดียวสู่จุดหมาย เกมที่ซับซ้อนกว่าอาจมีทางแยกหรือทางวนย้อนกลับอยู่ในเส้นทางด้วย
- สนามประลองเล่น เกมที่มีสนามประลองจะไม่มีเส้นทางเดิน แต่ผู้เล่นจะเคลื่อนที่ตามแต่ต้องการภายในบริเวณที่มักจะแบ่งเป็นช่องสี่เหลี่ยมหรือห้าเหลี่ยม
- ตำแหน่งลงหมาก ตรงนี้อาจทำเป็นรูปทรง (เช่นตารางสี่เหลี่ยม) หรือภาพ (อย่างขั้นบันไดหรือเกาะ) การลงตำแหน่งบางทีอาจส่งผลพิเศษ เช่นได้เดินอีกตาหรือจั่วการ์ด [9]
-
3รวบรวมชิ้นส่วนเกมต้นแบบ. กระดุม ตารางหมากรุก ชิพไพ่ ตัวหมากรุกและของกระจุ๊กกระจิ๊กเหมาะกับการเอามาเป็นชิ้นส่วนของเกมต้นแบบ หลีกเลี่ยงการใช้ของมาเป็นหมากในเกมต้นแบบที่ใหญ่เกิน เพราะทำให้ยากแก่การอ่านข้อมูลที่เขียนบนกระดาน
- ของพวกนี้สามารถเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ในตอนพัฒนาเกม เลยเน้นง่ายเข้าว่าไว้ก่อนดีกว่าไปออกแบบอะไรที่ต้องเปลี่ยนในตอนท้ายอยู่ดี[10]
-
4ใช้การ์ดเพื่อเพิ่มความหลากหลาย. การ์ดที่สับไว้มั่วๆ จะช่วยเพิ่มผลกระทบที่คาดเดาไม่ได้ต่อผู้เล่นเกมกระดาน บนการ์ดจะบอกเหตุที่ผู้เล่นคนที่จั่วการ์ดจะโดนเช่น เปลี่ยนแต้ม เปลี่ยนตำแหน่ง หรือเปลี่ยนของที่สะสมไว้
- สำรับมักจะมีการ์ดที่แตกต่างกันราว 15 ถึง 20 ใบ (อย่างการ์ดกับดัก การ์ดอุปกรณ์ตัวช่วย และการ์ดขยับตำแหน่ง) การ์ดประเภทนี้มักจำกัดราว 10 ใบในสำรับเพื่อให้สามารถควบคุมขนาดสำรับได้
- การ์ดสามารถมีข้อบังคับนอกเกมได้ เช่น การ์ดใบหนึ่งอาจท้าผู้เล่นให้ต้องพูดเหน่อห้านาทีถึงจะได้รางวัล ทำตามที่ท้าไม่ได้จะถูกทำโทษ [11]
โฆษณา
ทดสอบเกมต้นแบบ
-
1ทดสอบเกมต้นแบบด้วยตัวเอง. พอรวบรวมชิ้นส่วนต่างๆ ของเกมต้นแบบได้แล้ว เริ่มทดสอบดูว่าเล่นอย่างไร ก่อนจะลองเป็นกลุ่มก็ให้ลองด้วยตัวเอง ให้เล่นเหมือนเราเป็นผู้เล่นแต่ละคนแล้วบันทึกจุดดีจุดด้อยที่สังเกตได้จากการเล่น
- ทดสอบคนเดียวหลายๆ หน ปรับเปลี่ยนจำนวน “ผู้เล่น” เพื่อดูว่าเกมรองรับจำนวนผู้เล่นมากสุดน้อยสุดเท่าไร
- หาข้อบกพร่องในเกมโดยพยายามแหกคอกระหว่างทดสอบ ดูว่าเป็นไปได้ไหมที่ผู้เล่นสักคนจะชนะตลอดเมื่อใช้กลยุทธบางอย่าง หรือเกิดมีช่องว่างในกติกาที่ทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ [12]
-
2เล่นทดสอบเกมกับเพื่อนและครอบครัว. หลังจากเล่นคนเดียวพอจะมองเห็นข้อผิดพลาดทั้งหมดแล้ว ก็ได้เวลาลองทดสอบเล่นจริง หาเพื่อนหรือคนในครอบครัวแล้วอธิบายว่าคุณจะทดสอบเกม ให้พวกเขารู้ว่านี่เป็นงานที่กำลังอยู่ในขั้นพัฒนา และคุณยินดีจะรับฟังเสียงตอบรับ [13]
- ระหว่างทดสอบการเล่น เลี่ยงการให้คำอธิบายเพิ่มเติม คุณไม่ได้ไปนั่งแจกแจงกติกากับผู้เล่นจนชัดเจนได้ทุกครั้ง จึงจำเป็นที่กติกาต้องชัดเจนพอที่ผู้เล่นจะรู้ได้ด้วยตัวเอง
- จดบันทึกระหว่างเล่นเกม จับตาดูเวลาที่ผู้เล่นดูเหมือนไม่สนุกหรือเวลาที่กติกาดูสับสน นี่คือส่วนที่ยังต้องนำกลับมาปรับปรุง
- ใส่ใจกับตำแหน่งสุดท้ายของผู้เล่น ถ้าเกิดมีผู้เล่นคนหนึ่งเดินนำหน้าผู้เล่นคนอื่นอย่างต่อเนื่อง ดูว่ามันเป็นแบบนั้นได้อย่างไร เกมกระดานจะยิ่งตื่นเต้นเวลาที่การแข่งขันมันสูสีเสมอกัน [14]
-
3เปลี่ยนผู้ทำการทดสอบเพื่อมุมมองต่อเกมที่ดีขึ้น. ทุกคนเล่นเกมต่างกันไปในแต่ละคน บางคนอาจเห็นในสิ่งที่ขาดหายซึ่งคุณไม่เคยนึกได้มาก่อน ยิ่งมีคนทดสอบเกมมากขึ้น คุณก็ยิ่งมีโอกาสหาข้อบกพร่องหรือจุดอ่อนมาปรับแก้ไขมากขึ้น
- ร้านเกมมักมีกลุ่มสมาชิกประจำหรือจัดคืนดวลเกม เป็นโอกาสที่เหมาะแก่การทดสอบเกมและได้ความคิดเห็นจากนักเล่นเกมกระดานทั้งหลายด้วย
- อายุของผู้เล่นมีส่วนต่อการเข้าถึงเกม ลองทดสอบกับน้องๆ หรือคุณลุงเพื่อทดสอบอายุที่เหมาะสม [15]
-
4ปรับแต่งเกมต้นแบบตลอดช่วงการทดสอบ. หลังจบการทดสอบแต่ละครั้ง ปรับเปลี่ยนแก้ไขเกมที่จำเป็น ทั้งกติกาและองค์ประกอบอื่นๆ เมื่อทดสอบต่อไปจงติดตามดูสิ่งที่คุณได้เปลี่ยนแปลงลงไป “พัฒนาการ” บางอย่างอาจลงท้ายทำให้แย่ยิ่งกว่าเก่าก็ได้ [16]โฆษณา
สร้างเกมขั้นตอนสุดท้าย
-
1รวบรวมวัสดุอุปกรณ์. พอคุณเสร็จกระบวนการทดสอบและพอใจกับผลที่ได้ ตอนนี้ก็ได้เวลาเริ่มทำเกมขั้นสุดท้าย แต่ละเกมจะมีความต้องการเฉพาะตัว ดังนั้นวัสดุที่ใช้จึงอาจหลากหลาย ทำลิสต์ชิ้นส่วนต่างๆ ทั้งหมดที่เกมคุณต้องใช้เพื่อจะได้ไม่หลงลืมอะไรไป
- เกมกระดานปกติจะประกบติดกับแผ่นกระดานหรือแผ่นยึดปกหนังสือ มันจะเพิ่มความทนทานและสัมผัสเหมือนมืออาชีพ
- คุณสามารถใช้กระดานเกมเก่าๆ มาใช้ถ้าไม่อยากหาซื้ออะไร เอากระดาษทากาวหรือระบายสีทับไม่ให้เห็นหน้าตาของเกมเดิมเสีย
- กระดาษทำนามบัตรนำมาใช้ได้ทั้งสำหรับปิดกระดานเกมและทำเป็นการ์ด การ์ดเกมโล่งๆ ก็อาจมีวางขายตามร้านขายของเล่น
- เหรียญหรือตัวคะแนนสามารถทำได้โดยตัดหรือกดเป็นวงกลมจากกระดาษทำนามบัตรได้ [17]
-
2วาดภาพประกอบบนกระดานเกม. กระดานเกมนั้นเป็นจุดศูนย์รวมหลักของเกมกระดาน ดังนั้นจงใช้ความคิดสร้างสรรค์ออกแบบมันได้ตามอิสระ ให้แน่ใจว่าเส้นทางเดินหรือสนามประลองนั้นมีการระบุอย่างเด่นชัด และอ่านวิธีการเล่นได้ง่าย
- เวลาตกแต่งกระดานเกม ข้อจำกัดเดียวคือจินตนาการของคุณเท่านั้น คุณสามารถใช้กระดาษลวดลาย ระบายสี ตัดภาพจากนิตยสาร และอื่นๆ ที่จะทำให้กระดานเกมดูน่าตื่นตา
- การออกแบบที่เปี่ยมสีสันจะช่วยสะดุดตาผู้เล่น สีสันยังเป็นอีกทางที่จะช่วยคุมอารมณ์เกม อย่างเกมที่เกี่ยวกับแวมไพร์ก็ควรจะใช้สีทึมๆ ดูน่ากลัว
- กระดานเกมนั้นต้องถูกหิ้วไปไหนมาไหนบ่อยๆ และเวลาผ่านไปจะเก่าเร็ว ให้ปกป้องงานของคุณโดยการนำกระดานเกมไปเคลือบมันถ้าเป็นไปได้ [18]
-
3ทำตัวหมาก. วิธีเรียบง่ายที่สุดคือวาดหรือพิมพ์ภาพลงบนกระดาษแล้วติดเทปหรือกาวยึดมันไว้กับฐานรองที่ทำจากกระดาษแข็งอย่างกระดาษนามบัตร ถ้าคุณทำเกมสำหรับเล่นในหมู่เพื่อนหรือครอบครัว จะใช้ภาพถ่ายของแต่ละคนมาทำก็ได้ [19]
- หากต้องการตัวหมากที่ดูประณีตขึ้น เอาแบบไปพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ระดับมืออาชีพโดยใช้กระดาษหนาคุณภาพสูง
- ใส่กระดาษตัวหมากของคุณในฐานพลาสติดเกมกระดานเพื่อให้มันตั้งได้ ฐานพลาสติกหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์เกม
- ลองทำตัวหมากรุกด้วยหัวน็อต ปั้นหุ่นด้วยดินน้ำมัน หรือ พับกระดาษโอริกามิรูปสัตว์ สำหรับใช้เป็นตัวหมาก [20]
-
4นำลูกเต๋าหรือวงล้อเก่ามาใช้หรือทำขึ้นเอง. หากเกมของคุณต้องใช้ลูกเต๋าหรือวงล้อ สามารถใช้จากเกมสำเร็จรูปได้ หรือจะทำวงล้อโดยใช้กระดาษแข็ง เข็มหมุด และสีมาร์กเกอร์ ปักเข็มหมุดลงบนฐานของลูกศรที่ทำจากกระดาษนามบัตรและยึดกับฐานกระดาษแข็งที่ตัดเป็นวงกลม จากนั้นวาดตัวเลือกต่างๆ ที่จะอยู่บนวงล้อ
- มีลูกเต๋าให้เลือกหลายแบบ ลูกเต๋าที่ยิ่งมีหลายหน้าจะลดโอกาสการขึ้นเลขซ้อน
- วงล้อมักใช้สีมาใช้บอกการเดินหมาก เช่น หากคุณหมุนลูกศรลงช่องเหลือง ตัวหมากอาจขยับขึ้นหน้าไปที่ช่องสีเหลืองตาถัดไป
- วงล้อใช้ได้ดีกับรอบแจกรางวัล หากผู้เล่นจั่วการ์ดรางวัลหรือตกลงบนตาพิเศษ พวกเขาสามารถใช้วงล้อดูว่าจะได้รางวัลอะไร [21]
-
5ตกแต่งการ์ด. การ์ดเปล่าๆ คงไม่ดึงดูดความสนใจผู้เล่น ใช้กราฟฟิก ลูกเล่นและคำคมมาเพิ่มรสชาติให้การ์ด เช่น การ์ดที่ทำให้ผู้เล่นต้องอดเดินตาถัดไปอาจใช้คำประเภท “เธอมองข้ามฉันไป ใกล้แค่ไหนก็ไกลอยู่ดี...”
- ทำการ์ดในเกมโดยใช้การ์ดเกมเปล่าๆ ที่หาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์เกมเพื่อให้เกมดูมีคุณภาพสูงขึ้น
- การ์ดทำเองอาจทำจากกระดาษนามบัตร ใช้การ์ดเกมทั่วไปมาใช้เป็นหลักในการตัดกระดาษเพื่อให้ทุกแผ่นมีขนาดเท่ากัน [22]
-
6มองหาเครื่องพิมพ์สามมิติเพื่อเพิ่มความว้าว. หากอยากให้เกมคุณโดดเด่นสุดๆ มองหาการทำตัวหมาก เหรียญรางวัล หรือกระดานให้พิมพ์เป็นสามมิติ คุณอาจต้องทำโมเดลสามมิติเป็นแบบให้ร้านพิมพ์ แต่ผลที่ได้จะทำให้มันดูเหมือนเกมสำเร็จรูปตามร้านเลยทีเดียวโฆษณา
เคล็ดลับ
- เวลาทดสอบเกมเป็นกลุ่ม พยายามสังเกตดูผู้เล่นโดยไม่เข้าไปยุ่งด้วย จะช่วยให้เห็นว่าคนที่ไม่คุ้นเคยกับเกมจะมีปฏิกิริยาอย่างไรกับกติกาการเล่น
- หากเกมกระดานของคุณต้องการสี่เหลี่ยมที่ตรง ใช้ไม้บรรทัดเวลาวาดลงกระดานเพื่อให้มันดูประณีตน่าเล่น
- คุณอาจใช้ฝาขวดน้ำ ลูกปัด ก้อนหิน เศษกระดาษ หรือเหรียญจากเกมอื่นมาใช้เป็นตัวหมาก
- ตัวหมากแบบสามมิติทำได้ง่ายสูดโดยพิมพ์ภาพออกมาบนกระดาษและติดมันกับยางลบ
- หาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากคนอื่นก่อนเริ่มขั้นตอนสุดท้าย ถามตัวเองว่า นี่ใช่สิ่งที่ฉันต้องการหรือเปล่า จำไว้ว่าคนอื่นจะมาเล่นเกมคุณ คุณจึงต้องให้มันดึงดูดใจพวกเขาเหมือนกัน
- ย่อขนาดกระดานเกมเพื่อสามารถเล่นแบบพกพาได้
- พยายามอย่าปิดกั้นตัวเองเวลารับฟังคำวิจารณ์ มันจำเป็นต่อการพัฒนาเกมมาก ฉะนั้นจงรับฟังอย่างสุภาพและจดทุกอย่างไว้
คำเตือน
- ให้แน่ใจว่ากติกาเกมของคุณนั้นยุติธรรม เป้าหมายของเกมคือเสริมสร้างความสนุกและให้ประสบการณ์ในเชิงบวก
- พยายามทำให้กติกาสั้นกระชับเท่าที่จะทำได้ อะไรที่ยุ่งยากจนเกินไปจะทำให้ผู้เล่นหมดความสนใจ
- หากคุณวางแผนจะขายงานออกแบบเกมของคุณ ให้แน่ใจว่าไม่ได้ไปละเมิดลิขสิทธิ์ของใคร คุณอาจต้องปรับแต่งอะไรที่มันดูคล้ายคลึงเกมอื่นจนเกินไป
สิ่งของที่ใช้
- สมุดบันทึก
- ดินสอ
- ไม้บรรทัด
- กระดาษ
- ฐานที่จะใช้เป็นกระดานเกม (กระดาษแข็ง กระดาษโปสเตอร์ กระดานเกมเก่า เป็นต้น)
- กระดาษดรรชนี (ในขนาดและสีสันต่างๆ)
- กรรไกร
- ตัวหมาก (อย่างตัวหมากของเกมเก่า ชิพที่ใช้เล่นโป๊กเกอร์ ตุ๊กตาจิ๋ว ของกระจุ๊กกระจิ๊ก เป็นต้น)
- ลูกเต๋าและ/หรือวงล้อหมุน
- อุปกรณ์วาดภาพและระบายสี (มาร์กเกอร์ พู่กัน ปากกา ดินสอ เป็นต้น)
- กาวและ/หรือเทปใส
- สี (ไม่จำเป็น)
ข้อมูลอ้างอิง
- ↑ https://gamedevelopment.tutsplus.com/articles/how-to-learn-board-game-design-and-development--gamedev-11607
- ↑ http://www.thegamesjournal.com/articles/ThemeVsMechanics.shtml
- ↑ https://boardgamegeek.com/thread/1018707/brief-crash-course-game-design-issues-processes-an
- ↑ https://boardgamegeek.com/thread/1018707/brief-crash-course-game-design-issues-processes-an
- ↑ https://gamedevelopment.tutsplus.com/articles/how-to-learn-board-game-design-and-development--gamedev-11607
- ↑ http://www.gamesprecipice.com/turn-order/
- ↑ https://boardgamegeek.com/thread/1018707/brief-crash-course-game-design-issues-processes-an
- ↑ https://boardgamegeek.com/thread/1018707/brief-crash-course-game-design-issues-processes-an
- ↑ https://gamedevelopment.tutsplus.com/articles/how-to-learn-board-game-design-and-development--gamedev-11607
- ↑ https://boardgamegeek.com/thread/1018707/brief-crash-course-game-design-issues-processes-an
- ↑ https://gamedevelopment.tutsplus.com/articles/how-to-learn-board-game-design-and-development--gamedev-11607
- ↑ https://boardgamegeek.com/thread/1018707/brief-crash-course-game-design-issues-processes-an
- ↑ https://gamedevelopment.tutsplus.com/articles/how-to-learn-board-game-design-and-development--gamedev-11607
- ↑ https://boardgamegeek.com/thread/1018707/brief-crash-course-game-design-issues-processes-an
- ↑ http://www.nerdsandnomsense.com/diy-2/10-tips-for-making-your-own-board-game/
- ↑ http://boardgamegeek.com/thread/1018707/a-brief-crash-course-on-game-design-issues-process
- ↑ https://boardgamegeek.com/thread/1018707/brief-crash-course-game-design-issues-processes-an
- ↑ https://gamedevelopment.tutsplus.com/articles/how-to-learn-board-game-design-and-development--gamedev-11607
- ↑ https://boardgamegeek.com/thread/1018707/brief-crash-course-game-design-issues-processes-an
- ↑ https://gamedevelopment.tutsplus.com/articles/how-to-learn-board-game-design-and-development--gamedev-11607
- ↑ https://boardgamegeek.com/thread/1018707/brief-crash-course-game-design-issues-processes-an
- ↑ https://boardgamegeek.com/thread/1018707/brief-crash-course-game-design-issues-processes-an
เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้
วิธีการ ทำเกมกระดานเอง - Wiki How ไท
เกมกระดานทำเองเป็นสิ่งที่จะทำให้ทุกคนประทับใจในงานปาร์ตี้เล่นเกมครั้งต่อไปของคุณ แต่ก่อนที่คุณจะสร้างงานชิ้นเอกออกมาได้ คุณจำเป็นต้องออกแบบพื้นฐานอย่างพวกเป้าหมายของเกมและกฎกติกาต่างๆ คิดเรื่องเหล่านั้นออกมาแล้ว ถึงได้เวลาสร้างเกมตัวต้นแบบเพื่อมาทดสอบงานออกแบบของคุณ เมื่อทุกอย่างผ่านการทดสอบ คราวนี้ที่เหลือก็มีแค่สร้างเกมกระดานขั้นตอนสุดท้ายให้พร้อมเล่นแบบเกมของจริง
ทีมผู้จัดการด้านเนื้อหาของวิกิฮาว จะตรวจตราผลงานจากทีมงานด้านเนื้อหาของเราเพื่อความมั่นใจว่าบทความทุกชิ้นได้มาตรฐานตามที่เราตั้งไว้ บทความนี้ถูกเข้าชม 46,237 ครั้ง